ฟิลิปปินส์เจอวิกฤติขาดแคลนครู

อินไควเรอร์- ทั้งๆ ที่มีการผลิตบัณฑิตทางด้านศึกษาศาสตร์มามากมายเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครูในโรงเรียนรัฐบาล ทว่า ฟิลิปปินส์ก็ยังพบปัญหาครูไม่พอเนื่องจากส่วนใหญ่สอบไม่ผ่านใบอนุญาตวิชาชีพครู แถมอีกส่วนหนึ่งยังไปทำงานเป็นคนทำงานบ้านในต่างประเทศ

คาร์ล มาร์ค ราโมตา โฆษกพรรคเยาวชน( Anak ng Bayan) กล่าวว่า จริงๆ แล้วส่วนใหญ่พวกที่สอบผ่านใบอนุญาตวิชาชีพครูก็มักจะทำการสอนอยู่ แต่ก็ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่ในที่สุดก็ออกจากงานไปเพื่อไปหางานที่ชอบมากกว่าในต่างประเทศ

"ครูที่ซึ่งควรจะเป็นผู้ที่ผลิตสมองของเยาวชนของชาติกลับกลายเป็นส่วนหนึ่งของภาวะสมองไหลเสียเอง" ราโมตากล่าว

เขายังกล่าวต่ออีกว่าบรรดาครูที่เขาเรียกว่าที่ "ฉลาดที่สุดและดีที่สุด" ปัจจุบันนี้อยู่ต่างประเทศกันหมด

ในแต่ละปีโรงเรียนประจำท้องถิ่นในสหรัฐอเมริกาต้องการจ้างครูถึง 200,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนมาก จนทำให้บริษัทจัดหางานเอกชนวางแผนที่จะจ้างงานครูจากต่างประเทศอย่างน้อยเป็นล้านคนในห้องเรียนของสหรัฐอเมริกาถึงปี 2007

"ที่หนักกว่านั้นก็คือมีครูจำนวนมากที่ยอมออกจากอาชีพที่มีเกียรติในฟิลิปปินส์เพื่อไปทำงานเป็นคนทำงานบ้านในต่างประเทศ" ราโมตากล่าว

ราโมตาได้อ้างจากรายงานขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (Migrante Internation al) ว่า จากจำนวนชาวฟิลิปปินส์ที่ไปทำงานบ้านในฮ่องกง สิงคโปร์ และบางประเทศในตะวันออกกลาง ซึ่งคาดว่ามีประมาณ 160,000 คน ในนี้ร้อยละ 20 เคยเป็นครูหรืออย่างน้อยเคยมีประสบ การณ์ทางด้านการสอนมาก่อน

"มันขัดแย้งกันมากเลยนะ ที่ในขณะที่เราบอกว่าโรงเรียนรัฐบาลนั้นกำลังมีปัญหาขาดแคลนครู แต่ว่ามีคณะต่างๆนับพันๆแห่งได้เปิด โปรแกรมด้านศึกษาศาสตร์หรือ ครุศาสตร์เพิ่มขึ้นทุกปี"

ราโมตากล่าวว่า ในฟิลิปปินส์นั้นคณะศึกษาศาสตร์เป็นคณะที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสอง ทุกๆปีจะมีนักศึกษาว่า 400,000 สนใจที่จะเข้าเรียนในคณะนี้เพื่อจะได้เป็นครู

ในทางปฏิบัติแล้วสถาบันในระดับมหาวิทยาลัยหรือระดับอุดมศึกษาของประเทศนั้นผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันดังกล่าวจะได้ปริญญาบัตรด้านศึกษาศาสตร์ ทั้งนี้จากปีการศึกษา 1994-95 จนถึงปี 2001-02 นั้นการลงทะเบียนในคณะศึกษาศาสตร์หรือการเข้าเรียนโปรแกรมการสอนเพิ่มขึ้นถึง 46.2%

อย่างไรก็ตาม ราโมตายังบอกอีกว่า จากบันทึกของคณะกรรมาธิการระเบียบการผู้ประกอบวิชาชีพ ( Professional Regulation Commission) พบว่า จากผู้ที่เข้าเรียนด้านศึกษา
ศาสตร์นับพันๆแห่งนั้นมีผู้สำเร็จการศึกษาและผ่านการทดสอบในอนุญาตประกอบวิชาชีพเป็นเพียงจำนวนน้อยเท่านั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีนักศึกษาเพียงแสนกว่าๆ คนเท่านั้นที่เรียนจนถึงปีสุดท้าย

และในจำนวนแสนกว่าคนนี้ มีน้อยมากที่สอบผ่านใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู คณะกรรมการทดสอบใบอนุญาตวิชาชีพครูปี 2003ได้จดทะเบียนรับรองผู้ที่สอบผ่านเพียง 26% เท่านั้นหรือคิดเป็นจำนวน 26,000 คนเท่านั้น ทั้งในการศึกษาระดับประถมและมัธยม

ตัวเลขนี้เป็นจำนวนที่ห่างไกลจากจำนวนของผู้ที่ลงทะเบียนเรียนในแต่ละปีมากซึ่งคาดว่ามีการลงทะเบียนประมาณ 400,000 คน ซึ่งหมายความว่าเพียง 25%ของผู้ที่จบการศึกษาเท่านั้นที่การทดสอบใบประกอบวิชาชีพครู

"สถาบันการศึกษาเหล่านี้ทำการผลิตผู้สำเร็จการศึกษาแค่ครึ่งๆกลางๆแล้วก็ส่งเข้าไปกองอยู่กับกลุ่มพวกที่ไม่ผ่านการทดสอบใบอนุญาตวิชาชีพครูและก็กลายเป็นคนว่างงานหรืออยู่ระหว่างการตกงานและโรงเรียนเหล่านี้ก็กลายเป็นโรงงานผลิตพวกอนุปริญญาแทนที่จะเป็นที่อบรมให้กับผู้สอนในอนาคต" ราโมตากล่าว

นอกจากนั้นราโมตายังกล่าวด้วยว่า ตั้งแต่ปี 2001 เงินเดือนข้าราชการซึ่งรวมทั้งเงินเดือนของครูด้วยก็ถูกแช่แข็งคือไม่มีการขึ้นเงินเดือน การขึ้นเงินเดือนครั้งสุดท้ายนั้นมีขึ้นในปี 2000 ซึ่งขึ้น 10% หรือ 440 เปโซ ( 325 บาท) และในปี 2001 อีก 5% หรือ 242 เปโซ (187.86บาท)

ทั้งนี้ เงินเดือนแรกเข้าของครูนั้นอยู่ที่เดือนละ 9939 เปโซ ( 7,370.80 บาท) ซึ่งสูงค่ารายได้ขั้นต่ำในกรุงมนิลาเล็กน้อย ในขณะหากจะให้เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในครอบครัวสำหรับครอบครัวที่มีคน 6 คนในมนิลาจะอยู่ที่ 618.09 เปโซต่อวัน ( 458.37 บาท) หรือ 18,542.70 ต่อเดือน ( 13,751.3 บาท)

นอกจากนี้ ราโมตายังกล่าว่า จากผลการศึกษาขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ( ILO) และ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) พบว่า ครูในฟิลิปปินส์นั้นทำงานโดยเฉลี่ยปีละ 1,176 ชั่วโมงและสอนนักเรียนมากกว่า 50 คนต่อ 1 ห้องเรียน

"แน่นอน ไม่ว่าพวกเขาจะได้รับเงินเดือนเท่าไรก็ไม่เหมาะสมกับภาระงานที่รับผิดอยู่" ราโมตากล่าว " ดังนั้น ครูเหล่านี้จึงไม่ควรถูกตำหนิที่ต้องออกไปทำงานในต่างประเทศ หรือเพื่อไปทำงานเป็นคนทำงานบ้าน"

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท