ปัญหาตรรกะ 'การยอมรับความชอบธรรม' ของคณะปฏิรูปฯ

โดย ประวิตร โรจนพฤกษ์

 

ผู้เขียนคิดว่าการให้ความชอบธรรมแก่คณะปฏิรูปโดยการอ้างเหตุผลต่างๆ มีปัญหาทางตรรกะไม่น้อย ดังจะขอเสนอความเห็นโต้ตรรกะต่างๆ เป็นข้อๆ ดังนี้

 

ตรรกะที่ 1: ไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติ แต่เมื่อมันเกิดขึ้นแล้วก็ต้องยอมรับ      

 

กลุ่มนี้ซึ่งมีจำนวนมากในหมู่นักกิจกรรม (Activist) สมาชิกองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ ซึ่งปัจจุบันกำลังวุ่นวายอยู่กับการเสนอให้คณะปฏิวัติทำโน่นทำนี่ รวมถึงว่าใครเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการยอมรับความชอบธรรมของกลุ่มผู้ก่อรัฐประหารไปโดยปริยาย

 

คำถามที่สำคัญและพื้นฐานกว่าคือ คุณยอมรับความชอบธรรมของคณะรัฐประหารที่ใช้กำลังอาวุธล้มล้างรัฐบาลและรัฐธรรมนูญรวมทั้งจำกัดสิทธิต่างๆหรือไม่ ถ้าใช่ เพราะอะไร ถ้าไม่ เพราะเหตุใด สังคมไทยไม่มีวันไปถึงความเป็นประชาธิปไตยได้หากผู้คนไม่สามารถคิดประเด็นนี้แตก

 

หากทักษิณ = การบริหารสังคมที่ผิด และเป็นเผด็จการในคราบประชาธิปไตย + การกระทำรัฐประหารซึ่งเป็นการกระทำผิดกฎหมาย เพราะฉะนั้น ผิด + ผิด = ถูก หรือประชาธิปไตย ได้จริงหรือ?

 

ตรรกะนี้ง่อนแง่นมาก เพราะตอนทักษิณได้รับการเลือกตั้งด้วยเสียงท่วมท้น 16 ล้านเสียง ผู้คนโดยเฉพาะกลุ่มพันธมิตร ทำไมจึงไม่ยอมรับทักษิณแล้วบอกว่า ยอมรับเพราะทักษิณชนะการเลือกตั้งแล้ว

 

ตอบ: ก็เพราะพวกเขาเชื่อว่าทักษิณโกงเลือกตั้ง ใช้นโยบายประชานิยมมอมเมาคนจน คนชนบท พวกเขาจึงสรุปว่าทักษิณบิดเบือนเจตนารมณ์ระบอบประชาธิปไตย และลุกขึ้นต่อสู้

 

แต่พอทหารใช้กำลังยึดอำนาจ ฉีกรัฐธรรมนูญ จำกัดสิทธิต่างๆอย่างไม่ถูกต้อง กลับบอกว่า "แล้วจะให้ทำไงล่ะ ก็มันเกิดขึ้นแล้ว" ช่างสองมาตรฐานจริงๆ

 

ตรรกะที่ 2: ทักษิณเลวกว่า (ระบอบเผด็จการทหารใหม่)

 

ประเด็นคือ คุณวัดได้อย่างไร และสรุปได้แล้วหรือว่าเลวร้ายกว่า อย่าลืมว่าผู้คนส่วนใหญ่ใช้เวลาหลายปีกว่าจะรู้ตัว ซาบซึ้งในความเป็นทรราชที่คดโกงของทักษิณ และคนจำนวนมากที่ยอมรับกลุ่มรัฐประหารก็เคยลงคะแนนเลือกทักษิณมาก่อน และเคยมองว่าทักษิณเป็นฮีโร่ สนับสนุนทักษิณแบบไม่ลืมหูลืมตาเสียเป็นปีๆ ซึ่งคนกลุ่มนี้จำนวนไม่น้อยก็กำลังบอกในตอนนี้ว่าการยึดอำนาจของทหารเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ (ผู้เขียนไม่เคยไปลงคะแนนให้ทักษิณ เพราะเชื่อว่ามันอันตรายต่อประชาธิปไตยที่จะเลือกลงคะแนนให้คนที่รวยที่สุดอันดับต้นๆ ของประเทศเป็นนายกฯ ซึ่งเท่ากับช่วยให้อำนาจการเงินและการเมืองกระจุกอยู่ภายใต้คนๆ เดียว)

 

ถ้าเราต้องการหาข้อสรุปตอนนี้ อาจต้องรอให้กลุ่มทหารกุมอำนาจอีก 5 ปี (เพราะทหารอาจแต่งตั้งรัฐบาลหุ่นกระบอกและอาจโยงใยมีเอี่ยวกับการเลือกตั้งอีกหนึ่งปีข้างหน้าที่พวกเขาสัญญาว่าจะจัดให้ และถ้าเลือกตั้งมีปัญหาอีก ก็อาจกลับมายึดอำนาจใหม่อีกรอบ สองรอบก็ยังได้ และซากเดนระบอบทักษิณยังมีโอกาสกลับมาได้รับการเลือกตั้งอีก เพราะคนชนบทยังคงนิยมอยู่)

 

ตรรกะที่  3: การปฏิวัติครั้งนี้มิได้เกิดความรุนแรง ทำให้สังคมสงบ เลิกแตกแยก แถมผู้คนในกรุงเทพฯ ไปมอบดอกไม้ ถ่ายรูปคู่

 

ใครก็ตามที่บอกว่าการปฏิวัติครั้งนี้ปราศจากความรุนแรงนั้น คงเข้าใจเรื่องความรุนแรงอย่างจำกัดและแคบมากๆ ในทัศนะผู้เขียน ความรุนแรงได้เกิดขึ้นแล้วโดยทหารที่ส่งรถถังและกำลังเข้าไปล้อมสถานีโทรทัศน์และจุดสำคัญต่างๆ การฉีกรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และประกาศห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน รวมถึงการสั่งให้สื่อเสนอข่าวที่ "สร้างสรรค์" เหล่านี้ล้วนเป็นการใช้ความรุนแรงทั้งสิ้นและอย่างชัดเจน

 

อย่าลืมว่าแกนนำระบอบทักษิณก็ยังถูกควบคุมตัว รวมถึงคุณฉลาด วรฉัตรที่ออกไปประท้วงและถูกมองว่าเป็นพวกเดียวกับทักษิณ โดยที่ขณะนี้คนส่วนใหญ่ไม่รู้และไม่สนใจว่าคนอย่างคุณฉลาดอยู่ไหนและเป็นอย่างไรบ้าง

 

ล่าสุดเมื่อวันจันทร์ที่ 25 กันยายน ตำรวจสองนายก็ได้เข้าไปบอกให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้ดูแลควบคุมไม่ให้นักศึกษาออกมาประท้วงที่ธรรมศาสตร์

 

ส่วนประเด็นเรื่องว่าสังคมไทยตอนนี้สงบ ไม่แตกแยก และหยุดทะเลาะกันแล้ว จริงหรือ ผู้เขียนได้ชมการให้สัมภาษณ์ของคุณวสันต์ เจ้าของกิจการรถเบนซ์ทองหล่อทางยูบีซี ช่อง 7 เวลาประมาณ 11.00 น.ของวันที่ 25 ก.ย. ว่าสถานการณ์ตอนนี้ "ดีกว่าเก่า มันหยุดทะเลาะกัน" เป็นความเห็นที่ต้องตั้งคำถามว่าหยุดทะเลาะหรือถูกอำนาจทหารบังคับให้เงียบสงบชั่วคราว และจะสงบเงียบได้นานเพียงใด หรือต้องอยู่ภายใต้กระบอกปืนทุกๆ 10 ปี โดยเชิญ "คณะปาฏิหารย์ทางการเมือง" มาปฏิรูปอีก

 

ความสงบในปัจจุบันนี้เป็นความสงบแต่เปลือก ฉาบฉวย เพราะถูกกำลังบังคับให้หุบปาก และอยู่นิ่ง ไม่มีหลักประกันใดๆว่ามันจะนำไปสู่ทางออกอย่างแท้จริง จนกว่าสังคมไทยจะสามารถเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาการเมืองและอื่นๆโดยการไม่ใช้กำลัง

 

การยอมรับวิธีแก้ปัญหาโดยการยึดอำนาจ ไม่ต่างจากเด็กทะเลาะกันแล้วต้องรอให้ผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจต้องมากดปุ่ม Reset เกมส์ประชาธิปไตยกันใหม่ แล้วถ้าคนชนบท คนจนไปเลือกนักการเมืองเลวร้ายอย่างทักษิณ ซึ่งอาจมาในชื่ออื่นแล้ว เราจะทำอย่างไร อย่างนี้สู้มิต้องมีการเลือกตั้งเสียเลยดีไหม กลับไปปกครองระบบไพร่ทาสให้รู้แล้วรู้รอดไป ทั้งคนไทยและต่างชาติจะได้ไม่ต้องสับสนกับคำว่า "ประชาธิปไตย"อีกต่อไป

 

ส่วนมายาภาพที่ว่าทุกคนแฮปปี้กันดีจริงนั้น หากเป็นจร้งแล้ว กลุม่ทหารจะควบคุมสื่อปิดกั้นการชุมนุมโดยสงบทำไม (ได้ยินมาว่านักจัดรายการทีวีชื่อดังคนหนึ่งไม่พอใจที่ทหารห้ามส่ง SMS มายังรายการ ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าไม่พอใจเพราะทนเห็นประชาชนขาดเวทีแสดงออก หรือเพราะขาดรายได้กันแน่) ขอให้สังเกตว่าสื่อต่างชาติให้ความสนใจรายละเอียดกลุ่มผู้ประท้วงการรัฐประหารมากกว่าสื่อไทยเสียอีก แม้กระทั่งห้างสยามพารากอนก็ปิดรั้วไม่ให้ผู้ชุมนุมใช้สถานที่ แถมส่งพนักงานทำความสะอาดมาทำความสะอาดประจำปีเวลาห้าโมงของเย็นวันศุกร์ ซึ่งเป็นเวลาที่ผู้ประท้วงนัดชุมนุม ช่างเป็นการบังเอิญเสียจริงๆจนคนทั่วไปอาจคิดว่ามันไม่เกี่ยวข้องกับเสียงคัดค้านทางการเมือง

           

ตรรกะที่ 4: รัฐธรรมนูญตายไปนานแล้ว

 

ถ้ายอมรับเช่นนี้ก็เท่ากับยอมปล่อยให้ศพซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญเละขึ้นไปอีก โดยปล่อยให้กลุ่มคนที่ใช้อำนาจอีกกลุ่มหนึ่งมาปู้ยี้ปู้ยำศพต่อไป การยอมรัฐประหารมิได้ช่วยรัฐธรรมนูญ แถมยังตอกย้ำความเชื่อและธรรมเนียมผิดๆที่ว่าไม่ชอบใจ แก้ปัญหาการเมืองไม่ได้เมื่อใด ก็ใช้กำลังฉีกรัฐธรรมนูญและยึดอำนาจรัฐบาลมันเสียเลย

 

ผู้เขียนขอเสนอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทั้งชุดลาออก เพื่อแสดงสปิริตจุดยืนว่าไม่ร่วมสังฆกรรมกับกระบอกปืนและรถถัง ตอนนี้หากขับไล่เผด็จการกลุ่มใหม่ไม่ได้ พวกท่านเหล่านั้นก็น่าจะสามารถแสดงจุดยืนจุดประกายให้สังคมหยุดคิดว่าควรให้ความร่วมมือกับผู้ยึดอำนาจโดยใช้กำลัง และละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นอย่างฉกรรจ์หรือไม่

 

ตรรกะที่ 5: เชื่อในความดีของตัวบุคคล ผู้นำคณะรัฐประหาร

สำหรับคนที่เชื่อว่า พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นคนดีและหวังดีต่อบ้านเมือง (ซึ่งอาจดีจริงในแง่ปักเจก) ต้องเข้าใจก่อนว่าพลเอกสนธิได้กลืนคำพูดตัวเองไปแล้วคำโต เพราะเคยพูดทำนองว่าการปฏิวัติเป็นอดีตไปแล้ว ทหารในระบอบประชาธิปไตยไม่ทำ

 

และถึงแม้อาจจะดีจริงๆ สุดท้ายก็ต้องถามว่าพลเอกสนธิจะควบคุมไม่ให้ลูกน้องไปตัดเค้กแบ่งผลประโยชน์กับลิ่วล้อระบอบทักษิณและระบอบอื่นๆได้จริงหรือ เมื่อวันศุกร์ที่แล้วมีข่าวชิ้นหนึ่งพูดถึงการไปมอบตัวของอดีตส.ส.พรรคไทยรักไทย และหนึ่งในสอง ส.ส.ก็ให้สัมภาษณ์ว่าตนรู้จักทหารในพื้นที่ดี การพูดคุยจึงเรียบร้อยไม่มีอะไร สังคมไทยเป็นสังคมที่เล่นพรรคเล่นพวก ใยสัมพันธ์โยงใยหลายระดับทั้งแนวดิ่ง แนวราบ แนวทะแยง และแนวผลประโยชน์อย่างผิดกฎหมายและศีลธรรม

 

คนไทยยึดติดกับตัวบุคคลมาก หนังสือพิมพ์สู้กับเผด็จการจนในที่สุดลืมตนไปว่า กำลังสู้กับระบอบเผด็จการ ไม่ใช่แค่ตัวทักษิณ แต่พวกเขายอมรับผู้นำเผด็จการชุดใหม่ได้เพราะยังเชื่อว่าพลเอกสนธิเป็นคนดี หกปีที่แล้วผู้คนจำนวนมาก รวมทั้งเอ็นจีโอ แอกติวิสต์ ก็เชื่อว่าทักษิณเป็นคนดีเช่นกัน

 

ส่วนที่หลายคนอ้างว่า ทหารสัญญาแล้วว่าจะคืนอำนาจและปฏิรูปการเมืองไปสู่ประชาธิปไตยนั้น ต้องถามว่าทหารที่ปฏิวัติชุดก่อนๆในอดีต มีชุดไหนบ้างไหมที่พอยึดอำนาจได้แล้วจะออกมาประกาศว่า "เราจะคืนอำนาจสู่ประชาชนโดยช้าที่สุด และจะขอโกงกินต่อจากกลุ่มอำนาจเก่าที่เพิ่งถีบออกไป"

 

น่าสงสัยว่าคนที่คิดว่าตอนนี้เรายังไม่สามารถสรุปได้ เพราะยังเร็วเกินไป เคยเรียนรู้อะไรจากอดีตหรือไม่ เพราะหากเรายอมรับว่าพอทหารยึดอำนาจ ก็ต้องให้เวลาฮันนีมูนกับเขาไปก่อน อีกหน่อยจึงจะตัดสินใจได้ แล้วพอประชาชนถูกทรยศก็จะบอกว่า ไม่รู้มาก่อนว่าจะลงเอยแบบนี้ อีกหน่อยทหารรุ่นใหม่ก็จะได้ใจ เข้ามายึดอำนาจปฏิวัติรัฐประหารอีกเวลาเกิดความขัดแย้งในสังคม (ซึ่งเป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตย) เพราะพวกเขารู้ว่า พวกเขาจะได้โอกาสฮันนีมูนดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์กับสื่อและประชาชนอีก ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างแน่นอน

 

ตรรกะที่ 6: ไม่เอารัฐประหารแล้วจะเอาอะไร

 

ก็เห็นเมื่อก่อนพูดกันหนาหูว่า ไม่เอาทักษิณแล้วจะเอาใคร...

 

โลกนี้มิได้มีแค่ 2 ทางเลือกเสมอไป คงต้องช่วยกันคิดทางเลือกที่ 3 ที่ 4 กันต่อไป  

 

โลกนี้ไม่ได้มีแค่ทักษิณกับรถถัง          

 

ตรรกะที่ 7: กลัวปฏิวัติซ้อนจากทักษิณ

คนที่คิดเช่นนี้จะใช้ชีวิตอยู่ในภาวะความกลัวไปอีกนานเพียงใด เมื่อไหร่จะกล้าพอที่จะฟูมฟักความมั่นใจว่าประชาชนจะสามารถแก้ปัญหาโดยสันติวิธีได้ในที่สุด แทนที่จะรอ "ปาฏิหารย์" จากทหาร ซึ่งย่อมสร้างบรรทัดฐานผิดๆ ต่อไป

 

ไม่มีอะไรน่ากลัวไปกว่าการแก้ปัญหาผิดๆ ซ้ำซาก ไม่ได้ผล แถมยังไม่สามารถเรียนรู้อะไรได้จากประสบการณ์ในอดีต

 

............


The numerous problematic rationales in accepting the September 19 coup as legitimate
By Pravit Rojanaphruk

Many reasons were cited why the public should accept the legitimacy of the coup makers that overthown caretaker Prime Minister Thaksin Shinawatra on September 19, but most if not all logics seemed to be flawed.

Problematic Rationale # 1: We oppose the coup but since it already occured we just have to accept it
This line of thinking is common amongst many social and political activists, the so-called NGOs who vehemently opposed Thaksin over the past year or so before he was ousted through the coup. The group is now more concerned about suggesting the military junta what "good things" for the country they should do and omitted themselves from asking a more fundamental question: "Do you accept the legitimacy of the coup makers? If so why, if no, why not." It's crucial for anyone living in an aspiring democracy to tackle this question head on.

One way to think is to ask, if Thaksin's abusive rule is wrong, and staging coup to overthrow an elected government is wrong, can the two conditions lead to anything that may be right?

The truth is, many who oppose Thaksin refused to accept his legitimacy after the fraudulent April 2 election earlier this year. It's strange that these people didn't say: "Well, Thaksin had already got elected. What else can we do. We'll just have to live with him."

However, when the coup occure, simply because many people were so happy that Thaksin is gone, they reacted by saying: "It had already happened. What else can we do?"

Surely some double standard is being applied here in justifying the legitimacy of the coup makers.

Problematic Rationale # 2: Thaksin is worse than any other form of dictatorship
The point is, how can one come to such conclusion at this stage, especially with the new-coming junta? It would take sometime before people can judge the sincerity of the coup leaders who claim to be "restoring democracy".

It took most Thais at least three to five years before they came to the conclusion that Thaksin is a corrupt dictator who has hi-jacked democracy through winning rural and poor people supports by administering them with hand-out populist policies. Majority of Thai voters used to regard Thaksin
as an able and decisive prime minister. Middle class Thais used to blindly support Thaksin and many of those who eventually ended up demonstrating against the man once did even pressured the Constitution Court to not punish Thaksin over his asset concealment charge. (This writer had never voted for Thaksin for the very simply reason that it's too dangerous to vote for one of the richest man in the kingdom into becoming a prime minister - too much concentration of power).

Thus in order to arrive at such conclusion people may have to live with the junta for 5 years or more. And if the next election which is slated for the end of 2007 didn't yield the kind of result the so-called "educated middle class" wanted, should they again call for another coup?

Where will this lead Thailand to?

Problematic Rationale # 3: This coup was not violent, bring about peace and people are happy
Whoever thinks this coup was non violent employed a very limited definition on what constitute violence. Is the dispatching of tanks to the streets, to television stations to force them to change programme not violent? What about orders given by the junta restricting press freedom,
freedom of political assembly and more? These indeed are clearly acts of violence.

One businessman who owns a German car dealership told a television host a few days ago on UBC channel 7 that he likes the result of the coup because the situation "is better than before and [political] infighting has ended".

But did it really ended or was it merely temporarily suppressed by the forces of guns and tanks?

And when the new round of conflict resurface again, do we then not need to invite the military to come back and stage yet another coup in order to reset the start botton of this game called "Thailand's path towards Democracy" in some forseeable future.

Perhaps we should do away with any pretence in wanting to become a democratic society and accept our lot as a psuedo-feudal society.

Then there is the illusion that everyone or 99 per cent of the population is happy. Why then does the coup makers have to muzzle the media and forbid political gathering?

Problematic Rationale # 4: The 1997 constitution has already been killed by Thaksin anyhow
If the so-called 1997 "People's Constitution" a result of the revolt against the 1991 coup that was initially popular but quickly turned sour in 1992 is already dead, should we then simply allow yet another group of dictators, albeit in uniform, to mutilate the bodies further and officially
announce it as dead?

To accept the legitimacy of the coup makers is to send a message that people with big guns can interfere with politics whenever there's political rift (which is common is a democracy) and artificially put a temperary halt - again and again - and rule country without any transparency or
accountability for the time being.

How can the whole National Human Rights Commission of Thailand still get up in the morning and go to work as normal and co-operate with the coup makers and claim to fulfill their duties as human rights protectors when they're now de facto accepting the legitimacy of a group of gross human rights violators who came out from military barracks is anyone's guess?

The best and most honourable thing the commission can do now, and do quickly, is to resign en masse and make a public statement denouncing the coup makers as illegitimate. They may not be able to overthrow the junta but they can at least raise the issue of "legitimacy" to public's attention that co-operating and accepting the legitimacy of lawbreakers, be it Thaksin or the military junta, is very wrong.

Problematic Rationale # 5: The coup leader is a good man
Even if he may be a good person and devout Muslim as an individual, what assurance is there that he will be able to prevent his subordinates from not falling into the temptation of cutting a deal with the old order and other interest groups? Thailand is a society full of web of relations that crisscross formal relations and some of those in Thakin's regime are likely to have good personal relations with key members of the junta.

Many of the Thai print media have become so obsessed with playing a role in ousting Thaksin over the past year that many may have forgotten that they're fighting against a business-cum-political dictatorial order, and not just one man. Now they're willing to have at least a brief honeymoon period with the new junta because they also believe that the coup leader, or one man, is a good man.

People must ask if any of the 17 coups in the modern history of Thailand over the past seven decades have yielded and real benefits or were they more detrimental to the development of Thai democracy and social justice.

As long as the Thai public and the mass media keep on giving all coup leaders blank-cheque acceptance plus honeymoon period free of harsh criticism or even defiance, future generations of soldiers will also be expecting the same red carpet treatment from the public and the society
will be trapped in this vicious cycle - and they will be coming back for more.

Problematic Rationale # 6: If you won't accept the coup then do we have
any other choice?
A few years ago, many people used to say: "If not Thaksin then who?"

Life isn't always about binary choice. People should think hard to find a third or fourth ways. Surely there're more options than just either Thaksin or tanks. People just have to think harder and be more imaginative.

Problematic Rationale # 7: If we rock the boat, a counter coup might be
staged by Thaksin and his men
How long will Thais continue to live in a state of fear?

When will Thais nuture confidence that, come what may, they will and can solve political problems by themselves without relying on guns which can never be beneficial to Thailand in the long run.


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท