ได้สัญชาติไทย ยังไม่ใช่คำตอบสุดท้าย

 

การได้มาซึ่งสัญชาติสำหรับกลุ่มคนไร้สัญชาติอาจจะเป็นไปอย่างยากเย็น  แต่เมื่อได้สัญชาติมาแล้ว  อาจไม่ได้หมายความว่า  การต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิที่พึงมีพึงได้จะจบสิ้นลงเสมอไป

 

อาจารย์ลักขณา  พบร่มเย็น  อาจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์  คณะสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ยกตัวอย่างกรณีศึกษาของนักศึกษารายหนึ่ง  ซึ่งแม้เธอจะได้รับสัญชาติไทย  มีบัตรประจำตัวประชาชนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย  สามารถเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยได้  แต่ก็ค้นพบภายว่า  สถานภาพที่เธอได้รับจากส่วนปกครอง  ยังไม่มีความถูกต้องโดยสมบูรณ์ตามหลักกฎหมาย

 

นางสาวชนานันท์  เชอมือ  เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2  คณะสังคมศาสตร์  ภาควิชารัฐศาสตร์  สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับทุนจากกระทรวงมหาดไทยใน "โครงการสนับสนุนเยาวชนชาวไทยภูเขาสู่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" และเป็นสมาชิกในชมรมชาติพันธุ์ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อนำความรู้ที่ได้ไปช่วยเหลือและพัฒนาคนบนพื้นที่สูง

 

ชนานันท์  เกิด พ..2526 ที่หมู่บ้านสามแยก ตำบลแม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย (เดิมอยู่ในอำเภอแม่จัน)  ถือบัตรสีฟ้า (บัตรคนบนพื้นที่สูง) ซึ่งเป็นไร้สัญชาติ ต่อมาในปี พ.. 2546 เธอได้รับสัญชาติไทยและได้รับบัตรประจำตัวประชาชน โดยเลขตัวแรกในบัตรประจำตัวประชาชนขึ้นต้นด้วย "เลข 8" หมายถึง คนต่างด้าวที่ได้มีการขอสัญชาติไทย แต่ในข้อเท็จจริงแล้วเธอเป็นคนไทยโดยกำเนิดตามหลักสืบสายโลหิตและหลักดินแดน

 

ตามข้อเท็จจริง ยายของเธอเป็นชาวเขาดั้งเดิมติดแผ่นดิน จึงมีสถานะเป็นคนสัญชาติไทยโดยการเกิดโดยผลของกฎหมาย แต่เพิ่งมาได้รับการลงรายการสัญชาติและจำทำบัตรประจำตัวประชาชน ประมาณในปี พ.. 2520 ยายของเธอเป็นคนสัญชาติไทยที่ตกหล่นทางทะเบียนราษฎร เลขบัตรประจำตัวประชาชนจึงขึ้นด้วย "เลข 5" หมายถึง คนไทยตกหล่นและขอเข้าชื่อในทะเบียนบ้านภายหลังการเกิด ดังนั้น แม่ของเธอซึ่งเกิดที่หมู่บ้านสามแยก ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง (เดิมเป็น อ.แม่จัน) .เชียงราย และเป็นลูกของยายต้องได้สัญชาติไทยตามหลักดินแดนและหลักสืบสายโลหิตด้วยเช่นกัน แต่เนื่องจากตอนที่แม่ของเธอเกิดนั้น ยายยังไม่ได้บัตรประจำตัวประชาชนทำให้แม่ของเธอตกหล่นอีกเช่นกัน ดังนั้น ทั้งแม่และยายซึ่งเป็นคนไทยดั้งเดิมแต่ตกหล่นจึงขอเข้าชื่อในภายหลัง ซึ่งในบัตรประจำตัวประชาชนของแม่ของเธอควรขึ้นต้นด้วย "เลข 5" ไม่ใช่ "เลข 8" เพราะบุตรทั้งสองเป็นคนไทยโดยการเกิด มิใช่คนไทยภายหลังการเกิด เพราะกรมการปกครองถือว่า คนที่มีสัญชาติไทยภายหลังการเกิดจะต้องถือบัตรประจำตัวประชาชนขึ้นต้นด้วย "เลข 8"

 

ส่วนพ่อของเธอถือบัตรประจำตัวประชาชนขึ้นต้นด้วยเลข 3 ซึ่งเป็นคนไทยโดยกำเนิด พ่อและแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่พ่อได้ไปแจ้งเกิดชนานันท์ที่อำเภอแม่จัน และให้ใช้นามสกุลเดิมของพ่อ   ในขณะที่พ่อของเธอกำลังดำเนินการจัดการเรื่องเอกสารหลักฐานต่างๆในตัวเธอ  เพื่อขอพิสูจน์สัญชาติไทยกับอำเภอแม่ฟ้าหลวง พ่อเธอก็เสียชีวิตตั้งแต่ปี พ..2537 ประกอบกันอำเภอแม่ฟ้าหลวงแยกออกมาจากอำเภอแม่จัน หลักฐานเอกสารต่างๆ ที่อยู่ที่อำเภอแม่จันได้สูญหายไปบางส่วนในขณะที่มีการแยกอำเภอแม่ฟ้าหลวงออกมาจากอำเภอแม่จัน

 

จะเห็นได้ว่าชนานันท์เกิดในประเทศไทย จากบิดาที่มีสัญชาติไทยและมารดาที่มีสัญชาติไทยแต่ตกหล่นจากการสำรวจ เธอควรได้รับสัญชาติโดยการเกิดตามหลักสืบสายโลหิตจากมารดาโดยผลของมาตรา 10 แห่ง พ...สัญชาติ (ฉบับที่ 2) ..2535 และหลักดินแดนโดยผลของมาตรา 7 (3) แห่ง พ...สัญชาติ พ..2508 ฉบับดั้งเดิม เลขบัตรประจำตัวประชาชนของเธอจึงควรขึ้นต้นด้วย "เลข 5" คือ คนไทยดั้งเดิม แต่ตกหล่นและขอเข้าชื่อในภายหลัง ไม่ใช่ "เลข 8" เหมือนยายและแม่ ดังนั้น การที่กรมการปกครองให้บัตรประจำตัวประชาชนขึ้นต้นด้วย "เลข 8" แก่เธอ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายและทางปฏิบัติของกรมการปกครอง

 

เธอกล่าวว่าตลอดเวลาเธอพยายามต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับชีวิตของเธอ เนื่องจากบัตรประจำตัวประชาชนจะเป็นใบเบิกทางที่จะทำให้เธอได้เรียนหนังสือ ได้ก้าวเข้าไปสู่อนาคตที่เธอฝันเอาไว้ น้องแนทเดินเข้าไปติดต่อกับทางอำเภอแม่ฟ้าหลวงตั้งแต่อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จนกระทั่งเธออยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เธอก็ยังไม่ได้คำตอบที่ชัดแจ้งจากทางอำเภอ หลายครั้งเธอต้องเสียโอกาสในการรับทุนการศึกษาเพราะไม่มีสัญชาติไทย ทั้งๆ ที่เรียนได้เกรดเฉลี่ยมากกว่า 3.50 มาโดยตลอด

 

เมื่อใกล้จะจบการศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เธอเริ่มจะรอไม่ได้ต่อไปแล้ว เธอไปอำเภอเกือบทุกวันจนเจ้าหน้าที่จำหน้าได้ทุกคน  เธอได้ขอความช่วยเหลือและคำแนะนำจากคุณพ่อของเพื่อน จนในที่สุดทางอำเภอให้เธอตรวจ DNA ของยายกับแม่  จึงได้บัตรประจำตัวประชาชนมาก่อนวันที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะปิดรับสมัครคัดเลือกนักศึกษาใหม่เพียง 2 วัน  การรับสมัครสอบคัดเลือกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น

 

เมื่อได้เข้ามาเรียนในสาขาวิชานิติศาสตร์ เธอเริ่มรับรู้ว่าบัตรประจำตัวประชาชนที่ได้รับมานั้นไม่ถูกต้อง การที่บัตรประจำตัวประชาชนของเธอขึ้นต้นด้วย "เลข 8" เธอจะถูกจำกัดสิทธิไม่สามารถรับราชการได้ โดยเฉพาะการรับราชการในตำแหน่งผู้พิพากษา ตุลาการ อัยการ เนื่องจาก เลข 8 ในบัตรประจำตัวประชาชน หมายถึง คนต่างด้าวที่ขอสัญชาติไทย มิใช่การได้สัญชาติไทยโดยการเกิด จึงไม่สามารถเข้ารับราชการได้  และนั่นคือสิ่งที่เธอต้องสู่ต่อไป

 

อย่างไรก็ตามความรู้ทางกฎหมายของเธอจะส่งเสริมให้เธอสามารถช่วยเหลือตนเองได้เป็นอย่างดี  และจะเป็นประโยชน์ต่อการช่วยเหลือผู้คนในชุมชนของเธออีกด้วย.

           

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท