Skip to main content
sharethis

ไพบูลย์ อุปัติศฤงค์

สัปดาห์ที่แล้ววุฒิสภาได้มีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวีธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาฯได้เสนอแก่ที่ประชุมวุฒิสภาหลังจากที่ได้พิจารณาแล้วเสร็จ

ที่ประชุมวุฒิสภามีความเห็นไม่ตรงกับร่างของสภาผู้แทนราษฎรที่ตัดสิทธิของ
ลูกหนี้ไม่ให้คัดค้านการขายทรัพย์ หากการขายทรัพย์ของลูกหนี้ต่ำเกินควร

โดยวุฒิสภาได้เห็นชอบลูกหนี้มีสิทธิ์ร้องศาล หากการขายทรัพย์ทอดตลาดราคาต่ำเกินไป

เดิม พระราชบัญญัตินี้ปัจจุบันที่ใช้อยู่ให้ลูกหนี้ร้องศาลได้เมื่อพิสูจน์ได้ว่าเจ้าหน้าที่ทำการทุจริตต่อหน้าที่

ซึ่งเป็นการยากที่จะหาหลักฐานว่าเป็นการทุจริตจริง
ก็เหมือนกับหาใบเสร็จว่านักการเมืองทุจริตต่อหน้าที่
ลูกหนี้ส่วนใหญ่ก็เลยไม่ค่อยมีใครร้องต่อศาลคัดค้านการขายทอดตลาด

สภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ลูกหนี้ไม่มีสิทธิ์ร้องต่อศาล แต่มุมมองของส.ว.ที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ ๗๙ ต่อ ๓๒ คะแนน เห็นว่าลูกหนี้ไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะมีการเร่งขายทรัพย์ของลูกหนี้ ทำให้ราคาไม่เป็นจริง

และกรมบังคับคดีก็เร่งขายทรัพย์สินของลูกหนี้ เพราะมีรายได้เป็นเปอร์เซ็นต์จากการขายทอดตลาด

ผมได้รับเรื่องร้องเรียนเพราะอยู่ในกรรมาธิการการคลังว่ากรมบังคับคดีมีข้อบกพร่องในการขายทอดตลาด

มีลูกหนี้บางรายไม่ได้รับความเป็นธรรมเพราะราคาประเมินต่ำเกินควร เพราะความผิดพลาดในการตีราคาทรัพย์สินของเจ้าหนี้คือธนาคารผู้ปล่อยเงินกู้

ทำให้ลูกหนี้ต้องขายบ้านในราคาที่ต่ำเกินไป แล้วหากชำระหนี้ไม่เพียงพอ เจ้าหนี้ก็ฟ้องล้มละลายลูกหนี้อีก

มุมมองของผู้เสนอกฎหมายคือ กรมบังคับคดีก็บอกว่า ต้องการความรวดเร็วในการขายทรัพย์ เพราะเจ้าหนี้ต้องการเงินไปชำระให้เร็ว

แต่ผมก็ได้ชี้แจงในที่ประชุมวุฒิสภาว่าเจ้าหนี้เองบางครั้งก็ไม่ค่อยพอใจกับการขายทอดตลาดตามที่ได้ทำมาของกรมบังคับคดี

คือเร่งขายทรัพย์จนราคาต่ำเกินไป จนธนาตารเจ้าหนี้ต้องตั้งสำรอง

เพราะกฎเกณฑ์ของกรมบังคับคดีก็คือถ้าราคาประเมินครั้งแรก ๘๐ เปอร์เซ็นต์ขายไม่ได้ ราคาประมูลครั้งที่สองจะลดเหลือ ๕๐ เปอร็เซ็นต์ ของราคาประเมิน

ผู้ประมูลส่วนใหญ่ก็เลยมีการรอไปประมูลในครั้งที่สอง เพราะได้ราคาที่ถูกและทำกำไรทันที

ที่ประชุมวุฒิ สภาก็ได้มีมติแก้ไขร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ซึ่งให้สิทธิลูกหนี้ร้องศาลกรณีเจ้าหนี้ขายทรัพย์ในราคาต่ำ

ซึ่งประเด็นนี้จะได้เห็นการตั้งกรรมาธิการร่วมของสองสภาในเร็วๆนี้

ผมเองคงจะได้เป็นกรรมาธิการร่วมในการร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ เพราะมีข้อมูลจากกรรมาธิการการคลังไปสนับสนุนการแก้ไขของวุฒิสภา

และขอเรียนท่านว่าในสภาตอนนี้เหงาไปถนัดตา เพราะบรรดา ส.ส.ในสภามักจะไม่ค่อยอยู่เวลาประชุม

เพราะส่วนใหญ่ลงพื้นที่เพื่อเตรียมการเลือกตั้งในต้นปีหน้า หลายท่านก็ลาออกจากการเป็น ส.ส.เพราะต้องย้ายพรรค

ส่วน ส.ว.นั้นเนื่องจากรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าต้องเว้นหนึ่งปีถึงจะเป็นส.ว.อีกสมัยได้
เสมือนว่าเขาไม่ให้เป็นส.ว.สองสมัยติดต่อกัน

ส.ว.ก็เลยมีเปอร์เซ็นต์การประชุมมากกว่า ส.ส.และรัฐธรรมนูญห้ามไม่ให้ส.ว.หาเสียง
ซึ่งต่างกับส.ส.ต้องหาเสียงอย่างหนัก ยิ่งในช่วงนี้ซึ่งเป็นปลายสมัยแล้ว

ในรัฐสภาเมื่อมีการตั้งกรรมาธิการร่วม ความเห็นของส.ว..มักจะชนะความเห็นของ ส.ส.เมื่อมีการลงคะแนน

ก็ต้องติดตามดูว่าสภาผู้แทนฯจะเห็นด้วยกับการแก้ไขของวุฒิสภาหรือไม่

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net