Skip to main content
sharethis

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะตั้งประเด็น ประเด็นการทุจริตที่ซับซ้อน

....ผมบอกสั้นๆ ว่าผมได้เอกสารนี้มาจากเว็บไซต์เนติบัณฑิตยสภาของสหรัฐฯ ที่มันน่าอายก็คือเอกสารนี้คือ เอกสารประกอบ หลักสูตรการอบรมเกี่ยวกับกฎหมายการทุจริตในต่างประเทศ โดยใครเข้าอบรมวันนี้ก็แจกจ่ายเอกสารนี้ให้เป็นกรณีศึกษา และในการอบรมนี้มีการอภิปรายผ่านทางเว็บไซต์เมื่อวันที่ 24 พ.ค. ที่ผ่านมา

ด้วยผู้เชี่ยวชาญกฎหมายเอฟซีพีเอ ในการบรรยายเกี่ยวกับกฎหมายฉบับนี้หยิบยกกรณี ของอินวิชั่นและประเทศไทยขึ้นมาพูดเป็นการเฉพาะว่า

กรณีนี้เป็นกรณีตัวอย่าง ที่ซับซ้อนกว่าปัญหาการทุจริตหรือการละเมิดกฎหมาย การทุจริตของสหรัฐฯ ในอดีต ซับซ้อนกว่า เพราะว่าเขาบอกว่าบริษัทนึกว่าการมาใช้ผู้จัดจำหน่าย มาดำเนินธุรกิจหรือมาทำอะไรผิด สามารถที่จะตัดตอนให้บริษัทของตัวเองพ้นจากความผิดได้

แต่บัดนี้จากข้อตกลงกับกระทรวงยุติธรรม จากคดีที่ยุติในศาลแขวงแคลิฟอร์เนียกรณีของ ก.ล.ต.นั้น ได้ชี้ชัดแล้วว่าวิธีเลี่ยงกฎหมายของบริษัทของสหรัฐฯ อย่างนี้ใช้ไม่ได้ บริษัทของสหรัฐฯ ไม่ยอม เวลานี้ท่านถึงเปิดเว็บไซต์ของบริษัทกฎหมายทั้งหลายในสหรัฐฯ กรณีมันจึงเป็นกรณีที่โด่งดังมาก

เขาบอกเลยว่า กรณีประเทศไทยเนี่ย การทุจริตมันซับซ้อนกว่าที่อื่น ไม่เหมือนจีน ไม่เหมือนฟิลิปปินส์ แล้วผมจะชี้ให้เห็นว่าทำไมไม่เหมือน จึงมีบริษัทกฎหมายที่เขา ไปอธิบายเลยว่า ในอดีตที่ผ่านมา การติดสินบนที่ทำให้เกิดปัญหากับบริษัทของสหรัฐฯ ติดสินบนโดยตรงผิดอยู่แล้ว ต่อมาเลี่ยงไปใช้บริษัทที่ปรึกษา ต่อมาเลี่ยงไปใช้สิ่งที่เรียกว่า เอเย่นต์หรือตัวแทนก็ถูกอีก ถูกเล่นงาน

แต่ครั้งนี้ผู้จัดจำหน่าย ซึ่งแตกต่างจากตัวแทนคือ มาซื้ออุปกรณ์ไปแล้ว จากบริษัทแล้วไปขายต่อ ที่เคยนึกว่าตัดตอนกันได้เนี่ยไม่ผิดตามกฎหมาย บัดนี้ สหรัฐฯ ถือเป็นการทุจริต ผมไม่เสียเวลาอ่านรายละเอียด เรื่องนี้กระทบชื่อประเทศ เมื่อเอกสารเหล่านี้ปรากฏไปแล้ว และเป็นหลักฐานที่ผ่านกระบวนการสืบสวนสอบสวนกลั่นกรอง ถูกนำไปใช้ในกระบวนยุติธรรมสหรัฐฯ พวกผมต้องดูต่อว่ามันมีการทุจริตจริงหรือไม่ และเมื่อปรากฏข่าวขึ้น ท่าน รมต.หรือผู้เกี่ยวข้องทำอะไร ผมขอตั้งประเด็น เพื่อจะพิสูจน์ต่อว่า ที่เขากล่าวหาว่ามีการทุจริต ทุจริตจริงๆ คือ

สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ชี้แจง

มิสเตอร์ไมเคิล อาร์ แกตบราวน์ รองประธาน และหัวหน้าฝ่ายกฎหมายของจีอี ซึ่งเข้ามาพบเอกอัครราชทูตของไทยที่กรุงวอชิงตันเมื่อปลายเดือน พ.ค. และแสดงความเสียใจ เขาบอกว่าเรื่องนี้เป็น โคลิติไซน์ แปลเป็นไทย แปลว่า มีผู้ทำให้กลายเป็นเรื่องทางการเมือง เขายืนยันต่อหน้าเอกอัครราชทูตไทยในวอชิงตัน เมื่อเดือนที่แล้วว่ามีเจ้าหน้าที่ของเขาไปแนะนำอินวิชั่นจริงว่าให้จ่ายเงิน

ในขณะที่อินวิชั่นไม่ได้ดำเนินการใดๆ ตามคำแนะนำ จึงถือว่าการจ่ายสินบนยังไม่เกิด และไม่ปรากฏข้อมูลว่ามีเจ้าหน้าที่ไทยผู้ใดได้รับสินบน ทางสหรัฐเองเขาก็ไม่เคยว่ามีการเรียก การให้ และมีการรับจากทางฝ่ายไทยแต่อย่างใด ผมอยากกราบเรียนท่านประธานว่า ขณะที่ฝ่ายค้านระบุในญัตติว่า การบริหารงานผิดพลาดจนเกิดการทุจริตขึ้น

ท่านประธานทราบมั๊ยครับว่าอินวิชั่นเขามาบอกว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับไทยเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ เขาไปอ้างเอง ทางจีอีซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบพบเรื่องนี้ก็มาบอกว่า ไม่พบเจ้าหน้าที่ของไทยผู้ใดเข้าไปเกี่ยวข้อง ท่านประธานที่เคารพครับ ทางกระทรวงยุติธรรมซึ่งเป็นเจ้าของเรื่อง มีหนังสือตอบมาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. เป็นภาษาอังกฤษ

ผมขออนุญาตอ่านเป็นภาษาไทย กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ไม่พบพยานหลักฐานใดที่แสดงว่า อินวิชั่น หรือตัวแทนได้จ่ายเงินใดๆ ให้กับเจ้าหน้าที่ของไทย หรือว่าหากมีการเสนอว่าจะจ่ายเงินก็ไม่พบว่าได้มีการสนองตอบรับข้อเสนอนั้น ถ้อยคำที่กระทรวงยุติธรรมใช้ก็ตรงไปตรงมาที่สุดแล้ว เขาไม่พบเขาก็บอกว่า ไม่พบ

3. การที่สหรัฐฯ เขายอมตกลงกับบริษัทอินวิชั่นและจีอี เพราะเขานึกว่าเมื่อเขาทำถึงขั้นนี้เขาจะหยุดยั้งการดำเนินการตามโครงการนี้ได้ ก็จะได้ไม่มีเงินจ่ายสินบน แต่เมื่อไปตรวจสอบแม้มีเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น รัฐบาลไทยกลับพยายามเดินหน้าตั้งตาว่าจะต้องจ่ายก้อนนี้ออกมาให้ได้

4. แนวทางการดำเนินงานของท่านรัฐมนตรีและผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ตรงกันข้ามกับความพยายาม ที่จะหาคนผิดมาลงโทษ หรือค้นหาความจริง แต่มีการบิดเบือน มีการเบี่ยงเบนด้วยวิธีการต่างๆ นานา

และประเด็นสุดท้ายที่กระผมจำเป็น จะต้องกราบเรียนท่านประธานก็คือว่า แนวทางการดำเนินงานของท่านรัฐมนตรีและผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ตรงกันข้ามกับความพยายาม ที่จะหาคนผิดมา ลงโทษ หรือค้นหาความจริง แต่มีการบิดเบือน มีการเบี่ยงเบนด้วยวิธีการต่างๆ นานา ซึ่งกระผมจะได้กราบเรียนต่อไป แต่ว่าทั้ง 4 ประเด็น จะเป็นการสมคบกันเพื่อให้เกิดการว่าจ้าง จะเป็นการบวกราคาส่วนต่าง จะเป็นการจ่ายเงินโดยไม่ชอบ หรือจะเป็นการบิดเบือน เบี่ยงเบนประเด็นนั้น กระผมยืนยันว่า ไม่มีทางเลยที่พวกจะผมจะสามารถ ไว้วางใจให้ท่านรัฐมนตรีทำงานต่อได้

.....ท่านรัฐมนตรีอยู่ในสถานะดีกว่า พวกกระผมเยอะเลยนะครับ ที่จะทราบข้อเท็จจริงเหล่านี้ทั้งหมด ท่านทำอะไรครับ ทำไมชี้แจงด้วยการเบี่ยงเบน ทำไมปิดบังข้อเท็จจริงเหล่านี้ ทำไมไม่ดำเนินการครับ มีแต่อะไรครับ เริ่มต้นครั้งแรกส่งที่ปรึกษาไปคุยกับทูตพาณิชย์ ก็ที่ปรึกษาผมก็บอกแล้วเป็นคนเสนอเรื่องนี้เข้าที่ประชุมเอง แล้วทูตพาณิชย์เข้ามาเกี่ยวข้องอะไร มีการทำรูปแบบการทูตรูปแบบใหม่ เรียกว่า ทูตนิรนาม หรือทูตนิจจา อยู่ดีๆ มีการแถลงข่าวในสถานทูตขอร้องไม่บอกว่าตัวเองเป็นใคร และบอกว่าไม่มีสินบน มีการไปขอบริษัทที่เขาอยากขายของให้ เขายืนยันมาว่า เขาไม่ได้จ่ายสินบน ก็มันจะจ่ายได้อย่างไรเมื่อเงินยังไปไม่ถึงมือเขา ที่ถูกท่านต้องทำอย่างไร พฤติกรรมที่ระบุไว้ในเอกสารของสหรัฐฯ ที่กราบเรียนตอนต้น มันผิดกฎหมายอาญาไทยอยู่แล้ว ผู้ใดเรียกรับหรือยอมรับทรัพย์สิน ประโยชน์อื่นใด สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เพื่อเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจเจ้าพนักงาน หรือ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสภาเทศบาลด้วยวิธีอัน ทุจริตหรือผิดกฎหมาย หรือโดยอิทธิพลของตนให้กระทำการหรือไม่กระทำการในหน้าที่ อันเป็นคุณหรือโทษแต่ประการใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 143 ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 144 ผู้ใดขอให้หรือรับจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัดหรือ สมาชิกสภาเทศบาล เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการ หรือ ประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พฤติกรรมที่ถูกระบุในภาคผนวกมีความผิดเกิดแล้ว และเมื่อมีความผิดเกิดรัฐบาลไทยกับสหรัฐฯ มีสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือกันทางอาญา และมีกฏหมายไทยที่รองรับเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลเพียงแค่เริ่มต้นกระบวนการใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการทางอาญา หรือ กระบวนการยุติธรรมก็สามารถ ใช้สนธิสัญญาและกฎหมายนั้น ขอความร่วมมือจากสหรัฐฯส่งข้อมูลมา เพียงแต่ช่องทางที่ต้องทำคือ กฎหมายและสนธิสัญญากำหนดไว้ว่า ต้องมีผู้ประสานงานที่ทำ ซึ่งประเทศไทยเป็นอัยการสูงสุด ไม่ได้ทำ ที่จริงจะกราบเรียนว่า สิ่งแรกที่จะต้องรีบขอเขาคืออะไรทราบไหม เอกสารที่ผมอ่านเมื่อสักครู่เขาเรียกภาคผนวกเอ ภาคผนวกบี คือเอกสารที่จะบอกว่า อักษรย่อทั้งหมดคือใคร แต่เปิดเผยต่อสาธารณะไม่ได้ เพราะเขาจะมีปัญหาเรื่องฟ้องร้อง แต่รัฐบาลไทยขอได้ถ้าใช้สนธิสัญญาทางอัยการไป ไม่ได้ทำ รัฐบาลทำอะไร รัฐให้กระทรวงยุติธรรม โดยปลัด ก.ยุติธรรมร่างจดหมายถามสหรัฐฯ ให้กระทรวงการต่างประเทศส่งไป มีเอกสารเหมือนที่ผมมีทั้งหมดอยู่ในมือ ถามอะไร ขอถามแค่ 1 คำถาม 1 คำถามที่ว่าในกระทรวงยุติธรรม ซึ่งได้ทำการสอบสวนอินวิชั่นเทคโนโลยี เกี่ยวข้องกับการขายของ ในประเทศไทยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไทย ใช้คำว่าออฟฟิเชียล ออฟเดอะรอยัลไทยกัฟเวอเมนท์ ที่ถูกพบว่าได้รับเงิน หรือยอมรับข้อเสนอที่เป็นการจ่ายเงินที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ ผมก็ตอบได้ ถ้าถามแค่นี้เขาก็ต้องบอกว่าไม่มี จะมีได้อย่างไร และตั้งใจถามเหลือเกิน ออฟฟิเชียล ออฟเดอะรอยัลไทยกัฟเวอเมนท์ ต้องเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ข้าราชการ อาจรวมราชการเมืองด้วย อย่างท่านปลัด ท่านเป็นออฟฟิเชียล ออฟเดอะรอยัลไทยกัฟเวอเมนท์ แต่ภรรยาท่านที่เป็น ส.ส.ไม่ใช่

ท่านถามไปอย่างนี้เขาก็ต้องตอบมา เขาก็ตอบว่าจนถึงวันนี้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ยังไม่พบหลักฐานว่ามีการจ่ายเงินโดยอินวิชั่น หรือตัวแทน คำว่าตัวแทนซึ่งต่างจากผู้จัดจำหน่าย ที่จ่ายให้เจ้าหน้าที่ไทย หรือมีข้อเสนอที่ได้รับการตอบรับ แน่นอนที่ผมลำดับเหตุการณ์ทั้งหมด เขาต้องตอบอย่างนี้ แต่เขาไม่ธรรมดา กระทรวงยุติธรรมร่างหนังสือ กระทรวงต่างประเทศส่งหนังสือถามเขา เขาตอบใคร ท่านทราบไหม เขาตอบอัยการสูงสุดครับ แล้วเวลาเขาตอบหนังสือ ท่านประธานกับผมเคยทำหนังสือไปถึงใครต่อใคร เขาอ้างถึงจดหมายที่ส่งไป ไม่ครับ เขาอ้างถึงสนธิสัญญา ความร่วมมือในทางคดีอาญา ผมถือว่าเขาตบหน้าอย่างแรงนะครับ และความจริงสถานทูตไทยในสหรัฐฯ ก็เชิญเจ้าหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรม เขาก็บอกหมดแล้ว ว่าอยากได้ข้อมูล ให้อัยการในฐานะผู้ประสานงานกลาง ขอไป เขาก็อัศจรรย์ใจว่าอยู่ดีๆ ส่งหนังสือกระทรวงการต่างประเทศไป เขาก็อุตส่าห์ตอบมาที่อัยการ แล้วยังสำทับต่อด้วยว่า เขาพร้อมที่จะให้ความร่วมมือถ้ามีการสอบสวนใดๆ ในเรื่องนี้ และพร้อมที่จะให้หลักฐานทั้งหมดที่เขามีอยู่ และนอกจากฉบับนี้แล้ว ซึ่งเมื่อตอบมาท่านอัยการก็เพิ่งมาให้การกับกรรมาธิการฯ วุฒิสภา ว่า ตอบถึงเขา แต่เขายังไม่ทันได้รับหนังสือ เขารู้จากรัฐบาลเอาไปแถลงข่าวก่อน ที่จริงเขาตามมาอีกฉบับหนึ่งนะครับ ซึ่งเขาบอกเลยว่า เรื่องนี้เขาพร้อมให้ความร่วมมือแม้กระทั่งในเรื่องของการติดตามปราบปรามการฟอกเงิน และคงกลัวว่าที่นี่ไม่เอาจริง บอกด้วยว่า การยึดทรัพย์จากเรื่องนี้ สหรัฐฯ จะถือเป็นเรื่องอาญา อยู่ภายใต้สนธิสัญญา ไม่ถือเป็นเรื่องแพ่ง ทำไมล่ะครับ ทำไมข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ปรากฏชัดเจนอย่างนี้ ช่องทางกฎหมายก็มีอยู่แล้ว แต่รัฐบาลไม่คิดจะเอาจริงเอาจังและปราบปรามการทุจริต ท่านรัฐมนตรีบริหารงานโครงการนี้มา ปล่อยให้มีการสมคบกันจนเกิดการทุจริต ปล่อยให้ประเทศต้องซื้อของด้วยเงินของประชาชนที่ต้องเสียส่วนต่างไปให้ บริหารโครงการทั้งๆ ที่รู้ว่าของมาไม่ได้แล้ว จ่ายเงินออกไปอีก และเมื่อเรื่องปรากฏมีแต่บิดเบือน เบี่ยงเบนตลอด ไม่ใช้ทางที่ควรจะใช้ แต่พยายามทำทุกวิถีทางหาทางกลบกระแสให้เรื่องมันจบ

ท่านประธานครับ ถ้าเราปล่อยอย่างนี้ เป็นไปได้หรือครับที่เราจะประสบความสำเร็จในการปราบปรามการทุจริต ที่รัฐบาลบอกเป็นนโยบายสำคัญ เรามาไกลนะครับ ปี 44 ท่านนายกฯ พูดว่า สำหรับท่านไม่ต้องมีใบเสร็จ แค่สงสัยก็ปลดแล้ว ผมถามว่าเอกสารทั้งหมดนี้ไม่ทำให้ท่านสงสัย แม้แต่นิดเดียวเลยหรือครับ หรือวันนี้นโยบายการปราบปรามการทุจริตก็เป็นว่า ถ้าใครโกงวัดก็เอาเงินไปคืนวัด ถ้าใครโกงเงินโคก็ไปด่าว่าเป็นเปรต จะเป็นไปได้อย่างไรครับ เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่พวกกระผม จำเป็นต้องเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจท่านรัฐมนตรี เพื่อที่จะบอกว่ากระบวนการทางการเมืองของเรา ไม่สามารถยอมรับความบกพร่องที่นำไปสู่การทุจริตอย่างนี้ เสียหายต่อชื่อเสียงของประเทศได้ พวกกระผมมีไม่กี่เสียงหรอกครับ ผมทำได้ คือฟ้องประชาชน ผมทำได้ คือถามสำนึกของรัฐมนตรี ถามสำนึกของท่านนายกฯ ถามสำนึกของ ส.ส.ที่อยู่ในฟากรัฐบาลทั้งหมด แต่พวกกระผมไม่มีความลังเลใจใดๆ ที่จะบอกว่าไม่ไว้วางใจท่านรัฐมนตรีสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ครับ ขอบพระคุณครับ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net