กก.สิทธิฯขึ้นเหนือสาง 11 ปัญหาละเมิดสิทธิพบเกียร์ว่าง 1 ปีไม่คืบหน้า

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เรียกส่วนราชการประชุมสางปัญหาชาวบ้านร้องถูกละเมิดสิทธิ พบข้าราชการใส่เกียร์ว่างผ่านมา 1 ปีปัญหาไม่คืบ ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ชี้นายอำเภอต้องทำหน้าที่มากกว่าเซ็นหนังสือ แก้ปัญหาให้จบในพื้นที่

ประชาไท - 26 ม.ค. 50 เมื่อวันที่ 24 .. ที่ห้องประชุมชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ นางสุนี ไชยรส ประธานอนุกรรมการสิทธิในการจัดการที่ดินและป่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้จัดประชุมชี้แจงข้อเท็จจริงและติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการร้องเรียนกรณีการถูกละเมิดสิทธิในเขต จ.เชียงใหม่ขึ้นซึ่งมีทั้งหมด 11 กรณี โดยในเวทีประชุมชี้แจงครั้งนี้มีตัวแทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนชาวบ้านที่ถูกละเมิดสิทธิ เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน รวมทั้งสื่อมวลชนเข้าร่วม

 

 

กสม.ประชุมเพื่อหาข้อเท็จจริงละเมิดสิทธิ

นางสุนี ไชยรส กรรมการสิทธิมนุษยชน กล่าวว่าการประชุมในวันนี้ เพื่อติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหากรณีประชาชนใน จ.เชียงใหม่ร้องเรียนถูกละเมิดสิทธิด้านการจัดการที่ดินและป่า ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายกรณี โดยที่ผ่านมาเมื่อเดือนมกราคม ปี 2549 ก็เคยมีการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา รวมทั้งให้ความช่วยผู้ได้รับความเดือดร้อนแล้วโดยมีนายวิลาศ โอสถานนท์รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธานในที่ประชุม

 

"ซึ่งอำนาจหน้าที่ของ กสม. โดยทั่วไปมักจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประชุมที่สำนักงานที่กรุงเทพ แต่เพื่ออำนวยความสะดวกทั้งผู้ร้องและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับที่เชียงใหม่มีกรณีร้องเรียนมาก จึงจัดประชุมที่เชียงใหม่ ซึ่งจัดมาแล้ว 3 ครั้ง มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่มาเป็นประธานร่วมของการประชุม และหลายเรื่องก็คลี่คลายโดยไม่ต้องรอให้หน่วยงานกลางหรือรัฐบาลตัดสินใจ แต่ผู้ว่าราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถปรึกษาหารือเยียวยาแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนได้" นางสุนีกล่าว

 

ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งนี้เพื่อเป็นการติดตามความคืบหน้าในกระบวนการแก้ไขปัญหา มีการทำความเข้าใจ พร้อมทั้งเน้นย้ำกำชับขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการให้ความสำคัญในการดำเนินการแก้ไขปัญหาเพิ่มมากยิ่งขึ้น นางสุนีกล่าว

 

 

... ยังไม่ไปพบชาวบ้านฝาง ทั้งที่นัดกันมาตั้งแต่ปีที่แล้ว

สำหรับการประชุมในวันนี้ มีประเด็นปัญหาการละเมิดสิทธิที่มีการหยิบยกขึ้นมาหารือในทั้งหมด 11 กรณี โดยกรณีแรก พระสุพจน์ สุวโจ เจ้าอาวาสสำนักสงฆ์มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ และเป็นพระนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำร้ายจากบุคคลไม่ทราบกลุ่มและจำนวนเป็นเหตุให้ถึงแก่มรณภาพ ซึ่งประเด็นการหารือวันนี้คือการติดตามความคืบหน้าจากการประชุมกับ กสม. เมื่อวันที่ 11 มกราคมปีที่แล้ว กรณีชาวบ้าน 17 รายไปแจ้งการมอบคืนพื้นที่ ส...โดยทาง ส...ได้บันทึกการแสดงเจตนาจะขอสละสิทธิเพื่อให้มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ดำเนินการคืนสวนปฏิบัติธรรม และดำเนินการขอใช้พื้นที่ ส...บริเวณดังกล่าวให้ถูกต้อง

 

อย่างไรก็ตาม ตามที่มติที่ประชุมเมื่อ 11 มกราคม 2549 ได้ขอให้ ส... ลงไปพบชาวบ้านและนัดหมายวัน-เวลา ยื่นคำร้องเพื่อสละสิทธิกับ ส... นั้น นายพิพัฒน์ เอมมณีรัตน์ ช่างสำรวจ 7 ตัวแทนสำนักงานปฏิรูปที่ดิน (...) .เชียงใหม่ กล่าวว่า นิติกรได้แนะนำกับตนว่าให้ชาวบ้านมาพบดีกว่า ดังนั้นจึงไม่ได้ไปพบกับชาวบ้าน อย่างไรก็ตามถ้าชาวบ้านต้องการสละสิทธิ ส... ให้กับมูลนิธิจริงตนก็จะแจ้งให้นิติกรออกไปทำให้

 

 

กสม.บอกสับสนครั้งใหญ่ ผ่านไปหนึ่งปีตามหากันไม่เจอ

ซึ่งจากความล่าช้าในการติดตามปัญหาของหน่วยงานราชการนี้เอง ได้ทำให้นางสุนี ไชยรส กรรมการ กสม. ถึงกับกล่าวว่า "นี่คงเป็นการสับสนครั้งใหญ่ เพราะหนึ่งปีผ่านไปยังตามหากันไม่เจอ"

 

พระกิตติศักดิ์ กิตติโสภณโน เจ้าอาวาสสำนักสงฆ์เมตตาธรรมรักษ์ กล่าวว่าชาวบ้านที่แสดงเจตนาไว้เมื่อการประชุมครั้งก่อนยังคงยืนยันที่จะมอบที่ดินให้กับสถานปฏิบัติธรรมโดยการรับผิดชอบของมูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ และล่าสุดมีการตรวจสอบพิกัดด้วยระบบ GPS และทำแผนที่เบื้องต้นไว้พร้อมแล้ว และสามารถทำงานร่วมกับ ส...จังหวัดเชียงใหม่ได้โดยสะดวกขึ้นและชาวบ้านพร้อมนำชี้แนวถ้า ส...จังหวัดเชียงใหม่ติดต่อกลับไป

 

อย่างไรก็ตามที่ประชุมมีข้อสรุปต่อกรณีดังกล่าวว่าในเดือน ก..นี้ให้ทาง ส...ประสานงานกับหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสำนักสงฆ์ ชาวบ้านให้ชัดเจนในการตรวจสอบแนวเขตใหม่ หลังจากนั้นค่อยหาทางออกร่วมกัน

 

 

ชาวบ้านร้องอ่างเก็บน้ำท่อตันใช้ไม่ได้ ซวยซ้ำสวนส้มใหญ่ดักสูบน้ำ

กรณีที่ 2 กรณีชาวบ้านห้วยงูใน ต.สันทราย อ.ฝาง เดือดร้อนจากการที่กรมชลประทานสร้างอ่างเก็บน้ำ แต่ท่อส่งน้ำอุดตันนานกว่า 3-4 ปีโดยไม่มีการแก้ไข ขณะที่ผู้ประกอบการสวนส้มกลับดักน้ำด้วยการนำท่อพีวีซีสูบน้ำจากลำห้วยงูไปใช้ทำให้ลำห้วยแห้งขอดจนชาวบ้านเดือดร้อนกันมาก

 

โดยนายพิศิษฐ์ อุบาลี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 บ้านห้วยงูใน ต.สันทราย อ.ฝาง กล่าวว่า อ่างเก็บน้ำที่กรมชลประทานสร้างขึ้นมานั้น เกิดน้ำซึม ทำให้น้ำไม่ล้นสปริงเวย์ในฤดูแล้ง ประกอบกับชาวบ้านนิยมปลูกส้มจำนวนมาก จึงมีชาวสวนส้มในหมู่บ้านอื่นลักลอบสูบน้ำด้วยท่อพีวีซีออกจากลำห้วย ทำให้น้ำไม่พอใช้ ชาวบ้าน หมู่ 4 หมู่ 5 หมู่ 9 หมู่ 12 .สันทรายกับชาวบ้าน หมู่ 9 และ หมู่ 11 .ม่อนปิน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการเหมืองฝายจึงประชุมร่วมกันและขอให้กรมชลประทานช่วยเหลือ ส่วนผู้ใช้น้ำรายเก่าจะไม่รื้อท่อพีวีซีออกจะเพราะเขาลงทุนไปมาก แต่จะไม่เพิ่มรายใหม่ แต่ขอให้ช่วยกันดูแลรักษาด้วย ปี 2548 กรมชลประทานไปซ่อมวาล์วน้ำและให้งบประมาณขุดลอกล้านบาทเศษ

 

 

ผู้ใหญ่บ้านสุดทนเสนอระเบิดอ่างทิ้ง

เมื่อนางสุนี ไชยรส กรรมการ กสม. ถามว่าปัญหาแก้ไขเรียบร้อยแล้วหรือไม่ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 คนดังกล่าวตอบว่า

 

"ผู้สูบน้ำมีแต่รายเดิม เจ้าใหม่จะไม่มี  อีกอย่างหนึ่งคืออ่าง (อ่างเก็บน้ำ) ตรงนี้มันมีปัญหามานานแล้ว ผมเคยเสนอทางอำเภอแบบคนบ้านๆ ให้ระเบิดอ่างฯ มันทิ้งเสียเพราะไม่มีประโยชน์ มันติดขัดกฎหมายอาญา คือชลประทานสร้างไว้ แต่ชลประทานไม่ได้ใช้ ชาวบ้านใช้ แต่ไม่ได้สร้าง เพราะฉะนั้นก็เลยเกิดปัญหา ปีไหนฝนตกมากน้ำก็ล้นสปริงเวย์ ปีไหนที่ไม่ตกมันก็ไม่ล้น ทำไงได้ละครับ มันก็เกิดปัญหาแบบนี้ ถ้าเราระเบิดเสีย มันก็จะไหลปกติ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าทุกปีเราไม่รู้ว่าฝนจะมากหรือน้อย ก็สุดแต่ฟ้าฝนแล้วกัน" นายพิศิษฐ์กล่าว

 

ด้านนางทวีวรรณ ถาวร ราษฎรหมู่ 5 บ้านห้วยงูในกล่าวว่าทุกวันนี้ชาวบ้านไม่กล้าเข้าไปบริเวณอ่างเก็บน้ำ เพราะมีผู้ขู่ชาวบ้านว่าจะมีการยิง แม้แต่หัวหน้าเหมืองฝายของ ต.สันทราย ก็ถูกข่มขู่จึงลาออก ไม่มีใครไปดูแลเหมืองฝาย ทุกวันนี้ชาวบ้านทำได้แค่ดูแลแหล่งน้ำของใครของมัน

 

 

นายช่างชลประทานแนะทำไม่ได้ ชี้ต้องโอนให้ อบต. ไปจัดการ

ขณะที่นายนัทธพงศ์ กาวิละ วิศวกรชลประทาน 6 โครงการชลประทานเชียงใหม่กล่าวว่าการระเบิดอ่างเก็บน้ำทิ้งทำไม่ได้ ไม่เช่นนั้นให้ส่งมอบอ่างเก็บน้ำให้ อบต. แล้ว อบต.จะทำอย่างไรก็แล้วแต่ อย่างไรก็ตาม นายสมชัย ใจคำ นายก อบต.สันทราย อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นตนเดินทางไปตรวจสอบพื้นที่ตลอด แต่ถ้าจะโอนอ่างเก็บน้ำให้ อบต. ดูแลคงเป็นไปไม่ได้เพราะ อบต.เองก็มีงบประมาณในการดำเนินงานจำกัด

 

กรณีนี้ที่ประชุมมีมติให้ทาง อบต.สันทราย อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ผู้ใหญ่บ้าน ไปศึกษารายละเอียด ข้อเท็จจริง ตลอดจนปัญหาที่เกิดในพื้นที่แล้วหาทางแก้ไขเท่าที่ทำได้ เพื่อให้กระบวนการจัดการน้ำให้ดีขึ้น

 

 

บ้านทับเดื่อรุกน้ำปิง ให้ ตชด. กับ ทสจ. ไปตรวจสอบแนวเขตร่วมชาวบ้าน

กรณีที่ 3 การบุกรุกแม่น้ำปิง อ.แม่แตง ที่ดิน ตชด.บ้านทับเดื่อ ต.อินทขิล อ.แม่แตง ที่ประชุมเห็นว่าให้ทาง ตชด.ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและตัวแทนชาวบ้านไปทำการตรวจสอบแนวเขตที่ดินทับซ้อนและจัดการแก้ไขได้เลย และส่งรายงานสรุปผลการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้วย

 

 

ตั้งคณะทำงานแก้ปัญหาบ้านตีนธาตุ-นาฮีออกเอกสารสิทธิ์ที่ทำกิน

กรณีที่ 4 ชาวบ้านตีนธาตุ-นาฮี หมู่ 1 บ้านทุ่งโป่ง ต.แม่แรม อ.แม่ริม ขอความเป็นธรรมเรื่องการออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินนอกเขตป่าสงวนแม่ริมแปลง 1 ที่ประชุมสรุปว่าในวันที่ 6 ..นี้จะต้องประชุมคณะทำงานระดับอำเภอที่ตั้งขึ้นมาก่อนหน้านี้เพื่อติดตามความคืบหน้าในกระบวนการแก้ไขปัญหา โดยมีอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านป่าไม้และที่ดินระดับจังหวัดร่วมประชุมด้วย

 

 

ชาวบ้านโวยทำกินไม่ได้เหตุฝายแม้วกั้นลำน้ำ

กรณีที่ 5 ชาวบ้าน บ้านกองผักปิ้ง บ้านเจียจันทร์ ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว ถูกทหารกองกำลังผาเมืองบ้านแม่จา (ฉก..127) หน่วยอุทยานแห่งชาติเชียงดาว และ อบต.เมืองนะ สร้างฝายแม้วกั้นลำห้วยสันกลางในเขตพื้นที่บ้านกองผักปิ้ง ภายหลังทำพิธีเปิดงาน ได้ให้ผู้ร่วมงานช่วยกันปลูกป่าในที่นาและไร่ของชาวบ้าน 7 รายและติดป้ายประกาศว่า "เขตป่าอนุรักษ์ต้นน้ำ ห้ามเข้าทำกินเด็ดขาด" โดยที่ไม่ได้แจ้งให้เจ้าของที่ดินทราบมาก่อนแต่อย่างใด ทำให้ชาวบ้านเข้าไปทำกินไม่ได้

 

 

ผอ.สร้างฝายชี้พื้นที่สร้างฝายเป็นฐานชนกลุ่มน้อยเก่า ทำได้เพียงอนุโลมชาวบ้านทำกิน

นายเพทาย ประทุมทอง ผู้อำนวยการโครงการสร้างฝายแฝก กล่าวว่าโดยหลักทางกฎหมายชาวบ้าน 7  รายดังกล่าวผิด เพราะที่ดินดังกล่าวเป็นฐานที่มั่นของกองกำลังไทใหญ่และถูกทหารขับออกไป และพื้นที่นั้นไม่มีต้นไม้เหลืออยู่เลยทั้งที่เป็นต้นน้ำของแม่น้ำปิง ก็ไปรวบรวมพี่น้องชนเผ่าและเจ้าหน้าที่กว่า 17,000 คนเข้าไปสร้างฝาย ต่อมาก็พบว่ามีชาวบ้านเข้ามาทำกิน จึงเรียกชาวบ้านมาคุยกับชาวบ้านเพื่อรอมชอม แต่ถ้าจะให้ชาวบ้าน 7 รายเข้าไปทำกินเลยมันก็เป็นไปไม่ได้ เพราะเท่ากับคน 200-300 ที่กระจายอยู่ตามชายแดนบ้างจะทำอย่างไร ดังนั้นจึงให้ชาวบ้านอยู่โดยอนุโลมแต่จะลงลายลักษณ์อักษรในทางราชการทำไม่ได้

 

 

เอ็นจีโอแย้งชาวบ้านอยู่กันมานานแล้ว ชี้ปมเลือกปฏิบัติทำรังวัดทุกบ้านยกเว้นกองผักปิ้ง

นางสาวลาเดละ จะทอ จากสมาคม IMPECT กล่าวว่าชาวบ้านบ้านกองผักปิ้ง บ้านเจียจันทร์ทำไร่ทำสวนอยู่แถวนั้นทั้งหมด ไม่ใช่แค่ 7 ราย และอยู่กันมานานแล้ว ทั้งยังมีข้อตกลงกับปลัดอำเภอว่าให้ทำกินไปก่อนจนกว่าจะมีกระบวนการข้อกฎหมายหรือมติ คณะรัฐมนตรีวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ใช้ทำงาน ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 มิถุนายน 2541 รับรองการครอบครองทำกิน และชะลอการจับกุมประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ทับซ้อนเขตป่าสงวน

 

นายศักดา แสนมี่ จากสมาคม IMPECT กล่าวว่าจะทำอย่างไรให้ชาวบ้านมีหลักประกันในพื้นที่ทำกิน ไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิ และที่ผ่านมาที่การทำรังวัดที่ดินที่ ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว โดยบ้านอื่นๆ ได้รับการรังวัด ยกเว้นบ้านกองผักปิ้งกลับไม่ได้รับการรังวัดที่ดิน

 

โดยที่ประชุมสรุปว่าชาวบ้านจำนวน 7 รายที่ถูกกระทำอนุโลมให้เข้าทำกินได้ ส่วนที่เหลือค่อยหามาตรการอื่นๆ แก้ไขต่อไป

 

 

ร้องออกหนังสือรับรองใช้ประโยชน์ที่ดินทับสถานที่เลี้ยงผีฝายชาวบ้าน

กรณีที่ 6 .น้ำแพร่ อ.พร้าว ถูกสหกรณ์นิคมพร้าวออกหนังสือรับรองการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเหมืองฝายให้เอกชนรายอื่น ทั้งที่พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตเหมืองฝาย ชาวบ้านใช้ประกอบพิธีเลี้ยงผีฝายทุกปี กรณีที่เกิดขึ้นทำให้ชาวบ้านไม่สามารถทำพิธีเลี้ยงผีฝายได้นั้น

 

นายชุมพร แสงมณี ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ในฐานะประธานร่วมในที่ประชุม กล่าวว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ๆ ชาวบ้านใช้เลี้ยงผีฝายตลอดตามประเพณี เลี้ยงผีขุนน้ำเป็นพิธีสำคัญ ทุกฝายเขามีพิธีเลี้ยง คงจะออกหนังสือรับรองการใช้ประโยชน์ในที่ดินตรงนั้นไม่ได้ ต้องกันไว้ให้พื้นที่ๆ ใช้ประกอบพิธีใช้ได้เหมือนเดิม

 

โดยที่ประชุมสรุปว่า ในสัปดาห์หน้าให้ทางนายก อบต.น้ำแพร่ ประสานงานกับนายอำเภอพร้าว รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดไปชี้และรังวัดแนวเขตของเขตพื้นที่เหมืองฝายใหม่ แล้วหาทางแก้ไขทำให้ถูกต้อง

 

 

ไนท์ซาฟารีทับที่ชาวบ้านคืบ สั่งการให้หารือร่วมชาวบ้านที่ อ.หางดง

กรณีที่ 7 นางดาหวัน เสาเสนา ชาวบ้าน ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ได้รับความเดือดร้อนจากโครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีที่ทับพื้นที่ทำกินของตน ที่ประชุมสรุปว่าเรื่องนี้ให้ทางสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 รับไปพิจารณาข้อมูล และให้ชาวบ้านผู้เดือดร้อนไปหารือที่อำเภอหางดง โดยมีนายอำเภอหางดงเป็นประธาน เพื่อหาทางแก้ไขโดยต้องรายงานความคืบหน้าให้ทางจังหวัด ปลัดจังหวัด และอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการจัดการที่ดินและป่าทราบภายในเดือน ม.. นี้

 

 

อุทยานสุเทพ-ปุยทับที่ชาวบ้านแม่เหียะใน ให้ไปคุยที่อำเภอเมือง เชียงใหม่

กรณีที่ 8 กรณีการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติสุเทพ-ปุยทับพื้นที่ชาวบ้านแม่เหียะใน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จนทำให้นางนงนุช ศรีพันธ์ลมถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ที่ประชุมสรุปว่าเรื่องนี้ให้ทางสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 รับไปพิจารณาข้อมูลและหาทางแก้ไขให้ชาวบ้าน และในวันที่ 25 มกราคมนี่ปลัดจังหวัด และอุทยานแห่งชาติสุเทพ-ปุย และนางนงนุช ศรีพันธ์ลม จะหารือกัน ณ ที่ว่าการอำเภอเมือง จ.เชียงใหม่

 

 

บ้านนาอ่อน เวียงแหง ร้องถูกอพยพ ตัวแทนอำเภอชี้แจง

กรณีที่ 9 การอพยพชาวบ้านนาอ่อน ม.1 .เปียงหลวง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ ถูกบังคับให้อพยพออกจากหมู่บ้านนั้น

 

นายโยทิน จันทวี เจ้าพนักงานป่าไม้ 6 ผู้ประสานงานโครงการในพระราชดำริ หัวหน้างานอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่า โครงการสถานีสาธิตและถ่ายทอดการเกษตร ป่าไม้ สิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านแปกแซม ต.เปียงหลวง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ ผู้แทนนายอำเภอเวียงแหง กล่าวว่าชาวเขาเผ่าลีซูบริเวณนั้นบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำแม่แตง และล่อแหลมต่อความมั่นคงห่างจากชายแดน เพียง 700 เมตร ชาวบ้านไม่ได้รับการศึกษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถจึงจัดให้มีโครงการนี้ขึ้น ทำให้ชาวบ้านได้เรียนรู้วิชาชีพและมีรายได้จากโครงการ โดยมีชาวบ้าน บ้านแปกแซมและบ้านหินแตวอยู่ในโครงการ บ้านนาอ่อนที่มีกรณีอพยพออกจากหมู่บ้านไม่ได้อยู่ในสารบบ เพราะชาวบ้านนาอ่อนย้ายมาจากบ้านหินแตว บ้านแปกแซมเดิม

 

ทางราชการเคยขอให้ราษฎรบ้านนาอ่อนย้ายกลับไปแต่ก็ไม่ยอมย้าย และมีราษฎรอพยพมาเพิ่มอีก มาไกลจาก อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ก็มีจนมีถึง 15 หลังคาเรือน 48 คน ชาย 28 คน หญิง 20 คน ถ้าปล่อยให้ทำกินไปเรื่อยๆ ป่าจะถูกบุกรุกมากขึ้นราชการและทหาร ร.7 พัน 2 ผู้อำนวยการโครงการในพระราชดำริ พ..เกษม วังสุนทร เข้าประชุมกันที่ อ.เวียงแหง เมื่อวันที่ 16 .. 2549 สรุปให้ผู้ใหญ่บ้าน ม.1 บ้านเปียงหลวง นายเตงยุ่น ผายนาง ผู้ใหญ่บ้าน ม.6 บ้านแปกแซม ให้เจรจากับชาวบ้านนาอ่อนให้อพยพออกไป โดยทาง อบต.เปียงหลวง จะสนับสนุนรถในการขนย้าย โดยให้ช่วง 17-30 .. 2549 ทำการรื้อถอนบ้านเรือน ไม่เช่นนั้นจะดำเนินการทางกฎหมาย แต่นายนิวัตน์ ตามี่ ผู้ประสานงานเครือข่ายชนเผ่าและชาติพันธุ์ เครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ และนายพิธาน สินย่างผู้ประสานงานเครือข่ายลีซูแห่งประเทศไทย หารือกับตนให้ชะลอการย้ายอพยพไปก่อน

 

 

ที่ประชุมสรุปตั้งคณะทำงานแก้ปัญหาภายในมกราคมนี้

นายโยทิน จันทวี กล่าวต่อว่า และเมื่อวันที่ 12 .. 2549 กองพลพัฒนาที่ 3 จึงได้ร่วมจัดประชุมกับเจ้าหน้าที่และราษฎรที่เกี่ยวข้องและอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน ที่ อบต.เปียงหลวง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ มีนายอำเภอเวียงแหงเป็นประธาน ได้ข้อสรุปให้ราษฎรชุมชนบ้านนาอ่อนอยู่เป็นการชั่วคราวแต่ห้ามก่อสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ และทางอำเภอเวียงแหงจะตั้งคณะทำงานมีเจ้าหน้าที่ของรัฐ ราษฎรบ้านนาอ่อน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติร่วมหาทางแก้ไขภายใน 60 วัน แต่เนื่องจากเพิ่งมีการย้ายนายอำเภอ และนายอำเภอคนใหม่ขอศึกษาข้อมูลก่อน ดังนั้นตนจะเร่งรัดให้มีการออกคณะทำงาน โดยทางราชการ ราษฎร และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะได้ไปร่วมกันตรวจสอบข้อมูลร่วมกัน

 

นายโนเล นุมา ชาวลีซูบ้านนาอ่อนกล่าวว่า ย้ายจากบ้านหินแตวมาที่บ้านนาอ่อนเมื่อปี 2536 เพราะที่ตรงนั้นเป็นที่ทำกินของบรรพบุรุษมา 30-40 ปีก่อน ที่ว่าบ้านนาอ่อนไม่มีสารบบนั้นไม่ใช่ขอให้ไปดูที่ผลการสำรวจที่ดินของ จ.เชียงใหม่ มีการพูดถึงพิกัดบ้านนาอ่อนชัดเจน แต่ที่ย้ายเพราะที่ดินทำกินเดิมไม่พอ และในหมู่บ้านแปกแซมก็มีปัญหายาเสพย์ติด ชาวบ้านไม่อยากเกี่ยวข้องเลยมาตั้งหมู่บ้านใหม่ พอปี 2543 มีโครงการพระราชดำริเข้ามาตั้งในเปียงหลวง ได้มีการจำกัดขอบเขตที่ดินทำกินครอบครัวให้เหลือ 4 ไร่ และใครที่มีที่ดินถูกเอาไปปลูกป่าอนุรักษ์ทางโครงการจะมีการชดเชยให้แต่ทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้ และที่ดินที่บ้านหินแตวและที่บ้านแปกแซมที่โครงการจัดสรรก็ปลูกข้าวไม่ได้ โครงการให้ปลูกผักในที่ทำกินที่มีและให้ไปรับจ้างในโครงการครอบครัวละ 1 คน วันละ 80 บาท รายได้ไม่พอจึงมาทำนาที่บ้านนาอ่อน

 

โดยที่ประชุมสรุปว่าต้องตั้งคณะกรรมการร่วมในการพิจารณาแก้ไขปัญหาโดยให้นายอำเภอเวียงแหงเป็นประธานให้แล้วเสร็จภายในเดือน ม..นี้

 

 

บ้านห้วยโป่งร้องไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ทำกิน ทสจ.ลงตรวจสอบข้อเท็จจริง

กรณีที่ 10 กรณีราษฎรบ้านห้วยโป่ง หมู่ที่ 10 .ศรีดงเย็น อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ ร้องเรียนว่าได้อาศัยอยู่ในหมู่บ้านมาตั้งแต่ปี 2500 มีประชาการ 240 คน แต่ปัจจุบันที่ดินบริเวณหมู่บ้านกลายเป็นพื้นที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งราษฎรส่วนใหญ่มีเอกสารสิทธิที่ดินทำกิน (สทก.) เฉพาะส่วนที่อยู่อาศัย แต่ในส่วนที่ดินทำกินไม่มีเอกสารหลักฐานอื่นใด ที่ประชุมสรุปว่าให้ทางสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ (ทสจ.) ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง

 

 

ผญบ.ชี้จับชาวบ้านห้วยโก๋น บอกจะพาไปรังวัดที่แล้วไปต่อที่โรงพัก

และกรณีที่ 11 การจับกุมชาวบ้านห้วยโก๋น อ.พร้าว ข้อหาบุกรุกป่า ซึ่งปัจจุบันคดีอยู่ในชั้นอัยการนั้น

 

นายไสว ตามิ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 11 .ป่าตุ้ม อ.พร้าว กล่าวว่าตนได้ไปแจ้งให้ชาวบ้านห้วยโก๋นว่า ราชการจะให้อพยพออกจากหมู่บ้านระหว่างวันที่ 1-7 กันยายน ปี 2549 แต่ชาวบ้านบอกว่าเราต้องต่อสู้เพราะอยู่กันมานานแล้ว 40-50 ปี ไม่รู้จะไปที่นั้น ถ้าไปอยู่ที่อื่น คงจะหาที่ดินยาก เมื่อถึงวันที่ 10 กันยายน ข้าราชการให้ผมเรียกชาวบ้านมากลางสนามหน้าศาลา เจ้าหน้าที่แต่ละฝ่ายก็แบ่งหน้าที่กันให้ชาวบ้านอยู่หน้าบ้านแล้วถ่ายรูป ให้ชาวบ้านพาไปดูที่ดินบอกว่าจะกันแนวเขตให้ จะได้มีที่ทำกิน จากนั้นข้าราชการบอกชาวบ้านว่าจะพาชาวบ้านไปทำบันทึกที่อำเภอ แล้วจะเอากลับมาส่งที่เดิม แต่เมื่อไปถึงกลับนำชาวบ้านส่งสถานีตำรวจให้ดำเนินคดี "จริงๆ อยากให้คนข้างล่างอยู่กับคนข้างบนอย่างเป็นมิตร แต่ไม่รู้ว่ามีนโยบายอะไรถึงให้ชาวบ้านอพยพ" นายไสวกล่าว

 

โดยที่ประชุมสรุปว่าจะมีการไปดูสำนวนห้องของอัยการ เพื่อเตรียมการต่อสู้ในชั้นศาลต่อไป

สุนี ไชยรส กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ซ้าย) และนายชุมพร แสงมณี ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ (ขวา)

 

กรรมการสิทธิชี้ผ่านไป 1 ปีไม่คืบ ราชการอ้างติดขัดกฎระเบียบ

หลังการประชุม นางสุนี ไชยรส กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการประชุมชี้แจงข้อเท็จจริงและติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการร้องเรียนกรณีการถูกละเมิดสิทธิในเขต จ.เชียงใหม่ขึ้นซึ่งมีทั้งหมด 11 กรณีครั้งนี้พบว่าการดำเนินการแก้ไขปัญหาเกือบทั้งหมดเป็นไปอย่างล่าช้า ส่วนใหญ่แทบไม่มีความคืบหน้า ทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะอ้างติดขัดที่กฎระเบียบ ขาดการประสานงาน ทำให้กลไกการแก้ไขปัญหาชะงักงัน

 

 

จะประสานผู้ว่าฯ เชียงใหม่เพื่อให้การแก้ปัญหาคืบหน้า

อย่างไรก็ตาม นางสุนี กล่าวต่อว่า กรณีปัญหาทั้งหมดจะมีการประสานงานกับผู้ว่าราชการ จ.เชียงใหม่เพื่อให้เกิดความคืบหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ด้วย ซึ่งอาจจะมีการมอบหมายความรับผิดชอบต่อให้แก่รองผู้ว่าราชการ จ.เชียงใหม่ รวมทั้งนาบอำเภอร่วมดูแลรับผิดชอบด้วย ซึ่งเชื่อว่า น่าจะส่งผลดีทำให้การแก้ไขปัญหามีความรวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะมีการกำกับติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิด และน่าจะช่วยให้ปัญหาในหลายกรณีสามารถไกล่เกลี่ยกันได้ตั้งแต่ระดับพื้นที่ แทนที่จะกลายเป็นปัญหาลุกลามใหญ่โต

 

นายชุมพร แสงมณี ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จากการประชุมวันนี้ตนเห็นว่าปัญหาบางกรณีสามารถจัดการแก้ไขได้ในระดับอำเภอ โดยที่ชาวบ้านไม่ต้องร้องเรียนปัญหาไปยังส่วนกลางให้เสียเวลา เพราะนายอำเภอในยุคปัจจุบันต้องทำหน้าที่มากกว่าการเซ็นเอกสารที่กองอยู่บนโต๊ะ แต่ต้องมีวิสัยทัศน์ในการปกครองการบริหารให้มากกว่าอดีต สามารถแก้ปัญหาบางปัญหาในพื้นที่ได้เลย

 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท