แถลงการณ์จากเครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535

ยืนยันสิทธิอันชอบธรรมในการขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อต้านนายกฯ ที่มาจากการแต่งตั้งและกระบวนการนอกรัฐสภา สนับสนุนการปฏิรูปการเมืองของประชาชน

 

ในสถานการณ์ทางการเมืองที่ปรากฏเด่นชัดว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร หมดความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี "เครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535" ขอสนับสนุนการใช้สิทธิทางการเมืองของประชาชนในการชุมนุมเคลื่อนไหวเพื่อขับไล่นายกรัฐมนตรี เนื่องจากเห็นว่าที่ผ่านมา กลไกของรัฐสภาและองค์กรอิสระล้วนถูกรัฐบาลพรรคไทยรักไทยควบคุมครอบงำจนไม่สามารถทำงานได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

 

อย่างไรก็ตาม เพื่อที่จะปกป้องเจตนารมณ์ประชาธิปไตยของการต่อสู้เดือนพฤษภาคม 2535 เอาไว้ เครือข่ายฯ มีข้อเสนอดังต่อไปนี้

 

ประการที่หนึ่ง การได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่นั้นต้องวางอยู่บนฐานของระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ เครือข่ายฯ จึงขอคัดค้านการกระทำใดๆ ที่จะนำไปสู่การได้มาซึ่ง "นายกรัฐมนตรี" หรือ "รัฐบาลจากการแต่งตั้ง" เพราะนายกฯหรือรัฐบาลจากการแต่งตั้งมิใช่เป้าประสงค์ของประชาชนที่ออกมาขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร

 

เครือข่ายฯ ขอเรียนย้ำว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นผลผลิตของการต่อสู้ทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย บุคคลหรือคณะบุคคลใดไม่มีสิทธิละเมิดหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งไม่มีใครมีอำนาจจะแต่งตั้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดเพื่อทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีได้โดยอำเภอใจ

นายกรัฐมนตรีหรือรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจนอกระบบ ทำให้เจตนารมณ์ประชาธิปไตยของประชาชนถูกปล้นไปซึ่งหน้า

 

ประการที่สอง แม้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรจะบิดเบือนการเลือกตั้งซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งในการแสดงเจตจำนงทางการเมืองของประชาชน ให้กลายเป็นกระบวนการฟอกตัวของ พ.ต.ท. ทักษิณเอง ซึ่งเครือข่ายฯ ขอประณามไว้ ณ ที่นี้

 

แต่ เครือข่ายฯ ก็เห็นว่า การเป็นปฏิปักษ์กับการเลือกตั้งอย่างสุดขั้ว จนโน้มเอียงให้สังคมหันไปแสวงหารัฐบาลใหม่โดยไม่ผ่านการเลือกตั้ง ก็ย่อมไม่ใช่วิถีทางคลี่คลายสถานการณ์บ้านเมืองที่ยังประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง และขัดต่อหลักการประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง ข้อบกพร่องของการเลือกตั้งและระบบรัฐสภาที่เป็นอยู่เป็นเรื่องที่แก้ไขได้โดยวิถีทางของประชาธิปไตย และควรจะต้องที่แก้ไขได้โดย "วิถีทางของประชาธิปไตย"

 

แม้เครือข่ายฯ จะเข้าใจดีถึงข้อจำกัดของการเลือกตั้งในภาวการณ์ปัจจุบัน แต่เครือข่ายฯ เห็นว่าการเลือกตั้งเป็นหนึ่งในกระบวนการประชาธิปไตย และเป็นการแสดงออกถึงสิทธิ และเจตจำนงของประชาชนในการเลือกรัฐบาล ตามหลักการประชาธิปไตย อีกทั้ง ประชาชนก็ยังสามารถแสดงพลังและเจตจำนงของตนเองผ่านกระบวนการเลือกตั้งได้ในหลากหลายวิธีการ

 

ประการที่สาม เครือข่ายฯ ขอเรียกร้องให้ประชาชนรวมตัวผลักดันให้การเลือกตั้งที่จะมีขึ้น - ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นวันที่ 2 เมษายน 2549 - เปลี่ยนแปรจาก "การเลือกตั้งที่ถูกบิดเบือน" เป็น "การเลือกตั้งเพื่อปฏิรูปการเมือง" และเครือข่ายฯ ขอเรียกร้องให้การปฏิรูปการเมืองต้องเกิดขึ้นทันทีเมื่อการเลือกตั้งสิ้นสุดลง

 

เครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535 ขอเน้นย้ำว่า ปัญหาทางการเมืองในยุครัฐบาลไทยรักไทยเกิดขึ้นเพราะกลไกพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งโครงสร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสังคม เปิดโอกาสให้เกิดการบิดเบือนอำนาจไปในทางมิชอบ

 

ดังนั้น การปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่จำเป็นต้องเป็นการปฏิรูปที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มรูปแบบ ไม่ใช่การปฏิรูปที่นำโดยชนชั้นนำหรือนักกฎหมายมหาชนไม่กี่ราย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผู้นำและระบบการเมืองอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้อีก ทั้งนี้ การปฏิรูปครั้งใหม่ไม่ควรจำกัดอยู่แค่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น หากควรขยายรวมไปถึงการปฏิรูปกฎหมายและนโยบายทางเศรษฐกิจสังคมอย่างรอบด้าน

 

ท้ายที่สุดนี้ เครือข่ายฯ ขอยืนยันว่า การต่อสู้เพื่อเป้าหมายประชาธิปไตยที่สมบูรณ์นั้น ย่อมไม่มีทางลัด มีแต่ต้องอาศัยการขับเคลื่อนพลังของประชาชนที่กว้างขวางโดยยึดกุม "วิถีทางประชาธิปไตย" เป็นเครื่องมือเท่านั้น

 

 

เชื่อมั่นในพลังประชาชน

เครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535

 

…………………………………………

อนึ่ง เครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535 เป็นเครือข่ายที่เกิดจากการรวมตัวของนักกิจกรรมทางสังคม ทั้งที่เคยมีบทบาทในการต่อสู้เรียกร้องเพื่อประชาธิปไตยในเดือนพฤษภาคม 2535 มาตั้งแต่ครั้งเป็นนักศึกษา, และอดีตนักกิจกรรมนักศึกษาที่มีความห่วงใยต่อสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้ และพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อผลักดันให้ประชาธิปไตยเป็นของประชาชนทุกหมู่เหล่าอย่างสมบูรณ์

 

 

 

 

รายชื่อ ผู้ร่วมลงนาม

"แถลงการณ์จากเครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535"

 

1 เฉลิมชัย ทองสุข            สโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี 2529

โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐฮาวายอิ

2 เสาวณีย์ จิตรื่น             เลขาธิการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย 2533

อาจาร์ประจำวิทยาลัยนวัตรกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

2 เรณู ไพศาลพานิชกุล      กรรมการ / คณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม

16 สถาบัน (คอทส.) ปี 2532

3 สมเกียรติ จันทรสีมา       นายก/ องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2534

บก.ศูนย์ข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย

4 วรดุลย์ ตุลารักษ์            พรรคแสงธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2534

5 พฤกษ์ เถาถวิล             พรรคแสงธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2534,

อาจารย์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

6 ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล กลุ่มอิสระนิติธรรม 2533-2534

โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อมและโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย

7 สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ        เลขาธิการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยปี 2535

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จ.สงขลา

8 ชูวัส  ฤกษ์ศิริสุข            กรรมการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี 2535  

บก.เว็บไซต์ประชาไท

9 ปริยกร ปุสวิโร               กรรมการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย  ปี 2535 

นักวิจัย มหาวิทยาลัยเบรเมน เยอรมนี

10 ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์    กรรมการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี 2535 

นักวิจัย มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐฮาวายอิ สหรัฐอเมริกา

11 นันทโชติ ชัยรัตน์         กลุ่มสวัสดิภาพแรงงาน มหาวิทยาลัยรามคำแห่ง 2535

12 ศรายุทธ ตั้งประเสริฐ     สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2535

13 อุษาวดี สุตะภักดิ์          เลขาธิการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาภาคอีสาน (สนนอ.) ปี 2538

14 ชนกาญจน์ พันธุ์เดิมวงศ์  รองเลขาธิการ / สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ปี 2540

15 ชัยธวัช ตุลาฑล           เลขาธิการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี 2541

กองบรรณาธิการวารสารฟ้าเดียวกัน

16 อุเชนทร์ เชียงเสน        เลขาธิการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี 2542

กองบรรณาธิการวารสารฟ้าเดียวกัน

17 ชมมณี สุทธินาค          อุปนายก/ องค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2542

18 สุภิญญา ทองรัตนาศิริ   สมาชิก/องค์การนักศึกษามหาลัยธรรมศาสตร์ 2542

19 สันติชัย อาภรณ์ศรี       สมาชิก/องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2545

20 ศรายุทธ์ ใจหลัก          เลขาธิการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี 2543

21 ทรงศักดิ์ ปัญญา          รองเลขาธิการ / สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ปี 2544

22 ธัญกานต์ ทัศนภักดิ์      ผู้ประสานงาน / องค์การประสานงานเพื่อประชาธิปไตย มข. (อปป.มข.)

ปี 2542 และ 2543

23 ธนลักษณ์ สาเศียร        ผู้ประสานงาน / คณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม

16 สถาบัน (คอทส.) ปี 2543

24 รอมฏอน ปันจอร์          ผู้ประสานงาน / คณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ

สภาพแวดล้อม 16 สถาบัน (คอทส.) ปี 2544 ผู้สื่อข่าวผู้จัดการ

25 พงศธร ศรเพชรนรินทร์  เลขาธิการ/ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี 2545

26 สันติชัย อาภรณ์ศรี       สมาชิก/องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2545

27 พิชิต ไชยมงคล           เลขาธิการ/ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี 2546

28 สิทธิพร จราดล            ผู้ปฏิบัติงาน/ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทไทย ปี 2545-2546

29 กมลพร ปีอาทิตย์         ฝ่ายประสานนอก/ ชมรมศึกษาปัญหาแห่งเสื่อมโทรม 2542

30 ศิริพร พรมวงศ์             กรรมการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี2547

31 อัญญรัตน์ อ่อนสุทธิ      กรรมการ /สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี2547

32 อดิศร เกิดมงคล           อดีตรองนายกองค์กรบริหารนักศึกษาสถาบันราชภัฏเชียงราย

และกลุ่มราชภัฏเพื่อมวลชนและสิ่งแวดล้อม

33 พิชิต พิทักษ์  

34 ภัควดี วีระภาสพงษ์      

35 สาวิตรี พูลสุขโข          โครงการฝึกอบรมเยาวชนเพื่อการพัฒานา

36 ประดิษฐ์ ลีลานิมิตร      โครงการฝึกอบรมเยาวชนเพื่อการพัฒานา

37 ชัยวัฒน์ ไชยจารุวณิชย์ สถาบันต้นกล้า

38 พรพิมล  สันทัดอนุวัตร สถาบันต้นกล้า

39 กิตติชัย งามชัยพิสิฐ      สถาบันต้นกล้า

40 อัจฉรา เกียรติประไพ    สถาบันต้นกล้า

41 วุฒิชัย ศรีคำภา            กลุ่มเยาวชนตะกอนยม

42 อังคณา กระบวนแสง     สภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเชีย

43 จีระวรรณ์ บรรเทาทุกข์   สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

44 เพ๊ญโฉม ตั้ง                กลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรม

45 สุภาภรณ์ มาลัยลอย     โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม

46 ส.รัตนมณี พลกล้า        ศูนย์ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ชุมชนชายฝั่งอันดามัน

47 สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

48 นายฐานันดร พิมพ์น้อย ทนายความ บริษัท กฎหมายมีสิทธิ์และการบัญชี จำกัด

49 นายธีรพันธุ์ พันธุ์คีรี      ทนายความ บริษัท กฎหมายมีสิทธิ์และการบัญชี จำกัด

50 นายธีรวุฒิ ทองทับ        ทนายความ บริษัท กฎหมายมีสิทธิ์และการบัญชี จำกัด

51 ใบตอง รัตนขจิตวงศ์     โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม

52 กนกรัตน์ เลิศชูสกุล      อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

53 วัฒนา นาคประดิษฐ์      มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม

54 เฉลิมชัย ทองสุข        สโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี

                                   2529 โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐ

                                   ฮาวายอิ

55 นายบัณฑิต จันทร์โรจนกิจ กรรมการบริหารพรรคธรรมาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2531-34

                              นักศึกษาปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐฮาวายอิ

56 วัฒนชัย วินิจจะกูล       นายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2529

57 นฤมล ไพบูลย์สิทธิคุณ ผู้ประสานงาน / คณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม

                                  16 สถาบัน (คอทส.) ปี 2542

58 ปาริชาต ผลเพิ่ม         นายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ปี 2536

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท