Skip to main content
sharethis


 

แถลงการณ์สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค


แฉ ข้อเท็จจริงเรื่องขึ้นค่าไฟฟ้า ผลจากการแปรรูปกฟผ


เห็นผลทันตา จากการแปรรูปกฟผ. รัฐบาลเตรียมโขกค่าไฟเพิ่ม 32 สตางค์ ต่อหน่วย


ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 มากที่สุดในรอบ10 กว่าปีที่ผ่านมา


เหตุผลในการขึ้นค่าไฟ


·                                 โปะค่าใช้จ่ายแปรรูปกฟผ.ไม่น้อยกว่า 25,000 ล้านบาท


·                                 ประกันกำไรให้นักลงทุน 8.39% เพื่อการแปรรูปกฟผ.


·                                 ปตท.แปรรูปแล้วขูดรีดค่าเชื้อเพลิงผลิตไฟจากประชาชน ไปปรนเปรอให้กลุ่มทุน


·                                 ระบบอามิสสินจ้าง หรือผลประโยชน์ทับซ้อนกับข้าราชการ ที่มีผลต่อกระบวนการกำหนดค่าไฟ


      จากการออกมาให้ข่าวจากกระทรวงพลังงานและบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน)ในขณะนี้ ว่าจะมีการขึ้นค่าไฟในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ถึงประมาณ 32 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการโยนหินถามทางเพื่อให้เกิดการยอมรับสภาพการถูกเก็บค่าไฟแพงขึ้นล่วงหน้าของผู้บริโภคนั้น


      สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค(สอบ.) เห็นว่า ข้ออ้างเรื่องค่าเชื้อเพลิงคือราคาของก๊าซธรรมชาติที่จะปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 192 บาทต่อล้านบีทียู จากเดิม 160 บาทต่อล้านบีทียู และการใช้น้ำมันเตาที่ราคาแพงนั้น ไม่ใช่ข้ออ้างที่ชอบธรรมและนำมาหลอกลวงผู้บริโภคได้


      เนื่องจากเหตุผลหลักในการขึ้นค่าไฟครั้งนี้เป็นเพราะ 1. ภาระค่าใช้จ่ายในการแปลงสภาพและแปรรูป กฟผ. เป็นบริษัทจำกัดมหาชน 2. ผลการเปลี่ยนหลักเกณฑ์ มาเป็น ROIC และ 3.ผลจากการแปรรูปปตท. ซึ่งส่งผลต่อการขูดรีดผู้บริโภค ในรูปค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายเป็นค่าก๊าซและน้ำมันให้ปตท4. ระบบอามิสสินจ้าง หรือผลประโยชน์ทับซ้อนกับข้าราชการ ที่มีผลต่อกระบวนการกำหนดค่าไฟ


      . 


      ทั้งนี้ 1. ภาระค่าใช้จ่ายในการแปลงสภาพและแปรรูปกฟผ. เป็นบริษัทจำกัดมหาชนนั้น จากการตรวจสอบข้อมูลจากการ ข้อมูลฐานะการเงินปี พ.ศ. 2544 - 2551 มกราคม 2547, หน้า 11 เอกสารของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและ เอกสารสัญญาจ้างโฆษณาประชาสัมพันธ์ สัญญาที่ 46C 80005 ระหว่าง บมจ. กฟผ. และบริษัม สปา แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2548 รวมทั้งการตรวจสอบข้อมูลจาก หนังสือชี้ชวนเสนอขายหุ้นสามัญ บมจ. กฟผ.พบว่าอย่างน้อยที่สุดการแปลงสภาพและแปรรูปของกฟผ. ทำให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องตกเป็นค่าไฟเรียกเก็บกับผู้บริโภค อย่างน้อยที่สุดประมาณ 25,759 ล้านบาท (รายละเอียดตามกรอบแนบท้าย)


      2. ผลการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การกำหนดค่าไฟฟ้า จากเดิมก่อนแปลงสภาพกฟผ. เคยใช้หลักเกณฑ์ด้านกระแสเงินเป็นหลัก คือ อัตราส่วนการลงทุนจากเงินรายได้ อัตราส่วนรายได้สุทธิต่อการชำระหนี้ และอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนทุน แต่ในการเตรียมการแปรรูปและการกระจายหุ้น บมจ. กฟผ. ได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดค่าไฟฟ้าฐานเพื่อดึงดูดนักลงทุนในตลาดหุ้น โดยกำหนดให้ กฟผ. มีผลตอบแทนจากเงินลงทุน (Return on Invested Capital: ROIC) หรือประกันกำไรให้นักลงทุน ในระดับ 8-9% ในช่วงปี 2549 -2551 ซึ่งมีผลให้ในปัจจุบันกฟผ.ต้องมีROIC หรือผลตอบแทนการเงินลงทุนอยู่ที่ 8.39% ซึ่งหมายความว่าการลงทุนทุก 100 บาท ต้องได้กำไรแน่นอนไม่น้อยกว่า 8.39 บาท ในขณะที่เปรียบเทียบเกณฑ์ส่วนใหญ่ทั่วโลกจะอยู่ที่ประมาณ 4.2% เท่านั้น


      ซึ่งในการศึกษาโครงสร้างค่าไฟฟ้าในครั้งนี้ไม่เคยมีการเผยแพร่ผลการศึกษาหรือจัดสัมมนาเพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจนได้มีการตัดสินโดยคณะรัฐมนตรีจึงได้มีการเผยแพร่รายละเอียด ผลของการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์โครงสร้างค่าไฟฟ้าโดยการยกเลิกแบบเดิมมาเป็น ROIC นั้น ทำให้ต้องขึ้นค่าไฟ สูงกว่าการใช้หลักเกณฑ์เดิม เพราะต้องประกันผลกำไรจากการลงทุน


      3. ผลจากการแปรรูปปตท. แล้วมาขูดรีดค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้ากับผู้บริโภค นำกำไรไปปรนเปรอให้นักลงทุนและกรรมการบอรด์ที่เป็นข้าราชการ เกือบ 50% ของผลกำไรทั้งหมด ซึ่งในปี 2548 ปตท.มีผลกำไร 90,000 ล้านบาท ซึ่งถ้าปตท.ยังเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่กำไรเกือบ 50% ที่ต้องไปให้นักลงทุนเพียงไม่กี่กลุ่ม แต่ถ้านำกำไรส่วนนั้นมาลดค่าก๊าซ ค่าน้ำมัน ให้กับการผลิตไฟฟ้าให้ผู้บริโภคทั้งประเทศ ก็ไม่จำเป็นต้องขึ้นค่าเอฟที หรือขึ้นค่าไฟอีกแต่อย่างใด


      แต่เนื่องจากการแปรรูปปตท.ที่ผ่านมา เป็นการนำผลประโยชน์ด้านเชื้อเพลิงของชาติไปผูกขาดทำผลประโยชน์และกำไรมหาศาลให้กับกลุ่มทุนไม่กี่กลุ่ม ทั้งยังไม่มีการกำกับดูแลกิจการก๊าซธรรมชาติเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้บริโภค และประชาชนแต่อย่างใด การขึ้นราคาก๊าซ ของปตท.จึงเกิดขึ้นตลอดเวลา เพราะเป็นกิจการผูกขาดที่ประชาชนทุกคนต้องใช้และจ่าย 


      4. นอกจากนั้นผลประโยชน์มหาศาลที่ข้าราชการระดับสูงของกระทรวงและสำนักต่างๆ โดยเฉพาะในกระทรวงและสำนักที่เกี่ยวกับด้านพลังงาน ได้จากการเป็นคณะกรรมการบอร์ดปตท.และธุรกิจพลังงานต่างๆ เช่น บางคนได้เงินเดือนข้าราชการ รวมค่าตำแหน่งและ ค่ารถ ปีละ 1 ล้าน 2 แสนบาท แต่ ค่าตอบแทนในการเป็นบอร์ดในธุรกิจพลังงาน ปีละ เกือบ 6 ล้านบาท หรือมากกว่ากันเกือบ 5 เท่า ก็กลายเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน ที่มีผลกระทบการรักษาผลประโยชน์เพื่อประชาชนผู้บริโภคหรือเพื่อรักษาผลกำไรของธุรกิจพลังงาน และส่งผลต่อการขึ้นค่าไฟฟ้ากับประชาชนผู้บริโภค


             นางสาวสายรุ้ง ทองปลอน


      ผู้จัดการสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค


·                                 ในการแปลงสภาพ และแปรรูป กฟผ. มีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องมากมาย ดังนี้




























ค่าใช้จ่ายในการแปลงสภาพ กฟผ.


ล้านบาท


1. ค่าบริการของบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน


1,174 ล้านบาท


2. เงินเดือน และผลตอบแทนของพนักงาน และคณะกรรมการ บมจ. กฟผ. ที่เพิ่มขึ้นจากการแปลงสภาพเป็นบริษัท (ยอดรวมเฉพาะ 5 ปีแรก)


12,126 ล้านบาท


3. ค่าใช้จ่ายในการเกษียณพนักงานก่อนกำหนดก่อนการแปลงสภาพเป็นบริษัท


4,000 ล้านบาท


4. ค่าประชาสัมพันธ์ ซื้อสื่อโฆษณาต่าง ๆ


> 44 ล้านบาท


5. ผลประโยชน์หุ้นของพนักงาน กฟผ. (ณ ราคาหุ้น 26.5 บาท/หุ้น)


8,415 ล้านบาท


6. อื่น ๆ (ค่าจ้างที่ปรึกษาทางกฎหมาย ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน ค่าทำสัญญาต่าง ๆ เช่น สัญญาเช่าเขื่อน เช่าที่ดินกรมธนารักษ์ ฯลฯ)


ล้านบาท


รวม


> 25,759 ล้านบาท


(อ้างอิง: 1 -3  จาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, "ข้อมูลฐานะการเงินปี พ.ศ. 2544 -


2551" มกราคม 2547, หน้า 11 (เอกสารแนบ 9)



  1. จาก สัญญาจ้างโฆษณาประชาสัมพันธ์ สัญญาที่ 46C 80005 ระหว่าง

    บมจ. กฟผ. และบริษัม สปา แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2548


(เอกสารแนบ 10)



  1. จาก หนังสือชี้ชวนเสนอขายหุ้นสามัญ บมจ. กฟผ. )

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net