การประชุมสาธารณะระดับภูมิภาค “เขื่อนดอนสะโฮงในลาว: ความเห็นของกัมพูชา ไทย และเวียดนาม”

Event Date: 
Wednesday, 19 February, 2014 - 08:30
วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 08.30 น. – 16.30 น.
ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
เขื่อนดอนสะโฮง เขื่อนซึ่งมีกำลังผลิตขนาด 256 เมกะวัตต์ ถูกกำหนดให้สร้างในพื้นที่ “ฮูสะโฮง” อันเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ที่สุดของลาวและของภูมิภาคแม่น้ำโขงที่เรียกกันว่าพื้นที่ ‘สีทันดอน’ หรือ ‘สี่พันดอน’ (สี่พันเกาะ) ของเมืองโขง แขวงจำปาสักในภาคใต้ของประเทศลาว ที่เต็มไปด้วยเกาะแก่ง หุบห้วย และน้ำตกที่มีชื่อเสียงคือคอนพะเพ็งและหลี่ผีพื้นที่แห่งนี้ห่างจากชายแดนลาว-กัมพูชาไม่ถึง 2 กิโลเมตร และเป็นพื้นที่สำคัญที่สุดในการอพยพขึ้นลงของปลาแม่น้ำโขงเพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ ปลานานาชนิดรวมทั้งปลาบึก และโลมาอิรวดี อพยพผ่านทางน้ำแห่งนี้โดยมีการศึกษาในทางการประมงยืนยันว่า ฮูสะโฮงเป็นช่องทางน้ำเดียวในพื้นที่ดังกล่าว ที่มีน้ำไหลผ่านตลอดปี และไม่สูงชันจนเกินไป เหมาะสมต่อการอพยพของปลาในแม่น้ำโขง
 
ในวันที่ 30 กันยายน 2556 รัฐบาลสปป. ลาว ส่งเอกสารในระดับ “แจ้งให้ทราบล่วงหน้า” ผ่านสำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (เอ็มอาร์ซี) ไปยังประเทศสมาชิกอื่น ๆ เพื่อแสดงการตัดสินใจสร้าง “เขื่อนดอนสะโฮง” ในพื้นที่แขวงจำปาสักของสปป.ลาว ทั้งนี้ ทางสปป. ลาวเลือกที่จะดำเนินการในระดับเพียง “แจ้งให้ทราบล่วงหน้า” ไม่ใช่การ “ปรึกษาหารือล่วงหน้า” ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติภายใต้ข้อตกลงแม่น้ำโขงปี 2538 (Mekong Agreement 1995) ในกรณีที่โครงการตั้งอยู่บนแม่น้ำโขงสายหลักและจะมีผลกระทบต่อประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้จากคำอธิบายของสปป. ลาว เขื่อนดอนสะโฮงสร้างในช่องทางน้ำเพียงช่องทางเดียว ในพื้นที่ซึ่งมีลักษณะทางกายภาพที่เป็นพิเศษ ดังนั้น แม้จะไม่สามารถเรียกได้ว่าเขื่อนดอนสะโฮงเป็นเขื่อนในแม่น้ำสาขา แต่เขื่อนดังกล่าวในความเห็นของสปป. ลาว ก็มิได้สร้างอยู่บนแม่น้ำโขงสายหลัก (ทั้งสาย) ด้วยเช่นกัน
 
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทย กัมพูชาและเวียดนาม ต่างทำจดหมายอย่างเป็นทางการ เพื่อเสนอให้สปป. ลาวปรึกษาหารือกับประเทศเพื่อนบ้านให้ถี่ถ้วน พร้อมทั้งแสดงความเป็นห่วงทั้งในเรื่องสถานภาพของเขื่อนดอนสะโฮงโดยผลกระทบที่ใหญ่ที่สุดคือเรื่องการประมง ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประเทศเพื่อนบ้าน และในประเด็นที่การศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิค  การประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม และผลการศึกษาด้านการประมงที่ทางสปป.ลาวได้ทำขึ้นยังไม่ครบถ้วนครอบคลุมเท่าที่ควร
 
ในปัจจุบัน แม้ว่าที่ประชุมวาระพิเศษเกี่ยวกับเขื่อนดอนสะโฮงในวันที่ 16 มกราคม 2557 ได้ลงมติเสนอการตัดสินใจในกรณีเขื่อนดอนสะโฮง ให้เป็นวาระของการประชุมตัดสินใจในระดับรัฐมนตรีเพื่อหาแนวทางขั้นต่อไป และรัฐบาลสปป. ลาว ยังแถลงต่อที่ประชุม โดยเสนอว่า1. ยินดีจัดตั้งการตรวจสอบร่วมสำหรับโครงการดอนสะโฮงในระหว่างการพัฒนาทุกขั้นตอน 2. วางแผนจะจัดให้มีการเยี่ยมชมพื้นที่โครงการ (เป็นครั้งที่ 2) ในระหว่างวันที่ 11-13 มีนาคม เพื่อให้เห็นโดยทั่วกันว่าปลาสามารถอพยพว่ายผ่านทางปลาผ่านตามธรรมชาติอื่น ๆ ได้ในฤดูแล้ง และ 3. เสนอให้จัดการประชุมปฏิบัติการทางเทคนิคในสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม เพื่อพูดคุยในประเด็นทางเทคนิคและสิ่งแวดล้อมทั้งหมดซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงการ เพื่อไตร่ตรองประเด็นข้อกังวลของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย หากแต่หลายฝ่ายยังมีความกังวลว่า ข้อเสนอดังกล่าวของสปป. ลาว อาจไม่สอดคล้องกับความจำเป็นในการหยิบยกประเด็นข้อกังวลมาพูดคุยกันได้โดยทันท่วงที ก่อนที่การก่อสร้างเขื่อนจะดำเนินต่อไป ดังที่รัฐบาล สปป.ลาวเคยเสนอว่าจะเริ่มสร้างเขื่อนดอนสะโฮงในเดือนพฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมา และคาดว่าจะสร้างเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 และจะเริ่มขายไฟในเดือนพฤษภาคม 2561 ให้กับการไฟฟ้าแห่งชาติลาว (Electricite du Laos: EDL) เพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นภายในประเทศลาว
 
การประชุมสาธารณะระดับภูมิภาคครั้งนี้ เกิดขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูล รายละเอียดเกี่ยวกับเขื่อนดอนสะโฮง รวมถึงกระบวนการ ขั้นตอนทีกำลังเกิดขึ้นให้แก่สาธารณชนซึ่ง ไม่เพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่รวมถึงสาธารณชนของประเทศต่าง ๆ ในลุ่มแม่น้ำโขงด้วยโดยมีจุดประสงค์ดังนี้
 
1. เพื่อแสดงให้เห็นสถานการณ์ที่พัฒนาไปอย่างต่อเนื่องในกรณีเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายหลักและผลกระทบที่เกิดขึ้นซึ่งสมควรได้รับความสนใจจากสาธารณชน นับตั้งแต่เขื่อนในเขตประเทศจีนที่สร้างเสร็จไปแล้ว 4 เขื่อน อีก 4 เขื่อนกำลังดำเนินการก่อสร้าง เขื่อนไซยะบุรีบนแม่น้ำโขงสายหลักตอนล่างในสปป. ลาวที่กำลังทำการก่อสร้างอยู่ในขณะนี้ และปัจจัยเงื่อนไขที่ส่งผลให้ข้อเสนอการสร้างเขื่อนดอนสะโฮงในปัจจุบัน ทั้งนี้ โดยเสนอแง่มุมเกี่ยวกับโครงการที่มีผลกระทบข้ามพรมแดนในภูมิภาค
2. เพื่อเสนอผลการศึกษาวิจัยจากทั้งในระดับพื้นที่ โดยกลุ่มภาคประชาชน และการศึกษาของนักวิชาการในประเด็นเขื่อนแม่น้ำโขง ทั้งนี้ เพื่อให้ข้อถกเถียงและข้อยืนยันในทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและวิถีชีวิตของประชาชน ถูกนำมาเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจเกี่ยวกับการสร้างโครงการ
3. เพื่อยืนยันความเห็นร่วมกันในเรื่องข้อเสนอต่อสปป. ลาวในกรณีเขื่อนดอนสะโฮง ในการปรึกษาหารืออย่างโปร่งใส และคำนึงถึงข้อมูล ข้อเท็จจริง และข้อเสนอให้เกิดความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในประเด็นที่เกี่ยวกับการสร้างเขื่อนแม่น้ำโขงทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับช่วงเวลาในการดำเนินการเกี่ยวกับเขื่อนดอนสะโฮง และเพื่อการทำงานอย่างต่อเนื่องในระยะยาวในบริบทของการปรับปรุงหรือปฏิรูปโครงสร้างการทำงานในระดับประเทศในประเด็นโครงการขนาดใหญ่ และการตัดสินใจของรัฐบาลโดยความร่วมมือกับภาคประชาสังคมและภาควิชาการ
 
ร่างกำหนดการประชุม
8.30-9.00 น                         ลงทะเบียน
9.00-9.20                            กล่าวต้อนรับและกล่าวถึงที่มาของการประชุม
                                          โดย ตัวแทนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รอการยืนยัน)
9.20-9.40                             ความเป็นมาและสถานการณ์การสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายหลักในปัจจุบัน
      โดยตัวแทนจากโครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น้ำโขง (TERRA) มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ
9.40-10.00                           ข้อตกลงแม่น้ำโขงและกระบวนการทำงานภายใต้กรอบกรรมาธิการแม่น้ำโขงของสำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงและประเทศสมาชิกทั้งสี่ (ประเทศไทยลาว กัมพูชาและเวียดนาม) โดย (รอการยืนยัน)
10.00-10.30                         ประเด็นสำคัญที่ควรคำนึง เกี่ยวข้องกับการเสนอการสร้างเขื่อนดอนสะโฮงในสปป. ลาว
                                                1) ประเด็นเรื่องลักษณะทางกายภาพ และการไหลของน้ำในพื้นที่สีพันดอน
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยุทธ สุขศรี
ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย       
10.30-10.50                        พักรับประทานอาหารว่าง
10.50-11.20                        ประเด็นสำคัญที่ควรคำนึงเกี่ยวข้องกับการเสนอการสร้างเขื่อนดอนสะโฮงในสปป. ลาว
                                                2) ประเด็นเรื่องการประมง
                                                โดยนายเชง เพ็ญ
                                                รักษาการผู้อำนวยการ สถาบันพัฒนาและวิจัยการประมงน้ำจืด กรมการประมง กระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมง ประเทศกัมพูชา
11.20-11.40                         ประเด็นสำคัญที่ควรคำนึงเกี่ยวข้องกับการเสนอการสร้างเขื่อนดอนสะโฮงในสปป. ลาว
                                                3) สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงและข้อกังวลเรื่องเขื่อนในแม่น้ำโขงสายหลัก
                                                โดย ดร. เลอ ดุค ตรุง
                                                อธิบดี คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศเวียดนาม (รอการยืนยัน)
11.40-12.00                        ผลกระทบจากการสร้างเขื่อน และสถานการณ์น้ำโขงท่วมในปัจจุบัน จากการศึกษาของกลุ่มภาคประชาชนในประเทศไทย
                                                โดย ตัวแทนจากสภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน ประเทศไทย
12.00-12.30                         เปิดให้มีการแลกเปลี่ยนซักถาม
12.30-14.00                         รับประทานอาหารกลางวัน
14.00-16.00                         การแลกเปลี่ยนสนทนาเกี่ยวกับการประสบการณ์การทำงานของกลุ่มภาคประชาสังคมและภาควิชาการ และข้อเสนอต่อประเด็นเขื่อนแม่น้ำโขง
                                                โดย   - ตัวแทนภาคประชาสังคม ประเทศกัมพูชา
                                                          - ตัวแทนภาคประชาสังคม ประเทศเวียดนาม
                                                          - ตัวแทนภาคประชาชน ประเทศไทย (จากกรณีเขื่อนปากมูล)
                                                          - ตัวแทนฝ่ายวิชาการ (รอการยืนยัน)
                                                          - ตัวแทนบริษัทผู้ลงทุน หรือธนาคาร (รอการยืนยัน)
                                                ดำเนินการอภิปรายโดยตัวแทนองค์กรนานาชาติที่ทำงานในประเด็นแม่น้ำโขง(เช่น องค์การแม่น้ำนานาชาติ เป็นต้น)
16.00-16.20                        กล่าวสรุปและอภิปรายเกี่ยวกับประเด็นข้ามพรมแดนในลุ่มแม่น้ำโขงและอาเซียน โดย ศาสตราจารย์สุริชัย หวันแก้ว
     ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
16.20-16.30                        กล่าวปิด โดย (รอการยืนยัน)
----------------------------------------------
 
 
หมายเหตุ:  กำหนดการปรับเปลี่ยนล่าสุด ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557
 
**กรุณายืนยันการเข้าร่วม ภายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2557
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ: รัฐวิทย์ เรืองประโคน (มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ) โทร. 02 691 0718-20 อีเมล: fer@terraper.org; rattawit@terraper.org    

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท