โรคจิตเภทคืออะไร

โรคจิตเภท Schizophrenia

โรคจิตเภทเป็นโรคทางจิตเรื้อรังซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ ความคิด[thinking} ความรู้สึก{feeling} และพฤติกรรม[behavior]

สาเหตุ

เป็นโรคทางพันธุกรรมทำให้มีการพัฒนาของระบบประสาทผิดปกติ เมื่อมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมก็เกิดโรคนี้ ได้แก่

·         การที่เกิดขาอออกซิเจนในระหว่างการคลอด

·         มารดาเป็นไข้ในตั้งครรภ์ไตรมาสที่2

·         มารดาเป็นไข้หวัดใหญ่ในขณะตั้งครรภ์

อาการแสดง

อาการแสดงจะแบ่งเป็นสองระยะได้แก่

1.       อาการนำก่อนป่วย[prodome] อาการนำก่อนป่วยในผู้ป่วยแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนอาการชัด บางคนอาการไม่ชัด อาการนำมักจะเกิดขณะวัยเรียน อาการนำอาจจะมีอาการเป็นเดือนก่อนเกิดปรากฏอาการทางจิต

·         แยกตัวเล่น ไม่ยุ่งกับใคร

·         แปลกประหลาด ไม่สามารถปฏิบัติตนให้สมบทบาทได้ เช่นบทบาทของการเป็นเพื่อน ลูก

·         ไม่ดูแลตัวเอง เช่นไม่อาบน้ำหรือหวีผม

·         บุคลิกเปลี่ยนจนเพื่อนสังเกตเห็น

·         มีความคิดแปลกๆ

·         ห่วงใยรูปร่างหน้าตา ชอบดูกระจก กลัวผิดปกติ

·         มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม

2.       อาการทางจิต ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการแตกต่างกันได้มาก แม้แต่ผู้ป่วยคนเดียวกัน ต่างเวลาอาการของเขาก็อาจจะแตกต่างกันอาการที่ทำให้ผู้ป่วยพบแพทย์

I.                        อาการทางจิต ผู้ป่วยจะมีอาการ

·         ประสาทหลอน เช่น หูแว่ว ตาฝาด

·         ระแวง กลัวคนทำร้าย คิดว่ามีคนสะกดรอยตามปองร้าย แปลความหมายเหตุการณ์รอบตัวผิดจากความเป็นจริง เช่นเพื่อนลูปหน้าแปลว่าหน้าด้านไม่รู้จักอาย

·         อาละวาด ทำลายข้าวของ

·         พยายามฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายผู้อื่น

      II.            ความสามารถในการดำเนินชีวิตเสื่อมลง

·         การเรียนเลวลง หรือเรียนไม่ได้

·         การงานบกพร่อง ทำงานไม่ได้เท่าที่เคยทำ เกียจคร้าน

·         ความสัมพันธ์กับบุคลอื่นไม่ราบรื่น เข้ากับคนอื่นไม่ได้ ระแวง คิดแปลเจตนาของผู้อื่นในทางลบ หงุดหงิด

·         ไม่ใส่ใจดูแลตัวเอง ไม่อาบน้ำ ไม่แต่งตัวให้เรียบร้อย ไม่หวีผม ห้องนอนสกปรก

    III.            ผู้ป่วยบางรายมาหลังจาก

·         ดื่มเหล้ามาก

·         ใช้สารเสพติด

·         การป่วยทางกาย

ลักษณะทั่วไป

ผู้ป่วยจะมีกริยาท่าทางประหลาด แต่งตัวไม่เรียบร้อย สกปรก มีกลิ่นเหมือนไม่อาบน้ำแปรงฟัน การเคลื่อนไหว บางคนหยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหว เคลื่อนไหวน้อย หรือไม่อยู่นิ่ง ลุกลน

พฤติกรรมทางสังคม เก็บตัว แยกตัว หรือวุ่นวายเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่ควร

การพูดมีหลายแบบ พูดจาได้ความดี พูดไม่รู้เรื่อง พูดน้อย หรือไม่พูดเลย

อารมณ์ บางคนสีหน้าราบเรียบ ไม่แสดงอารมณ์อะไร บางรายสีหน้าไม่สอดคล้องกับเรื่องราวที่พูด และบางรายสีหน้าปกติ

ความคิด Though

ผู้ป่วยบางรายไม่มีความคิดออกมาเลย บางรายมีความคิดหลั่งไหลออกมารวดเร็วและบางคนคิดเหมือนคนปกติ ความคิดมักจะไม่ต่อเนื่อง เปลี่ยนเรื่องก่อนที่เรื่องกำลังกล่าวจะจบ มีอาการหลงผิด เช่นหวาดระแวงว่าคนจะทำร้าย หูแว่ว ตาฝาด และประสาทหลอน และมักจะมีปัญหาเรื่องการสื่อสารทั้งการรับและการส่ง เช่นโกรธอย่างรุนแรงโดยไม่มีเหตุผลหรือเฉยไม่ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วย

การดำเนินของโรค

ผู้ป่วยจะเริ่มด้วยอาการนำ แล้วตามมาด้วยอาการของโรคอาจจะเกิดแบบเฉียบพลัน หรือค่อยเป็นค่อยไป อาการสงบลงสลับกับกำเริบขึ้นอีกเป็นครั้งคราว ผ่านไปหลายปีอาจจะมีอาการหลงเหลืออยู่เช่นเดียวกับอาการนำ

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยโดยอาการเป็นสำคัญ ผู้ป่วยมีลักษณะดังต่อไปนี้

·         มีพฤติกรรมที่ผิดปกติ

·         ป่วยเรื้อรัง

·         ความสามารถในการดำรงชีวิตเสื่อมถอย เช่น ทำงานไม่ได้ พึ่งตนเองไม่ได้

·         เมื่อป่วยแล้วไม่หายเป็นปกติเหมือนก่อนป่วย

ต้องวินิจฉัยแยกโรคต่อไปนี้

·         Bipolar disorder โรคนี้เวลาหายจะเหมือนคนปกติ การป่วยบางครั้งเป็น

·         โรคจิตเพราะพิษสุรา หรือสารเสพติด เช่น ยาบ้า กัญชา ยาลดความอ้วน

·         โรคทางกาย เช่น SLE โรคลมชัก โรคเนื้องอกในสมอง

การรักษา ทำได้ 3 ทางด้วยกัน

1.       รักษาอาการให้หาย

เป็นการใช้ยาในการรักษายาที่ใช้ได้แก่

·         Haloperidol

·         Resperidone

·         Clozapine

2.       ป้องกันมิให้กลับเป็นซ้ำ หากกินยาสม่ำเสมอการกำเริบจะน้อย สาเหตุที่กำเริบคือการถูกตำหนิติเตียนเป็นประจำ การป้องกันไม่ให้โรคกำเริบคือ

·         กินยาอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์สั่ง

·         อย่าบ่นว่า ตำหนิ วิจารณ์ซ้ำซาก

สิ่งที่สำคัญในการรักษาคือผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีแนวโน้มในการฆ่าตัวเองสูง ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวเองสูงมีลักษณะดังต่อไปนี้

·         ญาติและผู้ป่วยคาดในความสำเร็จสูง

·         ปรับตัวรับสภาพโรคจิตไม่ได้

·         ช่วงเวลาที่ต้องระวังในการฆ่าตัวเองคือ ขณะที่รักษาอยู่ในโรงพยาบาล ระยะ 6 เดือนหลังออกจากโรงพยาบาล มีการสูญเสีย เช่นหย่า ตกงาน เปลี่ยนแพทย์ผู้รักษา

·         อาการดีขึ้นหลังจากป่วยหนักและรู้ว่าตัวเองเป็นโรคจิต

สัญญาณบ่งบอกว่าจะฆ่าตัวตาย

·         ผู้ป่วยมีความคิดฆ่าตัวเอง

·         มีความมั่นใจในตัวเองต่ำ

·         มีแรงกดดันผู้ป่วยมากได้แก่ ขาดที่พึ่ง ตกงาน ญาติโกรธ ถูกไล่ออกจากบ้าน

·         อาการกำเริบ หูแว่ว หวาดกลัว รู้สึกมีคนปองร้าย

·         หมอโกรธ

3.       ฟื้นฟูจิตใจและฝึกอาชีพ เนื่องจากผู้ป่วยพลาดการเล่าเรียน และการเรียนรู้ชีวิต การต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรค ทางครอบครัวและผู้รักษาต้องประคับประคองให้เขาเรียนรู้วิธีแก้ปัญหา และการฝึกอาชีพ

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท