Skip to main content
sharethis


การเมือง


 


เอแบคโพลล์ชี้ความนิยม "สุรยุทธ์" ร่วง สวนทาง "ทักษิณ" ขยับขึ้น


เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ - "เอแบคโพลล์" เผยผลสำรวจความนิยม "พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์" ร่วงลงจากเดิม 70.5% เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2549 เหลือเพียง 48.2% ขณะที่กระแส "ทักษิณ" กลับขยับขึ้นจาก 15.8% มาอยู่ที่ 21.6%


 


ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง สำรวจคะแนนนิยมของนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เปรียบเทียบ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไปใน กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ กาญจนบุรี จันทบุรี นครปฐม สิงห์บุรี พิษณุโลก แพร่ เชียงราย กาฬสินธุ์ มุกดาหาร สุรินทร์ อุบลราชธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี รวมจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 4,334 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550


 


เมื่อสอบถามถึงคะแนนนิยมสนับสนุนของประชาชนต่อ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร พบว่า แนวโน้มความนิยมของประชาชนต่อ พล.อ.สุรยุทธ์ ลดต่ำลงอย่างมากจากเดิม 70.5% ในเดือนพฤศจิกายน 2549 เหลือเพียง 48.2% ในผลสำรวจล่าสุดครั้งนี้ ในขณะที่คะแนนนิยมของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร กลับเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยจาก 15.8% มาอยู่ที่ 21.6%


 


ดร.นพดล กล่าวว่า คะแนนนิยมของสาธารณชนต่อ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ที่ค้นพบครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ฐานสนับสนุนของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลอยู่ในช่วงขาลงอย่างน่าเป็นห่วง จึงขอให้สังคมช่วยกันพิจารณาสาเหตุและแนวทางแก้ไขอย่างน้อยสี่ประการดังนี้


 


ประการแรก ท่าทีของรัฐบาลและ คมช. นั่นเองที่เป็นมูลเหตุทำให้บรรดาข้าราชการใส่เกียร์ว่างและเกียร์ถอยหลัง เพราะรัฐบาลและ คมช.มักคิดและทำแบบทหารที่จะ พูด สั่ง และทำเพียงครั้งหรือสองครั้งเท่านั้น แต่การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจำเป็นต้องใช้วิธีการแบบฝ่ายการเมืองบ้าง นั่นคือ รัฐบาลและ คมช. ต้องหมั่นพูด สั่งและทำซ้ำๆ ย้ำแล้วย้ำอีกในปัญหาอื่นๆ ควบคู่ไปกับการสะสางปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน เช่น ปัญหาที่ทำกิน ปัญหาความยากจน ปัญหาหนี้สิน ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และปัญหายาเสพติด


 


ประการที่สอง กฎระเบียบราชการและงบประมาณไม่ถูกแก้ไขให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อน งบลับ งบพิเศษนอกจากงบปกติอาจไม่ได้ถูกนำไปใช้แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเท่าที่ควร และกลายเป็นข้ออ้างสำคัญของข้าราชการในการช่วยเหลือประชาชน


 


ประการที่สาม คนของรัฐบาลเริ่มวางตัวเหนือประชาชน จนทำให้กลไกติดตามของรัฐบาลมีปัญหาลงไปไม่ถึงกลุ่มประชาชนผู้เดือดร้อนอย่างทั่วถึง รัฐบาลน่าจะติดตามตรวจสอบจากต้นทางของความช่วยเหลือจนถึงปลายทางด้วยความรวดเร็วฉับไว นายกรัฐมนตรีควรลงพื้นที่ที่เป็นปัญหาเดือดร้อนของประชาชนแบบกะทันหันไม่ให้เจอบรรดาผักชีโรยหน้าทั้งหลาย เพราะระยะหลังนี้บรรดารัฐมนตรีของรัฐบาลชุดนี้เริ่มมีพิธีรีตอง มีขบวนต้อนรับมากมาย บุคคลใกล้ชิดรัฐมนตรีเริ่มวางตัวเป็นผู้มีอิทธิพลผิดกับช่วงแรกๆ ของอายุรัฐบาลที่ทำคล้ายๆ กับเป็นรัฐบาลสามัญชนเข้าถึงประชาชนแบบคนธรรมดา


 


ประการที่สี่ มีช่องว่างระหว่าง รัฐบาล สื่อมวลชน และประชาธิปไตยที่แท้จริง เมื่อบรรดารัฐมนตรีวางตัวเหนือประชาชนย่อมเกิดช่องว่างขึ้น และการสื่อสารไปยังประชาชนจึงมีปัญหา รัฐบาลและ คมช. ควรเร่งอุดช่องว่างและสร้างความสมดุลของข้อมูลข่าวสารไม่ให้เอียงไปข้างใดข้างหนึ่งระหว่างการสะสางปัญหาทุจริตคอร์รัปชันและปัญหาความเดือดร้อนที่ใกล้ตัวประชาชน การทำงานด้านประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลจึงน่าจะสื่อสารย้ำเจตนารมณ์ของรัฐบาลบ่อยๆ เช่น รัฐบาลเอาจริงเรื่องการแก้ปัญหายาเสพติด รัฐบาลกำลังช่วยเหลือแก้ปัญหาที่ทำกิน ความยากจนและหนี้สิน รัฐบาลกำลังสร้างระบบสังคมไทยที่เข้มแข็งและยั่งยืน และรัฐบาลจะคืนอำนาจให้ประชาชนเลือกตั้งใหม่มีประชาธิปไตยที่แท้จริงตามกำหนดเวลาที่วางไว้ หรืออาจจะเร็วกว่านั้น


 


ส่วนคำถามถึงความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลและหน่วยงานความมั่นคงที่จะดูแลคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน พบว่าประชาชนมีจำนวนก้ำกึ่งกันคือ 48.5% และ 50.7% ที่รู้สึกเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่น ที่เหลือ 0.8% ไม่มีความเห็น


 


ประเด็นที่น่าสนใจคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือ 64.2% เห็นด้วยต่อการยุติความเคลื่อนไหวทางการเมืองของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะที่ 9.8% ไม่เห็นด้วย และ 26.0% ไม่มีความเห็น เมื่อจำแนกตามภูมิภาคยิ่งพบประเด็นที่น่าสนใจคือ ประชาชนส่วนใหญ่ในทุกภูมิภาคแม้แต่คนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 60% เห็นด้วยที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ จะยุติการเคลื่อนไหวทางการเมือง รวมไปถึงสมาชิกพรรคไทยรักไทย ซึ่งสำรวจพบว่า 48.2% เห็นด้วย 20.2% ไม่เห็นด้วย และ 31.6% ไม่มีความเห็น


 


เมื่อสอบถามว่าช่วงเวลาที่เหมาะสมของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในการกลับประเทศ พบว่า ประชาชนจำนวนมากหรือ 44.8% ระบุว่าควรรออีกระยะหนึ่ง 19.9% ระบุว่าควรกลับทันที และ 35.3% ไม่มีความเห็น


 


เมื่อสอบถามถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ยังไม่เห็นรัฐบาลแก้ไขให้เกิดผล พบว่า 53.8% ระบุเป็นปัญหาเศรษฐกิจ 49.1% ระบุปัญหาที่ทำกิน ราคาพืชผลทางการเกษตร 42.7% ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากภัยพิบัติ 40.8% ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 39.7% ปัญหายาเสพติด 36.2% ปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน (การไม่จัดระเบียบสังคม) 34.4% ปัญหาการศึกษาด้อยคุณภาพ 29.5% ปัญหาทุจริต รีดไถประชาชนและการเลือกปฏิบัติของข้าราชการ และ 27.3% ปัญหาที่อยู่อาศัยและแหล่งเสื่อมโทรม ที่เหลือ 13.6% ระบุปัญหาอื่นๆ เช่น แหล่งอบายมุข สาธารณูปโภคไม่มีคุณภาพ และกลุ่มผู้มีอิทธิพล เป็นต้น


 


ดร.นพดล กล่าวว่า ประชาชนจะไม่อยู่เย็นเป็นสุขเพราะสูญเสียความเชื่อมั่น วิตกกังวล เครียด เริ่มขัดแย้งรุนแรงมากขึ้น และสาธารณชนไม่เห็นผลงานของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชนในเรื่องที่ใกล้ตัวอื่นๆ เช่น ปัญหาที่ทำกิน ผลผลิตทางการเกษตร ปัญหาหนี้สิน ปัญหายาเสพติด ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิต และความไม่เป็นธรรมในสังคมถ้ารัฐบาลและ คมช. มีความฉับไวแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชนอย่างต่อเนื่อง และทำลายกำแพงขวางกั้นระหว่างหน่วยงานราชการและกรมกองต่างๆ ได้


 


ทั้งนี้ การปรากฏตัวของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ  ชินวัตร จะไม่มีทางสร้างแรงกระเพื่อมทางการเมืองภายในประเทศได้ เพราะรัฐบาล คมช. ข้าราชการ และประชาชน ตกผลึกเป็นเนื้อเดียวกัน


 


สสร.นัดกมธ.ยกร่างหารือวันนี้ จรัญ" ชูห้ามรมต.ขี้คุกกลับนั่งเก้าอี้


เว็บไซต์คมชัดลึก -  ส.ส.ร.นัด กมธ.ยกร่าง ถกร่างรัฐธรรมนูญ 5 กุมภาพันธ์ ขณะที่ "จรัญ" ชูร่างใหม่ รมต.ขี้คุกห้ามกลับมานั่งเก้าอี้อีกลดจำนวน ส.ส.ขออภิปรายนายกฯ จาก 2 ใน 5 เป็น 1 ใน 5 ด้าน "กรรมาธิการ ส.ส.ร." อัดนำงบหลวงกินเลี้ยง


 


นายนรนิต เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า วันที่ 5 กุมภาพันธ์จะมีประชุมสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อร่วมหารือความคืบหน้าการจัดรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งจะเชิญคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กมธ.) ทั้ง 35 คน ลักษณะแลกเปลี่ยนความเห็น แต่ขณะนี้ยังมีปัญหาเรื่องการประสานงานของกรรมาธิการต่างๆ ทั้งของ ส.ส.ร.และกรรมาธิการยกร่าง


 


ด้าน นายจรัญ ภักดีธนากุล กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และประธานอนุกรรมาธิการสถาบันการเมือง กล่าวว่า  สัปดาห์นี้จะพูดคุยเรื่องที่มาของ ส.ส.รวมถึงวุฒิการศึกษาการสังกัดพรรค  เรื่องระบบ ส.ส.บัญชีรายชื่อควรจะทำอย่างไร  ทั้งนี้เห็นว่าเรื่องที่สมควรบัญญัติไว้มากที่สุดคือ รัฐมนตรีที่ถูกศาลสั่งจำคุกแล้วไม่ควรกลับมาเป็นรัฐมนตรีได้อีก รวมถึงการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีจากเดิม ส.ส.เข้าชื่อ 2ใน 5 เป็น 1 ใน 4 หรือ 1 ใน 5 จะได้ถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหาร


 


ขณะที่ นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) กล่าวว่า ขณะนี้มีกลุ่มการเมืองเก่าต้องการที่จะโค่นล้มรัฐบาลและ คมช.โดยดึงเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย หากสังเกตให้ดีพรรคการเมืองบางพรรคไม่เคยออกมาชี้แนะในเรื่องเนื้อหาของรัฐธรรมนูญที่จะนำไปสู่การปฏิรูปการเมือง มีแต่จะให้สัมภาษณ์ในเชิงทำลายล้าง คมช.และรัฐบาล


 


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การที่คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์ของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้นัดพบปะสังสรรค์ที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งย่านทาวน์อินทาวน์ ประธานกรรมาธิการใน ส.ส.ร.คนหนึ่งระบุว่า เพิ่งได้รับหนังสือเชิญแต่รู้สึกเป็นเรื่องไม่เหมาะ เพราะเห็นว่าควรนำเงินที่จะมาจัดในงานนี้ไปใช้ลงรับฟังความคิดเห็นประชาชนดีกว่า


 


ด้าน นายวิชา มหาคุณ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านองค์กรตรวจสอบอิสระและศาลของสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.)  กล่าวว่า วันที่ 6 กุมภาพันธ์นี้ กมธ.ชุดใหญ่ จะประชุมเพื่อสรุปกรอบการร่างรัฐธรรมนูญในด้านต่างๆ จากนั้นคณะอนุกรรมการ จะประชุมเพื่อหาข้อสรุปเรื่ององค์กรอิสระและศาล ส่วนตัวคิดว่าในส่วนของกระบวนการยุติธรรมน่าจะแก้กระบวนการไต่สวนกรณีเจ้าหน้าที่รัฐต่อประชาชนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่มีความไม่ชอบธรรมในการทำคดีน่าจะมีกระบวนการของรัฐที่เป็นองค์กรอิสระอื่นนอกจากตำรวจให้ประชาชนร้องทุกข์ แล้วทำหน้าที่ไต่สวนให้ จากนั้นส่งฟ้องศาลโดยไม่ต้องผ่านตำรวจอีก


 


ครส.จี้ให้สิทธิคนคุกเลือกตั้ง ตั้งศาลสางคดีสิทธิมนุษยชน


เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ - ข้อเสนอ 16 แนวทางการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 โดยคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.)


 


1) ควรนำเอารัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ.2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนเคยมีส่วนร่วมมากที่สุด มาเป็นหลักในการนำมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข


 


2) ขอต่อต้านทุกวิถีทาง ที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะสืบทอดอำนาจไม่ว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ประเด็นสำคัญเห็นว่า ที่มาของนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้งโดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสภาผู้แทนราษฎรไม่สามารถเลือกคนนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้โดยเด็ดขาด ทั้งนี้ พึงตระหนักว่า วิกฤติ "รัฐธรรมนูญ" จะนำไปสู่วิกฤติทางการเมืองที่รุนแรงในอนาคตได้


 


3) ต้องลดอำนาจนายกรัฐมนตรี โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เมื่อมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีแล้ว ไม่ต้องหมดสถานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เพราะจะทำให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจมากเกินไป


 


4) คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องยกเลิกการจำกัดวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรีเท่านั้น เพราะเป็นการลิดรอนสิทธิทางการเมืองของพลเมืองโดยทั่วไป และยกเลิกการบังคับผู้สมัครสังกัดพรรค เพราะระบบพรรคเป็นการกีดกันผู้สมัครที่เป็นสามัญชน รวมถึงชนชั้นล่างที่ด้อยการศึกษา แต่มีศักยภาพในการมีส่วนร่วมทางการเมือง นอกจากเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนแล้ว ยังละเมิดกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง (ICCPR.) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่อีกด้วย ทั้งนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ควรมีที่มาจากทุกชนชนชั้นทางสังคมโดยเท่าเทียมกัน


 


5) สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ต้องมาจากการเลือกตั้ง


 


6) ควรให้มีการจัดตั้ง "ศาลเลือกตั้ง" ขึ้น เพื่อจัดการเลือกตั้งทั่วไปและทำหน้าที่แทนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)


 


7) รัฐธรรมนูญใหม่จะต้องรับรอง "สิทธิในการเลือกตั้ง" เป็นสิทธิของพลเมืองขั้นพื้นฐานที่จะมีส่วนร่วมในรัฐบาลของตนเอง เจตจำนงของประชาชนจะต้องเป็นมูลฐานที่มาของอำนาจรัฐบาลโดยผ่านการเลือกตั้ง พลเมืองทุกคนควรมีสิทธินี้ของตนเอง ดังนั้น นักโทษจะต้องมีสิทธิในการเลือกตั้งได้


 


8) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของพลเมือง บรรดาที่ประชาชนเคยได้รับความคุ้มครองตามประเพณีการปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย และตามพันธกรณีแห่งประเทศ ต้องได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ


 


9) ให้ "สิทธิมนุษยชน" ได้รับการรับรองในรัฐธรรมนูญ


 


10) ควรให้มีการจัดตั้ง "ศาลสิทธิมนุษยชน" ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ในคดีการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ หรือภาครัฐกับประชาชน เพื่อสามารถอำนวยความยุติธรรมได้อย่างเป็นธรรม


 


11) ต้องออกแบบเพื่อสร้างองค์กรอิสระให้เข้มแข็ง ไม่ให้ถูกแทรกแซงทางการเมืองได้ดังเดิม


 


12) ต้องเน้นให้ภาคพลเมือง มีส่วนร่วมทางการเมืองและตรวจสอบภาคการเมืองได้โดยง่าย


 


13) ต้องมีการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น


 


14) การบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ไม่ควรบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ


 


15) ต้องยกเลิกบทบัญญัติที่ให้รัฐต้องสนับสนุนเศรษฐกิจเสรีแบบกลไกตลาดเท่านั้น เพราะทำให้ละเลยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


 


16) ต้องสร้างบรรทัดฐานทางการเมืองใหม่ เพื่อปูทางไปสู่การปฏิรูปการเมืองที่ชัดเจนในอนาคต โดยต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจใหม่


 


เร่งฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร 3 จ.ชายแดนใต้


เว็บไซต์สยามรัฐ - นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ความคืบหน้าในการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯได้ร่วมมือกันสนับสนุนหลายโครงการ รวมทั้งสนับสนุนปัจจัยการผลิตพื้นฐานทางการเกษตร พัฒนาระบบชลประทาน ตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ ให้แก่เกษตรกร และส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพดินที่เสื่อมโทรมให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นด้วย ข


 


ขณะเดียวกันยังได้สั่งการให้ส.ป.ก.เร่งรัดฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและสร้างอาชีพให้เกษตรกรมีรายได้เพื่อเลี้ยงครอบครัวตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ภายหลังประกาศเขตปฏิรูปที่ดินในพื้นที่ดังกล่าว รวม 19 อำเภอ 43 ตำบล มีเกษตรกรได้รับเอกสารสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 แล้ว จำนวน 7,234 ราย 10,778 แปลง รวมพื้นที่ 54,785 ไร่ ทั้งยังได้ส่งเสริมเกษตรกรให้ทำการเกษตรโดยให้กู้ยืมเงินกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รวม 22 โครงการ เกษตรกร 964 ราย วงเงินกู้ 25.95 ล้านบาท


 


นายอนันต์ ภู่สิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ปี 2550 นี้ ส.ป.ก.ได้มีแผนขยายการจัดตั้งนิคมเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ 3 จังหวัดดังกล่าวด้วย โดยจะจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนขึ้น จำนวน 14 ศูนย์ นำร่องใน 14 ตำบล เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบ ทั้งยังจะออกหน่วยจัดศูนย์บริการประชาชนเคลื่อนที่รายตำบลเพื่อติดตามตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อช่วยแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(คปก.) ได้มีมติเห็นชอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี ในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด พิจารณาหามาตรการเสริมแนวทางพัฒนาเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ด้านการสร้างองค์ความรู้และการขยายผล โดยขอความร่วมมือจากส่วนราชการในแต่ละจังหวัด


USTR งัดคองเกรส ไฟเขียวไทยผลิตยา ไม่ผิดกม.สิทธิบัตร


เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ - สหรัฐฯ เล่นทุกท่าหวังบีบไทย "ผ่อนคลาย" มาตรการบังคับใช้สิทธิในการผลิตยาเอง ล่าสุดให้สมาชิกสภาคองเกรสออกโรง ทำไม USTR ไม่ออกมาขัดขวางรัฐบาลไทยกรณียาต้านไวรัส Efavirenz ด้านผู้แทนการค้าสหรัฐ USTR บอก ไทยมีสิทธิทำได้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ WTO ทุกประการ ด้าน "รศ.ดร.จิราพร" อาจารย์เภสัชจุฬาฯ หนุนกระทรวงสาธารณสุขสุดตัว เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องทำ แฉโดนบริษัทยาข้ามชาติโก่งราคาเป็น 10 เท่า


 


หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง การใช้สิทธิตามสิทธิบัตรด้านยาและเวชภัณฑ์ ตามมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร 2522 หรือ Compulsory license หรือ CL สามารถใช้สิทธิในการผลิตยาหรือนำเข้าจากประเทศที่สาม โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้ทรงสิทธิบัตรก่อน ในยา 3 รายการ คือ 1) ยาต้านไวรัส HIV ชื่อสามัญ Efavirenz ชื่อตามสิทธิบัตร Stocrin 2) ยาต้านไวรัส HIV สูตรผสมระหว่าง Lopinavir & Ritonavir ชื่อสามัญ Kaletra และ 3) ยารักษาเส้นเลือดอุดตันทั้งหัวใจและในสมอง ชื่อตามสิทธิบัตร Clopidogrel ชื่อสามัญ Plavix


 


ปรากฏบริษัทยาต่างชาติได้กดดันรัฐบาลไทยทุกวิถีทางที่จะให้กระทรวงสาธารณสุขยกเลิก ประกาศการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรการผลิตหรือนำเข้ายา โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของสิทธิบัตรก่อน (CL) ทันที และหันมาเปิดการเจรจากับบริษัทยาเจ้าของสิทธิบัตร เนื่องจากมาตรการบังคับใช้สิทธิดังกล่าวจะสร้างความเสียหายให้กับบริษัทยาต่างชาติไม่สามารถผูกขาดจำหน่ายยาด้วยราคาสูงได้อีกต่อไป


 


รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ภาควิชาชีวเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การออกประกาศบังคับใช้สิทธิ (CL) ผลิตยา 3 ชนิด คือ ยา Efavirenz-Kaletra-Plavix ของกระทรวงสาธารณสุข ถือเป็นการดำเนินนโยบายที่ถูกต้อง และเป็นไปตามระบบกฎหมาย (พ.ร.บ.สิทธิบัตร)


 


สอดคล้องกับข้อตกลง TRIPs ข้อ 31 ที่ว่า ประเทศสมาชิก WTO สามารถบังคับใช้สิทธิได้ในกรณีที่เกิดปัญหาขาดแคลนยา ราคาแพง หรือประชาชนเข้าถึงยาก ซึ่งประเทศไทยก็มีปัญหนี้รุนแรงมากขึ้น ภายหลังการประกาศใช้ พ.ร.บ. ประกันสุขภาพแห่งชาติ ทำให้ต้องผลิตยาเพื่อรองรับความต้องการใช้ของผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น


 


ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่ประกาศใช้สิทธิในการผลิตยาหรือนำเข้ายาจากประเทศที่สาม แต่ยังมีมาเลเซีย, อินโดนีเซีย และซิมบับเว ก็มีการประกาศใช้สิทธิ (CL) เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศเจ้าของสิทธิบัตรอย่างสหรัฐ จัดเป็นประเทศที่มีการออกประกาศบังคับใช้สิทธิ หรือ CL มากที่สุด เพราะมีการใช้สิทธิบัตรคุ้มครองยาจนทำให้พลเมืองเข้าถึงยายาก


 


ล่าสุดได้มีการดำเนินการเกี่ยวกับกรณีของไทยผ่านทางสภาคองเกรสสหรัฐ เมื่อสมาชิกสภาคองเกรส 22 คน นำโดย Sender M.Levin (เดโมแครต) ได้ทำหนังสือถึง Susan C Schwab หัวหน้าสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) สอบถามเรื่องที่สหรัฐยอมรับการตัดสินใจของรัฐบาลไทยในการนำมาตรการบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตร (compulsory license) มาผลิตยาต้านไวรัส HIV Efavirenz ด้วยคำถามที่ว่า รัฐบาลสหรัฐ (USTR) น่าจะมีความพยายามที่จะเข้าไปขัดขวาง (attempting to intervene) การตัดสินใจของรัฐบาลไทย ในการประกาศที่จะผลิตยาต้านไวรัส Efavirenz เอง โดยอาศัยมาตรการบังคับใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร (CL)


 


ปรากฏในกรณีนี้ คำตอบของ USTR กลับสร้างคุณูปการให้กับฝ่ายไทย เมื่อ Susan C Schwab ผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) ตอบหนังสือของสมาชิกสภาคองเกรสทั้ง 22 คนกลับมาในวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมานี้ว่า รัฐบาลไทยสามารถประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตร (compulsory license) กับยาต้านไวรัส Efavirenz ได้ตามข้อผูกพันขององค์การการค้าโลก (TRIPs)


 


รัฐบาลไทยไม่ได้กระทำสิ่งผิดพลาดจากกฎหมายระหว่างประเทศหรือกฏหมายภายในประเทศ และ USTR ไม่มีความต้องการให้หน่วยงานใดของรัฐบาลสหรัฐเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับการตัดสินใจของรัฐบาลไทยในครั้งนี้


 


สำหรับสาเหตุที่กระทรวงสาธารณสุขต้องออกประกาศบังคับใช้สิทธิในการผลิตยาโดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของสิทธิบัตรก่อนนั้น รศ.ดร.จิราพรกล่าวว่า เป็นผลมาจากปัญหาการเข้าถึงยาในปัจจุบันของไทยโดยตรง ผู้ป่วยไทยมีปัญหาในการเข้าถึงยาระดับหนึ่ง เนื่องจากราคายา โดยเฉพาะยาอันมีสิทธิบัตร ซึ่งมีผู้ผลิตรายเดียวมีราคาสูงมาก บางชนิดสูงกว่าราคาในต่างประเทศเป็น 10 เท่า จึงมีความพยายามจะเรียกร้องกันมาแล้วตั้งแต่ 4-5 ปีก่อน "แต่ไม่สำเร็จ เพราะถ้าไม่ใช่รัฐบาลที่มีคุณหมอมงคลเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ก็คงทำไม่ได้" รศ.ดร.จิราพรกล่าว


 


อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคำตอบของ USTR จะยืนยันว่า ประเทศไทยสามารถนำมาตรการ compulsory license มาใช้บังคับได้ก็ตาม แต่กระทรวงพาณิชย์ก็ยังมีความเป็นห่วงในแง่ที่ว่า ก่อนที่กระทรวงสาธารณสุขจะออกประกาศบังคับใช้สิทธิในการผลิตยาทั้ง 3 รายการนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้มีการหารือกับเจ้าของสิทธิบัตรยานั้นๆ เพื่อชดเชยการใช้สิทธิหรือไม่


 


ประกอบกับนายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เอง ได้แนะนำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเปิดการหารือกับเจ้าของสิทธิบัตรยาในเรื่องของการชดเชย เพื่อลดแรงกดดันที่เกิดขึ้นจากฝ่ายสหรัฐ


 


ขณะที่นางสาวชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า กรมเจรจาฯได้ประสานงานร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลเรื่องสิทธิบัตร สำหรับการดำเนินการดังกล่าวของกระทรวงสาธารณสุข เห็นว่าเป็นไปตามกฎหมาย พ.ร.บ. สิทธิบัตรของไทย ถ้าหากเจ้าของสิทธิเห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิบัตรก็ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายไทย และหากรัฐบาลสหรัฐเห็นว่าเป็นการกระทำที่ผิดหรือขัดต่อหลักเกณฑ์องค์การการค้าโลก (WTO) ก็ต้องให้มีกระบวนการ consultation กับรัฐบาลของไทยต่อไป


 


ทางด้านผู้บริหารสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (PReMA) ได้ออกมาแสดงความเห็นในเรื่องปัญหาสิทธิบัตรยาที่เป็นปัญหาอยู่ว่า ที่ผ่านมาอาจจะเป็นการพูดกันคนละครั้งและไม่ได้มีเวลาที่จะมานั่งคุยกันอย่างจริงๆ จังๆ จึงทำให้ภาพที่เกิดขึ้นมีความขัดแย้งกัน อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวมองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมีทางออกและแนวทางที่น่าจะเป็นไปได้ "ก็คือ สมานฉันท์ ทุกฝ่ายควรมีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน และเรื่องที่เกิดขึ้นก็น่าจะจบลงด้วยดี และไม่น่าจะเป็นการใช้อำนาจบีบบังคับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด"


 


เร่งฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร 3 จ.ชายแดนใต้


เว็บไซต์สยามรัฐ - นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ความคืบหน้าในการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯได้ร่วมมือกันสนับสนุนหลายโครงการ รวมทั้งสนับสนุนปัจจัยการผลิตพื้นฐานทางการเกษตร พัฒนาระบบชลประทาน ตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ ให้แก่เกษตรกร และส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพดินที่เสื่อมโทรมให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นด้วย ข


 


ขณะเดียวกันยังได้สั่งการให้ส.ป.ก.เร่งรัดฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและสร้างอาชีพให้เกษตรกรมีรายได้เพื่อเลี้ยงครอบครัวตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ภายหลังประกาศเขตปฏิรูปที่ดินในพื้นที่ดังกล่าว รวม 19 อำเภอ 43 ตำบล มีเกษตรกรได้รับเอกสารสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 แล้ว จำนวน 7,234 ราย 10,778 แปลง รวมพื้นที่ 54,785 ไร่ ทั้งยังได้ส่งเสริมเกษตรกรให้ทำการเกษตรโดยให้กู้ยืมเงินกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รวม 22 โครงการ เกษตรกร 964 ราย วงเงินกู้ 25.95 ล้านบาท


 


นายอนันต์ ภู่สิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ปี 2550 นี้ ส.ป.ก.ได้มีแผนขยายการจัดตั้งนิคมเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ 3 จังหวัดดังกล่าวด้วย โดยจะจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนขึ้น จำนวน 14 ศูนย์ นำร่องใน 14 ตำบล เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบ ทั้งยังจะออกหน่วยจัดศูนย์บริการประชาชนเคลื่อนที่รายตำบลเพื่อติดตามตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อช่วยแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(คปก.) ได้มีมติเห็นชอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี ในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด พิจารณาหามาตรการเสริมแนวทางพัฒนาเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ด้านการสร้างองค์ความรู้และการขยายผล โดยขอความร่วมมือจากส่วนราชการในแต่ละจังหวัด


 


 



คุณภาพชีวิต


 


สปสช.ขอ 1,359 ล้าน รักษาไร้สัญชาติ


เว็บไซต์เดลินิวส์ - นพ.ปิยะ เนตรวิเชียร รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้สัมภาษณ์กรณีคนไทยไร้สัญชาติที่มีบัตรประจำตัวประชาชน ขึ้นต้นด้วยเลข 6 และ 7 ซึ่งคนเหล่านี้เกิดในเมืองไทย แต่มีปัญหาเรื่องสถานะ ทำให้ไม่มีหลักประกันสุขภาพว่า คนกลุ่มนี้ทั่วประเทศมีคนไทยประมาณ 7 แสนราย


 


ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดที่มีเขตติดต่อชายแดน อาทิ เชียงราย น่าน ตาก และแม่ฮ่องสอน ทำให้สถานพยาบาลต้องแบกรับค่ารักษาพยาบาลในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก ซึ่ง นพ.มงคล ณ สงขลา รมว.สาธารณสุข ไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น นำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ สปสช. และมีมติว่าจะเสนอ ครม.จัดงบรายหัวให้คนไร้สัญชาติคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,329 ล้านบาท


 


นพ.สุวัฒน์ กิตติดิลกกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า ทางจังหวัดมีบุคคลไร้สัญชาติกว่า 5 หมื่นคน ทำให้หน่วยบริการสาธารณสุขต้องแบกรับค่าใช้จ่ายปีละ 30-40 ล้านบาท และขณะนี้ได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ของจังหวัดไปแล้ว ทั้งที่คนเหล่านี้ควรได้รับสิทธิในการรับบริการขั้นพื้นฐานเช่นเดียวกับคนไทยที่มีเลข 13 หลัก


 


ด้าน พญ.ประณมพร ศิริภักดี ผอ.รพ.ปาย กล่าวว่า ทางโรงพยาบาลมีหนี้สินกว่า 1 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นค่ายาและเวชภัณฑ์ ปัญหาคือ รพ.ต้องแบกรับภาระในการรักษาคนไทยไร้สัญชาติ 1,533 ราย ในขณะที่งบประมาณค่ารักษารายหัวของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปี 2550 เพิ่งได้รับโอนเพียง 30% เท่านั้นจากทั้งหมด 23 ล้านบาท โดยขณะนี้เหลือเงินแค่ 38,000 บาทเท่านั้น อย่างไรก็ตาม อยากให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาบุคคลไร้สัญชาติทั่วประเทศอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป


 


แนะ 'ผู้เสียหาย' ร้องอาญาเรียกค่าเสียหาย


เว็บไซต์ไทยโพสต์ - เตือนประชาชนใช้สิทธิในฐานะผู้เสียหายเรียกค่าเสียหายผ่านศาลอาญา ลดเวลาฟ้องแพ่ง ภายใต้เงื่อนไขเป็นคดีที่พฤติการณ์ไม่ร้ายแรง จัดงานประนีประนอมยอมความ นำ 150 คดีขึ้นสู่โต๊ะเจรจา


 


นางจิราวรรณ สุญาณวนิชกุล อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา เปิดเผยว่า  ตามที่มีการแก้ไขพระราชบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าด้วยการเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายในคดีอาญา ซึ่งมีผลบังคับใช้มา 2 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีความแพร่หลาย โดยกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้ในคดีอาญาที่มีอัตราโทษไม่ร้ายแรง เมื่ออัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องผู้กระทำความผิดเป็นจำเลยต่อศาลแล้ว กฎหมายเปิดให้ผู้เสียหายมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ โดยยื่นเป็นคำร้องต่อศาลอาญา ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายโดยไม่ต้องเสียเวลาไปยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งอีก แต่ในการพิจารณาให้จำเลยชำระค่าเสียหายเป็นจำนวนเท่าใดนั้นถือเป็นดุลพินิจของศาล


 


อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา กล่าวว่า สำหรับคดีที่เข้าข่ายสามารถประนีประนอมได้นั้น 1.ต้องเป็นคดีที่มีพฤติการณ์ไม่ร้ายแรง และอยู่ในวิสัยที่จะบรรเทาความเสียหาย เช่น คดีขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ หรือถึงแก่ความตาย คดีทำร้ายร่างกาย คดีบุกรุก คดีความผิดเกี่ยวกับเพศ (เฉพาะบางกรณี) คดีฟ้องเท็จ เบิกความเท็จ คดีปลอมเอกสาร ฉ้อโกง ลักทรัพย์ รับของโจร 2.คดีที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 3.คดีที่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเห็นสมควรให้เข้าสู่การประนอมข้อพิพาท


 


นางจิราวรรณกล่าวว่า ค่าตอบแทนที่ผู้เสียหายจะเรียกร้องได้ คือ ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ ค่าตอบแทนในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย และค่าตอบแทนความเสียหายอื่น ทั้งนี้ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้กระทำ สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพได้ แต่ถ้าหากมีคู่กรณีแล้วสามารถตกลงชดเชยค่าเสียหายกันเองได้เรื่องก็จะจบที่ศาลอาญา ไม่ต้องไปร้องขอที่กรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ


 


นางจิราวรรณกล่าวว่า เพื่อเป็นการแนะนำประชาชนให้รู้ถึงสิทธิตามกฎหมายใหม่ จึงกำหนดให้ศูนย์ประนอมข้อพิพาทศาลอาญา คอยให้คำแนะนำประชาชนใช้สิทธิยื่นคำร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งในคดีอาญาต่อศาลอาญาได้และศาลอาญายังกำหนดจัดงานฟื้นสำนึกสานสัมพันธ์สมานฉันท์เดือนแห่งความรักคืนคนดีสู่สังคมไทย เทิดไท้องค์ราชัน ในวันที่ 5-23 กุมภาพันธ์นี้ ณ อาคารศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก โดยจะมีการนำคดีสำคัญ 150 เรื่องเข้าสู่การประนอมข้อพิพาท เช่น คดีหมิ่นประมาทระหว่างนักการเมืองกับข้าราชการและสื่อหนังสือพิมพ์ เป็นต้น และยังร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ จัดเสวนาความรู้เรื่องสิทธิผู้เสียหายเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งในคดีอาญา


 



การศึกษา


 


ลุยแลกเปลี่ยน นศ.ระหว่างมหา'ลัย ศธ.ประกาศนำร่อง 3 จชต.มิ.ย.นี้


ผู้จัดการออนไลน์ -  รมว.ศึกษาฯ เผยโครงการแลกเปลี่ยนนิสิต นักศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัย จะเริ่มใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก่อน เริ่มได้ มิ.ย.นี้ เพราะทุกมหาวิทยาลัยมีหลักสูตรอยู่แล้ว เพียงแต่ออกระเบียบรองรับและเชิญมหาวิทยาลัยเข้าร่วม ระบุผู้เข้าร่วมโครงการจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าหน่วยกิตเพิ่ม


 


ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้มีโครงการแลกเปลี่ยนการศึกษานิสิต นักศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศว่า จะต้องมีการจัดระบบรองรับการแลกเปลี่ยน โดยจะต้องตกลงกันล่วงหน้าว่าจะทำในสาขาวิชาใด ช่วงเวลาใด


 


นอกจากแลกเปลี่ยนนิสิต นักศึกษากันแล้ว มหาวิทยาลัยที่รับคนที่จะไปเรียนในโครงการฯ ต้องอำนวยความสะดวกอะไรหรือไม่ เช่น ที่พักชั่วคราว ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น หน่วยกิตที่จะโอนทำได้อย่างไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำได้ไม่ยาก เพราะทุกมหาวิทยาลัยมีหลักสูตรอยู่แล้ว เพียงแต่เชิญมหาวิทยาลัยที่สมัครใจจะเข้าร่วมโครงการมาประชุมกันแล้วจัดระบบรองรับ อาจจะมีการออกระเบียบขึ้นมาเพื่อเป็นแนวปฏิบัติร่วมและจัดสรรความสนับสนุนบางอย่างให้ โครงการนี้น่าจะดำเนินการได้ในเดือนมิถุนายนปีนี้ และเริ่มใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก่อน แล้วสอบถามไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ ว่าใครจะเข้าร่วมบ้าง หรือแลกเปลี่ยนกันเองในสถาบันการศึกษาพื้นที่ภาคใต้


 


ศ.ดร.วิจิตร กล่าวด้วยว่า โครงการแลกเปลี่ยนนิสิต นักศึกษาฯ มีจุดมุ่งหมายให้เด็กได้มีโอกาสไปขยายประสบการณ์จากสถาบันและพื้นที่ต่างกัน การพบปะผู้คน การเข้าใจเข้าถึงเรื่องของเมืองไทย กับความหลากหลายทางวิชาการของมหาวิทยาลัย ถ้าเด็กได้มีโอกาสไปสัมผัสจะทำให้มีความรู้กว้างขึ้น โดยเฉพาะเชื่อว่าโครงการที่จะมีการแลกเปลี่ยนส่วนมากจะเป็นโครงการที่มหาวิทยาลัยเหล่านั้นค่อนข้างเก่งและเชี่ยวชาญ


 


"ปกติโครงการแลกเปลี่ยนทั่วๆ ไป จะถือว่าเป็นต่างตอบแทน เช่น ที่มหาวิทยาลัย ก.ลงทะเบียนหน่วยกิตหนึ่ง 300 บาท ก็ถือว่าลงทะเบียนกับมหาวิทยาลัย ก. แล้วก็ไปเรียนได้ที่มหาวิทยาลัย ข. โดยไม่ต้องเก็บเพิ่ม หรืออีกวิธีหนึ่งคือไปจ่ายตามอัตราของมหาวิทยาลัย ข. ซึ่งเป็นฝ่ายรับไป อันนี้จะต้องเป็นข้อตกลง ไม่มีการเก็บหน่วยกิตเพิ่มค่าใช้จ่ายก็ไม่น่าจะเพิ่มขึ้น แต่เก็บในอัตราของมหาวิทยาลัยที่เรียนอยู่หรือเก็บในอัตราของมหาวิทยาลัยที่จะไปแลกเปลี่ยน" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าว


 



ต่างประเทศ


 


วิกฤติน้ำท่วมอิเหนาตาย 20 ไร้ที่อยู่กว่า 1 แสน


เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ - สถานการณ์น้ำท่วมในเมืองหลวงของอินโดนีเซีย รุนแรงกว่าเดิม ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 20 ราย ประชาชนกว่า 100,000 รายต้องไร้ที่อยู่อาศัย ขณะเจ้าหน้าที่ประกาศเตือนภัยระดับสูงสุด เหตุน้ำท่วมครั้งใหญ่ในกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย และพื้นที่โดยรอบ ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยล่าสุดยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ พุ่งถึง 20 รายแล้ว ทั้งจากถูกน้ำพัดพาไป ไฟดูด หนาวเย็น และป่วย โดยมีประชาชนอีกอย่างน้อย 145,000 ราย อยู่ในภาวะไร้ที่อยู่อาศัย


 


อิหร่านคิดยาต้านเอดส์ ยุ่นยืนยันหวัดนกระบาด


เว็บไซต์เดลินิวส์ - นายคัมราน บาเคอรี ลังการานี รัฐมนตรีสาธารณสุขอิหร่าน ประกาศเมื่อวันเสาร์ว่า นักวิทยาศาสตร์ของอิหร่านได้คิดค้นยารักษาโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือโรคเอดส์ ได้สำเร็จแล้ว โดยเป็นยาสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกายผู้ป่วย


 


ขณะที่ มีฤทธิ์ในการควบคุมไวรัสเอชไอวี ไม่ให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น นายบาเคอรี ลังการานี กล่าวอีกว่า ยาสมุนไพรดังกล่าว มีชื่อว่า ไอมอด แม้ไม่สามารถฆ่าไวรัสเอชไอวีได้สำเร็จ แต่ก็มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสได้เป็นอย่างดี ยาดังกล่าวได้มาจากการค้นคว้าเป็นเวลา 5 ปี และได้ทดลองใช้กับผู้ป่วยโรคเอดส์มาแล้วอย่างน้อย 200 คน


 


นายโมฮัมหมัด ฟาร์ฮาดี ผู้อำนวยการโครงการยารักษาเอดส์ของอิหร่าน กล่าวว่า ยานี้เหมาะกับทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์แล้ว และผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีอยู่ในกระแสเลือด แต่ยังไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ ออกมา โดยทางการอิหร่านจะนำยาดังกล่าวไปทดลองกับคนไข้โรคเอดส์อีกราว 3,000-5,000 คน ในปีหน้า เพื่อดูประสิทธิภาพในการรักษาโรคอีกครั้ง


 


ด้านรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของญี่ปุ่น ยืนยันเมื่อวันเสาร์ว่า การระบาดของไข้หวัดนกครั้งล่าสุด ซึ่งเป็นครั้งที่ 4 ของญี่ปุ่นในปีนี้ มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ เอช 5 เอ็น 1 สถาบันสาธารณสุขสัตว์แห่งชาติยืนยัน ไวรัสดังกล่าวเป็นสาเหตุของการระบาดที่ฟาร์มสัตว์ปีกในเมืองชินโตมิโช ในเขต  มิยาซากิ บนเกาะคิวซู ทางตอนใต้ของญี่ปุ่นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว--จบ-


 


เครื่องสำอางน้ำมันลาเวนเดอร์ ทำให้เด็กผู้ชายนมโตเป็นผู้หญิง


เว็บไซต์ไทยรัฐ - วารสารวิชาการ "อายุรกรรม" ของสหรัฐฯ รายงานว่า น้ำมันดอกลาเวนเดอร์ ที่เข้าแชมพู สบู่ และน้ำหอม อาจมีผลทำให้นมของเด็กผู้ชายบางรายโตใหญ่ขึ้นมาชั่วคราวได้ ดูเหมือนว่าเพราะเป็นเหตุให้ฮอร์โมนแปรปรวนไป


 


อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนหลายรายย้ำว่า กรณีแบบนี้มักไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก และมันมักจะหายไปเองเมื่อเลิกใช้ พวกเขาไม่ได้เสนอความเห็นให้ห้ามใช้เครื่องสำอางพวกนี้เสีย


 


นักวิจัยได้พบการมีอาการที่เรียกว่า ภาวะนมโตในผู้ชาย ในเด็กผู้ชาย ที่มีอายุ 4, 7 และ 10 ขวบ 3 คน ต่างมีนมตูมเหมือนกับสาวรุ่นๆ แต่ก็หายจากอาการนั้นได้เอง เมื่อเลิกใช้เครื่องสำอางที่เข้าน้ำมันจากธรรมชาติเหล่านี้ น้ำมันนี้บางทีก็เรียกว่า หัวน้ำมันหอมระเหย มักใช้กับผลิตภัณฑ์สุขภาพหลายชนิด เพื่อให้มีกลิ่นหอม นักวิทยาศาสตร์สงสัยว่าสารเคมีในหัวน้ำมันไปปลุกให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน อันเป็นฮอร์โมนเพศหญิงขึ้น ที่ทำหน้าที่ช่วยให้ทรวงอกเจริญเติบโต โดยทำให้ฮอร์โมนในตัวเกิดเสียสมดุลลง


 


ก่อนหน้านี้ก็เคยมีข่าวว่า มีการศึกษาพบว่าผลิตภัณฑ์จากกัญชาและถั่วเหลือง ก็อาจก่อให้เกิดอาการแบบนี้ขึ้นได้เหมือนกัน


 


USTR งัดคองเกรส ไฟเขียวไทยผลิตยา ไม่ผิดกม.สิทธิบัตร


เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ - สหรัฐฯ เล่นทุกท่าหวังบีบไทย "ผ่อนคลาย" มาตรการบังคับใช้สิทธิในการผลิตยาเอง ล่าสุดให้สมาชิกสภาคองเกรสออกโรง ทำไม USTR ไม่ออกมาขัดขวางรัฐบาลไทยกรณียาต้านไวรัส Efavirenz ด้านผู้แทนการค้าสหรัฐ USTR บอก ไทยมีสิทธิทำได้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ WTO ทุกประการ ด้าน "รศ.ดร.จิราพร" อาจารย์เภสัชจุฬาฯ หนุนกระทรวงสาธารณสุขสุดตัว เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องทำ แฉโดนบริษัทยาข้ามชาติโก่งราคาเป็น 10 เท่า


 


หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง การใช้สิทธิตามสิทธิบัตรด้านยาและเวชภัณฑ์ ตามมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร 2522 หรือ Compulsory license หรือ CL สามารถใช้สิทธิในการผลิตยาหรือนำเข้าจากประเทศที่สาม โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้ทรงสิทธิบัตรก่อน ในยา 3 รายการ คือ 1) ยาต้านไวรัส HIV ชื่อสามัญ Efavirenz ชื่อตามสิทธิบัตร Stocrin 2) ยาต้านไวรัส HIV สูตรผสมระหว่าง Lopinavir & Ritonavir ชื่อสามัญ Kaletra และ 3) ยารักษาเส้นเลือดอุดตันทั้งหัวใจและในสมอง ชื่อตามสิทธิบัตร Clopidogrel ชื่อสามัญ Plavix


 


ปรากฏบริษัทยาต่างชาติได้กดดันรัฐบาลไทยทุกวิถีทางที่จะให้กระทรวงสาธารณสุขยกเลิก ประกาศการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรการผลิตหรือนำเข้ายา โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของสิทธิบัตรก่อน (CL) ทันที และหันมาเปิดการเจรจากับบริษัทยาเจ้าของสิทธิบัตร เนื่องจากมาตรการบังคับใช้สิทธิดังกล่าวจะสร้างความเสียหายให้กับบริษัทยาต่างชาติไม่สามารถผูกขาดจำหน่ายยาด้วยราคาสูงได้อีกต่อไป


 


รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ภาควิชาชีวเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การออกประกาศบังคับใช้สิทธิ (CL) ผลิตยา 3 ชนิด คือ ยา Efavirenz-Kaletra-Plavix ของกระทรวงสาธารณสุข ถือเป็นการดำเนินนโยบายที่ถูกต้อง และเป็นไปตามระบบกฎหมาย (พ.ร.บ.สิทธิบัตร)


 


สอดคล้องกับข้อตกลง TRIPs ข้อ 31 ที่ว่า ประเทศสมาชิก WTO สามารถบังคับใช้สิทธิได้ในกรณีที่เกิดปัญหาขาดแคลนยา ราคาแพง หรือประชาชนเข้าถึงยาก ซึ่งประเทศไทยก็มีปัญหนี้รุนแรงมากขึ้น ภายหลังการประกาศใช้ พ.ร.บ. ประกันสุขภาพแห่งชาติ ทำให้ต้องผลิตยาเพื่อรองรับความต้องการใช้ของผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น


 


ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่ประกาศใช้สิทธิในการผลิตยาหรือนำเข้ายาจากประเทศที่สาม แต่ยังมีมาเลเซีย, อินโดนีเซีย และซิมบับเว ก็มีการประกาศใช้สิทธิ (CL) เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศเจ้าของสิทธิบัตรอย่างสหรัฐ จัดเป็นประเทศที่มีการออกประกาศบังคับใช้สิทธิ หรือ CL มากที่สุด เพราะมีการใช้สิทธิบัตรคุ้มครองยาจนทำให้พลเมืองเข้าถึงยายาก


 


ล่าสุดได้มีการดำเนินการเกี่ยวกับกรณีของไทยผ่านทางสภาคองเกรสสหรัฐ เมื่อสมาชิกสภาคองเกรส 22 คน นำโดย Sender M.Levin (เดโมแครต) ได้ทำหนังสือถึง Susan C Schwab หัวหน้าสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) สอบถามเรื่องที่สหรัฐยอมรับการตัดสินใจของรัฐบาลไทยในการนำมาตรการบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตร (compulsory license) มาผลิตยาต้านไวรัส HIV Efavirenz ด้วยคำถามที่ว่า รัฐบาลสหรัฐ (USTR) น่าจะมีความพยายามที่จะเข้าไปขัดขวาง (attempting to intervene) การตัดสินใจของรัฐบาลไทย ในการประกาศที่จะผลิตยาต้านไวรัส Efavirenz เอง โดยอาศัยมาตรการบังคับใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร (CL)


 


ปรากฏในกรณีนี้ คำตอบของ USTR กลับสร้างคุณูปการให้กับฝ่ายไทย เมื่อ Susan C Schwab ผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) ตอบหนังสือของสมาชิกสภาคองเกรสทั้ง 22 คนกลับมาในวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมานี้ว่า รัฐบาลไทยสามารถประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตร (compulsory license) กับยาต้านไวรัส Efavirenz ได้ตามข้อผูกพันขององค์การการค้าโลก (TRIPs)


 


รัฐบาลไทยไม่ได้กระทำสิ่งผิดพลาดจากกฎหมายระหว่างประเทศหรือกฏหมายภายในประเทศ และ USTR ไม่มีความต้องการให้หน่วยงานใดของรัฐบาลสหรัฐเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับการตัดสินใจของรัฐบาลไทยในครั้งนี้


 


สำหรับสาเหตุที่กระทรวงสาธารณสุขต้องออกประกาศบังคับใช้สิทธิในการผลิตยาโดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของสิทธิบัตรก่อนนั้น รศ.ดร.จิราพรกล่าวว่า เป็นผลมาจากปัญหาการเข้าถึงยาในปัจจุบันของไทยโดยตรง ผู้ป่วยไทยมีปัญหาในการเข้าถึงยาระดับหนึ่ง เนื่องจากราคายา โดยเฉพาะยาอันมีสิทธิบัตร ซึ่งมีผู้ผลิตรายเดียวมีราคาสูงมาก บางชนิดสูงกว่าราคาในต่างประเทศเป็น 10 เท่า จึงมีความพยายามจะเรียกร้องกันมาแล้วตั้งแต่ 4-5 ปีก่อน "แต่ไม่สำเร็จ เพราะถ้าไม่ใช่รัฐบาลที่มีคุณหมอมงคลเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ก็คงทำไม่ได้" รศ.ดร.จิราพรกล่าว


 


อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคำตอบของ USTR จะยืนยันว่า ประเทศไทยสามารถนำมาตรการ compulsory license มาใช้บังคับได้ก็ตาม แต่กระทรวงพาณิชย์ก็ยังมีความเป็นห่วงในแง่ที่ว่า ก่อนที่กระทรวงสาธารณสุขจะออกประกาศบังคับใช้สิทธิในการผลิตยาทั้ง 3 รายการนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้มีการหารือกับเจ้าของสิทธิบัตรยานั้นๆ เพื่อชดเชยการใช้สิทธิหรือไม่


 


ประกอบกับนายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เอง ได้แนะนำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเปิดการหารือกับเจ้าของสิทธิบัตรยาในเรื่องของการชดเชย เพื่อลดแรงกดดันที่เกิดขึ้นจากฝ่ายสหรัฐ


 


ขณะที่นางสาวชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า กรมเจรจาฯได้ประสานงานร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลเรื่องสิทธิบัตร สำหรับการดำเนินการดังกล่าวของกระทรวงสาธารณสุข เห็นว่าเป็นไปตามกฎหมาย พ.ร.บ. สิทธิบัตรของไทย ถ้าหากเจ้าของสิทธิเห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิบัตรก็ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายไทย และหากรัฐบาลสหรัฐเห็นว่าเป็นการกระทำที่ผิดหรือขัดต่อหลักเกณฑ์องค์การการค้าโลก (WTO) ก็ต้องให้มีกระบวนการ consultation กับรัฐบาลของไทยต่อไป


 


ทางด้านผู้บริหารสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (PReMA) ได้ออกมาแสดงความเห็นในเรื่องปัญหาสิทธิบัตรยาที่เป็นปัญหาอยู่ว่า ที่ผ่านมาอาจจะเป็นการพูดกันคนละครั้งและไม่ได้มีเวลาที่จะมานั่งคุยกันอย่างจริงๆ จังๆ จึงทำให้ภาพที่เกิดขึ้นมีความขัดแย้งกัน อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวมองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมีทางออกและแนวทางที่น่าจะเป็นไปได้ "ก็คือ สมานฉันท์ ทุกฝ่ายควรมีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน และเรื่องที่เกิดขึ้นก็น่าจะจบลงด้วยดี และไม่น่าจะเป็นการใช้อำนาจบีบบังคับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด"


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net