Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

เข้าใจว่าผู้อ่านคงจะเคยได้ยินเรื่องที่สหรัฐฯได้กล่าวหาองค์การสหประชาชาติ หรือ UN ว่าทุจริต (คอร์รัปชั่น)ในโครงการน้ำมันแลกอาหารของอิรัคกันมาแล้ว  แต่เรื่องที่จอย กอร์ดอน เขียนในเว็บ harpers.org และ สกอตต์ ริทเตอร์ ในIndepentdent/UK ที่ได้ติดตามประเด็นนี้มานานกลับตีแผ่ให้เห็นอีกมุมหนึ่ง


 


ทั้งสองคนนี้ บอกว่า ข้อกล่าวหาของสหรัฐฯที่มีต่อยูเอ็นนั้นที่แท้แล้ว เป็นความพยายามที่จะแปลงสารหรือเบี่ยงเบนความสนใจและปกปิดการคอร์รัปชั่นของสหรัฐฯเองในโครงการนี้ที่ทำมาตั้งนานแล้ว


 


ริทเตอร์กล่าวว่า " การออกมาวางท่าแบบนี้ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการปากว่าตาขยิบ จอมปลอม ตั้งใจวางแผนที่จะเบี่ยงเบนความสนใจจากหายนะที่ตัวของนายบุชเองได้ไปสร้างเอาไว้ในอิรัค และ สร้างความชอบธรรมที่จะไปโจมตีอิรัคโดยใช้เรื่องการคอร์รัปชั่นของอิรัค และ เรื่องการอาวุธที่มีศักยภาพในการทำลายอย่างมหาศาลที่จนปัจจุบันนี้ยังหาไม่เจอมาเป็นข้ออ้าง"


 


ส่วนกอร์ดอนก็ได้ข้อสรุปว่า " บางทีมันก็อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่น่าประหลาดใจเลยที่วันนี้บทบาทเดียวที่สหรัฐฯคาดหวังใน ยูเอ็นรับในการเล่นละครเรื่องอิรัคต่อก็คือ บทแพะรับบาป"


 


กอร์ดอนกล่าวว่า ข้อกล่าวหาจากสำนักงานบัญชีของสหรัฐฯล้วนเป็นเรื่อง ตอแหล มีหลักฐานมากมายในเรื่องการคอร์รัปชั่นในโครงการน้ำมันแลกอาหาร แต่เส้นทางของหลักฐานเหล่านั้นไม่ได้นำไปสู่ ยูเอ็นแต่กลับไปที่สหรัฐฯ


 


"สมาชิก 15 คนของคณะมนตรีความมั่นคง (ซึ่งในนั้นมีสหรัฐฯซึ่งทรงอิทธิพลที่สุด) ได้ตัดสินใจว่าจะจัดการกับรายได้ที่มาจากน้ำมันอย่างไร และงบประมาณส่วนนั้นจะถูกนำไปใช้เพื่ออะไร" มีสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจก่อนคือ คณะมนตรีความมั่นคงนั้นไม่ได้เป็นสิ่งเดียวกับยูเอ็น แต่เป็นส่วนหนึ่งของยูเอ็น แต่ว่ามีการปฎิบัติการที่เป็นอิสระอย่างมาก บุคลากรในยูเอ็นต้องดำเนินโครงการภายใต้การออกแบบของคณะมนตรีความมั่นคง"


 


ข้อกล่าวหาของสื่อธุรกิจที่ว่า ยูเอ็นได้ปล่อยให้ซัดดัม ฮุสเซ็น ขโมยเงินหลายพันล้านเดอลลาร์จากขายน้ำมันนั้น ถ้าเรามอง อย่างที่กอร์ดอนมอง ว่า ใครกันแน่ที่เป็นผู้ควบคุมน้ำมันอยู่ และเงินเข้าไปอยู่ในมือของใคร เราก็จะเห็นภาพที่แตกต่างกันปรากฏขึ้นมา "ถ้าซัดดัม ยักยอกเงิน 6 พันล้านดอลล่าร์จากค่าน้ำมันจริงคนที่มีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจย่อมไม่ใช่ยูเอ็น เขากระทำการภายใต้การจับตามองอยู่ของกองทัพเรือสหรัฐฯ" กอร์ดอนอธิบาย


 


ริทเตอร์ อธิบายเพิ่มเติมว่า การประกอบธุรกรรมทางการเงินทั้งหมดได้รับการอนุมัติจากสหรัฐฯ ผ่านบทบาทการควบคุมของคณะมนตรีความมั่นคง  "สหรัฐฯนั้นมีอำนาจในการอนุมัติให้การส่งออกน้ำมันของอิรัคไปยังจอร์แดนได้ถึง 1 พันล้าน รวมทั้งการยอมให้การลักลอบค้าน้ำมันบริเวณชายแดนตุรกีมีมูลค่ากว่าพันล้านกลายเป็นถูกกฎหมาย" อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ บริษัทน้ำมันจากรัสเซีย เข้ามาซื้อน้ำมันจากอิรัคภายใต้โครงการน้ำมันแลกอาหาร ในราคาลดพิเศษสุดๆ และนำไปจำหน่ายในราคาตลาดให้แก่บริษัทของสหรัฐฯเป็นเบื้องแรก และแบ่งรายได้อย่างเท่ากันระหว่างบริษัทรัสเซียกับอิรัค การสนับสนุนด้วยวิธีดังกล่าวของสหรัฐฯ ได้สร้างผลกำไรนับหลายร้อยๆล้านเดอลลาร์ให้กับรัสเซียและอิรัคที่อยู่นอกโครงการน้ำมันแลกอาหาร มีการประมาณการว่า ร้อยละ 80 ของน้ำมันที่ลักลอบค้าขายกันบริเวณชายแดนของอิรัค ภายใต้ดครงการน้ำมันและอาหารนั้น จบลงที่สหรัฐฯ


 


กอร์ดอนอธิบายว่า ภายใต้แนวปฎิบัติที่แสนเลวเช่นนี้ไม่ได้แค่เป็นการส่งเสริมการกระทำที่ผิดกฎหมายให้รุ่งเรืองเท่านั้น แต่จบลงที่การทำลายล้างวัตถุประสงค์เดิมของโครงการน้ำมันแลกอาหาร "นโยบายงี่เง่าของคณะมนตรีความมั่นคง นั้นไม่เพียงแต่ประสบความสำเร็จในเรื่องของการเสริมสร้างความไม่ซื่อสัตย์เท่านั้น ยังเป็นการทำลายโครงการนี้อย่างแท้จริง"


 


สหรัฐฯและอังกฤษพยายามที่จะป้องกันการติดสินบนที่เป็นผลมาจากการราคาน้ำมันที่ถูกเกินจริง "แต่แทนที่จะอนุมัติราคาในตอนเริ่มต้นของการจำหน่ายในแต่ละช่วงให้สอดคล้องกับราคาจำหน่ายตามปกติ แต่พันธมิตรทั้งสองก็กลับยังไม่อนุมัติราคาน้ำมันเอาไว้จนกระทั่งน้ำมันถูกจำหน่ายออกไปแล้ว เป็นภาพการซื้อขายที่แปลกประหลาดมากที่ผู้ซื้อจะต้องเซ็นสัญญาโดยที่ไม่รู้ว่าราคาจะเป็นเท่าไร  ผลก็คือการจำหน่ายน้ำมันเสียหายไปถึงร้อยละ 40 และรวมไปถึงการนำเข้างบประมาณความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่จำเป็นด้วย" กอร์ดอนอธิบาย


 


ทั้งกอร์ดอนและริทเตอร์ บอกว่า สิ่งที่พวกเขามีอยู่ขณะนี้คือความพยายามเผยโฉมหน้าอาชญากรรมที่พยายามจะเปลี่ยนคำตำหนิไปยังผู้บริสุทธิ์ กอร์ดอนสรุปว่า มีข้อตำหนิเล็กน้อยที่จะสามารถโยนความให้ที่ยูเอ็นได้ก็คือเรื่องการบริหารด้วยระบบราชการที่เยิ่นเย้อ แต่ส่วนของการบริหารที่ผิดพลาดส่วนใหญ่นั้นต้องพุ่งไปที่นโยบายและการตัดสินใจคณะมนตรีความมั่นคงที่สหรัฐฯนั้นมีบทบาทเป็นศูนย์กลางอยู่"


 


สิ่งที่ จอย กอร์ดอนพบล่าสุดก็คือ การกล่าวหากรณี โครงการน้ำมันแลกอาหารนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการโจมตีหลักๆไปยังความน่าเชื่อถือของสหประชาชาติโดยรวม รวมทั้งโจมตีไปยังตัวของเลขาธิการ โคฟี อันนัน สื่อกระแสหลักส่วนใหญ่ได้จับประเด็นเฉพาะในเรื่องของข้อกล่าวหาและเสนอข่าวซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยไม่ได้มีการค้นคว้าวิจัยใดๆที่จะทำให้การวิพากษ์วิจารณ์มีความสมบูรณ์มากขึ้น ตัวอย่างเช่น "องค์การสหประชาชาติ" ถูกวิจารณ์ถึง "ความล้มเหลว" และ ตัวเลขาธิการถูกตำหนิเพราะว่าเหตุการณ์นั้นอยู่ "ภายใต้การดูแล"ของท่าน แต่สิ่งที่ไม่ถูกกล่าวถึงในช่วงปีแรกในการนำเสนอข่าวก็คือ " ยูเอ็นนั้นประกอบด้วยส่วนต่างๆหลายส่วน และส่วนที่เป็นการน้ำมันแลกอาหารนั้นก็เป็นการออกแบบและการดูแลของ คณะมนตรีความมั่นคง ที่จะเป็นผู้ตัดสินใจและไม่สามารถที่ยกเลิกหรือปรับเปลี่ยนได้ไม่ว่าในกรณีใดๆโดยเลขาธิการ จริงๆแล้วสหรัฐฯนั้นมีสมาชิกที่คุมอยู่คณะมนตรีความมั่นคงมากที่สุด สหรัฐฯเห็นด้วยกับทุกกระบวนการในโครงการน้ำมันแลกอาหารซึ่งขณะนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงว่าเป็นความล้มเหลวขององค์การสหประชาชาติ"


 


สื่อกระแสหลักเกือบทั้งหมด ได้รายงานซ้ำๆว่า โครงการน้ำมันแลกอาหาร นั้น ขาดความน่าเชื่อถือ ขาดการตรวจสอบ และขาดความโปร่งใส ที่โดดเด่นที่สุดในเรื่องนี้ก็คือ โครงสร้างการตรวจอย่างละเอียดนั้นอันที่จริงมีอยู่ในที่ที่ค้นหาได้ง่ายมาก อยู่ในเว็บไซด์ของโครงการดังกล่าวนั่นเอง พร้อมกับข้อมูลรายละเอียดที่สมบูรณ์ ที่ทำให้โครงการนี้นั้นจริงๆแล้วโปร่งใส แต่ว่าสื่อกระแสหลักนั้นไม่ได้นำข้อมูลเหล่านี้มานำเสนอเลย


 


เมื่อปลายปีที่แล้ว เราเริ่มรับรู้ความรับผิดชอบของสหรัฐฯต่อการลักลอบค้าน้ำมันของอิรัคอยู่บ้าง เมื่อ คนจากพรรคเดโมแครตบางคนได้นำหลักฐานมาเสนอว่า ฝ่ายบริหารทั้งสามฝ่ายของสหรัฐฯรับรู้เรื่องการสนับสนุนการให้อิรัคค้าน้ำมันให้กับจอร์แดนและตุรกี ซึ่งเป็นพันธมิตรของสหรัฐฯ สื่อก็หยิบยกเรื่องนี้มานำเสนอแต่ไม่มีอะไรมากกว่านั้น


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net