Skip to main content
sharethis

27-12 ศูนย์เตือนภัย-บทความ

ศูนย์เตือนภัยซึนามิแปซิฟิก ต้นแบบศูนย์ฯ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ศูนย์การเตือนภัยคลื่นซึนามิในแถบมหาสมุทรแปซิฟิก (The Pacific Tsunami Warning System)

ศูนย์การเตือนภัยแห่งของสหรัฐรวมถึงระบบของประเทศญี่ปุ่น รัสเซีย ชิลี และในแถบส่วนกลาง ได้รวมกันเป็นศูนย์การเตือนภัยคลื่นยักษ์ซึนามินานาชาติ ซึ่งประกอบด้วย 28 ประเทศด้วยกันรวมถึงชาติสมาชิกของ ITSU ในแถบแปซิฟิก รวมถึงประเทศไทยด้วย

ศูนย์การเตือนภัยคลื่นยักษ์ซึนามินานาชาติ นั้นประกอบไปด้วยสถานีข้อมูลแผ่นดินไหว 69 แห่ง สถานีข้อมูลกรมอุทกศาสตร์ 65 แห่ง และ สถานีการกระจายข้อมูลอีก 101 แห่งที่กระจายตัวกันอยู่ในเขตมหาสมุทรแปซิฟิก ภายใต้การควบคุมของชาติสมาชิกต่างๆ ของ ITSU ศูนย์เตือนภัยคลื่นยักษ์ซึนามิเขตแปซิฟิกที่ตั้งอยู่ที่ชายหาดอีวา (Ewa Beach ) ใกล้กับเกาะโฮโนลูลู ( Honolulu ) ดำเนินการโดยกรมอุตุนิยมวิทยา แถบแปซิฟิกแห่งสหรัฐอเมริกา

โปรแกรมในการป้องกันและเตือนภัยคลื่นยักษ์ซึนามิแก่ประชาชนแถบชายฝั่งกำลังพัฒนา ซึ่งศูนย์ข้อมูลคลื่นยักษ์ซึนามินานาชาติ ( ITIC-The International Tsunami Information ) เป็นหน่วยงานับผิดชอบหลักในการพัฒนาโปรแกรมนี้ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับองค์กรฝ่ายรัฐและองค์กรด้านเอกชนและองค์กรการป้องกันตัวเองภาคประชาชน

โดยวัตถุประสงค์ของ ITSU ( The Pacific Warning System ) คือการป้องกันและแจ้งเตือนพื้นที่ในการเกดแผ่นดินไหวโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อที่จะตัดสินใจในการแจ้งเตือนว่าจะเกิดคลื่นยักษ์ซึนามิหรือไม่ เพื่อเป็นการปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชน

ศูนย์การเตือนภัยทำงานอย่างไร

การทำงานของระบบเตือนภัยเริ่มต้นด้วยการสืบหาพื้นที่ที่เกิดแผ่นดินไหวเพื่อที่จะคาดการณ์ในการเกิดคลื่นยักษ์ซึนามิ การเกิดแผ่นดินไหวจะต้องรุนแรงเพียงพอที่จะทำให้เครื่องวัดค่าสั่นสะเทือนที่ตั้งอยู่ที่สถานีสามารถอ่านค่าแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งค่าสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นจะถูกบันทึกไว้เป็นครั้งแรก หลังจากนั้นแรงสั่นก็จะสู่พื้นดินเพื่อประมาณค่าแรงสั่นสะเทือนว่าถึง 6.5 ตามมาตราริกเตอร์ หรือมากกว่านั้น ในที่ต่างๆในแถบภาคพื้นแปซิฟิก

ขั้นตอนส่วนนี้สำคัญอย่างมากเพราะเป็นขั้นตอนเพื่อที่จะบ่งบอกได้ว่าจะมีการเตือนหรือเป็นเพียงการเฝ้าระวัง โดยที่เจ้าหน้าที่ที่สถานีก็จะแปรผลค่าแรงสั่นสะเทือนโดยทันที และส่งผลไปที่ ITSU และเมื่อได้รับผลการอ่านค่าแรงสั่นสะเทือน และสามารถบ่งบอกจุดที่เกิดแผ่นดินไหวได้แล้ว ข้อมูลที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ก็จะเป็นตัววัดว่าจะปฏิบัติการอย่างไรต่อไป

โดยหากแผ่นดินไหวรุนแรงเพียงพอที่จะก่อให้เกิดคลื่นยักษ์ซึนามิ กรมอุตุนิยมวิทยาในพื้นที่ที่ใกล้กับจุดที่เกิดแผ่นดินไหว ก็จะได้รับการขอร้องให้เป็นผู้ที่คอยติดตามการประเมินค่าแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้น และประกาศให้สถานีอื่นๆได้รับทราบ หากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงถึง 7 ตามมาตราริกเตอร์ หรือมากว่าในเขตเกาะ Alutian หรือเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงถึง 7.5 หรือมากว่านั้นในเขตแถบแปซิฟิก และบางครั้งหน้าที่นี้อาจจะเป็นของหน่วยงาน PTWC ซึ่งจะเป็นหน่วยงานที่ส่งสัญญาณเตือนไปสู่ศูนย์การเตือนภัยในพื้นที่นั้น

เมื่อกรมอุตุนิยมวิทยาได้รายงานว่าจะเกิดคลื่นยักษ์ซึนามิ คำเตือนนี้ก็จะแพร่สู่หน่วยงานสาธารณะต่างๆ ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ก็จะประกาศเตือน วางแผนในเรื่องการอพยพผู้คนออกจาพื้นที่อันตรายต่อไป

การทำงานของระบบการเตือนภัย

1. เมื่อเกิดแผ่นดินไหวเกิดขึ้น (ซึ่งไม่ใช่ว่าแผ่นดินไหวทุกครั้งจะก่อให้เกิดคลื่นยักษ์ซึนามิ) แรงสั่นสะเทือน
จะเกิดขึ้นและส่งผลกระทบไปตัวรับแรงสั่นสะเทือนใต้น้ำและตัวรับก็จะส่งสัญญาณเสียงเป็นคลื่นถึงทุนลอยเครื่องตรวจจับคลื่นยักษ์ซึนามิที่ลอยอยู่ในบริเวณเขตทะเลในพื้นที่ที่เกิดแผ่นดินไหว

2. ทุนลอยเครื่องตรวจจับคลื่นยักษ์ซึนามิ (DART - Deep ocean Assement Report
ing of Tsunami System )
ก็จะได้รับสัญญาณดังกล่าว เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนในตัวทุนลอยก็จะอ่านค่าแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้น และส่งค่าที่อ่านได้ยิงสัญญาณดาวเทียม

3. ดาวเทียมก็จะเป็นตัวที่ส่งสัญญาณดังกล่าวไปยังศูนย์เตือนภัยเพื่อประมวลผลสัญญาณที่ได้กับข้อมูลที่เก็บไว้ เพื่อประมาณค่าแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว กับการเกิดของคลื่นยักษ์ซึนามิต่อไป

4. เมื่อประมวลผลเป็นที่เรียบร้อยแล้วศูนย์เตือนภัยก็จะแจ้งข้อมูลที่ไดในการเตือนภัย ในการเกิดหรือไม่เกิดให้แก่หน่วยงานในพื้นที่ที่จะเกิดความเสียหายจากปรากฏการณ์ดังกล่าวต่อไป ซึ่งทั้งหมดใช้เวลา 1 ชั่วโมงใน
การคาดการณ์การเกิดของคลื่นยักษ์ซึนามิ

( ดูระบบการทำงานของทุ่นลอยเตือนภัยแผ่นดินไหวและคลื่นซึนามิได้ที่http://www.pmel.noaa.gov/tsunami/Oceans99/index.html และhttp://www.pmel.noaa.gov/tsunami/Dart/dart_ms1.html)

ความสามารถและขีดจำกัดของระบบเตือนภัย

เมื่อคลื่นยักษ์ซึนามิเกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดจากศูนย์กลางแผ่นดินไหว หรือในพื้นที่ใกล้เคียง คลื่นยักษ์ซึนามิก็จะแผ่ขยายออกไปในแนวตรงด้วยความเร็วซึ่งขึ้นอยู่กับความลึกของน้ำ ในกรณีที่เกิดขึ้นในพื้นที่น้ำลึก ความเร็วอาจะสูงถึง 600 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดังนั้นความจำเป็นในการรีบส่งข้อมูลเพื่อที่จะหาทางป้องกันจากเหตุการณ์นี้จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง

เนื่องจากว่า เวลาในการเก็บข้อมูลแผ่นดินไหวและข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา การเตือนภัยของ PTWC ไม่สามารถที่จะป้องกันความเสียหายได้ทันท่วงทีจากคลื่นยักษ์ซึนามิในพื้นที่นั้นได้ในเวลา 1 ชั่วโมง จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะมีการเตือนภัยจากศูนย์การเตือนภัยในบางพื้นที่

ศูนย์การเตือนภัยในพื้นที่นั้นจะต้องได้รับข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลแผ่นดินไหวและกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกับการเกิดแผ่นดินไหว โดยปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 15 นาที หรือน้อยกว่านั้น และการเตือนภัยก็จะขยายสู่ประชาชนในพื้นที่นั้นๆ ถ้าหากว่าการเตือนภัยนั้นมาจากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลแผ่นดินไหวอย่างเดียว เราก็จะๆไม่รู้ว่าจะเกิดคลื่นยักษ์ซึนามิหรือไม่ ที่ไหนอย่างไร และหากมีการเตือนเพียงในเขตพื้นที่อันตรายและความแม่นยำในการเกิดหรือไม่เกิดของคลื่นซึนามินั้นได้เผยแพร่ไปอย่างรวดเร็ว การคลาดเคลื่อนของก็จะลดลงหากสามารถจะจำกัดจำนวนของหน่วยงานที่จะได้รับการติดต่อ การเตือนภัยจึงถูกเผยแพร่เพียงในหน่วยงานเดียวในทุกๆ ประเทศ หรือเขตความรับผิดชอบนั้นๆ

ข้อมูลจากเว็บไซต์ www.drgeorgepc.com และ www.pmel.noaa.gov

ประชาไทรายงาน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net