Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ประชาไท-  คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปมหานครปักกิ่ง เปิดเวทีให้ตัวแทนจากภาคประชาชนในทุกสาขาอาชีพแสดงความคิดเห็นในการแก้ปัญหาประชากรล้นกรุงปักกิ่ง เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาปักกิ่ง ฉบับที่ 11


 


นับเป็นครั้งแรกที่ทางการจีนโดยมหานครปักกิ่งได้ออกมารับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเพื่อร่วมกันวางแผนพัฒนาบ้านเมือง โดยจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นขึ้นก่อนที่จะนำไปร่างแผน 5 ปี การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของมหานคร ฉบับที่ 11 ( ปีพ.ศ. 2549- 2553)  ทั้งนี้ มีตัวแทนจากภาคประชาชนที่มาจากทุกสาขาอาชีพจำนวน 40 คนเข้าร่วมแลกเปลี่ยนกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของมหานครปักกิ่ง และคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปปักกิ่ง โดยใช้เวลาในการประชุมนาน 4 ชั่วโมงเพื่อถกปัญหาประชากรล้นกรุง เมื่อวันที่เสาร์ที่ผ่านมา ( 6 สิงหาคม)


 


ในการประชุมดังกล่าวนี้ตัวแทนบางคนเห็นว่าทางผู้บริหารมหานครควรจะตั้งกฎระบบการเข้าเมืองที่เข้มงวดเพื่อชะลอการหลั่งไหลการเข้าเมืองของแรงงานจากต่างจังหวัด บางคนก็เสนอว่า มหานครปักกิ่งควรจะกระตุ้นผู้ที่อาศัยอยู่ปักกิ่งให้ย้ายออกไปบ้าง ในขณะที่คนอีกหลายๆคนเห็นว่า ไม่เป็นการฉลาดเลยที่จะมาแยกคนออกมาว่า เป็น "คนท้องถิ่นปักกิ่ง" หรือ "ไม่ใช่คนท้องถิ่นปักกิ่ง" และ เสนอว่า แผนงานและการบริหารจัดการของมหานครควรจะต้องมีการปรับปรุงเพื่อที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของพลเมืองในอาศัยอยู่ที่นั่น


 


ปัจจุบันนี้ปักกิ่งมีประชากรอาศัยอยู่ถึง 15 ล้านคน และมี 4 ล้านคนที่ไม่ได้มีทะเบียนบ้านว่ามีที่อยู่อาศัยที่ถาวรในปักกิ่ง


 


การขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากรในกรุงปักกิ่งนั้น ทำให้เกิดปัญหาสังคมเพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่น การว่างงาน รถติด สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ อาชญากรรม และการขาดแคลนพลังงาน เป็นต้น


 


ตามแผนพัฒนาปักกิ่งระยะยาวนั้น ปักกิ่งมีความตั้งใจที่จะชะลอการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรต่อปีให้เหลือเพียงร้อยละ 1.4 จากปัจจุบันที่อยู่ที่ร้อยละ 2.5 เพื่อจะทำให้ปักกิ่งเป็นเมืองที่น่าอยู่ขึ้น ภายในปี พ.ศ. 2563  ปักกิ่งจะจำกัดคนให้เหลือเพียงประมาณ 18 ล้านคน


 


เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายนี้ เมื่อต้นปีนี้ที่ปรึกษาด้านนโยบายของมหานครปักกิ่งเสนอว่า ควรจะเพิ่มความเข้มงวดในการเข้าเมืองของคนที่จะย้ายเข้ามาในปักกิ่งให้มากขึ้น ข้อเสนอดังกล่าวก่อให้เกิดการตอบสนองออกมาอย่างกว้างขวางและทำให้เกิดการโต้แย้งกันไปทั่วประเทศว่าจะจัดการกับปัญหาการเคลื่อนย้ายของแรงงานและปัญหาที่เกี่ยวข้องกันได้อย่างไร


 


ในการประชุมหารือเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา กลุ่มผู้แทนได้มีข้อเสนอแนะหลากหลายถึงต่อประเด็นที่ว่าจะหยุดยั้งการหลั่งไหลเข้ามาของแรงงานได้อย่างไร แต่ก็มีบางกลุ่มที่แสดงความกังวลใจการเลือกปฏิบัติที่ปรากฏขึ้นในข้อเสนอดังกล่าว


 


กลุ่มที่สนับสนุนระบบการรับเข้าเมืองเสนอว่า ผู้บริหารมหานครจะต้องเพิ่มค่าครองชีพ ย้ายสลัมที่แรงงานย้ายถิ่นอาศัย และจัดหาที่อยู่อาศัยที่ดีกว่าเดิมด้วยค่าเช้าที่แพงขึ้นกว่าเดิม และเพิ่มวุฒิการศึกษาที่ต้องการในการรับสมัครงาน


 


อย่างไรก็ตามฝ่ายที่คัดค้านกล่าว่า การจัดให้มีคนมาคอยเป็นอุปสรรคขวางกั้นเพื่อป้องกันไม่ให้แรงงานหลั่งไหลเข้ามาอย่างเสรีนั้นไม่เป็นเพียงแค่ทำให้การพัฒนาเมืองในระยะยาวอ่อนแอลงเท่านั้นแต่นี่เป็นการกระทำที่เลือกปฏิบัติด้วย


 


ทางกลุ่มยังมีข้อเสนอว่า ถ้าผู้บริหารมหานครต้องการจะควบคุมการหลั่งไหลเข้ามาของแรงงานย้ายถิ่นแล้วละก็ ควรที่จะทำให้เป็นไปตามกลไกตลาด เช่น การปรับโครงสร้างความต้องการของกำลังแรงงาน และร่วมมือกับมหานครเทียนจิน และมณฑลหูเป่ย ที่เป็นเพื่อนบ้าน


 


นอกจากนั้นกลุ่มนี้ยังกล่าวด้วยว่า ผู้บริหารมหานครควรจะต้องให้ความสนใจในการให้บริหารกับคนที่ไม่ใช่คนท้องถิ่นปักกิ่งด้วย และให้โอกาสพวกเขาได้พูดว่าเขาควรจะได้รับการจัดการอย่างไร


 


ส่วนตัวแทนอีกกลุ่มหนึ่งก็ข้อเสนอว่าจะกระตุ้นให้คนปักกิ่งนั้นย้ายออกนอกพื้นที่ได้อย่างไร  ตัวอย่างเช่น  ผู้แทนคนหนึ่งพูดว่า ผู้บริหารมหานครปักกิ่งควรที่จะจัดเมืองให้มีเมืองพิเศษที่ออกแบบไว้สำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในเขตใกล้เคียง ควรที่จะให้เป็นเมืองที่มีประชากรจำนวนไม่มากนัก มีทิวทัศทัศน์สวยงามและอากาศสดชื่น


 


ปัจจุบันมหานครปักกิ่งมีประชากรที่มีอายุเกินกว่า 60 ปีอยู่ถึง 2 ล้านคน หรือเท่ากับ 1 ใน 8 ของจำนวนประชากรซึ่งคาดว่าประชากรกลุ่มนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมดในปี พ.ศ. 2568


 


-------------------------------------------------------


ที่มา: ไชน่า เดลี่

http://news.xinhuanet.com /english/2005-08/08/content_3323246.htm

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net