Skip to main content
sharethis

ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากโครงการสร้างเขื่อนและระเบิดแก่งในจีนเป็นประเด็นหนึ่งที่ถูกพูดถึงในวงสนทนาหัวข้อ "ศักยภาพของชุมชนและภาคประชาสังคม" ภายใต้การประชุมเรื่อง "การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและกลไกความร่วมมือในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง" ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมาธิการต่างประเทศ วุฒิสภา คณะ
กรรมาธิการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วุฒิสภา และโครงการฟื้นฟูนิเวศวิทยาในอินโดจีนและพม่า ณ อาคารสหประชาชาติในระหว่างวันที่ 16-18 พ.ย.47

โครงการระเบิดแก่งและสร้างเขื่อนในประเทศจีน ทำให้ประเทศที่อยู่ใต้ลุ่มน้ำได้รับผลกระทบอย่างมาก เนื่องจากกระแสน้ำที่ขึ้น-ลง ผิดปกติ และแรงขึ้น ทำให้ปลามีจำนวนลดลง "ไก" สาหร่ายในแม่น้ำโขงซึ่งเป็นอาหารของปลาก็หายไปด้วย ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง ชาวบ้านขาดแหล่งอาหาร ขาดรายได้ เกิดภาวะน้ำท่วม ดินพังทลายไม่มีที่ทำกิน วิถีชีวิตเปลี่ยนไป

นักพัฒนาเอกชนจากจีนรายหนึ่งกล่าวยอมรับว่า การสร้างเขื่อนและระเบิดแก่งเป็นเหตุทำให้ประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขงได้รับความเดือดร้อน ซึ่งเขาเองก็รู้สึกเสียใจ และจะผลักดันข้อเสนอให้ลดการสร้างเขื่อนลงเพื่อพยายามลดผลกระทบที่จะเกิดตามมา

ขณะที่ผู้ร่วมประชุมจากประเทศเวียดนามเสนอให้ออกกฎหมายว่าด้วย "คุณภาพน้ำระหว่างประเทศ" เพื่อรองรับการกระทำของประเทศผู้ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรที่นานาชาติเป็นเจ้าของร่วมและเรียกร้องให้ชดเชยหรือทดแทนให้กับผู้ได้รับผลกระทบ

น่าจับตามองว่า ถ้าหากกฎหมายนี้ออกมาแล้วจีนจะแสดงท่าทีและมีการจัดการอย่างไรกับประเทศใต้ลุ่มแม่น้ำที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำของตน

วลัยพรรณ ภูมิภักดิ์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net