Skip to main content
sharethis
Event Date

วันพุธที่ 29 มี.ค. 2560 เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ ห้องอาหาร ศูนย์ซ่อมบำรุงคลองตัน บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด จัดโดย สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฟ้า (สร.รฟฟ.) ร่วมกับ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)

08.30 – 09.00  น.   ลงทะเบียน / รับเอกสาร (เบรกระหว่างการลงทะเบียน)

09.00 – 09.30 น.    ชี้แจงวัตถุประสงค์การเสวนาฯ โดย นายชิตพล  พรหมดนตรี ประธาน สร.รฟฟ.   พิธีเปิดการเสวนาฯ โดย นายประกอบ ปริมล เลขาธิการ สรส.

09.30 – 12.00 น.       เวทีเสวนา “นโยบาย PPP กับอนาคตความอยู่รอดของ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด”

                           โดย นายสาวิทย์ แก้วหวาน  ที่ปรึกษา สรส.

                                คุณสมลักษณ์ หุตานุวัตร นักวิชาการอิสระ

                                ผู้แทนของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด อยู่ในระหว่างการประสานงาน>

                                ผู้แทนของ ร.ฟ.ท. อยู่ในระหว่างการประสานงาน>

                                ผู้แทนของ สคร. อยู่ในระหว่างการประสานงาน>

                                ดำเนินรายการ  โดย  อยู่ในระหว่างการประสานงาน>

12.00 น.             สรุป และ ปิดการเสวนา

 

หลักการและเหตุผล

บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เป็นบริษัทลูกของ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่ทำหน้าที่รับจ้างเดินรถไฟฟ้าระบบรางให้กับ ร.ฟ.ท. ตามโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกับสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานภายในเมือง โดยจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554

ในปัจจุบัน บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ได้ดำเนินงานมาครบ 6 ปี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 มีผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐานสากล ทั้งเรื่องความตรงเวลาของการให้บริการ (Service Punctuality) ความพร้อมของการให้บริการ (Service Availability) และความปลอดภัยของการให้บริการ โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ที่เริ่มให้บริการเป็นต้นมา ยังไม่มีอุบัติเหตุเลย (สถิติบาดเจ็บและสูญเสียชีวิตเป็นศูนย์) บริการเดินรถได้รับความนิยมใช้บริการมากขึ้นเรื่อยๆ ดังเห็นได้จาก อัตราการเติบโตของผู้โดยสารเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 10
ซึ่งนับเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงานของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ได้เป็นอย่างดี แต่กระนั้นก็ตาม บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ยังมีปัญหาอุปสรรคในเชิงนโยบายของการบริหารงานภายในระหว่าง บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด กับ ร.ฟ.ท. ที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดปัญหาที่สำคัญ คือ

1. การดำเนินงานไม่คล่องตัว ต้องรอการตัดสินใจของ ร.ฟ.ท.

2. การจัดหาอะไหล่เพื่อการซ่อมบำรุงใช้เวลานาน ทำให้ยากต่อการบริหารพัสดุคงคลังให้เป็นไปตามแผน โดยเฉพาะการสำรองอะไหล่ 10% ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลยังไม่สามารถดำเนินการได้

3. ขบวนรถไฟฟ้าที่ใช้วิ่งให้บริการ มีไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้โดยสารที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

ในขณะที่รัฐบาลเองไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รัฐบาลกลับมีนโยบายที่จะให้ ร.ฟ.ท. ร่วมการงานกับบริษัทเอกชนแบบ PPP (Public Private Partnership) ในการร่วมบริหารเดินรถไฟฟ้าระบบราง ซึ่งส่งผลทำให้แผนยุทธศาสตร์ของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ไม่มีความชัดเจนว่า ในอนาคตบทบาทหน้าที่ของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด จะยังคงสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ หรือจะต้องแปลงสภาพไปเป็นเอกชนและถูกควบคุมการบริหารโดยบริษัทเอกชนที่เข้ามารับจ้างเดินรถให้ ร.ฟ.ท. ด้วยนโยบาย PPP

ด้วยเหตุนี้ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฟ้า ร่วมกับ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ จึงได้เริ่มการรณรงค์คัดค้านนโยบาย PPP ที่จะให้บริษัทเอกชนมาร่วมรับจ้างเดินรถไฟฟ้าให้ ร.ฟ.ท. โดยในช่วงเริ่มต้นจะเป็นการให้ความรู้แก่พนักงานด้วยการจัดเวทีเสวนาเรื่อง “นโยบาย PPP กับอนาคตความอยู่รอดของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด” ขึ้นเพื่อช่วยระดมความคิดเห็นและกำหนดแผนอนาคตของ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ร่วมกันของพนักงาน หลังจากที่ได้รวบรวมข้อมูลความคิดเห็นในแนวทางการบริหารงานของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด จะได้นำเสนอให้แก่รัฐบาลเพื่อเป็นทางเลือกให้รัฐบาลพิจารณาต่อไปแทนการกำหนดให้บริษัทเอกชนมาร่วมเดินรถแบบ PPP

วัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการเสวนานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ

1. เพื่อให้พนักงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด มีความเข้าใจในผลกระทบของโนบาย PPP ต่ออนาคตของ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ที่จะให้บริษัทเอกชนมาร่วมเดินรถไฟฟ้าให้กับ ร.ฟ.ท. แทน

2. เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์คัดค้านนโยบาย PPP ที่จะให้บริษัทเอกชนมาร่วมเดินรถไฟฟ้าให้กับ ร.ฟ.ท. แทน บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net