วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ : เมื่อญี่ปุ่นล้วงทรัพยากรชีวภาพไทยผ่าน "เอฟทีเอ"

ประชาไท - 26.. 50 นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีวิถีหรือไบโอไทย(BioThai) ซึ่งเป็นองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมที่ติดตามปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยให้สัมภาษณ์ว่า ในวันที่ 30 .. จะมีการนำร่างความตกลงเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น หรือ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทั้งที่มีรายละเอียดข้อตกลงเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาตามมาตรา 130(3) ที่เปิดทางให้ญี่ปุ่นเข้ามาจดสิทธิบัตรจุลินทรีย์ ซึ่งนอกจากมีผลกระทบต่อพัฒนาพันธุ์พืช อุตสาหกรรมอาหาร และยาของประเทศไทยแล้ว ยังเปิดทางให้ประเทศอุตสาหกรรมอื่นเช่นสหรัฐอเมริกา ยุโรป ได้ประโยชน์จากข้อตกลงนี้ไปโดยอัตโนมัติด้วย

 

นายวิฑูรย์กล่าวว่า ภายใต้กฎหมายไทย จุลชีพหรือจุลินทรีย์และส่วนหนึ่งส่วนใดของจุลชีพ เช่น หน่วยพันธุกรรม(gene) โปรตีนหุ้ม(coat protein) และสารสกัดอื่นใด ไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ ตามมาตรา 9(1) ของ พ...สิทธิบัตร พ.. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม พ.. 2542 ซึ่งระบุว่า "จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช" ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ แต่ในข้อตกลงเอฟทีเอระหว่างไทย-ญี่ปุ่นกลับระบุว่า "ภาคีแต่ละฝ่ายจะต้องให้ความมั่นใจว่าคำขอรับสิทธิบัตรใดๆจะไม่ถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลเพียงอย่างเดียวว่าสาระที่ขอถือสิทธิในคำขอนั้นเกี่ยวข้องกับจุลชีพที่เกิดตามธรรมชาติ"

เจตนารมณ์ของฝ่ายญี่ปุ่นในการบัญญัติมาตรา 130(3) นั้นชี้ให้เห็นชัดเจนว่าต้องการให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาไทยวาง "หลักการ" และ "แนวปฎิบัติ" ที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมของญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอนุญาตให้มีการจดสิทธิบัตรหน่วยพันธุกรรม หรือสารสกัดอื่นใดที่ได้มาจากจุลินทรีย์ตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นข้อยกเว้นภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรของไทย

ผู้อำนวยการไบโอไทยอธิบายเพิ่มเติมว่า หากนึกไม่ออกว่าการจดสิทธิบัตรจุลินทรีย์จะมีผลกระทบต่อประเทศไทยขนาดไหน ให้ถึงถึงกรณีที่มหาวิทยาลัยคอร์แนลจดสิทธิบัตรไวรัสสายพันธุ์ไทยที่ต้านทานโรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอ เมื่อวันที่ 18 .. 49 ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้มะละกอดัดแปลงพันธุกรรมที่กระทรวงเกษตรฯทำวิจัยในประเทศไทยทั้งหมดในประเทศไทยกลายเป็นกรรมสิทธิ์ของนายเดนนิส กอนซาลเวส(Danis Gonsalves) และมหาวิทยาลัยคอร์แนล กรรมสิทธิ์นี้ยังครอบคลุมไปถึงมะละกอสายพันธุ์ท้องถิ่นอื่นๆที่ผสมข้ามกับมะละกอดัดแปลงพันธุกรรม รวมไปถึงกรรมสิทธิ์ในพันธุ์พืชตระกูลแตง มะเขือเทศ และพืชอื่นๆทั้งหมดที่นำเอายีนจากไวรัสใบด่างจุดวงแหวนสายพันธุ์ไทยไปใช้ประโยชน์ด้วย เกษตรกรและแม้กระทั่งธุรกิจที่เกี่ยวข้องก็ได้รับผลกระทบด้วยเพราะจะถูกเรียกเก็บค่าสิทธิบัตรสูงถึง 35 % ของยอดขายจากผลิตภัณฑ์หากพบว่าเกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรที่เขาจดเอาไว้

นอกเหนือจากนี้ผลกระทบจากการลงนามเอฟทีเอระหว่างไทยกับญี่ปุ่นมิได้ให้ประโยชน์กับประเทศญี่ปุ่นเพียงประเทศเดียวเท่านั้น แต่เป็นการเปิดให้สหรัฐอเมริกา ยุโรปและประเทศอุตสาหกรรมอื่นทั้งหมดที่เป็นสมาชิกองค์กรการค้าโลกไปพร้อมๆกันด้วย ตามหลักปฎิบัติต่อ "คนชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง" (NFN/Most-Favoured-Nation Treatment) ที่ระบุไว้ในมาตราที่ 4 ของข้อตกลงทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้องค์กรการค้าโลก

"ในแง่นี้นอกจากนายเดนิส กอนซาลเวสจะจดสิทธิบัตรไวรัสใบด่างจุดวงแหวนของมะละกอกับสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของสหรัฐอเมริกาแล้ว โดยอานิสงค์ของเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น เขายังสามารถนั่งเครื่องบินจากฮาวายเข้ามาจดสิทธิบัตรดังกล่าวกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาของไทยได้ ซึ่งจะทำให้เขาสามารถไล่จับเกษตรกรไทยที่ปลูกมะละกอสายพันธุ์ท้องถิ่นที่บังเอิญมีเกสรมะละกอของมะละกอจีเอ็มโอปลิวมาผสมได้ เกษตรกรอาจต้องได้รับโทษสูงสุดคือ

"จำคุก 2 ปี ปรับ 400,000สี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" ตามมาตรา 85(5) ของพ...สิทธิบัตร" นายวิฑูรย์กล่าว

เจตนารมณ์ของฝ่ายญี่ปุ่นในการบัญญัติมาตรา 130(3) นั้นชี้ให้เห็นชัดเจนว่าต้องการให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาไทยวาง "หลักการ" และ "แนวปฎิบัติ" ที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมของญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอนุญาตให้มีการจดสิทธิบัตรหน่วยพันธุกรรม หรือสารสกัดอื่นใดที่ได้มาจากจุลินทรีย์ตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นข้อยกเว้นภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรของไทย

นายวิฑูรย์ ได้เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงข้อตกลงเอฟทีเอไทย-ญี่ปุนเพื่อขจัดช่องโหว่ที่ปล่อยให้ต่างชาติเข้ามายึดครองทรัพยากรชีวภาพของประเทศ โดยเสนอให้ตัดข้อความในมาตรา 103(3) ของข้อตกลงเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่นออกทั้งหมด เพราะไม่มีเหตุจำเป็นใดๆที่จะคงมาตราดังกล่าวเอาไว้ เนื่องจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาและหัวหน้าคณะเจรจาเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่นระบุตรงกันว่าข้อตกลงนี้มิได้ให้สิทธิทรัพย์สินทางปัญญาแก่ญี่ปุ่นมากไปกว่าที่ระบุไว้ในกฎหมายสิทธิบัตรของไทย อีกทั้งเมื่อเปรียบเทียบเอกสารข้อตกลงเอฟทีเอที่ญี่ปุ่นทำกับประเทศฟิลิปปินส์แล้ว ไม่มีการเขียนข้อความเหมือนกับที่ปรากฏในข้อตกลงไทย-ญี่ปุ่นแต่ประการใด

นอกเหนือจากนี้ผู้อำนวยการของไบโอไทยยังเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งจะมีการพิจารณาเรื่องนี้ในวันที่ 30 มกราคม ให้ตั้งคณะกรรมาธิการชุดพิเศษขึ้นมาพิจารณาข้อตกลงนี้โดยละเอียด เพราะข้อตกลงเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่นมีความหนามากกว่า 900 หน้า จึงอาจมีมาตราอื่นๆที่เปิดช่องโหว่เอาไว้ซึ่งจะสร้างความเสียหายร้ายแรงให้แก่ประเทศในภายหลังได้

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท