Skip to main content
sharethis

ประชาไท - 9 .. 2550 วานนี้ (8 ..) เวลา 9.30. ที่อาคารรัฐสภา 3 มีการประชุมคณะกรรมาธิการ(กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยมี น..ประสงค์ สุ่นศิริ เป็นประธาน โดยฝ่ายเลขานุการกรรมาธิการ ได้ตั้งเรื่องให้พิจารณาเพิ่มเติม 2 ข้อ คือ ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ง่ายขึ้น โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขได้ และเขียนบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญให้องค์กรอิสระที่ยังไม่หมดวาระอยู่จนครบวาระ


 


เสนอ "ประชามติ" แก้รธน.ได้


นายประพันธ์ นัยโกวิท กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยประชาชนสามารถแก้ไขได้ง่าย ด้วยวิธีประชามติซึ่งเป็นประชาธิปไตยทางตรงนั้น เสนอให้นำมาใช้ในกรณีที่กลไกตามปกติในการแก้รัฐธรรมนูญทำไม่ได้ เช่น ในรัฐธรรมนูญ 40 แม้จะกำหนดให้แก้ไขรัฐธรรมนูญได้ง่าย โดยให้ ส.. หรือสว. เข้าชื่อ 1 ใน 5 และใช้เสียงในสภาครึ่งหนึ่งก็สามารถแก้ไขได้ แต่ปัญหาคือหากใครมีเสียงในมือเกินครึ่งหนึ่งก็สามารถจะแก้หรือไม่แก้รธน.ได้


 


"ในกรณีนี้ อาจกำหนดให้ประชาชน 50,000 คนสามารถเข้าชื่อเสนอให้ ส.. จำนวน 1 ใน 5 เซ็นรับรอง ว่าควรแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นนั้น จากนั้นส่งต่อให้ประธานรัฐสภาส่งไปให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดทำประชามติ"


 


ควรระบุ "ตุลาการภิวัฒน์" ในรธน.


ด้านนพ.ชูชัย ศุภวงศ์ กล่าวว่า แม้กลไกปกติทำงาน แต่เป็นกลไกที่ฉ้อฉลอย่างที่เราเคยประสบกันมา ประชาชนก็น่าจะเข้าถึงกระบวนการตุลาภิวัตน์ได้ ไม่เช่นนั้นเราต้องรอกลไกอื่นๆ ทางสังคมจนล่มสลายอย่างที่ผ่านมา


 


"กระบวนการตุลาภิวัฒน์จะต้องกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน โดยเป็นกระบวนการที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ เช่น กรณีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เรื่องการแปรรูป กฟผ. ซึ่งเป็นช่องทางที่ประชาชนจะเข้าถึงและป้องกันความเสียหายได้มาก เพราะฉะนั้น จึงควรให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยตรง"


 


ประชาชนแก้ รธน.ได้ "บางหมวด"


นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ กล่าวว่า เห็นด้วยว่าประชาชนจะดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ตามสมควร แต่ฝากข้อสังเกตว่า จำเป็นหรือไม่ว่าบางหมวดให้แก้ไขได้ยาก ไม่เช่นนั้นจะเป็นปัญหาในอนาคต เช่น หมวด 1 ที่ว่าด้วยประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ หมวด 2 ว่าด้วยพระมหากษัตริย์


"ให้ นายกฯ -รมต. ที่รอลงอาญาพ้นจากตำแหน่งหรือไม่"


 


ต่อมา มีการอภิปรายถึง 20 ประเด็นคำถามที่จะถามประชาชน โดยนายจรัญ ภักดีธนากุล ประธานคณะอนุกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยสถาบันการเมือง ได้รายงานต่อที่ประชุม ถึงผลการประชุมของคณะอนุกมธ.ว่า คณะอนุกมธ.เห็นด้วยกับ 20 ประเด็นทั้งหมด เพียงแต่ขอปรับรายละเอียดหรือถ้อยคำให้ชัดขึ้น ที่เพิ่มเติมเข้ามาข้อหนึ่ง คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ว่ารัฐมนตรีที่ต้องคำพิพากษาโทษจำคุก แต่รอการจำคุก ไม่ได้รับโทษจำคุกจริง ทำให้ไม่ต้องขาดคุณสมบัติจากการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี


 


ทางอนุฯ เห็นว่า ขัดต่อเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ 2540 อย่างชัดเจน แต่เมื่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร ทำให้เกิดปัญหาเรื้อรัง จึงอยากให้เขียนในรัฐธรรมนูญให้ชัด เมื่อไม่ต้องการคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญแบบนั้น ก็ควรฟังเสียงสะท้อนจากประชาชนด้วย โดยขอกำหนดให้ชัดว่า "กรณีที่นายกฯ และรัฐมนตรี ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก แม้จะรอลงอาญา ก็ต้องพ้นจากตำแหน่งทันทีหรือไม่"


 


หนุน "ต้องคำพิพากษาว่ามีความผิด หลุดจากตำแหน่งทันที"


นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม อภิปรายต่อว่า การพิจารณาของศาลยุติธรรมตามปกติ กินเวลายาว บางครั้งเป็นรัฐมนตรีครบ 4 ปี ศาลก็ยังไม่ตัดสิน ดังนั้น ควรระบุว่า การต้องคำพิพากษาว่ามีความผิด ให้หลุดจากตำแหน่งทันที เพราะถือว่า คนๆ นั้นไม่สะอาด ทั้งนี้ อยู่บนฐานว่าศาลเชื่อถือได้


 


"นอกจากนายกฯ หรือรัฐมนตรีแล้ว เห็นว่าควรรวมถึงนักการเมืองระดับสูง องค์กรอิสระ เช่น กกต. ... เนื่องจากองค์กรเหล่านี้เป็นองค์กรสำคัญในรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้น การทำงานต้องระมัดระวังและตรงไปตรงมาให้มากที่สุด เพื่อให้การเมืองบริสุทธิ์มากขึ้น"


 


นอกจากนี้ เสนอให้มีการจำกัดอำนาจการใช้จ่ายของนายกรัฐมนตรี เนื่องจากที่ผ่านมา นายกฯมีอำนาจทั้งทางตรงทางอ้อมในการใช้จ่ายงบแผ่นดินโดยไม่มีขีดจำกัด เพราะสภาผ่านงบประมาณ แต่ไม่ระบุรายละเอียดว่าจะนำไปใช้อะไรบ้าง


 


เสนอให้ทบทวนแก้ไขสัญญาสัมปทานที่ทำแล้วที่ทำให้รัฐเสียเปรียบได้ เนื่องจากที่ผ่านมามีหลายกรณี เช่น บริษัทโทรศัพท์มือถือรายหนึ่งที่เข้ามาเล่นการเมือง จากนั้นขอแก้ไขสัมปทานจาก 20 ปี เป็น 25 ปี และขอลดเงินสัมปทานที่ต้องจ่าย โดยเข้าไปเปลี่ยนบอร์ดทั้งชุด แล้วแก้ไขสัญญาผ่านการอนุมัติของรัฐมนตรีคมนาคม เป็นการฉ้อฉลที่ทำให้รัฐเสียหายเป็นหมื่นล้าน


 


เสนอถามประชาชน ม.7 ใครจะวินิจฉัย


นายสุพจน์ ไข่มุกด์ กล่าวว่า กรณีมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ 40 จะเห็นว่าระยะเวลาที่ผ่านมามีปัญหามากว่าใครจะเป็นผู้วินิจฉัย บางกลุ่มบอกให้เป็นพระราชอำนาจ ซึ่งยังถกเถียงกันไม่สิ้นสุด ตอนนี้จึงยังไม่มีหน่วยงานใดที่จะวินิจฉัย จึงเสนอว่าจะถามประชาชนด้วยไหมในมาตรานี้ และจะให้ศาลวินิจฉัยหรือไม่


นอกจากนี้ เสนอว่า ในกรณีนายกฯ เดินทางไปต่างประเทศเพื่อเจรจาผลประโยชน์ให้มารายงานต่อรัฐสภา ยกเว้น กรณีความมั่นคง เช่นเดียวกับที่นายกฯ สุรยุทธ์ทำ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกับพ...ทักษิณ ที่ถูกกล่าวหาว่า ไปเจรจาผลประโยชน์ส่วนตัว


 


สถาบันที่แตะไม่ได้ แต่ตรวจองค์กรอื่นได้ ถูกต้องหรือไม่


ขณะที่นางสดศรี สัตยธรรม กล่าวถึงกรณีมีผู้เสนอให้ถามประชาชน ควรลดจำนวน ส..หรือส.. หรือไม่ ว่า จะเป็นการชี้นำ หากที่ประชุมยังไม่มีข้อยุติว่าควรลดจำนวนลง ก็ควรตั้งคำถามกว้าง เพื่อรับฟังฝ่ายพรรคการเมือง


 


"ในฐานะที่เคยผ่านงานศาลและก... ในปัจจุบัน ก... ถูกตรวจสอบโดยศาลมาตลอด ไม่ได้ทำงานอย่างอิสระมากมายถึงขนาดที่ทำงานได้โดยไม่มีใครยับยั้งหรือไม่สามารถตรวจสอบได้"


 


"ในฐานะที่เคยเป็นตุลาการมาก่อน ถามว่า ขณะนี้ที่อยู่ในช่วงตุลาการฟีเวอร์ อะไรๆ ก็รู้สึกว่าศาลสำคัญมาก เป็นสถาบันที่แตะต้องไม่ได้ ขอถามในฐานะประชาชนคนหนึ่งว่า ศาลสามารถถูกตรวจสอบได้หรือไม่ ศาลมีความซื่อตรง เที่ยงตรงแค่ไหนเพียงใด ซึ่งต้องพิจารณาว่า ถ้ามีสถาบันที่แตะต้องไม่ได้เลย แล้วสามารถตรวจสอบได้ทุกองค์กร จะถูกต้องหรือไม่"


 


ไม่ควรดึงศาลเข้ามาเกี่ยวกับการเมือง ศาลต้องทำหน้าที่ให้ความยุติธรรม ถ้าดึงศาลเข้ามาเกี่ยวกับการเมืองเมื่อไหร่ ศาลจะไม่เป็นศาล และดิฉันวิตกว่า ในวันข้างหน้า ถ้ายังมีกระแสศาลฟีเวอร์มาก ศาลก็จะตกต่ำ


 


ทั้งนี้ นางสดศรีได้แสดงความเห็นด้วยว่า เนื่องจากงบลับมีจำนวนมาก ควรจะต้องมีองค์กรตรวจสอบงบลับหรือไม่


 


ประชามติ VS. รับฟังความเห็น


นายศรีราชา เจริญพานิช แสดงความเห็นว่า ยังมีความเข้าใจไขว้เขวเรื่องประชามติกับการรับฟังความคิดเห็น โดยอธิบายว่า ผลของประชามติกับการรับฟังความคิดเห็นนั้นต่างกัน ประชามติคือ ลงคะแนนว่าเอาไม่เอา ผลออกมาก็เป็นไปตามนั้น แต่การรับฟังความเห็น ที่มักใช้กับผังเมืองที่มีผลกระทบถึงบุคคล


 


"ยกตัวอย่าง ถ้าไปรับฟังมาว่า นายกฯ ต้องมาจาก ส..เท่านั้น เราต้องร่างตามที่เขาสั่งหรือ ผมว่าไม่จำเป็น เพราะหากเราไม่เห็นตามนั้น เราก็อธิบายได้ ไม่อย่างนั้นก็ไม่ต้องเอาคนที่มีความรู้ความสามารถมาร่างรัฐธรรมนูญ"


 


"เรายังเข้าใจไขว้เขวและประชาชนก็ตู่เอาด้วยว่าสิ่งที่เขาเสนอมานั้นเราต้องทำตาม ยืนยันว่า การรับฟังความคิดเห็นเป็นการรับฟังภาพสะท้อนของสังคมที่เรานำมาพิจารณาประกอบการร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น ไม่ใช่ประชามติที่เราจะต้องปฏิบัติตาม


 


"บางครั้งการตั้งประเด็นคำถามต่างๆ เมื่อตั้งแล้วเกิดอคติ (bias) ตั้งแต่เริ่มต้น คำตอบก็อคติ แล้วเราจะเอาอคติไปเป็นฐานหรือ ผมว่าไม่ใช่ ฐานความคิดสามารถทำได้ด้วยเหตุผล"


 


ต่อมา น..ประสงค์ กล่าวว่า การรับฟังเสียงประชาชนจากข้างนอก เป็นเรื่องที่เรารับฟังทุกกลุ่ม แต่เสียงเหล่านั้นเป็นเพียงนำมาประกอบการพิจารณายกร่างฯ แม้เป็นเสียงส่วนใหญ่ แต่ถ้าเปรียบเทียบเหตุผลแล้ว อะไรเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยมากที่สุด กรรมาธิการคงเลือกตรงนั้น


 


นายกฯ-รมต.เบี้ยวตอบกระทู้ 3 ครั้ง เจอไม่ไว้วางใจทั้งคณะ


นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ กล่าวว่า การตั้งคำถามว่าควรลดจำนวน ส.. หรือส.. หรือไม่ เป็นคำถามตื้นๆ ไป ควรถามในเชิง passive ว่า ควรเพิ่มจำนวนประชากรขั้นต่ำต่อจำนวน ส.. โดยให้เหตุผลว่า จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นจากเดิมก็ควรเพิ่มสัดส่วนประชากร ตรงนี้น่าจะเป็นจุดขายที่ถูกต้องมากกว่า โดยเป็นประเด็นที่เกี่ยวโยงกับการศึกษาและวิจัย ไม่ใช่ไปลดเขา ถ้าลดก็จะมีกระแสต่อต้านแรง


 


กรณีการมีผลประโยขน์ทับซ้อน ควรกำหนดไว้ในคุณสมบัติของนายกฯ รวมถึง ส.. .. และนักการเมืองท้องถิ่นว่า บุคคลนั้นต้องไม่เคยเป็นลูกจ้าง ผู้รับสัมปทานกับรัฐบาล หรือเป็นญาติ ก่อนสมัครรับเลือกตั้ง 2 ปี รวมทั้งระหว่างดำรงตำแหน่ง และหลังพ้นจากตำแหน่ง 2 ปีด้วย


 


เรื่องการตรวจสอบ เราไม่เคยสามารถอภิปรายรัฐมนตรีได้ แม้กุมเสียงข้างมากในสภา แต่หากมีประเด็นเรื่องทุจริตต้องมาตอบ ไม่ใช่อ้างรัฐธรรมนูญว่ามีเสียงข้างมาก ไม่ได้ เพราะเป็นประเด็นศักดิ์ศรี คุณธรรม จริยธรรม หากไม่มาตอบเท่ากับไม่ให้เกียรติประชาชน เขาเสนอว่า ควรกำหนดให้นายกฯ และรัฐมนตรีที่ไม่มาตอบกระทู้ในประเด็นทุจริตถึง 3 ครั้งต้องอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ทั้งคณะ


 


ประเด็นการมีส่วนร่วมของประชาชน หากจะเขียนให้บัญญัติรับรองสิทธิประชาชน ไม่ใช่เขียนว่าให้สิทธิอะไรบ้าง เพราะสิทธิของประชาชนเป็นสิทธิอยู่แล้วตามอนุสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ เขาเสนอให้รับรองสิทธิของประชาชนว่าองค์กรใดที่จะก้าวล่วงสิทธิของประชาชนนั้นต้องส่งกฎหมายเข้ามายังรัฐสภาเพื่อเอาสิทธิของประชาชนไป


 


ไม่ให้อำนาจนายกฯ โยกย้าย ขรก.


นายธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย กล่าวว่า ควรแก้ปัญหาความอิสระของข้าราชการประจำจากข้าราชการการเมืองเนื่องจากที่ผ่านมา ข้าราชการการเมืองสามารถให้คุณให้โทษโดยมิชอบแก่ข้าราชการประจำได้ มีการโยกย้ายข้าราชการประจำ โดยข้าราชการอาจต้องจำนนต่ออำนาจ เสนอว่า อาจหากลไกแบ่งเส้นไม่ให้การเมืองประจำก้าวล่วงเข้าไป เช่น ไม่ให้อำนาจนายกฯ ในการโยกย้ายข้าราชการ แต่เป็นหน้าที่ขององค์กรกึ่งตุลาการพิจารณา


 


เสนอตั้งงบหนุนการเมืองภาคพลเมือง


นพ.ชูชัย กล่าวว่า ควรมีประเด็นถามประชาชนว่า ควรลดจำนวนประชาชนในการเสนอกฎหมาย หรือถอดถอนนักการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นหรือไม่ ควรมีกองทุนสนับสนุนการเมืองภาคพลเมืองหรือไม่ เช่น การจัดเวทีนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เวทีพบปะปราชญ์หรือผู้นำชาวบ้านที่ไม่เกี่ยวกับนักการเมือง ค่าวิจัยการจัดทำกฎหมายที่เสนอโดยประชาชน หรือค่าใช้จ่ายในการใช้สิทธิถอดถอน รวมรายชื่อ เนื่องจากการเมืองภาคพลเมือที่ผ่านมามีเจตนารมณ์ที่ดี แต่การเกิดขึ้นของการใช้สิทธิยังไม่ชัดเจน ขณะที่เราใช้เงินจำนวนมากอย่างง่ายดาย เช่น พยุงวิกฤตตลาดหลักทรัพย์หลายหมื่นล้านบาท และใช้เงินมากมายสนับสนุนกิจกรรมพรรคการเมือง ถ้าเราใช้เงินเพียง 5-10% จะทำให้ประชาธิปไตยโดยฐานรากมีความเข้มแข็งมากขึ้น


 


ทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการไม่ได้กำหนดข้อเสนอของนพ.ชูชัย เป็นประเด็นที่จะถามกับประชาชน ทำให้ นพ.ชูชัยทักท้วง แต่นายสมคิดให้เหตุผลว่า ฝ่ายเลขานุการไม่เห็นด้วย เนื่องจากเรื่องบางเรื่อง ถามไปประชาชนก็บอกว่า เห็นด้วยอยู่แล้ว


 


ปิดที่ 28 ประเด็นคำถาม มีเพิ่มส่งต่อเจิมศักดิ์ได้อีก


อย่างไรก็ตาม เมื่อมีกรรมาธิการหลายคนท้วงติงให้เพิ่มเติมคำถามของพวกเขาลงไปด้วย นายสมคิดได้ชี้แจงว่า ไม่ได้ตัดคำถาม ทุกประเด็นได้ถูกบันทึกไว้แล้ว โดยขณะนี้มี 28 คำถามที่ชุดของนายจรัญได้แก้ไขเพิ่มเติม จากนั้นจะส่ง 28 คำถามและบันทึกข้างต้นให้นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญประสานการมีส่วนร่วมและประชามติ โดยหากมีผู้ต้องการเสนอเพิ่มให้เขียนส่งไปยังนายเจิมศักดิ์ได้อีก


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net