Skip to main content
sharethis


เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา (29-30 ก.ย.48) ที่หอประชุมนานาชาติ เมืองเวียงจันทน์  สาธารณรัฐประชาธิป ไตยประชาชนลาว รัฐบาลแห่งชาติลาวร่วมกับสถานทูตออสเตรเลียและหอการค้าออสเตรเลีย-ลาวจัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยการค้าและการลงทุนด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ภายใต้ชื่อ "Mining Excellence in South East Asia" (ความเป็นเลิศด้านเหมืองแร่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

ในเวทีมีผู้ประกอบการ ผู้ขอสัมปทานทำเหมืองแร่จากประเทศต่างๆ อาทิเช่น ประเทศออสเตรเลีย เวียด


นาม แอฟริกาใต้ รวมทั้งประเทศไทยที่มี บริษัทอัครไมนิ่ง จำกัด บริษัทผาแดงอินดัสตรี้ และบริษัทเอเชีย แปซิฟิก โปแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้เข้าร่วมและผลัดเปลี่ยนกันนำเสนอข้อมูลในแต่ละช่วงเวลา

นายเคียท ครอสบี้ (Keith Crosby) รองประธานกรรมการบริษัทเอเชีย แปซิฟิก โปแตชคอร์ปอเรชั่น จำกัด (เอพีพีซี) ผู้ขอสัมปทานทำเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี กล่าวถึงการประสบผลสำเร็จของเอพีพีซี ในการสำรวจและค้นพบแหล่งแร่โปแตชประเภทซิลวิไนท์ ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นแหล่งแร่ที่มีคุณภาพดีเยี่ยม โดยมีปริมาณแร่โปแตชสำรองในเขตพื้นที่แหล่งอุดรใต้ถึง 118 ล้านตัน และสามารถคำนวณอายุของการทำเหมืองได้ถึง 22 ปี


 


ทั้งนี้ จังหวัดอุดรธานี คือ หัวใจสำคัญในตลาดการค้าเอเชีย เหมืองแร่โปแตชจะช่วยเพิ่มมูลค่าอย่างสำคัญให้กับประเทศไทย จากการศึกษาโครงสร้างทางวิศวกรรมของโครงการนี้พบว่าจะมีแหล่งน้ำใช้สำหรับกระบวนการผลิตอย่างเพียงพอ ห่างจากถนนหลวงและทางรถไฟเพียง2-3กิโลเมตรเท่านั้น เพื่อการขนส่งไปสู่ท่าเรือทางภาคใต้ของประเทศไทยและออกจำหน่ายในต่างประเทศต่อไป


นายเคียทยังกล่าวต่ออีกว่า เอพีพีซี ได้มีกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนอย่างต่อเนื่อง รวม


ทั้งการให้ข้อมูลต่อสาธารณชนเกี่ยวกับกระบวนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและผลประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับ การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การสร้างงาน เพิ่มรายได้ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่น นายเคียทกล่าว


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โดยก่อนหน้านี้ คือเมื่อต้นเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา เอพีพีซี ยังได้รับรางวัลยอดเยี่ยมด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งทางหอการค้าออสเตรเลีย-ไทย จัดมอบเพื่อส่งเสริมและให้กำลังใจกับผู้ประกอบการที่มีความมุ่งมั่นและมีความรับผิดชอบต่อสังคม

คนอุดรฯ จวกเอพีพีซีลวงโลก
นางมณี บุญรอด รองประธานกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี และในฐานะสตรีดีเด่นด้านการปกป้องสิทธิประจำปี 2548 จากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากเวทีปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ณ ประเทศลาว ชาวบ้านไม่แปลกใจเท่าไรนักหรอก กับการดำเนินงานของบริษัทเอพีพีซี ที่มุ่งหวังเพียงการฉาบฉวยและสร้างภาพมาโดยตลอด เพียงแต่ครั้งนี้เป็นการข้ามฟากเพื่อไปหลอกลวง หรือแหกตาต่อผู้ประกอบการด้วยกันเองถึงต่างประเทศ พร้อมกับการฉายภาพดีๆ ที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทฯ มีศักย ภาพเพียงพอสำหรับการทำเหมือง ตลอดจนการมีความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน แต่ไม่เคยที่จะพูดถึงปัญหาที่ชุมชนกำลังประสบอยู่ตอนนี้ซึ่งมีต้นตอมาจากบริษัทฯ ที่มิได้กล่าวถึงข้อมูล ข้อเท็จจริง


 


"ยกตัวอย่างเช่น กระบวนการจัดทำรายงาน อีไอเอ ที่ผิดขั้นตอน สัญญาที่รัฐบาลไทยเสียเปรียบ
รวมทั้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านรายรอบเหมืองจะเป็นอย่างไร อย่างนี้เป็นต้น จนนำมาสู่ระดับความเข้าใจที่แตกต่างและบริษัทฯ ก็ได้ฉวยโอกาสอันนี้เพื่อปลุกปั่นกลุ่มชาวบ้านขึ้นมาเพื่อสนับสนุนตนเอง
นี่ย่อมแสดงให้เห็นถึงการกระทำที่ไม่รับผิดชอบต่อสังคมเสียมากกว่า"


นางมณียังกล่าวต่ออีกว่า "ส่วนเรื่องการได้รับรางวัลด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมยอดเยี่ยมนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าขำมากที่บริษัทฯ ยังไม่ได้รับแม้แต่ประทานบัตรเพื่อดำเนินการทำเหมืองอย่างใดเลย กลับได้รับรับรางวัลก่อนแล้ว ซึ่งเปรียบแล้วก็ไม่ต่างอะไรกันกับรางวัลของโจรเพื่อมอบให้โจร และโจรก็ยกย่องกันเอง" นางมณีกล่าว


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net