Skip to main content
sharethis
Event Date

วันที่ 15-16 กันยายน 2554 ณ ห้องภาณุรังษี โรงแรม เดอะ รอยัล ริเวอร์ (The Royal River Hotel) ถนนจรัญสนิทวงศ์ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ ดูรายละเอียดทางเว็บไซต์ www.ssa.ipsr.mahidol.ac.th การรับสมัคร สำหรับผู้ต้องการส่งบทความ ปิครับสมัคร วันที่ 15 สิงหาคม 2554 ประกาศผลบทความที่ได้รับการคัดเลือก วันที่ 25 สิงหาคม 2554 สำหรับบทความที่ได้รับคัดเลือก ต้องส่งบทความฉบับเต็ม ภายในวันที่ 10 กันยายน 2554 สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมประชุมวิชาการ สมัครออนไลน์ ได้ทางเว็บไซต์ www.ssa.ipsr.mahidol.ac.th Download แบบฟอร์มการลงทะเบียน ส่งมายัง email: ssa2554@gmail.com หรือทางโทรสาร 02 441 9333 หัวข้อย่อยในการประชุม 1.จุดเปลี่ยนทางญาณวิทยาในเพศวิถีศึกษา ญาณวิทยา (Epistemology) เป็นรากเหง้าที่สำคัญของการคิดและการสร้างความจริงเกี่ยวกับเรื่องเพศ ดังนั้น ถ้ามีทบทวนความรู้เรื่องเพศว่าถูกสร้างขึ้นจากแนวคิดทฤษฎีอะไรก็จะช่วยให้เข้าใจว่าความจริงเกี่ยวกับเพศภาวะและเพศวิถีที่แพร่หลายในสังคม มีการเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างไรและส่งผลอะไรบ้างต่อกลุ่มคนต่างๆ ในที่นี้จะให้ความสำคัญกับการทบทวนญาณวิทยาตามประเด็นย่อยดังนี้ ทฤษฎี Feminism ในการอธิบายเรื่องเพศภาวะและเพศวิถี ทฤษฎีเควียร์ ในการอธิบายเรื่องเพศภาวะและเพศวิถี การวิพากษ์ทฤษฎี Feminism และ Queer การประยุกต์ใช้ทฤษฎี Feminism และ Queer ในบริบทสังคมไทย 2.การเคลื่อนไหวทางสังคมว่าด้วยสิทธิทางเพศ ในปัจจุบันเกิดการเคลื่อนไหวทางสังคมมีรูปแบบใหม่ๆ ที่หลากหลาย ทั้งในระดับปัจเจกและในระดับกลุ่มคน ซึ่งใช้วิธีการที่แตกต่างกัน เช่น ใช้สื่อสมัยใหม่ เครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือรวมตัวทำกิจกรรมทางสังคม แต่การเคลื่อนไหวทางสังคมมีจุดร่วมเดียวกันคือการเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนความคิด หรือปฏิบัติการที่มีผลต่อเรื่องสิทธิและเสรีภาพในการแสดงตัวตนทางเพศ ความรู้สึกทางเพศ หรือพฤติกรรมทางเพศ 3.คิดและมองเรื่องเพศเชิงบวก เท่าที่ผ่านมาเรื่องเพศ และกามารมณ์ถูกมองว่าเป็นเรื่องสกปรก น่าเกลียด น่าขยะแขยง หรือไม่ควรนำมาพูดในที่สาธารณะเพราะเป็นเรื่องต้องห้าม ทำให้การพูดเรื่องเซ็กส์หรือเรื่องกามารมณ์ถูกมองในแง่ลบ และเป็นการตีตราให้เรื่องเพศเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ดังนั้น ถ้ามีการมองเรื่องเพศและกามารมณ์ในเชิงบวกจะช่วยให้เข้าใจความซับซ้อนของการแสดงความรู้สึกทางเพศของมนุษย์ และเป็นจุดเปลี่ยนที่จะช่วยให้เกิดการพูดเรื่องเพศในที่สาธาณะเป็นสิ่งที่ทำได้ 4.บูรณาการเพศภาวะเพศวิถีและสุขภาวะทางเพศเข้าสู่ระบบบริการสังคมและสาธารณะ ในทางปฏิบัติที่เกิดขึ้นในระบบบริการสังคมและสาธารณะ กลุ่มคนที่มีเพศนอกรอบ เช่น เกย์ กะเทย สาวประเภทสอง ฯลฯ มักจะได้รับการเลือกปฏิบัติ ถูกปฏิบัติอย่างมีอคติ และไม่มีความเท่าเทียม เพราะเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการยังมีทัศนคติเชิงลบต่อคนกลุ่มนี้ ดังนั้นการเปลี่ยนความคิดในเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีอาจทำให้การบริการของเจ้าหน้าที่ตอบสนองกลุ่มคนเหล่านี้ได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพและสวัสดิการทางสังคม 5.การฟื้นฟูจิตวิญญาณเรื่องเพศภาวะและเพศวิถี มนุษย์มักจะมองเรื่องเพศภายใต้วิธีคิดแบบใดแบบหนึ่ง ซึ่งมีการจัดประเภทและลำดับชั้นที่ไม่เท่า เทียม เกิดการกดทับเพศบางแบบ และยกย่องเพศบางแบบ เช่น เพศชายถูกให้คุณค่ามากกว่าเพศหญิง เพศหญิงถูกมองว่าอ่อนแอ เพศชายถูกมองว่าเข้มแข็ง วิธีคิดดังกล่าวนี้มีผลต่อบุคคลในการที่จะนิยามตัวเองว่าเป็นใคร ดังนั้น ถ้าหากเปลี่ยนความคิดและทำลายมายาคติเกี่ยวกับการแบ่งแยกทางเพศ ก็อาจทำให้บุคคลหลุดออกจากรอบและมองดูตัวตนทางเพศที่ปราศจากการจัดลำดับชั้น ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญต่อการสร้างพลังในการท้าทายเพศกระแสหลักที่ครอบงำสถาบันทางสังคมไม่ว่าจะเป็น ศาสนา การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม 6.เรื่องเพศในสื่อ สื่อกระแสหลักในสังคมไทยมักจะสร้างภาพตัวแทนและนำเสนอเรื่องเพศอย่างมีอคติ มีการตีตราคนบางประเภท ทำให้เกิดการรังเกียจดูหมิ่นเหยียดหยาม สื่อจึงมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้อคติเหล่านี้แผ่ขยายกว้างออกไป ถ้าหากมีการรื้อทำลายวิธีคิดเชิงลบในสื่อประเภทต่างๆ และส่งเสริมให้สื่อเข้าใจเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีในเชิงบวก ก็จะช่วยให้สังคมมีทัศนคติเชิงบวกต่อกลุ่มคนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศที่ต่างไปจากชายและหญิงมากขึ้น 7.เพศวิถีตามช่วงวัย สังคมไทยเป็นสังคมที่มีการควบคุมพฤติกรรมทางเพศของบุคคลที่วัยต่างๆที่แตกต่างกัน จะมีคนบางกลุ่มเท่านั้นที่สามารถแสดงออกทางเพศได้อิสระ เช่น ผู้ใหญ่ที่บรรลุนิติภาวะ แต่มีคนอีกหลายกลุ่มไม่สามารถแสดงความรู้สึกทางเพศได้ เช่น เด็ก คนสูงอายุ คนพิการ ฯลฯ สังคมไทยยังไม่เข้าใจอารมณ์ทางเพศของคนที่มีวัยแตกต่างกัน ดังนั้น ถ้าเปิดพื้นที่ให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางเพศของคนต่างวัยก็จะทำให้เห็นความหลากหลายในเพศวิถีของมนุษย์มากยิ่งขึ้น ---------------------------------------------------- ติดต่อ คณะทำงานจัดประชุมวิชาการเพศวิถีศึกษา ครั้งที่ 3 คุณสมเกียรติ ทวีสิทธิ์ (บอล) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170 โทรศัพท์ : 0-2441-0201 - 4 โทรสาร : 0-2441-9333 บอล 086-5049021 / 084-4154333 ผู้ประสานงานสมาคมเพศวิถีศึกษา

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net