"เมืองยอง" วิถีคนยองและความแปรเปลี่ยน (2)

 

 

นี่ คือเรื่องราวของคนไตยองทั้งสองแผ่นดิน ทั้งในรัฐฉานของพม่าและคนไตยองในฝั่งไทย ที่ผู้เขียนได้ สะท้อนเรื่องราวท่ามกลางการต่อสู้และความผันแปรต่างๆ ของคนยอง ว่าทำอย่างไรคนไตยองจึงจะมีการพัฒนาอย่างมีศักดิ์ศรีและเท่าเทียมกัน
 
 
 
ท่าม กลางการไหลบ่าของกระแสตะวันตก นำไปสู่การค้ามนุษย์และปัญหาอื่นๆ
เราคงปฏิเสธไม่ ได้ว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ นั้นมาจากผลพวงของการพัฒนาประเทศที่พัฒนา การไหลบ่าของกระแสวัฒนธรรมตะวันตก การเปลี่ยนแปลงระบบการผลิต จากการพึ่งตนเองสู่กระแสนิยมการบริโภค การไหลบ่าของแรงงานรับจ้าง ไปสู่การค้าชายแดนปัญหาการค้ามนุษย์ ปัญหาโสเภณี ปัญหาโรคเอดส์ ปัญหายาเสพติด ฯลฯ
 
สถานการณ์ความ เปลี่ยนแปลงในขณะนี้ เริ่มเป็นปัญหาต่อปัจจัยภายในของคนเมืองยอง ที่กำลังหาทางออกให้กับสังคมตนเอง ทำให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยกำลังก้าวหลงไปกับเรื่องราวที่ได้รับจากภายนอกและ กระแสสังคมที่กำลังเปลี่ยนไป ไม่ว่าอิทธิพลที่ได้จากประเทศจีน สิบสองปันนา อิทธิพลที่รับจากการปกครองของพม่า อิทธิพลที่ได้รับจากประเทศไทย รวมถึงอำนาจมืดต่างๆที่แผ่อิทธิพลทั้งด้านบวกและด้านลบ
 
ด้วยเหตุเช่นนี้ เอง ที่เป็นตัวเร่งและเป็นปัจจัยให้สังคมเมืองยองกำลังหลงเข้าสู่ความคับขัน และผู้คนกำลังยึดติดกับวัตถุ ลาภยศ เงินตรา ดูเหมือนว่าจะเป็นความรุนแรงที่นับวันจะเพิ่มทวียิ่งขึ้น จากสังคมวิถีเกษตรกรรมที่เรียบง่ายไปสู่ระบบการแข่งขันและการแย่งชิง
 
สังคมเมืองยอง ดูเหมือนจะดูอึมครึมกับปัญหาต่างๆที่รุมเร้าและหมักหมมมานาน เพราะการขาดอำนาจในการปกครองตนเองอย่างที่เป็นระเบียบแบบแผน ขาดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน หมู่คณะผู้คนเริ่มที่จะหวาดระแวงซึ่งกันและกัน เนื่องจากเป็นสังคมเชิงซ้อน ที่ถูกระบบและกลไกอานาจต่างๆกดทับหลายระบบ หลายความคิด โดยเฉพาะสังคมในเมืองยอง(ในเวียง)ที่วิถีของความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้กำลัง เกิดขึ้น
 
"ตึงวันนี้ต่างคนก็อยู่ บ่อฮุ่ว่าไผค้าไผขายอะสัง ไผมีเงินมีคำก็วาดี"(ทุกวันนี้ไม่รู้ ว่าใครทำอะไร ค้าขายอะไร ใครมีเงินมีทองก็ว่าดี)ขนานจ๋อม จอมสลี ชาวบ้านเมืองยอง บอกเล่าให้ฟัง
 
บรรยากาศของกาดเช้าเมืองยอง
 
 
วิถี พอเพียงเรียบง่ายพลันสูญ เมื่อธุรกิจการค้ารุกคืบ
เศรษฐกิจของเมือง ยองที่ขึ้นอยู่กับระบบการทำการเกษตรดั้งเดิม วิถีชีวิตที่เรียบง่ายในปัจจุบันก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป จากการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆที่เริ่มมีการติดต่อและสัมพันธ์ การทำมาค้าขายกับเมืองไทยและเมืองสิบสองปันนา
 
การเปลี่ยนแปลง ทางด้านเศรษฐกิจจากการพึ่งตนเองในระบบไร่นา สู่การทำมาค้าขายระหว่างเมือง เช่น ระหว่างท่าขี้เหล็กแม่สาย เชียงตุง เชียงรุ้ง สิบสองปันนา ทำให้มีการซื้อขายมากกว่าการหาแลกสิ่งของหรือแบ่งปันเหมือนดังอดีต ส่วนใหญ่สิ่งของปัจจัยที่นำมาซื้อมาขายก็เป็นของที่มาจากเมืองไทย ทำให้ราคาสินค้าที่คนยองซื้อขายกันมีราคาแพง
 
บางคนที่อยู่ เมืองยองไม่สามารถจะหาซื้อของจากเมืองไทยได้ เพราะว่าเงินทองในเมืองยองหายาก ค่าแรงงานวันหนึ่งประมาณ 1,500 จ๊าด(ประมาณ 45-50 บาท) เศรษฐกิจของกินของตานที่เป็นสินค้า ปัจจัยต่างๆที่ต่างกัน ผักไม้ กล้วยอ้อย ขนม(ข้าวมูล) ในตลาดราคาแพง มาม่า หนึ่งซองก็ 300 จ๊็าด ตกอยู่ ประมาณ 8 บาท ใช้ของไทยแต่เวลาซื้อแพงกว่าเมืองไทย
 
การทำนาบ้างต้อง ใช้รถไถนาแทนวัวแทนควาย มีรถอีแต็กๆ เมืองยองเรียกว่า "ทรจี๋" เริ่มมีการจ้างแรงงานในการทำไร่ทำนา หากพูดถึงอาชีพทำนาถ้าเป็นเมืองไทยสามารถอยู่ได้อย่างสบายเพราะไม่ต้องลงทุน มากผลผลิตสูง แต่เมืองยองไม่สามารถขายผลผลิตที่ตนเองทำได้ด้วยเงื่อนไขทางการเมืองของพม่า พม่าไม่อนุญาตส่งข้าวไปขาย นอกจากมีไว้กินไว้ใช้หรือขายให้ทางการ(ในราคาถูกแสนถูกหรือบังคับเอาไปเฉยๆ)
แม่นางแอ่น จากบ้านป่าม่วง เมืองยอง บอกว่า "ถ้าบ่เห็ดข้าวก็ ตั้งตั๋วบ่ได้ตั้งหอตั้งเฮือนก็บ่ลุก ปัจจุบันนิไถจาคงัวควายก็มีหลาย มีสองสามเจ้าบ่ดาย ทำสวน" (หากว่าไม่ได้ทำนาก็ตั้งตัวไม่ได้สร้างบ้านเรือนไม่ได้ ปัจจุบันวัวควายมีมาก สองสามเจ้าที่ทำสวน)
 
การปลูกพืช เศรษฐกิจตัวใหม่ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสิบสองปันนา คือการปลูกยางพารา มีการลงทุนและการจ้างงานทำสวนยางทั้งถางป่า ปลูกยางพารา วิถีเหล่านี้ทำให้ระบบวิถีการเกษตรพึ่งตนเองเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ที่นอกจากจะเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงระบบวิถีชีวิตของคนเมืองยองแล้ว การเปลี่ยนแปลงทางด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเริ่มส่งผลกระทบ มีการตัดไม้ทำลายป่า เผาป่า อย่างมากมายมหาศาล ในต้นน้ำยอง ต้นน้ำวัง ต้นน้ำปุง ทำให้แหล่งต้นน้ำลำธารต้องสูญเสียไปหลายพันไร่ พืชสัตว์ที่อยู่ในน้ำได้รับผลกระทบชาวบ้านเริ่มหากินลำบากมากขึ้นกว่าแต่ ก่อน
 
น้ำยองที่ได้ชื่อ ว่าเป็นแม่น้ำที่ใสสะอาด น้ำยองใช้สำหรับอุปโภคบริโภคของคนเมืองยองหลายหมู่บ้าน มีไคน้ำ(สาหร่าย)ที่เกิดได้เฉพาะในน้ำยอง สิ่งเหล่านี้เริ่มที่สุญหายไป น้ำยองเริ่มขุ่นมัว
           
"อาชีพตีก่ำลังเห็ดคือสวนยาง จะขายปอลำปอรวย ก็บ่มีไผเห็ดหลายก็มานด้อยกิ๋นแห(อาชีพที่กำลังทำ คือทำสวนยาง จะขายให้มันรวย แต่ก็ไม่มีใครกล้าทำหลายกลัวพม่าจะยึดเอา ) ขนาน ขัน ชาวบ้านจากบ้านกอม เมืองยอง บอกเล่าให้ฟัง
 
วิหารบ้านกอม เมืองยอง
 
 
บนความเปลี่ยน "วัฒนธรรม กับกระแสโลกาภิวัฒน์"
ประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องราวที่น่าศึกษาเรียนรู้ การสร้างบ้านเมืองสร้างชีวิตของคนยอง เมืองยองวันนี้ยังเป็นเมืองที่น่าศึกษาเรียนรู้และยึดเป็นแบบอย่างในการพึ่ง พาตนเองและการอยู่ร่วมกันท่ามกลางเรื่องราวและปัญหาที่ซับซ้อน จากยุค "เก็บผัก ใส่ส้า เก็บข้าใส่เมือง" .ก้าวสู่โลกใหม่ที่เรียกตังเองว่า "ยุคโลกาภิวัฒน์"
 
อย่างไรก็ตาม ในระยะ10 กว่าปีที่มีการพัฒนาทางด้านถาวรวัตถุต่างๆในเมืองยอง วัดเป็นเป้าหมายแรกของการเปลี่ยนแปลง เมืองยองมีวัดเกือบทุกหมู่บ้านที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน ธาตุหลวงจอมยองและวัดราชฐานหลวงหัวข่วงเป้าหมายแรก ได้รับการซ่อมแซมบูรณะ และถูกเปลี่ยนแปลงจากสิ่งเก่าเป็นสิ่งใหม่ วิหารที่เป็นศิลปกรรมแบบเมืองยองอันเก่าแก่และทรงค่าถูกรื้อทิ้ง บางครั้งที่ผู้คนต่างยังไม่รู้จักความงดงามและความเก่าแก่อันทรงคุณค่า วิหารหลังใหม่ วัดต่างๆในเมืองยอง ที่เป็นศูนย์กลางของขุมชนเกือบทุกหมู่บ้านกำลังเปลี่ยนแปลง
 
โบสถ์วิหาร สัญลักษณ์ทางจิตวิญญาณอันทรงคุณค่าถูกรื้อทิ้งเป็นซากอิฐซากปูน ภาพเขียน ภาพวาดตามฝาผนังในวัดต่างๆที่สะท้อนเรื่องราวทรงคุณค่ากำลังจะถูกทำลาย ด้วยค่านิยมที่มองเห็นความสวยงามแต่เพียงผิวเผิน พี่น้องเมืองยองต่างมิจิตศรัทธา ต่างพากันช่วยกันระดมหาทุน หางบประมาณจากแหล่งต่างๆ ทั้งจากการระดมทุนภายใน ภายนอก และส่วนใหญ่ได้จากพี่น้องเมืองยองที่อยู่ในประเทศไทยเกือบทุกหัวระแหง ทั้งกรุงเทพฯ หาดใหญ่ นครปฐม เชียงใหม่ และลำพูน
 
ครูบาวัดจอมแจ้ง แห่งเมืองยอง บอกเล่าให้ฟังว่าเมื่อก่อนพระเณร ก็อยู่บ้านอยู่เมือง ตามฮีด ตามฮอย แต่ปัจจุบันตุ๊พระเมืองยองเดินทางเข้ามาเมืองไทยก็หลาย ต้องการที่มาศึกษาเล่าเรียนภาษาไทย ก็ต่างคนต่างหา กลับมาเมืองยองก็ปรับสภาพไปตามวิถีคนยอง จะว่าเปลี่ยนก็ไม่เปลี่ยนมาก เห็นกับตาคือทางด้านความเจริญ ถนนหนทาง บ้านเมืองเริ่มเปลี่ยนไป อุโบสถวิหารในเมืองยองก็เปลี่ยนผ่อง ไฟฟ้า คน เมืองยองก็ดูทีวีไทยมันก็ดีอย่างได้รู้ได้เห็นได้ฟัง ได้รู้จักพี่น้อง
 
"บางก้อบางคนสอบเปรียญได้ ก็กลับไปเมืองยองไปพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนเมืองยอง แต่บางครั้งความรู้สึกดูเหมือนว่าการเลียนแบบจะฮับมาเป็นอย่างๆ เมืองไทยก็อยากเลียนแบบเมืองฝรั่ง คนไตยองอยากที่จะเลียนแบบเมืองไทย"
 
"บ่าเดี๋ยวนี่ในเมืองยองไม้มุงคา เเป๋งดินขอเหมือนเมื่อก่อนเริ่มเปลี่ยนไปพ่องงแล้วเน้อ.. วัดวาอารามที่อยู่ในเมืองยอง หรือตามหมู่บ้านต่างๆก็เลียนแบบ แป๋งเฮ็ดแบบเมืองไทยหลาย ของเดิมที่ยังเหลืออยู่มีบ่ค่อยนัก ของเก่าๆสูญหาย อ่อนหญิง อ่อนจายก็บ่ใคอยู่บ้าน ต่างคนต่างไป หาเงินหาคำ"พ่อหนานแก้ว จากบ้านป่าม่วง เมืองยองเล่าให้ฟัง
 
ความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นเรียกตัวเองว่าการพัฒนาบ้าง ความทันสมัยบ้าง บางคนเรียกว่าความเจริญ โลกกาภิวัฒน์บ้าง ซึ่งจะมีใครบ้างเคยฉุดคิดสักนิดหรือไม่ว่า การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นทั้งหลายนำพาไปสู่เป้าหมายอะไร หากบอกว่านำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่กว่า ก็ไม่อาจสรุปได้แต่เพียงผิวเผิน เพราะว่าถ้ามีความหมายคุณภาพชีวิตที่เคยสั่งสมมาแต่อดีต หลายคนพยามที่จะเรียกร้องไขว่คว้าให้ได้มาซึ่งคุณภาพที่ชีวิตที่ดี
เพลงขับลื้อ ขับยอง กำลังสูญหายไปจากแผ่นดินไตยอง
 
หนุ่มสาวหลงใหลค่า นิยมใหม่ อยากไปทำงานเมืองไทย
วิถีชีวิต ความสงบสุข สันติสุข ความอบอุ่น เหมือนอย่างกับสมัยบรรพบุรุษและชีวิตที่เรียบง่าย กำลังถูกครอบงำด้วยของใหม่ที่เข้ามาแทนที่คุณค่าเก่าที่กำลังสูญหาย วัฒนธรรมใหม่ของคนเมืองยองยองที่กำลังดำเนินอยู่กับการรับมาจากอำนาจและ อิทธิพลต่างๆจะไปในทิศทางไหน? ใครจะตอบได้นอกจากคนเมืองยอง
 
วันนี้ นอกจากเมืองยองต้องต่อสู้กับสงครามแย่งแผ่นดินแล้ว เมืองยองยังต้องต่อสู้กับสิ่งใหม่ที่คุมคามเข้ามาและที่ยากกว่านั้นก็คือ ปัญหาค่านิยมใหม่และวัฒนธรรมใหม่ ซึ่งกำลังรุมเร้าคนหนุ่มสาว วัยรุ่น เด็ก โดยเฉพาะผู้คนในวัยหนุ่มสาว อยากมีเงินใช้ มีทองใส่ มีรถเครื่องขี่เที่ยว อยากมีบ้านหลังใหม่ให้พ่อแม่ อยากมาทำงานที่เมืองไทย หนุ่มสาวกำลังหันหลังให้กับหมู่บ้าน มุ่งหน้าเดินทางเข้ามาเมืองไทย ผู้คนกำลังตกอยู่กับความฉงนและหลงในความฟุ้งเฟ้อกับวัตถุและเงินตรา ผลพลอยบีบคั้นภาวะจิตใจให้ตกเป็นเหยื่อของสังคมโลกที่กำลังเปลี่ยนไปตามวัน เวลา
 
ว่ากันว่า อีเอ้ย อีคำเอ้ย อีขัน อีแสง อีจัน อีฟอง อีคำอุ่น และอีอีกหลายคนที่เคยรู้จักมักคัน ทำงานอยู่เมืองไทยทั้งหลาย เสียงสะท้อนที่บ่งบอกความรู้สึกจากพี่น้องเมืองยองที่เคยพบเห็นมาตั้งแต่ เด็ก ถูกกระแสสังคมการสื่อสารระหว่างคนเมืองยองที่อยู่เมืองไทย สื่อทางทีวีและวิทยุเพราะคนเมืองยองดูทีวีเมืองไทยฟังเพลงฟังข่าวจากเมือง ไทยและอิทธิพลต่างๆที่เข้ามายังเมืองยอง ได้ชักพาให้ลุ่มหลงไปกับสิ่งเหล่านั้น
 
"เฮือนมันก็บ่มีสัง ไคไปทำงานตีเมืองไทย มันบ่มีสังเหมือนเปือนปอแมก็บ่มีสังของสิ่งใดมันก็บ่มีสังเหมือนเปือน ใคเอาเงินมาสร้างใคหื้อปอแมสบาย ถ้าอะน้อยใหญ่มากลัวบ่มีสังเหมือนเปือน" (อยุ่บ้านไม่มีอะไรทำ อยากไปทำงานที่เมืองไทย เพราะไม่มีอะไรเหมือนคนอื่น พ่อแม่พี่น้องก็ไม่มีอะไรเหมือนอย่างเขา อยากเอาเงินมาสร้างอยากให้พ่อแม่สบาย หากว่ากลัวก็จะไม่มีอะไรเหมือนเขา) อีอิ่นคำ หญิงชาวยองบ้านกอม วัย 16 ปี บอกเล่า
 
ต่าง คนต่างเบนทางชีวิต จากเมืองยองสู่เมืองไทย
อีกด้านหนึ่งของ เรื่องราวที่เป็นตัวเร่งผลักดันให้แรงงานวัยหนุ่มสาวที่เป็นกำลังในการสร้าง สังคมของตนเองหันเหชีวิตจากแผ่นดินก็คือปัญหาการกดขี่ข่มเหงจากการปกครองของ พม่า ซึ่งเป็นปัญหาที่หนักหน่วง ยากด้วยลำพังที่คนเมืองยองจะตั้งรับต่อปัญหาดังกล่าว บวกกับค่านิยมที่เป็นกระแสสังคมที่พุ่งเข้าไป เป็นจุดเปราะบางอย่างยิ่งสำหรับสังคมเกษตรกรรมอย่างเช่นเมืองยอง เพราะถูกชักจูงและชี้นำได้ง่าย
 
"มันจำเป็นแต้ๆที่เฮามาเมืองไทย ยิ่งเป็นแม่หญิงลำบากกว่าผู้ชายมาก เพราะผู้หญิงจะไม่มีโอกาสได้เรียนลิก(หนังสือ) บ่เหมือนคนจาย (ผู้ชาย) ที่เข้าวัดศึกษาธรรม บางคนคิดว่าอยู่เมืองยองสบาย มันสบายถ้าไม่มีใผมารังควาน อย่างม่าน(พม่า)มาข่มเหงรังแก ก๋านออกมีหลาย เมืองยองไม่มีเงินสักบาทก็อยู่ได้.กันบ่มีม่าน บ่ใจวาเฮาบ่ฮักบ้านฮักเมือง
 
เมืองยองของ วันนี้ เป็นที่รับรู้กันว่า เด็กผู้หญิง อายุระหว่าง14-18ปี กำลังตกเป็นเหยื่อ ทางสังคมอย่างร้ายแรง เริ่มหายออกไปจากบ้านที่ละคนสองคน จนแทบไม่เหลือ แต่ละคนต้องการมาหางานทำในเมืองไทย แต่ละคนบอกว่าเพื่อให้พ่อแม่ได้อยู่สบาย ไม่ต้องลำบาก ให้มีเงินทองไว้ใช้
 
 
วิถีของเด็กหญิงบ้านป่าม่วงเมืองยอง ที่นับวันเริ่มมองไม่เห็นแล้ว
 
 
ชีวิต หญิงไตยอง กับรอยทางการค้ามนุษย์
จาก สิบสองปันนา-ท่าขี้เหล็ก แม่สาย-กรุงเทพฯ
เมืองยองวันนี้ จึงไม่แตกต่างจากเมืองไทยเมื่อหลายสิบปีก่อน ในการออกไปหางานทำของแรงงานวัยหนุ่มสาว โดยเฉพาะสาวๆที่ถูกเป็นสินค้าที่มีการจับจอง จากแมวมองหรือนายหน้า ภายในหมู่บ้านของตนเอง แมวมองเหล่านั้นอาจเป็นญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านที่ใกล้ชิด เป็นอุปถัมภ์เรื่องของเงินทองให้กับพ่อแม่ของหญิงสาวเป็นผู้อุปถัมภ์ค้ำชู เรื่องของส่วนรวม เช่น เป็นเจ้าภาพในการสร้างวัด บูรณะซ่อมแซมวัดวาอาราม และมีอิทธิพลทางด้านการเงิน(เพราะรู้ว่าน่าที่จะพูดอย่างไร ทำอย่างไรกับพ่อแม่ของหญิงสาว ตัวเองอาจจะเคยผ่านการเดินทางมาแล้ว) คอยชักนำและชักจูง
 
ตลอดเส้นทางจาก สิบสองปันนา ข้ามน้ำหลวย มาเมืองยู่ เมืองยอง เป็นเส้นทางของการค้าที่เรียกว่าการค้ามนุษย์ ถึงแม้ว่าทางการพม่าจะไม่อนุญาตให้หญิงสาวที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี เดินทางออกนอกเมืองก็ตาม แต่ช่องทางออกและวิธีในการผ่านด่านตรวจต่างๆมีมากมายหลายอย่าง เพราะอำนาจเงินเป็นใหญ่ในหมู่เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจของพม่า ย่อมมีการส่งส่วยตามด่านรายทาง จากการบอกเล่าของสาวเมืองยองคนหนึ่งเธอบอกว่า การมาเมืองไทย บางคนต้องใช้เวลาในการรอนแรมอยู่หลายวัน ลัดเลาะตามหมู่บ้านต่างๆ บ้างต้องเดิน บ้างต้องขี่รถเครื่องต่อกันหลายๆต่อหมู่บ้าน ต้องเสียเงินกับค่าเดินทางมานับหมื่นบาท
 
เมื่อมาถึงท่าขี้ เหล็กก็จะต้องพักตามบ้านญาติที่พอรู้จักบ้าง เพื่อรอเดินทางที่จะเข้ามาประเทศไทย ในช่วงนี้บางคนอาจจะต้องเรียนรู้กับสิ่งใหม่ๆ เปลี่ยนผ้าถุงนุ่งกางเกง ให้รู้จักการแต่งตัว ให้เรียนรู้และพูดภาษาไทย อ่านภาษาไทย บางคนมีการจ้างคนมาสอนให้ ให้คล่องแคล่ว หรือบางทีก็รอพ่อเลี้ยง...
 
เมื่อได้ใบสั่ง จากกรุงเทพ หรือ เป้าหมายปลายทางได้แล้ว นั่นก็หมายความว่าเส้นทางที่จะผ่านด่านต่างๆในการตรวจ การจ่ายส่วยค่า ผ่านทาง เจ้าหน้าทางการที่เป็นหุ้นส่วนในการนำพาหญิงสาว หลายครั้งเจ้าหน้าที่รัฐเองเป็นผู้นำเดินทางข้ามชายแดน เมื่อตรวจสภาพเส้นทาง ทุกด่านเปิดแล้ว ทุกอย่างพร้อม ก็ออกเดินทางโดยใช้รถตู้บ้าง รถปิกอัพบ้าง รถเก๋งส่วนตัวบ้าง...
 
มีเรื่องมากมาย ที่ผู้เขียนไม่อยากที่จะเขียน เพราะบีบคั้นความรู้สึกของตัวเอง ที่คนเมืองยองถูกหลอกและถูกล่อลวงต่างๆ บ้างไม่เหลือแม้แต่ชีวิต ไม่รู้ว่าไปอยู่แห่หนตำบลไหน บ้างก็ตายไปด้วยโรคเอดส์ โรคร้ายที่เป็นภัยคุกคามเมืองยองในขณะนี้
 
ประวัติศาสตร์ เมืองยองได้ฝ่ามรสุมจากการต่อสู้ดิ้นรนและถูกกลุ่มคนต่างๆรุกรานมาโดยตลอด เป็นเหตุให้คนยองต้องละทิ้งแผ่นดินของตนเอง กลับกลายเป็นคนพลัดถิ่น หลีกหนีสงคราม หนีชีวิตที่ทุกข์ยากแต่ต้องพบกับ มีการสูญเสีย มีการพลัดพราก ก่อให้เกิดความทุกข์ยากลำเค็ญ ความทุกข์ทรมานต่างๆ นานา
 
แผ่นดินเมืองยอง วันนี้จึงเงียบเศร้าและขมขื่น.
 
 
..........................................................................................
 
บท ความประกอบ
"เมืองยอง" วิถีคนยองและความแปรเปลี่ยน(1)

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท