Skip to main content
sharethis
Event Date

                  โครงการสัมมนาอบรมวิชาการ: ประวัติศาสตร์กับปรัชญา 

จัดขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม 2552  ในวันจันทร์จัดขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม 2552  ในวันจันทร์ระหว่างเวลา 15:30-18:30 น.  ห้องประชุมชั้น 2 (ติดห้องคณบดี) คณะศิลปศาสตร์   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

 

 
 
หน่วยงานรับผิดชอบ
ภาควิชาปรัชญาร่วมกับภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 
หลักการและเหตุผล
ความสัมพันธ์ระหว่างประวัติศาสตร์และปรัชญาได้ดำเนินมาตั้งแต่โบราณ ในพัฒนาการทางความคิดของทั้งสองสาขาวิชานั้น ข้อถกเถียงที่สำคัญสองประเด็นมักจะปรากฏอยู่เสมอ ประเด็นแรกเป็นการเข้าใจเหตุการณ์หรือสิ่งต่างๆจากลักษณะความเป็นสากล (universality) ในขณะที่ข้อถกเถียงอีกประการหนึ่งให้ความสำคัญกับลักษณะเฉพาะของเหตุการณ์และปรากฏการณ์ (particularity)  แต่วิธีคิดทั้งสองลักษณะก็ไม่สามารถแยกจากกันได้ โดยการคิดเชิงปรัชญาเป็นทั้งหลักและเครื่องมือในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์และกระบวนการทางประวัติศาสตร์  และในทางตรงกันข้ามประวัติศาสตร์เองก็เป็นวิธีการและเครื่องมือในการอ่านและทำความเข้าใจประเด็นทางปรัชญา 
ความสัมพันธ์อันนี้ไม่เพียงแต่จะจำกัดอยู่เฉพาะในสองสาขาวิชาเท่านั้น แต่ยังขยายไปสู่ข้อถกเถียงในมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  นอกจากนั้นประวัติศาสตร์และปรัชญายังเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการอ่านและตีความทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การทบทวนความสัมพันธ์อันนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง การเสวนานี้มุ่งจะสร้างเวทีให้นักวิชาการอาวุโสและนักวิชาการรุ่นใหม่จากหลากหลายสาขา มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและถกเถียงกันในประเด็นต่างที่ครอบคลุม การอ่านและการตีความทางประวัติศาสตร์และปรัชญา ทัศนะทางประวัติศาสตร์และปรัชญาในการค้นคว้าวิจัยต่างๆ เช่น สังคม ศาสนา การเมืองและวัฒนธรรม
 
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้และทัศนะในทางวิชาการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และปรัชญา จากนักวิชาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
2.       เพื่อเป็นเวทีสำหรับสร้างความเข้าใจและข้อถกเถียงทางวิชาการ เพื่อมุ่งทบทวนความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นทางปรัชญาและประวัติศาสตร์
3.       เพื่อสนับสนุนการร่วมมือกันข้ามสาขาวิชาการ ส่งเสริมให้เกิดเป็นงานวิชาการที่มีคุณภาพต่อไป
 
ลักษณะกิจกรรม
กิจกรรมมีลักษณะเป็นการเสวนาโดยมีผู้ร่วมเสวนาครั้งละสองท่าน ที่มาจากต่างสาขาวิชาการที่ครอบคลุมประเด็นทางปรัชญาและประวัติศาสตร์ การจัดเสวนาอาจเป็นได้ใน 2 ลักษณะคือ
1.       มีวิทยาการผู้นำเสนอหนึ่งท่าน และมีวิทยากรร่วมซึ่งทำหน้าที่วิจารณ์อีกหนึ่งท่าน โดยจะได้รับเนื้อหาที่จะนำเสนอก่อนการวิจารณ์
2.       ใช้วิทยากรสองท่านเป็นผู้วิจารณ์งานเขียนหรือหนังสือที่ได้ตกลงประเด็นวิชาการเอาไว้ก่อน
 
วัน เวลาและสถานที่สัมมนา
จัดขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม 2552  ในวันจันทร์ระหว่างเวลา 15:30-18:30 น.  ห้อง ศศ. 301 คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
 
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.       แลกเปลี่ยนความรู้และทัศนะทางวิชาการปรัชญาและประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในหมู่นักวิชาการจากหลายสาขาและนักศึกษาในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาที่เข้าร่วม
2.       เสริมค่านิยมของการร่วมมือและแลกเปลี่ยนทัศนะข้ามสาขาวิชาการ ส่งเสริมให้เกิดเป็นสังคมวิชาการและงานวิจัยที่มีคุณภาพยิ่งขึ้นไป
 
ผู้รับผิดชอบโครงการ
1.       อ. ธีรพจน์ ศิริจันทร์ ภาควิชาปรัชญา
2.       ผศ. อดิศร หมวกพิมาย ภาควิชาประวัติศาสตร์
3.       อ. อรอนงค์ ทิพย์พิมล ภาควิชาประวัติศาสตร์
4.       อ.ดร. วิศรุต พึ่งสุนทร ภาควิชาประวัติศาสตร์
5.       น.ส. มุจลินท์ เสถียรมาศ นักวิจัย
 
ผู้ร่วมโครงการ    วิทยากร อาจารย์ นักศึกษาและบุคคลภายนอกผู้สนใจ 50 คน



กำหนดการสัมมนาอบรมวิชาการ: ประวัติศาสตร์กับปรัชญา
 

ลำดับ
วัน/เวลา
ผู้นำเสนอ
หัวข้อ
ผู้ร่วมอภิปราย
1
จันทร์ที่ 15 มิ.ย. 52
อ. ดร. แพทริค โจรี
สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยหลังปี ค.ศ. 1945
ผศ. อดิศร หมวกพิมาย
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2
จันทร์ที่ 22 มิ.ย. 52
อ. อรอนงค์ ทิพย์พิมล
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ความทรงจำกับการเขียนประวัติศาสตร์
อ. ดร. สายพิณ ศุพุทธมงคล
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3
จันทร์ที่ 29 มิ.ย. 52
ผศ. ดร. สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์
อ. ธีรพจน์ ศิริจันทร์
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6
จันทร์ที่ 13 ก.ค. 52
อ. ดนัย ปรีชาเพิ่มประสิทธิ์
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การตีความจักรวาลวิทยาของพระธาตุลำปางหลวง
ศ. ดร. เสมอชัย พูลสุวรรณ
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5
จันทร์ที่ 20 ก.ค. 52
ผศ. อุกฤษฎ์ แพทย์น้อย
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติปรัชญาการเมือง
ผศ. ธเนศ วงศ์ยานนาวา
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4
จันทร์ที่ 27 ก.ค. 52
อ. ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มานุษยวิทยาประวัติศาสตร์
อ. ดร. วิศรุต พึ่งสุนทร
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
7
จันทร์ที่ 3 ส.ค. 52
ผศ. ดร. เสาวณิต จุลวงศ์
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประวัติศาสตร์วรรณกรรมไทย
รศ. ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์
คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
8
จันทร์ที่ 10 ส.ค. 52
อ. วีระศักดิ์ กีรติวรนันท์
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตกร่วมสมัยของ G. G. Iggers
ผศ. อดิศร หมวกพิมาย
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
9
จันทร์ที่ 17 ส.ค. 52
อ. ดร. เกษม เพ็ญภินันท์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โครงสร้างและพลวัตรของ ”เวลา” ในประวัติศาสตร์สำนัก Annales
อ. ดร. ชัยวัฒน์ บุนนาค
 
10
จันทร์ที่ 24 ส.ค. 52
ผศ. ดร. ไชยันต์ รัชชกูล   
สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ
What is “what is history?”?
รศ. ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 
 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net