Skip to main content
sharethis


 


ประชาไท—21 .ค. 3548 หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจฉบับวันที่ 20 ธันวาคม 2548 รายงานว่า แรงงานต่างด้าวชาวพม่าที่ผิดกฎหมายยังคงทะลักเข้ามาประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการของผู้ประกอบการที่ต้องการแรงงานราคาถูก แม้ว่าภาครัฐจะเข้มงวด แต่ขบวนการค้ามนุษย์ไม่ย่อท้อยังหาช่องทางนำแรงงานเข้าประเทศไทยอย่างต่อเนื่องเช่นกัน


 


การตรวจสอบอย่างไม่เป็นทางการของกลุ่มเอ็นจีโอ .พบว่าแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยมีมากกว่า ล้านคน ซึ่งมีทั้งถูกและผิดกฎหมาย แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในไทยมากที่สุดคือ "พม่า" รองลงมาคือลาว


หน่วยงานด้านความมั่นคงทางภาคเหนือ ระบุว่า นายหน้าขบวนการค้ามนุษย์จากประเทศพม่าที่ใช้เส้นทางจังหวัดตากเป็นทางผ่านคงเป็นหน้าเดิมๆ เช่น  นาง ว. น้องสาวของ "หม่องชิตู" นายทหารสังกัดกองพล น้อย 999  กองกำลังติดอาวุธกระเหรี่ยง DKBA.  


 


นาย อ. คนไทยในอำเภอท่าสองยาง นาย ส.บ้านแม่พลู อ.ท่าสองยาง นายป่าน้อย ชาวพม่าที่มีบ้านในบ้านแม่สะลิดหลวง อ.ท่าสองยาง และ ร้อยโท เคซามิ นายทหารกองกำลังติดอาวสุธกระเหรี่ยง KNU สังกัด  กองพัน 21  กองพลน้อยที่ 7


 


โดยคนที่ต้องการเข้ามาค้าแรงงานในประเทศไทยจะต้องสัญญาจ่ายเงินให้กับขบวนการค้ามนุษย์สูงถึงหัวละ 5,000-8,000 บาท  โดยเริ่มแรกจะจ่ายครึ่งหนึ่งตามสัญญาในประเทศพม่า  ส่วนที่เหลือ จะจ่ายให้เมื่อสามารถเข้าทำงานตามที่นายหน้าสัญญาไว้ หลังจากตกลงกลุ่มขบวนการฯแต่ละกลุ่มจะให้คนของตัวเองหรือจะใช้บริการของนายพาก่อ ชาวพม่า นำไปส่งให้กับ นาย ก. ที่อำเภอท่าสองยาง นายปาละ บ้านแม่สะลิด นายเกล่อทอ บ้านนาเจริญสุข นายจ่อละมี นาย ส. และนาย พ.ลูกชาย ผญบ.แห่งหนึ่งในอำเภอท่าสองยาง   ทั้งนี้เพื่อรอการขนย้ายต่อไป


 


ขบวนการค้ามนุษย์ในประเทศไทย  มีกลุ่มใหญ่ๆ แต่ที่โดดเด่น ยังคงเป็น กลุ่มนาย พ.  ชาวนครสวรรค์ โดยกลุ่มนี้จะส่งสินค้าต่อไปให้กับนางแก้ว นายวัฒน์ นายสมหมาย ที่กิ่งอำเภอโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร  กลุ่มนางเตี้ย  กิ่ง อ.โกสัมพี  


 


กลุ่มนางต้าน  ชาวอำเภอท่าสองยาง กลุ่มนี้จะส่งต่อให้กับ นายดาบตำรวจ ศ.  จากนั้นส่งต่อให้กับนาง พ. และสิ้นสุดที่ นางนก ภรรยาตำรวจแห่งหนึ่งใน บช.ภ.6   นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนายพล  ส่วนใหญ่ส่งไปตามสวนต่างๆในจังหวัดลำพูน   กลุ่มนาย น.ส่งไปตามสวนต่างๆในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มนายอาใหม่ ส่งไปทำงานตามไร่ต่างๆในจังหวัดนครสวรรค์


 


กลุ่มนาย อ. ชาวจันทบุรี โดยมีนาย ล. นักการเมืองท้องถิ่น คอยเป็นคนรวบรวมแรงงานมนุษย์จากแหล่งต่างๆจากนั้นเก็บรวบรวมไว้ที่ไร่แห่งหนึ่งไม่ห่างจากบ้านท่าอาจ และจะเปลี่ยนสถานที่ไปเรื่องๆ  ก่อนจะนำออกไปทางข้างน้ำตกเพื่อส่งต่อให้กับนายทุม ที่อำเภอสามชุก สุพรรณบุรี โดยมี  ตำรวจชื่อ ศ. ควบคุมดูแลและเคลีย์เส้นทาง


 


กลุ่มนางมะเอ (ชาวกระเหรี่ยง)  สายนี้เป็นพันธมิตรกับ นายดาบตำรวจ  ว.  โดยมี จ่าสิบตำรวจ อ. หรือจ่าแตน เป็นคนคุมและเคลีย์


 


กลุ่ม จ่าสิบตำรวจ ว. อดีตตำรวจสถานีเดียวกับ นายดาบตำรวจ ศ.   กลุ่มนี้จะรวบรวมสินค้ามนุษย์ไว้ที่วัดแห่งหนึ่งใน ตำบลท่าสายลวด  โดยมีพระที่เป็นชาวพม่าและชนกลุ่มน้อยคนหนึ่งเป็นคนรวบรวมให้ จากนั้นจะขนสินค้าผ่าน บ้านปางสังกะสี และบ้านใหม่เสรีธรรม เพื่อส่งต่อให้นางนก จากนั้นจะส่งต่อไปยังสามชุก เพื่อไปยังชั้นในต่อไป


 


การลำเลียงแรงงานจากพม่าเข้าไปทำงานในประเทศไทยนั้น เนื่องจากมีการกวดขัน และมีการตั้งด่านสกัดทั้งในส่วนของทหาร ตำรวจภูธร และตำรวจตระเวณชายแดน  ทำให้ขบวนการค้ามนุษย์ต้องหลบเลี่ยงโดยให้ เดินลัดเลาะออกมายังพื้นที่ชั้นนอก ซึ่งในขั้นตอนนี้จะใช้เวลาเดิน 2-4 วันแล้วแต่เส้นทาง


 


โดยหากเริ่มจากชายแดนฝั่งตรงข้ามอำเภอแม่ระมาด  จะเริ่มที่บ้านวังผา ต.แม่จะเรา เดินทะลุบ้านตีนธาตุ  ไปบ้านตีนธาตุ  อีกเส้นทางจะเริ่มที่บ้านเซวาลอทะ และไปเข้าส่วนหลังของตำบลแม่ท้อ ชายแดนฝั่งอำเภอแม่สอด  เส้นทางแรกใช้รถขนบนเส้นทางถนนสาย 105 อำเภอแม่สอด-อำเภอเมืองตาก ระยะทางกว่า 87 กิโลเมตร โดยเส้นทางนี้ก่อนถึงด่านตรวจจะให้แรงงานพม่าลงรถและเดินเท้าอ้อมด่านไปขึ้นรถอีกครั้งหนึ่ง เส้นทางที่ 2ถนนหลวงสาย 1175 อำเภอแม่ระมาด -อำเภอบ้านตากระยะทางประมาณ 86 กิโลเมตร เส้นทางนี้เหรือเส้นทางแรกคือใช้วิธีเดินอ้อมด่าน


 


ชายแดนอำเภอพบพระ- อำเภออุ้มผาง เส้นทางแรกเริ่มที่บ้านอุ้มเบี้ยม เดินเท้าไปบ้านโล๊กโค๊ะ ไปบ้านมอระงาม  ไปบ้านหนองแดน ทะลุบ้านหนองบัว ผ่านบ้านชุมนุมไทร ต.โกสัมพี สิ้นสุดที่บ้านใหม่เสรีธรรม กิ่งอำเภอวังเจ้า   เส้นทางที่ 2บ้านอุ้มเปียม ทะลุบ้านแม่กลองใหญ่ อำเภออุ้มผาง ไปสิ้นสุดที่บ้านชุมนุมไทร ต.โกสะมพี  เส้นทางที่ 3 บ้านแม่กลองใหญ่ ทะลุคลองน้ำไหล อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร เส้นทางที่ 4บ้านห้วยเหลือง บ้านธงชัย เดินผ่านน้ำตกท่าเล่ ทะลุบ้านคลองห้วยทราย ผ่านบ้านเด่นตาล  ทะลุถนนสาย 105  เส้นทางที่ 6 บ้านพะดี ไปบ้านนาคิรี ผ่านบ้านคิรีล่าง ผ่านบ้านสามหลัง ทะลุบ้านปางสังกะสี ทะลุบ้านเพชรชมพู บ้านเด่นวัว กิ่งอำเภอวังเจ้า


 


สำหรับเส้นทางที่นิยมนำคนต่างด้าวลัดเลาะเพื่อเข้ายังจังหวัดชั้นใน คือ  เส้นทาง บ้านแม่ตาปู ตำบลแม่วะหลวง ทะลุบ้านอูกอโกร อ.สบเมย เพื่อไปทำงานที่ไร่มะเขือเทศบ้านลอยก่ออำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่  เส้นทางที่สองบ้านแม่สะลิด ทะลุบ้านแม่โก๊ะ ทะลุ บ้านสลิดหลวง  สิ้นสุดที่บ้านแม่ระเมิง เพื่อรอคนมารับ
เส้นทางที่สาม บ้านมะโอโกร เดินเท้าทะลุบ้านบราเด  สิ้นสุดบ้านปิตุโกร อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มนี้จะไปทำงานที่จังหวัดลำพูน จังหวัดลำปาง


 


และจังหวัดเชียงใหม่ เส้นทางที่สี่บ้านแม่สลิดน้อย  ทะลุบ้านแม่โค๊ะโดยเดินเลียบเส้นทางถนนสายบ้านแม่สลิดหลวง  เส้นทางที่ห้าสะพานห้วยแม่หละ เดินเท่าไปบ้านป่าสัก ผ่านบ้านแมาหละโพคี  แยกเข้าบ้ายกามาผาโด


 


เส้นทางที่หก บ้านทุ่งต้นงิ้ว สิ้นสุดบ้านแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เส้นทางที่เจ็ด จาก  กม.105 บ้านแม่สอง เดินตามห้วยบ้านเปียงแก้ว ผ่านบ้านผาแดง ผ่านบ้านเดอะเดคี บ้านบราแดง บ้านปิตุโกร และบ้านตะพิดอ  เส้นทางที่ แปดบ้านแม่เทย ไปยังบ้านแม่ตื่น อำเภออมก๋อย สุดท้าย จากสะพานห้วยแม่ออกรู ผ่านบ้านโซอู่ หรือบ้านตีนดอย ไปบ้านกามาผาโด ผ่านบ้านแม่หละคี อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ทะลุออกอำเภอสามเงาจังหวัดตาก


 


การเข้ามาทำงานของแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย แม้จะเป็นที่ถูกอกถูกใจของผู้ประกอบการ เนื่องจากค่าจ้างถูก แต่ผู้ประกอบการในฐานะคนไทยคนหนึ่งคงต้องคำนึงถึงเรื่องความมั่นคง และการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งจะส่งผลกับประเทศไทยในอนาคตได้


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net