Skip to main content
sharethis

 ถึง         คุณ Jonas Gahr Stoere  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นอร์เวย์)


คุณ Joseph Deiss  หัวหน้ากรมการเศรษฐกิจ (สวิซเซอร์แลนด์)


            คุณ Geir H. Haarde รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ไอซ์แลนด์)


            คุณ Rita Kieber-Beck รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ลิกซ์เตนสไตน์)


 


สำเนาถึง             รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย


 


ถึง รัฐมนตรี


 


ขณะนี้ รัฐเอฟต้ากำลังเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับไทย  เราเป็นห่วงว่ารัฐเอฟต้าจะนำเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งจะไปไกลเกินกว่าข้อตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญาของดับบลิวทีโอ (ต่อแต่นี้ เรียก บทว่าด้วย "ทริปส์ผนวก")  เข้าไปรวมอยู่ในบทของข้อตกลง  ขณะเดียวกัน เราเป็นห่วงว่ารัฐเอฟต้าต้องการให้ไทยเปิดเสรีภาคการเงิน  องค์กรที่ลงนามต้องการแสดงความคัดค้านอย่างยิ่งที่จะมีการรวมประเด็นดังกล่าว


 


ทรัพย์สินทางปัญญา


 


เราคัดค้านบททริปส์ผนวกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเกษตรและยา  ถ้านำเอามาใช้ บทเหล่านี้จะก่อผลกระทบทางลบอย่างต่อเนื่องต่อสาธารณสุขและความมั่นคงทางอาหารในไทย  ความกังวลของเราอยู่บนพื้นฐานของบทเช่นที่ว่าในข้อตกลงที่ได้สรุปแล้วก่อนหน้านี้กับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ (เช่น ข้อตกลงของเอฟต้ากับชีลีตั้งแต่ 26 มิถุนายน 2546 กับเลบานอนตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2547 และกับตูนีเซียวันที่ 17 ธันวาคม 2547)  บทที่ว่านี้จะไม่ช่วยแก้ไขการแบ่งแยกปฎิบัติทางการค้าระหว่างรัฐเอฟต้าและรัฐอื่นๆที่เจรจาข้อตกลงกับไทยเพราะว่ากฎหมายสิทธิบัตรของไทยให้สิทธิและข้อผูกมัดสำหรับบุคคลไทยและชาวต่างชาติจากแต่ละประเทศเช่นเดียวกัน  ในทางตรงกันข้าม  การเปลี่ยนแปลงในกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของไทยตามที่รัฐเอฟต้าเรียกร้องจะก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบโดยตรงต่อสาธารณสุขและความมั่นคงทางอาหารของประชากรไทย


 


บทว่าด้วยทริปส์ผนวกในยาของเอฟต้า


 


แรงกดดันจากเอฟต้าที่มีต่อไทยในการนำเสนอกฎหมายเรื่องการผูกขาดข้อมูลการจดทะเบียนยาชื่อการค้าเป็นเวลา 5-10 ปี (หลังจากนี้เรียก "การผูกขาดข้อมูลยา") นั้นยอมไม่ได้  เพราะการผูกขาดข้อมูลยาเป็นหนึ่งในสิ่งที่เลวร้ายที่สุดในบทบัญญัติทริปส์ผนวกว่าด้วยยา  การปกป้องดังกล่าวจะใช้ในแม้แต่กรณีที่ยาไม่ได้รับสิทธิบัตรหรือมีการประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ  ในช่วงเวลาที่มีการปกป้อง  เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจควบคุมจะไม่สามารถอาศัยข้อมูลการทดสอบทางคลีนิคของผู้ผลิตยาต้นแบบเมื่อจะอนุมัติการเข้าสู่ตลาดของยาชื่อสามัญได้  จะทำให้การนำยาชื่อสามัญเข้าสู่ตลาดเป็นไปยากยิ่งขึ้น


 


โดยการออกกฎหมาย พรบ. ความลับทางการค้าไทยในเดือนกรกฎาคม ปี 2545  ไทยได้ปฏิบัติตามภาระข้อผูกพันภายใต้ข้อตกลงทริปส์โดยเฉพาะมาตรา 39.3 แล้ว  การเสนอให้มีการผูกขาดข้อมูลยาในสู่กฎหมายไทยอีกจะเป็นการให้การปกป้องเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็นซึ่งจะทำลายความสามารถของไทยในการประกันการเข้าถึงยาที่มีราคาถูกสำหรับประชากรของตน


 


เรายังกังวลด้วยว่าประเทศสมาชิกเอฟต้าจะเรียกร้องให้ไทยต้องขยายอายุสิทธิบัตรออกไปอีก 5 ปีเพื่อชดเชยความล่าช้าที่ "ไม่มีเหตุผล" ในกระบวนการอนุมัติการออกสู่ตลาด  บทที่ว่านี้ขึ้นอยู่กับการตีความหมายหลายอย่างและจะถ่วงเวลาการเข้ามาแข่งขันของยาชื่อสามัญถึงห้าปีภายหลังจากการหมดอายุสิทธิบัตรตามปกติ


 


บทเหล่านั้นไปไกลเกินกว่าข้อผูกพันทริปส์  มันจะทำให้สิทธิการผูกขาดของบริษัทยาแข็งแกร่งขึ้นโดยที่ผู้ป่วยต้องรับภาระ  ผลกระทบของมันจะป้องกันและถ่วงเวลาการเข้ามาแข่งขันของยาชื่อสามัญ  อย่างไรก็ตาม  ในกรณีของยาเอชไอวีเอดส์ พิสูจน์ให้เห็นว่าการแข่งขันของยาชื่อสามัญเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการลดยาราคาสูงให้อยู่ในระดับที่ผู้คนเข้าถึงได้ และ ช่วยในการเข้าถึงยา  นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมากโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีทรัพยากรจำกัด


 


บทเหล่านี้ไม่สมควรอย่างสิ้นเชิงสำหรับไทยเมื่อพิจารณาจากภาวะการแพร่ระบาดอย่างหนักที่ประเทศประสบ  ทุกวันนี้ มีประชากรประมาณ 700,000 คนติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ในประเทศ  อัตราการติดเชื้อเอชไอวีในประชากรผู้ใหญ่อยู่ที่ประมาณ 1.5%  คนจำนวน 65,071 คนได้รับยาต้านไวรัสอยู่ขณะที่ประชาชนจำนวน 114,000 ต้องการยา  ตรงกันข้ามกับยาต้านไวรัสสูตรพื้นฐาน (first-line)  ยาส่วนมากที่ใช้ในยาสูตรสำรอง (second-line) อยู่ภายใต้สิทธิบัตรในไทย และราคายาของมันก็สูงกว่าอย่างชัดเจน  ไทยเป็นประเทศที่สองที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก เอช 5 เอ็น 1 ซึ่งอาจจะพัฒนาไปสู่สายพัฒนาที่มีความสามารถแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง  จนกระทั่งถึงเดือนธันวาคม 2548 มีการรายงานกรณีการติดเชื้อเอช 5 เอ็น 1 ในคนแล้ว 22 กรณี  ซึ่ง 14 รายเสียชีวิต  มันจึงจำเป็นสำหรับไทยที่จะสงวนไว้ซึ่งความสามารถในการใช้มาตรการที่เหมาะสมทุกรูปแบบที่ป้องกัน รักษาและควบคุมสาธารณสุขของประชากร  รวมถึงการใช้การแข่งขันของยาชื่อสามัญเพื่อที่จะได้มาซึ่งยาจำเป็นและช่วยชีวิตคนในราคาที่เข้าถึงได้  ไม่มีความจำเป็นใดที่จะต้องเพิ่มความแข็งแรงให้กับสิทธิผูกขาดของบริษัทยาขนาดใหญ่ 


 


โดยการเรียกร้องบทว่าด้วยทริปส์ผนวก รัฐเอฟต้ากำลังปฏิเสธจดหมายและจิตวิญญาณของคำประกาศโดฮาเกี่ยวกับข้อตกลงทริปส์และสาธารณสุขซึ่งได้ตกลงกันในเดือนพฤศจิกายน 2544[1]  มันกล่าวไว้ว่าทุกประเทศมี "สิทธิที่จะปกป้องสาธารณสุขและโดยเฉพาะสนับสนุนการเข้าถึงยาของทุกคน"


 


บทว่าด้วยทริปส์ผนวกในเกษตรของเอฟต้า


 


ในการตอบคำถามของสภา  รัฐบาลลิกเตนสไตน์ได้ยืนยันว่าประเทศเอฟต้าจะไม่เรียกร้องให้ไทยต้องเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (ยูปอฟ) แต่ยังคงยืนกรานว่าจะต้องให้การคุ้มครองสอดคล้องกับข้อตกลงยูปอฟปี 2521  แม้กระนั้น บางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมเอฟต้ายังต้องการสร้างกฎเกณฑ์ให้ไทยว่าจะต้องคุ้มครองพันธุ์พืชของตนอย่างไรอีก  มันน่าสงสัยว่าระบบการคุ้มครองอย่างยูปอฟซึ่งถูกพัฒนาโดยประเทศอุตสาหกรรมเพื่อเกษตรกรรมของตนเองจะมีประโยชน์สำหรับประเทศอย่างไทยหรือ  ด้วยกฏเกณฑ์ดังกล่าว ประเทศเอฟต้าได้จำกัดความยืดหยุ่นที่มีอยู่ในของข้อตกลงทริปส์


 


เราเป็นห่วงว่ารัฐเอฟต้าจะเรียกร้องให้ไทยให้สิทธิบัตร "สิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยีชีวภาพ"  บทนี้จะไปไกลว่าข้อผูกพันในทริปส์  เพราะว่า "สิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยีชีวภาพ" สามารถเป็นได้ทั้งพืชและสัตว์  การอ้างอิงนี้เป็นการเปิดให้มีการจดสิทธิบัตรในพืชและสัตว์บางชนิด (โดยที่ไม่ได้กล่าวออกมาโดยตรง)  การขอให้ไทยเป็นสมาชิกของสนธิสัญญาปูดาเปสปี 2540 จะเป็นอีกทางในการสนับสนุนให้มีการจดสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิตและก็เป็น "ทริปส์ผนวก"  สิทธิบัตรในเมล็ดพันธุ์ก็เป็นปัญหาในไทยเพราะการบังคับทรัพย์สินทางปัญญาในเกษตรจะไปจำกัดสิทธิเกษตรกร โดยเฉพาะสิทธิในการใช้เมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้เอง  จนถึงบัดนี้ ระบบอุปทานแบบไม่เป็นทางการซึ่ง 80% ของเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูกนั้นมาจากการเก็บไว้ใช้เองของเกษตรกร มีบทบาทสำคัญในไทยและก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ  ระบบทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวดขึ้นจะทำลายระบบเหล่านี้เและความหลากหลายทางชีวภาพในเกษตรกรรม


 


อย่าให้มีบทว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาในข้อตกลงเขตการค้าเสรีเอฟต้า-ไทย


 


ประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทยเผชิญหน้ากับความท้าทายในการได้มาซึ่งความมั่นคงทางอาหารและการรักษาสุขภาพที่ดีสำหรับประชากร  ดังนั้นมันควรจะรักษาความเป็นอิสระที่เพียงพอในการจะปรับระบบทรัพย์สินทางปัญญาให้เหมาะสมกับความต้องการของมัน  อย่างไรก็ตาม บทว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาในข้อตกลงเขตการค้าเสรีทวิภาคีลดอิสระดังกล่าวและมีผลกระทบทางตรงกับสิทธิทางอาหารและสิทธิทางสุขภาพของประชาชน  เพื่อผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมในประเทศของเอฟต้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุขและความจำเป็นทางอาหารของประเทศคู่ค้าผ่านบททริปส์ผนวกในข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับไทย  สวิเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกซ์เตนสไตน์ กำลังเอาภาพพจน์และชื่อเสียงของตนมาเสี่ยง 


 


ด้วยลายชื่อในจดหมายนี้  เราเรียกร้องให้ไม่มีบททรัพย์สินทางปัญญาในข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างรัฐเอฟต้าและไทย


 


อย่าให้มีแรงกดดันสำหรับการเปิดเสรีตลาดการเงิน


 


รัฐเอฟต้ายังมีมุ่งหมายที่จะขอให้มีการเปิดเสรีสาขาการเงินจากไทยโดยเฉพาะการเข้าถึงตลาดที่ดีขึ้นสำหรับการประกันภัยและธนาคารและกำจัดกฎระเบียบในภาคการเงิน  สิ่งนี้น่าเป็นห่วงยิ่ง  เพราะประสบการณ์ตั้งแต่ครึ่งหลังของทศวรรษ 2533-2543 ได้แสดงให้เห็นว่าการแข่งขันจากธนาคารต่างประเทศในประเทศกำลังพัฒนาสามารถจะทำให้สถาบันทางการเงินของท้องถิ่นอ่อนแอลงได้  ตัวอย่างเช่น ธนาคารต่างประเทศให้การบริการโดยเฉพาะลูกค้าที่ร่ำรวย  แต่ไม่ประกันว่าธุรกิจขนาดกลางและย่อม ผู้หญิง และผู้คนในชนบทจะเข้าถึงสินเชื่อราคาถูก  เป็นไปได้ว่าประเทศสมาชิกเอฟต้าเรียกร้องให้กำจัดการควบคุมกระแสทุนทั้งหมดด้วย  การทำเช่นนั้นเท่ากับละเลยความสำคัญของการควบคุมดังกล่าวอย่างสิ้นเชิงสำหรับประเทศอย่างไทย  ตั้งแต่วิกฤตเอเชีย  มันเป็นที่ทราบกันดีกว่าการไหลเข้าอย่างฉับพลันของทุนมักจะก่อให้เกิดฟองสบู่เก็งกำไรในหุ้นและมักจะนำไปสู่การขยายตัวของราคาทรัพย์สิน  การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของราคาทรัพย์สินจะเพิ่มความไม่เท่าเทียมกัน  ภายในระบอบของประเทศที่ลดเลิกการควบคุมกระแสทุนนั้นมักจะถูกกระทบโดยวิกฤตการณ์ทางการเงินในประเทศอื่นๆได้โดยง่าย


 


แม้แต่สถาบันอย่างกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารกลางหลายแห่ง ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วนิยมการเปิดตลาด ยังให้เน้นว่าอย่างแรกสุดประเทศต้องมีสถาบันและมาตรฐานในการควบคุมสำหรับดูแลธนาคารที่มีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้ กลไกระหว่างประเทศสำหรับการป้องกันและจัดการกับวิกฤตที่ถูกเรียกร้องให้มีขึ้นภายหลังวิกฤตเอเชียยังไม่ได้ถูกจัดตั้งขึ้น


 


ด้วยลายชื่อในจดหมายนี้  เราขอให้ประเทศเอฟต้าอย่าเรียกร้องการเปิดเสรีทางการเงินก่อนที่จะมีการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างภาคการเงินของโลกและในการดูแลควบคุมธนาคารสำหรับประเทศกำลังพัฒนาและประเทศเติบโตใหม่ที่ระบุได้ชัดเจน


 


ด้วยความจริงใจ


 


สวิตเซอร์แลนด์ :


Julien Reinhard & François Meienberg, Berne Declaration


 


ลิกเตนสไตน์:


Regula Mosberger, Liechtenstein Association for Environmental Protection (LGU)


 


นอร์เวย์:


Arvid Solheim, The Development Fund, Norway


 


ประเทศไทย:


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สำลี ใจดี, กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน


 


รายชื่อองค์กรสนับสนุน


 


ประเทศไทย:


-          มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ 


-          เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ประเทศไทย เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก  


-          สมัชชาคนจน 


-          องค์กรความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาไทย


-          สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค


-          มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 


-          กลุ่มศึกษาปัญหายา 


-          พันธมิตรสหภาพแรงงานประชาธิปไตย 


-          โครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา (โฟกัส) 


-          กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน  (เอฟทีเอว็อชท์)


 


สวิตเซอร์แลนด์:


 


- Alliance Sud


- Ärztinnen und Ärzte für Umweltschutz / Médecins en faveur de l'environnement


- Association Maison Populaire de Genève


- Association romande des Magasins du Monde


- attac Suisse


- Berne Declaration / Déclaration de Berne / Erklärung von Bern


- Bethlehem Mission Immensee


- Blauen-Institut


- Bread for all / Pain pour le prochain / Brot für Alle


- Comité pour l'Anulation de la Dette du Tiers Monde (CADTM)-Suisse


- CO-OPERAID


- E-CHANGER


- Geneva Federation for Cooperation and Development / Fédération Genevoise de Coopération


- Geneva Infant Feeding (GIFA) / Association genevoise pour l'alimentation infantile


- Greenpeace


- Groupe de Travail Suisse - Colombie / Arbeitsgruppe Schweiz - Kolumbien


- medico international schweiz


- MIVA Schweiz


- Restaure la Terre


- SID'Action


- SolidarMed


- SOLIFONDS


- Syndicat interprofessionnel de travailleuses et travailleurs (SIT)


- Swissaid


- TearFund


- terre des hommes schweiz


- World Vision Switzerland


 


เฉพาะประเด็นสุขภาพ:


- Antenne Sida du Valais romand


- Centrale Sanitaire Suisse Romande


- Groupe Sida Genève


- Médecins Sans Frontières - Suisse


- Swiss Aids Federation / Aide Suisse contre le Sida / Aids-Hilfe Schweiz


 


 


ลิกเตนสไตน์:


 


- Liechtenstein Association for Environmental Protection / Liechtensteinische Gesellschaft für Umweltschutz (LGU)


- Aktion: Wir teilen. Das alternative Fastenopfer


- Verein Welt und Heimat


 


นอร์เวย์:


 


- attac Norway


- Friends of the Earth Youth Norway / "Natur og Ungdom"


- The Development Fund, Norway


 


เฉพาะประเด็นสุขภาพ:


- Médecins Sans Frontières - Norway


 


 






[1] คำประกาศเกี่ยวกับข้อตกลงทริปส์และสาธารณสุข  รับเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2544 (WT/MIN(01)/DEC/2)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net