Skip to main content
sharethis


 



 



 


 


 


รายงานโดย สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)


----------------------------------------------------------------------------------------


 


 


จังหวัดตาก เป็นจังหวัดเล็กๆ ทางภาคตะออกซึ่งไม่เพียงแต่มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่โดดเด่น


เป็นที่รู้จักของคนทั้งประเทศเท่านั้น ในด้านการพัฒนาคุณภาพการให้การรักษาผู้ป่วยก็ยังสร้างความสวยงามประดับวงการสาธารณสุขของไทยได้ไม่แพ้กัน


 


เพราะเมื่อเร็วๆ นี้ สาธารณสุขจังหวัดตาก ได้ประกาศนโยบายอย่างชัดเจนในเรื่องของการ พัฒนา 8 โรงพยาบาล และ 8 ศูนย์สุขภาพชุมชนทั้งจังหวัดไปพร้อมๆ กันด้วย "การจัดการความรู้" โดยเน้นการ "แลกเปลี่ยนเรียนรู้" กันระหว่าง "ผู้ปฏิบัติงาน" ที่มีประสบการณ์ความสำเร็จในการให้การพยาบาลผู้ป่วย


 


ทั้งนี้นอกจากจะมี สสจ.ตากเป็นหัวเรือใหญ่แล้ว ยังมีโรงพยาบาลแกนนำด้านการจัดการความรู้อีก


2 แห่งคือ โรงพยาบาลบ้านตาก และโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช


 


เครือข่ายการจัดการความรู้การดูแลผู้ป่วยเบาหวานจังหวัดตากได้รับงบประมาณ จากผู้ว่าราชการจังหวัด และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมีเป้าหมายในการสร้างเครือข่ายการจัดการความรู้ระดับจังหวัด ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการให้บริการด้านต่างๆ ประกอบด้วยงานเวชระเบียน, งานเอ็กซเรย์, งานห้องทดลอง, งานคลินิควัณโรค, งานพยาบาลผู้ป่วยนอก, งานเภสัช, ง นพยาบาลผู้ป่วยใน, งานพยาบาลเยี่ยมบ้าน,งานธัยรอยด์, งานวัณโรคและตัวแทนสถานีอนามัยที่มีผู้ป่วย


 


นพ.พิเชฐ บัญญัติ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดคนที่ 1 กล่าวว่า งานให้การรักษาพยาบาลของจังหวัดตาก ไม่เพียงแต่ต้องให้การบริการกับคนไทยเท่านั้นแต่ยังมีผู้ป่วยซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวมารับบริการจำนวนมากอีกด้วย ซึ่งการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลนั้นก็มีหลากหลายเครื่องมือ แต่ล่าสุด "การจัดการความรู้" ไม่เพียงแต่สามารถพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลได้เท่านั้นแต่ยังสามารถพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างคนทำงานด้วยกัน คนทำงานกับชาวบ้านและชุมชนได้ดีอีกด้วย


 


นอกจากนี้ยังทำให้คนทำงานได้พัฒนาศักยภาพภายใน เกิดการแบ่งปันความรู้ ไม่หวงความรู้ดังนั้นจึงทำให้กระบวนการพัฒนาขยายวงกว้างไปทั้งจังหวัดได้อย่างรวดเร็ว ในส่วนของเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายๆ กลุ่มการเรียนรู้หนึ่งที่ทุกโรงพยาบาลในจังหวัดจะต้องมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความสำเร็จในการให้การรักษาผู้ป่วย ซึ่งไม่เพียงแต่ผู้ปฏิบัติงานให้การรักษาจะมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันเท่านั้น


 


ในส่วนของ "ผู้ป่วย" ซึ่งจะต้องดูแล และควบคุมระดับน้ำตาลของตนเองก็มีการนำ "การจัดการความรู้"


เข้าไปเป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยให้สามารถดูแลตัวเองได้ ซึ่งเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยเบาหวานจังหวัดตาก เรี่มต้นเมื่อปี 2549 นั้น ขณะนี้ได้ลงลึกถึง "สถานีอนามัย" และ "ชุมชน" กรณีสถานีอนามัยทุ่งกระเชาะ ได้มีการตั้งชมรมผู้ป่วยเบาหวานขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลตัวเอง โดยมีผู้ที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีเป็น "ต้นแบบ" ทำให้คนไข้ควบคุมน้ำตาลได้บ้างไม่ได้บ้าง ทั้งๆ ที่ได้รับคำแนะนำจากพยาบาลวิชาชีพกลับสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ จากการตั้งกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติให้ผู้ป่วยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเอง โดยมีกิจกรรมกระตุ้นจากการให้แข่งขันกันระหว่างบุคคลซึ่งมีรางวัลเป็นพัดลมตัวเล็กๆ หนึ่งตัวเท่านั้น แต่สามารถทำให้พวกเขาตื่นตัว มีแรงใจ มีเพื่อนในการหันมาดูแลสุขภาพของตนเอง ปัจจุบันผู้ป่วยที่ทุ่งกระเชาะได้รวมตัวกันเป็นชมรม


มีเงินที่รวบรวมกันเป็นกองทุนอยู่ 70 บาทเพื่อเป็นค่าอาหารเมื่อยามที่พวกเขามาพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน


 


นายสัมฤทธิ์ แตงทอง ประธานชมรมคนไม่กินหวานกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ควบคุมน้ำตาลไม่ค่อยได้ แต่เมื่อมารวมตัวกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคนที่เขาควบคุมน้ำตาลได้ดีก็นึกภาพออกเห็นภาพชัดว่า แต่ละวันพวกตนควรกินอาหารวันละเท่าใด และออกกำลังกายอย่างไรจึงได้ผล


 


นอกจากนี้เมื่อได้รวมตัวกัน ก็มีการกระตุ้นเตือนให้สมาชิกในกลุ่มมาตามวันที่หมอนัดได้เตือนเรื่องการดูแลตัวเองได้เพราะรู้จักกันดี ซึ่งคิดว่าความรู้ที่พวกตนมีอยากจะนำไปบอก "เพื่อนที่ป่วยเป็นเบาหวาน" ในตำบลอื่นๆ ด้วยเหมือนกันว่าพวกตนปฎิบัติตัวอย่างไร อย่างที่ตำบลท่าสลิด พวกตนก็จะไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันว่าเขาดูแลตัวเองอย่างไรและกลุ่มเราทำอย่างไร


 


ด้านนางเกศราภรณ์ ภัคดีวงศ์ หนึ่งใน "คุณอำนวย" เครือข่ายการดูแลผู้ป่วยเบาหวานจังหวัดตากเปิดเผยว่า ได้วางเป้าหมายว่าไม่เพียงแต่จะให้ผู้ป่วยแข่งขันกันในระดับุคคลเท่านั้น แต่จะใช้ตรงนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการแข่งขันกันดูแลสุขภาพระดับกลุ่ม แข่งขันกันในระดับหมู่บ้าน และตำบล โดยหวังให้เกิดการเยี่ยมบ้านโดยชาวบ้านด้วยกันเอง เพื่อสอนกันทำอาหารเพื่อสุขภาพและวิธีการดูแลตัวเองที่ถูกต้อง และสามารถโยงใยจากเรื่องเบาหวานไปสู่การดูแลตัวเองในโรคอื่นๆ ได้ด้วย ทำให้ "เครือข่ายการจัดการความรู้จังหวัดตาก" เป็นต้นแบบของสาธารณสุขหลายจังหวัดทั่วประเทศที่จะต้องเรียนรู้ทั้งกระบวนการดำเนินงานและเทคนิควิธีการ "พัฒนาความรู้ในตัวคน" เพื่อมุ่งไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีประชาชนเป็นเป้าหมายสูงสุด


องค์ที่กำลังมุ่งไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้สามารถพบกับ "เครือข่ายการจัดการความรู้จังหวัดตาก" ได้ที่งาน


"มหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ 3" ในวันที่ 1-2 ธันวาคม 2549 นี้ ที่ไบเทค บางนา ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net