Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

รายงานข่าวจากฝ่ายเลขานุการ คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(กกถ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมกกถ.เมื่อต้นเดือน กรกฎาคม 2548 ที่ผ่านมา ฝ่ายเลขานุการได้เสนอเรื่องเพื่อทราบ ...
ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และปรับปรุงแผนปฏิบัติการ เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการระดมความคิดเห็นจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นง(อปท.)และนักวิชาการจาก 10 มหาวิทยาลัยเครือข่าย


โดยสาระสำคัญของการประชุมคือ

1) แผนการกระจายอำนาจให้แก่อปท.หรือยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจฯ สรุปความเห็นได้ว่า ให้ยึดตามกรอบกฎหมายกำหนดแนะคงวิสัยทัศน์และความเป็นอิสระของท้องถิ่น, ควรมีกลไกที่จะสะท้อนความต้องการของประชาชนได้มากขึ้น, ยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจควรมีเรื่องการประชาสัมพันธ์ให้ภาคประชาชนเข้าใจด้วย, ยุทธศาสตร์ควรกำหนดสัดส่วนเงินอุดหนุนเฉพาะกิจให้ชัดเจน, การจัดทำแผนท้องถิ่นควรกำหนดให้มีแผนระยะกลางและระยะยาว และเป้าหมายความสำเร็จภายหลัง 10 ปี ท้องถิ่นต้องมีอิสระมากขึ้น

2) แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ คือ การปรับวิสัยทัศน์ในแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับความเป็นจริง,การกำหนดอำนาจหน้าที่ของอปท.ภารกิจหลัก,ระดับภารกิจของอปท.เรื่องของความพร้อม ง่าย/ปานกลาง/ยาก, เมื่อถ่ายโอนแล้ว ควรถ่ายโอนให้ครอบคลุมทั้งระบบ, ควรกำหนดรูปแบบการถ่ายโอน ได้แก่ อปท.กำหนดเอง อปท.ทำกับรัฐและภารกิจที่รัฐดำเนินการอยู่,การถ่ายโอนภารกิจจำเป็นต้องมีการทบทวนเกี่ยกวับภารกิจที่ซ้ำซ้อน, การกระจายอำนาจให้แก่อปท.ขอให้กำหนดสิ่งที่คิดว่าควรจะเป็นและการพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลการกระจายอำนาจให้มีประสิทธิภาพและทันสมัยมากขึ้น

3) การทบทวนและปรัปปรุงการกระจายอำนาจทางการเงินการคลัง งบประมาณและบุคลากร กรอบและแนวทางการดำเนินการ พิจารณาทบทวนและปรัปปรุงแผนเดิม การเสนอแนวทางใหม่ที่ไม่ได้กำหนดไว้ในแผนเดิม การจัดทำข้อเสนอในการปรับปรุงแผน การจัดทำโครงสร้างและกลไกการบริหารจัดการ โดยแยกการพิจารณาเป็น 2 ส่วนคือ

ก.ด้านการเงิน การคลัง งบประมาณ คือ การจัดสรรเงินภาษีและเงินอุดหนุนให้แก่อปท. ควรจัดสรรเป็นรายได้ของอปท.เพื่อให้อปท.ใช้กลไกในการบริหารจัดการของตนเอง, การจัดสรรเงินภาษีควรสะท้อนแหล่งกำเนิดภาษี, การกำหนดรายได้ระหว่างรัฐและอปท.ให้ชัดเจนว่า รายได้อะไรควรเป็นของรัฐ อะไรควรเป็นของอปท., การบริหารจัดการทางการเงินการคลังของอปท. ยังไม่มีอิสระที่แท้จริง ยังมีการแทรกแซงจากส่วนราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐวิสาหกิจกับอปท.ต่างๆ ควรพิจารณาในประเด็ฯอปท.ต้องอุดหนุนรัฐวิสาหกิจ เช่น ไฟฟ้า ประปา เป็นต้น

ข. ด้านบุคลากร การถ่ายโอนบุคลากรจากส่วนราชการไปยังอปท. ในระยะต่อไป อาจต้องพิจารณาในเรื่องการยืมตัว การไปช่วยราชการสำหรับข้าราชการถ่ายโอนที่ไม่มั่นใจ , ระบบการบริหารงานส่วนบุคคลท้องถิ่น ไม่ควรยึดติดกับระบบการบริหารงานบุคลากรของส่วนราชการ ควรเปิดโอกาสให้อปท. จ้างเอกชนเข้ามาเป็นผู้บริหารท้องถิ่น และ กกถ.ควรมีส่วนร่วมในการร่วมร่างกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคลากรท้องถิ่น

4) การทบทวนและปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการกระจายอำนาจให้แก่อปท. คือ การดำเนินการแก้ไขกฎหมาย ควรแก้ไขให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการเพื่อถ่ายโอนภารกิจให้แก่อปท. และมองกฎหมายอื่นที่เชื่อมโยงกับการกระจายอำนาจ โดยให้มองเชิงส่งเสริมเรื่องความเป็นอิสระของอปท.ทั้งนี้เงื่อนไขความสำเร็จของการกระจายอำนาจนั้น ได้กำหนดไว้ว่า

1.การถ่ายโอนงาน การถ่ายโอนบุคลากร การจัดสรรรายได้ และการแก้ไขกฎหมาย ปัญหาคือ ภารกิจต่างๆ ตามอำนาจหน้าที่ ของหน่วยงานเจ้าของภารกิจ มีการถ่ายโอนลงไปสู่พื้นที่แล้วไม่ได้มอบความรับผิดชอบในภารกิจทั้งหมดตามไปด้วย

2.การพัฒนาประสิทธิภาพของอปท. และการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการปรับปรุงระบบคลังท้องถิ่น และมีมาตรการเสริมสร้างวินัยทางการเงินและการคลัง การพัฒนาขีดความสามารถในเรื่องโครงสร้าง บุคลากร การบริหารและกฎหมายฯลฯ

3.ดุลยภาพ ในภาพรวมทั้งหมด ของการกระจายอำนาจให้แก่อปท. คือการให้ควรามสำคัญทางการบริหารโดยกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป คือนำผลการดำเนินการของคณะทำงานทั้ง 4 คณะ มาจัดทำ Strategy map เพื่อให้เห็นภาพรวมว่าเรื่องใด ต้องดำเนินไปพร้อมกัน หรือจัดลำดับความสำคัญในแต่ละเรื่องหรือจะลดความซ้ำซ้อนในบางเรื่องอย่างไร โดยใน Strategy จะมีเรื่องของความสำคัญเร่งด่วน การบูรณาการทำงานในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเมื่อการจัดทำยุทธศาสตร์เสร็จสิ้นลงจะเป็น Road map ที่จะดาดการณ์ได้ว่า 5 ปีข้างหน้าการกระจายอำนาจจะปรากฏผลตามยุทธศาสตร์อย่างไร การระดมความคิดดังกล่าวขณะนี้ได้รับความเห็นชอบจาก นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีและประธานกกถ.และผ่านความเห็นชอบจากกกถ.เรียบร้อยแล้ว รอเพียงการเสนอผ่านคณะรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net