เขตปกครองพิเศษ : รัฐธรรมนูญใหม่กับการแก้ปัญหาชายแดนใต้


ในขณะที่มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมานั้น ถามว่าประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จะใช้โอกาสนี้ในการผลักดันการแก้ปัญหาในพื้นที่อย่างไร ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ

ด้วยเหตุนี้ สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย ร่วมกับคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ และ

Fridrich ebert stiftung จัดเสวนาเพื่อระดมความคิดเห็นต่อการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 เพื่อนำเสนอต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2550 ที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา

โดยข้อเสนอทั้งหมดจะถูกนำไปประมวลแล้วนำเสนออีกครั้ง ในเวทีประชาธิปไตยประชาชน ระหว่างวันที่ 20 - 23 กุมภาพันธ์ 2550 ที่สำนักงานกลางนักเรียนคริสเตียนแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร

ประเด็นหนึ่งซึ่งเป็นทางเลือกของการแก้ปัญหาที่ผู้จัดตังเป็นหัวข้อการเสวนา คือ "การจัดตั้งเขตปกครองพิเศษ" ซึ่งเริ่มต้นด้วยการตั้งโจทก์ของนายสมชาย หอมลออ กรรมการรณรงค์สิทธิมนุษยชน สภาทนายความ ที่ว่า

"เนื่องจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งมีลักษณะพิเศษ ดังนั้นในด้านการเมืองการปกครองเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีลักษณะพิเศษด้วย"

สมชายบอกว่า สิ่งที่ต้องการเน้นมีสามประเด็น คือ ปัญหาเรื่องรัฐธรรมนูญอยู่ที่การปฏิบัติมากกว่าหรือไม่ สอง เราเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 โดยทั่วไปใช้ได้ ถ้ามีการปฏิบัติอย่างจริงจังหรือให้โอกาสรัฐธรรมนูญฉบับเดิมมีอายุยืนยาวขึ้น โดยจะแก้ไขบ้างบางส่วน สาม สำหรับหน่วยงานของรัฐแล้วภาคประชาชน จะเข้าไปตรวจสอบได้อย่างไร การตั้งเขตปกครองพิเศษจะแก้ปัญหาได้หรือจะซ้ำเติมปัญหายิ่งขึ้น ดังเช่น ในประเทศจีน หรือประเทศแคนาดา

แต่ละคนที่เข้าร่วมเสวนาจะมีความเห็นหรือข้อเสนอแนะอย่างไรในประเด็นดังกล่าว เชิญติดตามได้

นายมูฮัมหมัดอายุบ ปาทาน กล่าวว่า กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญจะช่วยแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ เพราะเป็นกระบวนการรับฟังและการขับเคลื่อน ซึ่ง 3 ปีที่ผ่านมา ไม่มีการขับเคลื่อนเลย เพราะคนมีความอ่อนแอและหยุดนิ่ง ความคิดไม่เดิน มีความแตกแยกและความรุนแรงสูง หากมีเวทีให้ระบายจะลดความรุนแรงได้


"

ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่รัฐยังไม่เข้าใจความคิดของฝ่ายก่อการ เพราะฉะนั้นต้องลงไปฟังเขา ไปคุยกับผู้ที่ถูกเรียกตัวมากหรือผู้ที่อยู่ในคุกซึ่งจะมีประโยชน์มาก ผมเคยไปฟัง มุมเขากับเราคนละเรื่องกันเลย ผมถามว่าคิดอย่างไรถึงเอาไปฟันกับปืน เขาตอบว่า มึงกับกูเป็นเพื่อนกัน มึงทำงานเช้าถึงเย็นได้เงิน 15,000 บาท แต่กูสอนตาดีกา สอนกลางคืนด้วยได้ 4,500 เพราะฉะนั้นเขาคิดว่านี่เป็นโอกาสสำหรับเขา ที่ผ่านมากรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติไปฟังอยู่บ้าง มีทนายตั้งคณะไปฟังพวกเขา เพราะฉะนั้น ส...ก็ควรทำเรื่องนี้ด้วย

รายงานของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ ทำมาจากข้างล่างขึ้นสู่ข้างบนและมาจากมาจากฐานองค์ความรู้ในท้องที่ ดังนั้นสภาร่างรัฐธรรมนูญต้องนำไปคิดต่อด้วย โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งต้องเป็นนโยบายความมั่นคงเฉพาะ ซึ่งก่อนหน้านี้สภาความมั่นคงแห่งชาติได้ทำมาแล้ว แต่ต้องทำให้มันสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความทับซ้อน ต้องมีคนดูแลและนโยบายการบริหารจัดการเฉพาะในทิศทางที่เหมาะสม

ปัญหาเชื้อชาติกับบริหารจัดการของรัฐ จะพูดแยกส่วนกันไม่ได้ ปัญหาเรื่องสิทธิมีแน่นอน เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นการละเมิดสิทธิของคนก็จะเกิดง่ายขึ้น ดังกรณีคนหายในพื้นที่มีสถิติ

30 คน ขณะที่คนทำงานด้านสิทธิยังมีน้อย ส่วนทนายก็ต้องมีมากขึ้น ที่ผ่านมาปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ถูกสื่อสารจากข้างนอก คนข้างในไม่ได้สื่อสารออกไปข้างนอก ซึ่งจะสื่อสารจากข้างในออกมาสู่ข้างนอกได้อย่างไร ในเมื่อการขับเคลื่อนจากข้างในยังมีน้อย ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ระดับนโยบายและประดับปฏิบัติไม่ร่วมมือกัน จึงเกิดปัญหาการบริหารการจัดการในพื้นที่ หลักการดีแต่ไม่ได้ทำในทางปฏิบัติดังนั้น รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ในมาตรา 38 ซึ่งชัดเจนมาก มาตรา 46 เรื่องการปกครองท้องถิ่น เพราะฉะนั้นต้องคงมาตราดังกล่าวไว้ แต่ต้องมองในแง่ยุทธวิธีขับเคลื่อน เพื่อคนในท้องถิ่นสื่อออกมาข้างนอกมากขึ้น

โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ

..2540 มาตรา 38 ระบุว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูณ์ในการนับถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติหรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในการใช้เสรีภาพดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองมิให้รัฐกระทำการใดๆ อันเป็นการรอนสิทธิหรือเสียประโยชน์อันควรมีควรได้ เพราะเหตุนับถือศาสนา นิกายของศาสนา ลัทธินิยมในทางศาสนา หรือปฏิบัติตามศาสนบัญญัติหรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อ แตกต่างจากบุคคลอื่น"

นายมูฮัมหมัดอายุบ เสริมในเรื่องการร่างกฎหมายสำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยว่า มองในเชิงกฎหมาย สิ่งที่มองข้ามไม่ได้เลย คือ ฐานคิดสามอย่าง คือ คนมลายู ประวัติศาสตร์ปัตตานี และ ศาสนาอิสลาม ทั้งสามทับซ้อนกันอยู่ จะละเลยไม่ได้ มิฉะนั้นจะไม่สอดคล้องทันที ตัวอย่าง กรณีการออกกฎหมาย ต้องเป็นกฎหมายที่ทิ้งหลักการศาสนาอิสลามไม่ได้ ไม่เช่นนั้นจะมีศาลชารีอะห์ทำไม เพราะฉะนั้นฐานคิดสามตัวนี้ ต้องมีข้อกฎหมายเฉพาะ

"ถามว่าทำไม ข้อแรก คือ จะเอากฎหมายของคนทั้งประเทศมาใช้กับคน

3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ได้ เพราะกฎหมายไทยแยกฆราวาสออกจากคณะสงฆ์ ข้อสอง สภาชูรอ ที่ยังทำไม่ได้ เพราะรัฐไทยแยกศาสนจักรออกจากอาณาจักร

นอกจากนี้ การร่างกฎหมายในสามจังหวัดต้องไม่พ้นจากองค์ความรู้ของคนในพื้นที่ ต้องมีนักการศาสนาหรือใครต่อใครมาระดมความคิดกัน ถามว่า การตั้งโจทก์ว่าที่นี่จะมีลักษณะพิเศษอย่างไรคนในพื้นที่ตั้งโจทก์อย่างไร ชุมชนตั้งโจทก์อย่างไร

คนที่อยู่ในพื้นที่จะอธิบายอย่างไรว่า คนที่ต่างวัฒนธรรมจะไม่ถูกลิดรอนสิทธิ เพราะฉะนั้น มาตรา

38 ชัดมาก ดีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ยังมีมาตราที่น่าสนใจคือ มาตรา 46 มาตรา 58 ข้อมูลเรื่องข่าวสารสาธารณะ และมาตรา 65 หากมาตราเหล่านั้นหายไปก็เป็นที่น่าเสียดาย มาตรา 38 ค่อนข้างชัดมากมากที่สุด แต่เรื่องเขตปกครองพิเศษนั้น สังคมไทยต้องการการสะสมความรู้และต้องการคำอธิบายมาก แต่ปัญหาหนึ่งคือเราไม่ค่อยอธิบายให้คนนอกเข้าใจ"

นายสุริยา สะนิวา อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ วิทยาลัยอิสลามยะลา กล่าวว่า รู้สึกแปลกใจกับประเด็นหัวข้อ ตนเคยทำวิจัยด้านความไม่สงบใน

3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างปี 1993 - 1996 โดยสอบถามผู้นำชุมชนทั้งฝั่งไทยและฝั่งมาเลเซีย เขาตอบว่า บ้านเราต้องการความยุติธรรม ผมถามว่า อะไรคือความยุติธรรม ไม่มีใครตอบได้อย่างชัดเจน

"ขณะที่พวกแกนนำขบวนการก่อความไม่สงบขณะนั้น ตอบว่า ยุติธรรมตามหลักประชาธิปไตย คือสิทธิทางด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจและการศึกษา หมายถึง ต้องแบ่งสัดส่วนกันชัดเจน มีมุสลิมกี่เปอร์เซ็นต์ที่เป็นข้าราชการ นักการเมือง เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรมุสลิมในพื้นที่ ทำไมไม่มีผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง ส่วนความยุติธรรมในด้านการศึกษาคือ ต้องส่งเสริมให้เรียนภาษามลายูถึงมหาวิทยาลัย เหมือนกับที่มาเลเซีย ซึ่งที่นั่นคนจีนเรียนเรียนภาษาจีนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจนถึงระดับมหาวิทยาลัย แต่เขามีงานทำ คนอินเดีย เรียนภาษาอินเดียตั้งแต่อนุบาลจนจบมหาวิทยาลัย เขาก็มีงานทำเช่นกัน แต่หากต้องการเป็นข้าราชการ ทางการก็กำหนดว่าต้องสอบผ่านภาษามาเลเซีย ซึ่งให้ประเทศไทยทำเช่นนั้น

เราต้องให้เปลี่ยนนโยบายรัฐเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงตามแบบของประเทศอังกฤษ ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงความเสมอภาคทางด้านการเลือกตั้งเท่านั้น แต่มีสี่ประเด็นที่ต้องให้ความเสมอภาคกัน คือ ความเสมอภาคทางด้านการเมือง ซึ่งไม่ใช่แค่เอาคนผิดมาลงโทษ เพราะนั่นเป็นหน้าที่รัฐอยู่แล้ว แต่หมายถึง ใน

3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีมุสลิม 80 เปอร์เซ็นต์ ก็ต้องมีข้าราชการ 80 เปอร์เซ็นต์ด้วย แต่ปัจจุบันมีข้าราชการมุสลิมในพื้นที่เพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ผู้ว่าราชการต้องมาจากการเลือกตั้ง เป็นต้น ต้องใช้ระบบการเมืองแบบมาเลเซีย ที่เขากำหนดสัดส่วนของตัวแทนประชาชนตามเชื้อชาติ เช่น สมาชิกวุฒิสภา ปัจจุบันมีตัวแทนคนเชื้อสายไทย 1 คน เพราะมีคนไทยอยู่ในมาเลเซียถึง 60,000 คน

ความเสมอภาคทางด้านเศรษฐกิจ หมายถึงขณะนี้เศรษฐกิจในพื้นที่อยู่ในมือคนจีนเป็นส่วนใหญ่ ความเสมอภาคทางด้านสังคม ต้องให้เรียนภาษาของตนเองได้และต้องใช้ทำงานได้ด้วย ยกเว้นข้อเดียวคือถ้าจะเป็นข้าราชการก็ต้องใช้ภาษาไทยได้ และความเสมอภาคด้านการศึกษา"นายสุริยะ กล่าว

นายอับดุลอาซิซ ตาเดอินทร์ รองนายกสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เขตปกครองพิเศษ ยังไม่มีบทสรุปชัดเจน และต่อยอดไม่ได้ สำหรับตน ไม่ต้องการให้แยกไปเลย แต่ขอแค่จัดระเบียบสังคม ประกาศเป็นเขตปลอดอบายมุข แต่ก็ยังยาก เพราะในสมัยนายปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ก็ยังเป็นไปไม่ได้ หรืออาจทำเป็นเขตแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง ที่ไม่มีอบายมุข ในคนมาท่องเที่ยวแบบวัฒนธรรม เพราะในอดีตการศึกษาทางศาสนาอิสลามรุ่งเรืองมากในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

นายนิรามาน สุไลมาน กรรมการหอการค้าจังหวัดปัตตานี เสนอว่า เรื่องเขตปกครองพิเศษนั้น อยากให้ สภาร่างรัฐธรรมนูญ จัดทำประชามติ เช่น อาจทำให้เหมือนกับเมืองพัทยา หรือกรุงเทพมหานคร ที่เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษ

"เสนอให้ตั้งสภาชูรอ ซึ่งคล้ายกับสภาอะไรก็ได้

civil council มีอำนาจมากถึงระดับกลั่นกรอง ดูแล ประเมิน การทำงานของข้าราชการ สมาชิกมาจากทุกภาคส่วน ตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ ตรวจสอบข้าราชการที่รับเงินเดือน เสนอให้ตั้งสภาลูกขุน ซึ่งสำคัญมาก นอกจากนี้การสรรหาผู้พิพากษาสมทบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควรคำนึงถึงสัดส่วนประชากรมุสลิมด้วย เพราะคดีที่เกี่ยวข้องกับมุสลิมบางครั้งผู้พิพากษาสบทบก็ไม่เข้าในในบางเรื่อง

ควรแก้ไขระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ

..2540 โดยให้อิหม่ามดูแลความเป็นอยู่ของคนในชุมชนด้วยไม่ใช่เพียงด้านศาสนาอย่างเดียว

เสนอให้กำหนดสัดส่วนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นไปตามประชากรมุสลิมด้วย เพราะที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เข้าสังกัดพรรคมักติดกรอบที่พรรคกำหนด ไม่สามารถสะท้อนปัญหาของตัวเองอย่างแท้จริง"

นายอับดุลรอแม เจ๊ะแซ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา ในฐานะอนุกรรมาธิการศาสนาอิสลาม ในกรรมาธิการศาสนาและวัฒนธรรม สภานิติบัญญัติ กล่าวว่า พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ

..2540 ใช้มา 10 แล้ว ก็ต้องมีข้อบกพร่อง ซึ่งต้องแก้ไข แต่เวลาแก้จะยากมากเพราะมีหลายกลุ่มที่เสนอร่างแก้ไขเข้ามา บางกลุ่มต้องการให้ยกเลิกของเก่าไปหมด บางกลุ่มต้องการให้แก้บางประเด็น ถ้าเป็นอย่างนี้มุสลิมก็ทะเลาะกันเอง เพราะต่างคนต่างทำ ดังนั้นทางกรรมาธิการฯ จะประสานงานให้ทุกกลุ่มได้มาคุยกันเร็วๆนี้ เพื่อให้เสนอร่างฉบับเดียวเท่านั้น ไม่อย่างนั้นก็ไม่ผ่านแน่นอน

นางอังคณา นีละไพจิตร ประธานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ในฐานะสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญยังไม่ได้พูดถึงเรื่องเขตปกครองพิเศษมากนัก แต่ต้องฟังความเห็นโดยรวมว่าเป็นอย่างไร จะส่งผลอย่างไรกับวิถีชีวิตชุมชน ที่ผ่านมามีการเรียกร้องให้ใช้ตั้งศาลชารีอะห์ แต่ยังไม่มีรูปธรรมและรายละเอียดที่ชัดเจน

"ดิฉันทำงานด้วยความยากลำบาก ขณะมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นมุสลิมอยู่

3 คน เท่านั้น ขณะที่ดิฉันก็มีข้อจำกัดในการทำงานเพราะความเป็นผู้หญิง โดยเฉพาะการเข้าถึงกลุ่มโต๊ะครู แต่อย่างไรก็ตามยังยืนยันในหลักการเดิม ทุกคนต้องอยู่ใต้กฎหมายเดียวกัน ซึ่งบางพื้นที่ของไทยกฎหมายก็ยังเข้าไม่ถึงและรัฐธรรมนูญใหม่ไม่ใช่ว่าจะแก้ไขปัญหาได้ แต่ต้องการเสนอสิ่งดีๆ เข้ามา"

จากนั้นนายสมชายได้ประมวลความเห็นและข้อเสนอแนะ ที่ควรนำไปใส่ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยและยึดรัฐธรรมนูญปี

2540 เป็นหลัก ดังนี้

"

ที่ประชุมยอมรับการปกครองพิเศษ บนพื้นฐานการพัฒนาระบอบการปกครองท้องถิ่น ที่คำนึงถึงความเสมอภาคทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และศาสนา โดยมีสัดส่วนการเป็นตัวแทนของบุคคลในสังคมที่หลากหลาย โดยเฉพาะต้องยอมรับอัตลักษณ์ของประชาชนและชุมชน การมีส่วนร่วมของประชาชนในภาคส่วนต่างๆ

"เราสนับสนุนการตั้งสภาซูรอหรือสภาชุมชน ซึ่งไม่ได้หมายถึงแค่ชุมชนท้องถิ่น แต่หมายถึงกลุ่มที่มีอัตลักษณ์เดียวกันด้วย รวมทั้งให้มีสภาที่มีตัวแทนจากภาคประชาชน เข้าไปตรวจสอบดูแลการบริหารราชการแผ่นดินทุกระดับ ต้องแยกอำนาจสอบสวนออกจากการสืบสวน

"ประเทศไทยต้องยอมรับความหลากหลายแตกต่างเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม โดยเพิ่มคำว่า ไทยเป็นรัฐที่ประกอบด้วยบุคคล ต้องมีถ้อยคำในรัฐธรรมนูญที่แสดงให้เห็นว่า ความเสมอภาคทางการเมืองและกฎหมายอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องมีความเสมอภาคทางการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และศาสนาด้วย …

"เราจึงไม่เห็นด้วยที่จะระบุให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ"

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท