สมัชชาวิชาการความมั่นคงทางอาหาร ประจำปี 2555

Event Date: 
Thursday, 17 May, 2012 - 08:00

                               เรียนเชิญเพื่อนมิตรสื่อมวลชนร่วมทำข่าว          
การประชุมสมัชชาวิชาการความมั่นคงทางอาหารประจำปี 2555
‘อิสรภาพทางพันธุกรรม อธิปไตย และความมั่นคงทางอาหาร’
ระหว่างวันที่ 16-17 พฤษภาคม 2555 ณ อาคารวชิรานุสรณ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
 
                                                           

            ภัยคุกคามต่างๆ กำลังท้าทายความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทย ในระดับประเทศนอกเหนือจากนโยบายของรัฐที่เป็นสาเหตุหลักของความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำทางสังคมซึ่งสร้างความล้มเหลวแก่เกษตรกรรายย่อยแล้ว ระบบเกษตรกรรมและอาหารของไทยยังเผชิญภัยพิบัติธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงและมีจำนวนครั้งมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย ดังช่วงมหาอุทกภัยเมื่อปลายปี 2554 ที่ผ่านมาที่ผลักภาคเกษตรและเกษตรกรรายย่อยให้เป็นกลุ่มที่ได้รับการดูแลน้อยสุดจากกลไกการบริหารจัดการของรัฐ
            ในระดับระหว่างประเทศนั้น วิกฤตการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ วิกฤตการณ์ด้านอาหารและพลังงาน การเติบโตของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ได้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้หลายประเทศที่มีเงินตราสำรองจำนวนมากและเสี่ยงต่อการเกิดวิกฤตอาหารและพลังงานได้เข้าไปลงทุนแย่งยึดที่ดิ(land grab) ในประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตอาหารและพลังงานจากพืชอย่างกว้างขวาง ประเทศไทยก็ตกเป็นเป้าหมายของการเข้ามาแย่งยึดที่ดินและครอบครองระบบเกษตรกรรมและอาหารในรูปแบบต่างๆ
            ดังนั้นทางแผนงานสนับสนุนความมั่นคงทางอาหารและมูลนิธิชีววิถี (BioThai) จึงขอเรียนเชิญเพื่อนมิตรสื่อมวลชนเข้าร่วมทำข่าวการประชุมมัชชาวิชาการความมั่นคงทางอาหาร ประจำปี 2555 ในหัวข้อ ‘อิสรภาพทางพันธุกรรม อธิปไตย และความมั่นคงทางอาหาร’ ระหว่างวันที่ 16-17 พฤษภาคม 2555 ณ อาคารวชิรานุสรณ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อร่วมกันผลักดันทางเลือกและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมบนพื้นฐานความมี ‘อิสรภาพ’ ของเกษตกรรายย่อย และระบบเกษตรกรรมไทยที่สามารถเผชิญหน้าการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกอย่างเข้มแข็งมากขึ้นได้ โดยตลอดทั้ง 2 วันจะมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และแลกเปลี่ยนมุมมองข้อคิดเห็นในประเด็นแหลมคมต่างๆ ทั้งในมิติของการแย่งยึดที่ดินโดยบรรษัทยักษ์ใหญและกองทุนขนาดใหญ่ที่เข้ามายึดครองพื้นที่การเกษตร การปนเปื้อนจีเอ็มโอในพื้นที่เกษตรกรรมที่จะกระทบความปลอดภัยทางอาหารและการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย ไปจนถึงการขาดความเป็นธรรมในระบบการกระจายอาหารในภาวะวิกฤตจนเป็นที่มาของการสร้างโมเดลการจัดการอาหารรับมือน้ำท่วม ดังต่อไปนี้
การแสดงปาฐกถานำว่าด้วยการแย่งยึดที่ดินกับความมั่นคงทางอาหาร (Land grab and food security) โดย Ms. Renée Vellvécoordinator of GRAIN องค์กรระหว่างประเทศที่ติดตามการแย่งยึดที่ดินระดับโลกและภูมิภาคต่างๆ จนได้รางวัลโนเบลทางเลือกของรัฐสภาสวีเดนประจำปี 2554
การปาฐกถามุ่งนำเสนอข้อมูลและสถานการณ์เกี่ยวกับการแย่งยึดทรัพยากรที่ดิน การวิเคราะห์แนวโน้มการแย่งยึดที่ดินในระดับโลกและภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงการวิเคราะห์ผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและความอยู่รอดของเกษตรกรรายย่อยในปัจจุบัน อันรวมถึงทิศทางของประเทศไทยในการสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารท่ามกลางสถานการณ์แหลมคมของการล่าอาณานิคมทางอาหารด้วยการครอบครองพื้นที่เกษตรกรรมโดยบรรษัทยักษ์ใหญ่ กองทุนขนาดใหญ่ และประเทศส่งออกน้ำมันและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ในนามของการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ
 
การรายงานผลการตรวจสอบการปนเปื้อนของพืชจีเอ็มโอ (GMO) ในประเทศไทย พ.ศ.2554-2555 โดย ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์ ผอ.ห้องปฏิบัติการทรานสเจนิคเทคโนโลยีในพืชและไบโอเซ็นเซอร์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
            ผลการค้นพบการหลุดลอดของพืชดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) ในพื้นที่เกษตรกรรมของประเทศไทยไม่เพียงส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์การเป็นครัวโลกเพราะผู้บริโภคทั้งชาวไทยและเทศขาดความเชื่อมั่นในความปลอดภัยทางอาหารจนเป็นที่มาของการสูญเสียตลาดส่งออกจากการที่ประเทศสหภาพยุโรปส่งกลับผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารที่ปนเปื้อนจีเอ็มโอเท่านั้น ทว่าการปนเปื้อนของพืชจีเอ็มโอยังจะกลายเป็นข้ออ้างของการผลักดันให้เกิดการปลูกพืชจีเอ็มโอในเชิงพาณิชย์ที่เกษตรกรไทยและระบบเกษตรกรรมไทยจะตกอยู่ใต้อาณัติอิทธิพลของบรรษัทข้ามชาติที่ผูกขาดเทคโนโลยีและเมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอ   
 
Workshop บทบาทบรรษัทในระบบเกษตรกรรมและอาหาร โดยตัวแทนบรรษัทเกษตรและอาหารยักษ์ใหญ่ เกษตรกรในระบบเกษตรพันธสัญญา (contract farming) นักวิชาการ และนักกิจกรรมทางสังคม ที่จะมาร่วมกันสร้างจุดดุลยภาพนระบบเกษตรกรรมและอาหารที่มีความเกื้อกูลและเป็นธรรมทั้งกับเกษตรกรรายย่อย ผู้บริโภค และบรรษัทอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร
            การประชุมเชิงปฏิบัติการที่เปิดมุมมองใหม่ในการสร้างความเป็นธรรมในระบบเกษตรและอาหารที่ทุกฝ่ายเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลร่วมกันอันจะยังประโยชน์ต่อเกษตรกรรายย่อย ผู้บริโภค และบรรษัทยักษ์ใหญ่ ในการร่วมกันลดผลกระทบเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
 
นิทรรศการครัวน้ำหลาก: โมเดลการจัดการอาหารรับมือน้ำท่วม โดยกลุ่ม Gen-V และมูลนิธิเกษตรกกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) โมเดลรับมือวิกฤตพิบัติภัยในระดับครัวเรือนที่จะสร้างความแตกต่างระหว่างผู้เตรียมพร้อมกับไม่เตรียมพร้อม เพราะจะทำให้ในช่วงมหาอุทกภัยไม่ต้องกระเบียดกระเสียรเรื่องอาหารเพราะซื้อหาอาหารจากร้านโมเดิร์นเทรดไม่ได้ ด้วยทุกครอบครัวสามารถจัดเตรียมอาหารได้ด้วยต้นทุนแสนต่ำ ทั้งยังอร่อย และมีคุณค่าโภชนาการครบถ้วน



สมัชชาวิชาการความมั่นคงทางอาหาร ประจำปี 2555
‘อิสรภาพทางพันธุกรรม อธิปไตย และความมั่นคงทางอาหาร’
ระหว่างวันที่ 16-17 พฤษภาคม 2555
ณ อาคารวชิรานุสรณ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
 
วันที่ / เวลา
 
กิจกรรม
 
 
 
วันพุธที่ 16 พฤษภาคม 2555
 
 
08.00 - 09.00 น.  
09.00 - 09.10 น.
 
 
09.10 - 09.20 น.
09.20 - 09.30 น.
              
 
ลงทะเบียน
กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุมสมัชชาวิชาการความมั่นคงทางอาหาร ประจำปี 2555
โดย รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์
       ผอ.สำนักรณรงค์และสื่อสารสาธารณะเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ชมวีดีทัศน์เรื่อง ‘อิสรภาพทางพันธุกรรม: ปฏิบัติการและกลไกการสร้างอธิปไตยและความมั่นคงทางอาหารของภาคประชาชน’
การแสดงศิลปวัฒนธรรมขับร้องเพลงพื้นบ้าน
โดย ตัวแทนศิลปินลำนำอีสาน
 
 
09.30 - 10.45 น.
 
การแสดงปาฐกถานำเรื่อง ‘Land grab and food security’
โดย Ms. Renée Vellvécoordinator of GRAIN
แปลภาษาโดย ชนิดา จรรยาเพศ แบมฟอร์ด โครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา (โฟกัส)
 
 
10.45 - 11.00 น.
 
พัก/ อาหารว่าง
 
 
11.00 - 12.00 น.
 
6 สถานการณ์เด่นด้านความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทย
(1) รายงานผลการตรวจสอบการปนเปื้อนของพืชจีเอ็มในประเทศไทย พ.ศ.2554-2555
โดย ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์
       ผอ.ห้องปฏิบัติการทรานสเจนิคเทคโนโลยีในพืชและไบโอเซ็นเซอร์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(2) การรวมศูนย์การกระจายอาหารกับผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารในช่วงมหาอุทกภัย
โดย รพิจันทร์ ภูริสัมบรรณ
       นักวิจัยมูลนิธิชีววิถี
(3) นโยบายความปลอดภัยทางอาหารกับสถานะการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
โดย ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์
       ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
(4) สถานะของปัญหาและนโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม
โดย ผศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง
      คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(5) นโยบายการบริหารจัดการน้ำกับผลกระทบต่อเกษตรกรและชุมชนท้องถิ่น
โดย หาญณรงค์ เยาวเลิศ
      ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (ประเทศไทย)
(6) ความมั่นคงทางอาหารภายใต้กระแสการค้าการลงทุนของจีนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
โดย วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ
       ผอ.มูลนิธิชีววิถี
 
 
12.00 - 13.00 น.
 
 พัก/ อาหารกลางวัน
 
 
13.00 - 15.00 น.
 
การอภิปรายกลุ่ม (Panel discussion)
ห้องที่ 1
นโยบายรัฐในการส่งเสริมพัฒนาเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกร/วิสาหกิจชุมชน
โดย ชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ
     อธิบดีกรมการข้าว
    จิรากร โกศัยเสวี*
     อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
     ดร.ธำรงศิลป โพธิสูง
     ผอ.ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ
      อุบล อยู่หว้า
      เครือข่ายอิสรภาพทางพันธุกรรม
ดำเนินการอภิปรายโดย
     สุเมธ ปานจำลอง
     ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน
 
การอภิปรายกลุ่ม (Panel discussion)
ห้องที่ 2
โครงสร้างและปัญหาการผูกขาดในระบบเกษตรกรรมและอาหารของประเทศไทย
- ประเด็นด้านความเป็นธรรมในระบบเกษตรพันธสัญญา
โดย รศ.ไพสิฐ พาณิชย์กุล
      คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ประเด็นด้านการผูกขาดในระบบเกษตรกรรมและอาหาร
โดย ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์
      ผอ.วิจัย ฝ่ายการวิจัยแผนงานเศรษฐกิจรายสาขา
      มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
- ประเด็นด้านความล้มเหลวของนโยบายรัฐด้านสินค้าเกษตร
โดย รศ.ดร.สมพร อิศวิลานนท์
       สถาบันคลังสมองของชาติ
- ประเด็นด้านการรวมศูนย์ของโมเดิร์นเทรดที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร: การวิเคราะห์บทเรียนจากมหาอุทกภัย
โดย ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล
      ผอ.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์
      มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ดำเนินการอภิปรายโดย
     จักรชัย โฉมทองดี
      กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)
 
 
15.00 - 15.15 น.
 
พัก/ อาหารว่าง
 
 
15.15 - 17.00 น.
 
ห้องที่ 1
บทเรียนและความท้าทายของวิสาหกิจชุมชนในการอนุรักษ์ ปรับปรุง และพัฒนาเมล็ดพันธุ์
โดย บุญส่ง มาตขาว
      เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จ.ยโสธร
      จันทร์คำ กองมูล
      วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช จ.เชียงใหม่   
      พิรุณ ทองดี
      กลุ่มเกษตรกรทำนาน้ำแพร่ จ.เชียงใหม่
     บุญรอด สระทองดี
      โรงเรียนชาวนา ต.บ้านดอน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
      นพดล มั่นศักดิ์
      มูลนิธิการจัดการความรู้และเครือข่ายโรงเรียนชาวนา
      จ.นครสวรรค์
ดำเนินการอภิปรายโดย
     สุบิน ฤทธิ์เย็น
     นักวิจัยมูลนิธิชีววิถี
 
ห้องที่ 2
ความมั่นคงทางอาหาร: ผลการศึกษาและการขับเคลื่อนนโยบายระดับชุมชนและระดับชาติ
โดยรศ.ดร.ประภาพร ขอไพบูลย์
       ผู้ประสานงานชุดโครงการความมั่นคงอาหาร
      สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
      อภิชาต จงสกุล*
       เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
       ดร.ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ
       ผอ.กองควบคุมอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
     สุภา ใยเมือง
       ผอ.มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)
ดำเนินการอภิปรายโดย
     ดร.กฤษฎา บุญชัย
       นักวิชาการอิสระ
 
 
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม 2555  
 
 
08.00 - 09.00 น.
09.00 - 09.30 น.
 
ลงทะเบียน
สรุปประเด็นการอภิปราย
 โดย วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผอ.มูลนิธิชีววิถี
 
 
09.30 - 09.45 น.
 
การแสดงดนตรีโฟล์ค
โดย ราเมศวร์ เลขยัน ศิลปินผู้สืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่
 
 
09.45 - 10.00 น.
 
พัก/ อาหารว่าง
 
 
10.00 - 12.30 น.
 
การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)
ห้องที่ 1
การอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ของเกษตรกรรายย่อย กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน
โดย ตัวแทนเกษตรกรรายย่อย/ กลุ่มเกษตรกร/ วิสาหกิจชุมชน         
      เอ็นนู ซื่อสุวรรณ
       อดีตรองผู้จัดการธนาคารธนาคารเพื่อการเกษตร
       และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
       ดร.บุญรัตน์ จงดี
       ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี
      ดร.จารุวรรณ จาติเสถียร
      ผอ.สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร
      ดร.ประพนธ์ บุญรำพรรณ
      รอง ผอ.ฝ่ายบริการงานวิจัย สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์ 
      เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์
      ดร.ชมชวน บุญระหงษ์
      วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ดำเนินรายการโดย
     วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ
       ผอ.มูลนิธิชีววิถี
 
การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)
ห้องที่ 2
บทบาทบรรษัทในระบบเกษตรกรรมและอาหาร
โดย ณรงค์ เจียมใจบรรจง
      รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส
      บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
      ตัวแทนเครือบริษัทเบทาโกร (สายธุรกิจไก่/ สุกร/ อาหาร)*
      ตัวแทนบริษัทสหฟาร์ม จำกัด*
      โชคสกุล มหาค้ารุ่ง
      กลุ่มเกษตรกรการเกษตรพันธสัญญา
     ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
      คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
      ทัศนีย์ แน่นอุดร
      บรรณาธิการนิตยสารฉลาดซื้อ
      วัลลภา แวน วิลเลียนส์วาร์ด

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท