Skip to main content
sharethis
Event Date


Thatcher is Dead! Long Live Thatcherism!
โดย ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ และ ดร.วิโรจน์ อาลี
วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน เวลา 16:00น. เป็นต้นไป

มาร์กาเรต แธตเชอร์ อดีตประธานาธิบดีสหราชอาณาจักร (ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2522 ถึง 2533) ได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2556 ที่ผ่านมา การเสียชีวิตของเธอก่อให้เกิดกระแสทั้งยกย่องและวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง The Reading Room จึงขอเชิญทุกท่านร่วมทำความเข้าใจอิทธิพลและมรดกของมาร์กาเรต แธตเชอร์ ในงานเสวนา "Thatcher is Dead! Long Live Thatcherism!" ร่วมสนทนากับ ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ และ ดร.วิโรจน์ อาลี ในวันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน เวลา 16:00น.

มาร์กาเรต แธตเชอร์ เป็นหนึ่งในผู้นำทางการเมืองที่มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงสังคมของสหราชอาณาจักรมากที่สุดคนหนึ่ง เห็นได้ชัดจากความหลากหลายของปฏิกิริยาที่มีต่อการจากไปของสุภาพสตรีเหล็กท่านนี้ (Iron Lady) ที่มีทั้งการระลึกถึงอย่างเปลี่ยมไปด้วยความเคารพและอาลัย อย่างวารสาร The Economist ที่นำภาพของเธอขึ้นหน้าปก พร้อมใช้คำโปรยว่านักสู้เพื่ออิสรภาพผู้ปลดปล่อยระบบเศรษฐกิจและผู้ประกอบการออกจากการควบคุมวางแผนของรัฐ (micromanagement of state) รวมไปถึงการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจในยุโรปตะวันออกและสหภาพ โซเวียตให้เปิดกว้างมากขึ้น

แต่ในขณะเดียวกัน กลุ่มฝ่ายซ้าย และสหภาพแรงงาน รวมไปถึงคนที่ผ่านช่วงเวลาอันยากลำบากในช่วงทศวรรษ 1980 ได้ส่งเสียงแสดงความยินดีที่ปะปนไปด้วยการก่นด่าถึงการตายได้เสียทีของแทตเธอร์ในฐานะผู้ทำลายรากฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของสหราชอาณาจักร เป็นต้นตอของความเหลื่อมล้ำทางสังคมในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมาของสหราชอาณาจักร และทอดทิ้งระบบรัฐสวัสดิการซึ่งเป็นมรดกทางการเมืองหลังสงครามโลกของสหราชอาณาจักร รวมถึงยังมีประเด็นปัญหาอื้อฉาวทั้งเรื่องการรับมือกับอดอาหารประท้วงเรื่องปัญหาไอร์แลนด์เหนือจนเสียชีวิตชองบ็อบบี้แซนด์ เรื่องสงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการประท้วงของคนงานเหมืองที่ส่งผลกระทบต่อสหภาพและวิถีชีวิตของคนงานเหมืองในเวลาต่อมาอย่างรุนแรง

ความไม่ลงรอยในความรู้สึกและความทรงจำ ของอิทธิพลทางความคิดและนโยบายของมาร์กาเรต แธตเชอร์ ทำให้คนรุ่นหลังต้องพยายามทำความเข้าใจมรดกของเธอต่อประเทศและต่อโลก ไม่ใช่เพื่อตัดสินว่าแธตเชอร์เป็นวีรบุรุษหรือทรราช ไม่ใช่เพื่อประเมินว่านโยบายของแทตเธอร์เป็นสิ่งที่ดีหรือเลว แต่เพื่อทำความเข้าใจถึงรากฐานทางความคิดของแทตเธอร์ และผลกระทบทางนโยบายที่มีต่อสังคมสหรชอาณาจักรและประชาคมโลก

เกี่ยวกับวิทยากร
ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมือง (Political Economy)
ดร.วิโรจน์ อาลี จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ (International Political Economy)

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net