Skip to main content
sharethis
Event Date

กำหนดการ งานรำลึก 20 ปี ทนง โพธิ์อ่าน เสวนา เรื่อง “โฉมหน้ารัฐบาลและการเมืองไทยหลังเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม” ร่วมจัดโดย มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และเครือข่ายองค์กรแรงงาน , ญาติอดีตผู้นำแรงงานที่วายชนม์ วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน 2554 ณ ห้องประชุมมูลนิธิ 14 ตุลาฯ สี่แยกคอกวัว ราชดำเนิน กรุงเทพ ****************************************** 08.00 - 09.00 พิธีสงฆ์ / ใส่บาตร ถวายสังฆทาน อุทิศส่วนกุศลต่อผู้วายชนม์ 09.00 - 09.15 วิดีโอ “จักสืบสานเจตนารมณ์ วีรชนคนกล้า” 09.15 - 09.30 กล่าวรายงานโดย นายทวีป กาญจนวงศ์ ประธานมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย 09.30 - 09.45 กล่าวเปิดงานโดย - นายสุวิทย์ ระวิวงศ์ ประธานสหภาพแรงงานขนส่งสินค้าออก - นางรัชนีบูรณ์ โพธิ์อ่าน ภรรยา ทนง โพธิ์อ่าน 09.45 - 10.15 ปาฐกถานำ “20 ปีการหายสาบสูญของทนง โพธิ์อ่าน กับภาพสะท้อนอำนาจเถื่อนของรัฐต่อผู้ใช้แรงงาน” โดย ศาสตราภิชาน แล ดิลกวิทยรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ 10.15 - 12.30 อภิปราย “โฉมหน้ารัฐบาลและการเมืองไทยหลังเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม ” โดย - ดร.นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ - รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ - นายก่อเขตต์ จันทเลิศลักษณ์ บรรณาธิการรายการข่าว สถานีโทรทัศน์ ThaiPBS ดำเนินรายการโดย นางสุนี ไชยรส กรรมการปฏิรูปกฎหมาย 12.30 - 13.30 พักอาหารกลางวัน ชมสารคดี “ประชาธิปไตยบนเส้นทางที่คดเคี้ยว” 13.30 - 15.30 อภิปราย “มองไปข้างหน้า ภารกิจขบวนการแรงงานหลังการเลือกตั้ง” โดย - นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) - นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการ สรส. - นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง - นายชัยสิทธิ์ สุขสมบูรณ์ กรรมการปฎิรูปกฎหมาย - นางสุจิน รุ่งสว่าง ประธานศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบ กทม. ดำเนินรายการโดย - ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์ กรรมการมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย 15.30 สรุปและปิดการสัมมนา ความเป็นมา นับตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2534 กระทั่งถึงปัจจุบัน เป็นเวลาถึง 20 ปีแล้วที่ ทนง โพธิ์อ่าน หายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอยในยุคเผด็จการทหาร รสช. ทนง ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิกสายแรงงานและประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย เป็นผู้นำแรงงานฝีปากกกล้าที่ลุกขึ้นมาคัดค้านการยุบเลิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ กล้าเผชิญหน้า กล้าต่อกรกับอำนาจเผด็จการ ซึ่งนั่นอาจเป็นเหตุให้เขาต้องหายสาบสูญ และแม้ครอบครัวของเขาและองค์กรแรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลยุคนั้นคลี่ปมปัญหา แต่คดีกลับเงียบหาย และทั้งๆที่ร่องรอยได้ถูกทิ้งไว้มากพอที่จะสืบค้นหาฆาตกรได้ แต่เรื่องนี้กลับถูกเพิกเฉยจากรัฐบาลหลายยุคหลายสมัย สุดท้ายแล้วข้อสันนิษฐานที่เป็นไปได้ก็คือ เขาถูกฆ่าตายเพราะการเคลื่อนไหวปกป้องสิทธิเสรีภาพของคนงานไทย และการคัดค้านเผด็จการทหารอย่างถึงพริกถึงขิง ต่อมามูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยร่วมกับองค์กรแรงงานอื่นๆ ได้จัดกิจกรรมรำลึกอันมีพิธีทางศาสนาและกิจกรรมวิชาการในช่วงเดือนมิถุนายนเป็นประจำทุกปี โดยตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 ได้ผนวกเป็นกิจกรรมรำลึกอดีตวีรบุรุษของคนงานผู้ล่วงลับหลายคนที่มีประวัติและผลงานเป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมว่า เป็นผู้สร้างคุณูปการอันยิ่งใหญ่ให้กับผู้ใช้แรงงานไทย เช่น ศุภชัย ศรีสติ ไพศาล ธวัชชัยนันท์ อารมณ์ พงศ์พงัน ทนง โพธิ์อ่าน ปิยเชษฐ์ แคล้วคลาด รวมถึง ศาสตราจารย์นิคม จันทรวิทุร ข้าราชการหัวใจแรงงาน ทั้งนี้เพื่อใช้วันดังกล่าวเป็นวันรำลึกถึงคุณงามความดีที่บุคคลเหล่านั้นได้สร้างไว้ให้กับผู้ใช้แรงงานและนสังคมไทย และสำหรับปีนี้ ประเทศไทยอยู่ในช่วงบรรยากาศของการหาเสียงเพื่อเข้าสู่การเลือกตั้งที่แพ้ไม่ได้ของหลายกลุ่ม ท่ามกลางสถานการณ์ของอารมณ์ความรู้สึกที่ขัดแย้งแตกแยกกันอย่างรุนแรงในสังคมทุกหย่อมหญ้า คำว่าเผด็จการและประชาธิปไตยถูกนำไปดัดแปลงเพื่อประโยชน์กลุ่มก้อนตนเองหรือใช้เป็นเครื่องมือโจมตีคู่ขัดแย้ง สังคมจึงเต็มไปด้วยความสับสน ความรุนแรง และความเบื่อหน่าย อันมีเหตุมาจากการเมือง ดังนั้น ในวาระครบรอบ 20 ปีแห่งการหายสาบสูญของ ทนง โพธิ์อ่าน จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะได้มีการหยิบยกเอาเรื่องของอำนาจเผด็จการ อำนาจเถื่อนทางการเมือง และสารรูปของการเมืองระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน มาสู่วงเสวนาเพื่อเป็นแนวทางสำหรับภารกิจข้างหน้าของขบวนการแรงงานไทยต่อไป

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net