Skip to main content
sharethis

หมายเหตุ- ร่างพ.ร.บ.นี้จัดทำโดยอาจารย์ไพสิฐ พาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเชียงใหม่


เอกสารดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยโครงการข้อเสนอเพื่อการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมยั่งยืนในบริบทของไทย โดยสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)


------


 


หลักการและองค์ประกอบเขตอุตสาหกรรมยั่งยืน


ส่วนที่ 1   พัฒนาการและข้อเสนอเชิงแนวคิดในการจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมสำหรับประเทศไทย


          การเกิดขึ้นของ  " เขตอุตสาหกรรม "   ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่สำคัญคือ  นโยบายและกฎหมายของรัฐนั้นๆ  ว่าจะกำหนดให้เขตอุตสาหกรรมเป็นอย่างไร


          นโยบายในการส่งเสริมอุตสาหกรรมโดยใช้เขตอุตสาหกรรม  เป็นการจูงใจให้เกิดการลงทุนจากต่างประเทศพร้อมทั้งมีมาตราการต่างๆที่เป็นการจูงใจและอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆให้แก่ผู้ประกอบการ    การประกาศนโยบายดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของรัฐบาลต่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโดยเฉพาะจากต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุน   โดยหวังถึงความแตกต่างในด้านต่างๆโดยเปรียบเทียบไม่ว่าจะเป็นในด้านภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ  ด้านค่าใช้จ่ายในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ   ค่าที่ดิน    ค่าจ้างแรงงาน   พลังงาน   ภาษีต่างๆที่จะได้รับการยกเว้น  ฯลฯ  ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข็งขัน 


          แต่การมีเพียง  " นโยบาย "  ที่ประกาศออกมาแต่เพียงอย่างเดียวไม่เป็นการเพียงพอสำหรับความมั่นใจของผู้ประกอบการหรือผู้ลงทุนจากต่างประเทศ    ดังนั้น  การมีบทบัญญัติกฎหมายที่จะทำให้มาตราการต่างๆที่เป็นการส่งเสริมหรือสนับสนุการลงทุนจากต่างประเทศจึงเป็นการสร้างหลักประกันและความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการและผู้ลงทุนจากต่างประเทศ    ทั้งนี้  เนื่องจากบทบัญญัติกฎหมายที่รัฐบัญญัติและประกาศใช้ในระดับสากลคือสัญญาประชาคมที่ผูกพันรัฐว่าจะปฎิบัติ   และระดับความผูกพันของเงื่อนไขต่างๆที่อยู่ในรูปของบทบัญญัติในทางกฎหมายมีความมั่นคงแน่นอนกว่านโยบายที่รัฐประกาศออกมา


           ในกรณีประเทศไทย  การเริ่มจัดตั้งเขตนิคมอุตสาหกรรมดำเนินการภายใต้  ประกาศคณะปฎิวัติ  ฉบับที่ 399 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515  และมีการดำเนินการจัดตั้งเขตนิคมอุตสาหกรรมขึ้นเป็นจำนวนมาก   กระจายไปในพื้นที่ต่างๆ   ซึ่งในปัจจุบันก็มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดตั้งเขตนิคมอุตสาหกรรมที่แตกต่างไปจากเดิมตามประกาศคณะปฎิวัติ  ฉบับที่ 399  เป็นอย่างมาก   ตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522   โดยในพระราชบัญญัติดังกล่าวได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อเอื้อประโยชน์และมุ่งแก้ไขอุปสรรคที่เกิดขึ้นต่อการประกอบกิจการของผู้ประกอบการในเขตนิคมอุตสาหกรรม  และที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการของการนิคมอุตสาหกรรมในการที่จะขยายเขตนิคมอุตสาหกรรมออกไปเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ    


           แต่ในขณะเดียวกัน  ก็ควรที่จะกล่าวไว้ณ.ที่นี้ด้วยว่า   นอกเหนือจากเขตนิคมอุตสาหกรรมแล้ว  ยังมีการจัดตั้งโรงงานที่ไม่ได้อยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรม   กระจายไปยังพื้นที่อื่นๆนอกเขตนิคมอุตสาหกรรมด้วย    ตามมาตรา 30 ของพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535  โดยกรมโรงงาน   สามารถที่จะประกาศให้พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งให้เป็น " เขตประกอบอุตสาหกรรม " ได้


           นอกจากนั้น   ยังมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายอีกมากมายหลายฉบับที่ส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ  อาทิเช่น  กฎหมายที่ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน  กฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งสภาอุตสาหกรรม   กฎหมายที่เกี่ยวกับสถาบันการเงินเพื่อการส่งเสริมการประกอบอุตสาหกรรม   กฎหมายที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการส่งออกสินค้า   กฎหมายที่เกี่ยวกับแรงงาน  กฎหมายที่เกี่ยวกับการภาษีอากร   และ  กฎหมายที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม


            ในตลอดระยะเวลาที่มาเกือบ 40  ปีของการส่งเสริมการประกอบกิจการอุตสาหกรรม    การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกให้เป็นเขตพัฒนาพิเศษเพื่อรองรับการลงทุนจากต่างประเทศสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี   อุตสาหกรรมรถยนต์   และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ   นับได้ว่าเป็นการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นเขตอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยดำเนินการมา   ซึ่งแม้จะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง   แต่ในขณะเดียวกัน  ก็มีปัญหาต่างๆเกิดขึ้นมากมาย   โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาในเรื่องมลพิษและปัญหาเรื่องการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ   รวมถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงวิถีชิวิตและสภาพของโครงสร้างทางสังคมที่เกิดขึ้นในบริเวณดังกล่าวและในพื้นที่ใกล้เคียง   ดังที่ปรากฎเป็นข่าวในสื่อต่างๆมาเป็นระยะๆซึ่งเป็นข่าวที่หลุดรอดจากระบบการจัดการควบคุมข่าวผลกระทบในระดับพื้นที่มาแล้ว 


          และจากประสบการณ์ของเขตพัฒนาพิเศษดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น   ในรัฐบาลที่ผ่านมาซึ่งมีนโยบายที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก    โดยต้องการที่จะพัฒนาให้เกิดเป็นเขตส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ต่างๆให้มากที่สุดและรวดเร็วที่สุด    เพื่อต้องการที่จะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมในบางด้านที่ศักยภาพของประเทศพอจะแข่งขันได้    ดังนั้น  จึงมีความพยายามที่จะผลักดันกฎหมายที่จะสนับสนุนให้เกิดเป็น " เขตเศรษฐกิจพิเศษ "  ดังที่มีการดำเนินการมาแล้วในประเทศต่างๆ   ซึ่งในหลักการแนวคิดของกฎหมายที่ว่าด้วยขตเศรษฐกิจพิเศษนั้นจะเน้นที่การให้อำนาจแก่รัฐอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแบบครบวงจรที่จะทำให้เกิดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่เอื้อต่อการลงทุนและเป็นการดึงดูดการลงทุน   แต่เนื่องจากแนวคิดในการผลัดกันร่างกฎหมายดังกล่าวได้รับการต่อต้านเป็นอย่างมาก  และในปัจจุบันก็ยังไม่มีการดำเนินการอย่างใดต่อไปนอกจากการปรับปรุงในบางด้านที่ถูกต่อต้าน    ซึ่งในขณะนี้อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่จะต้องดำเนินการปรับปรุงร่างกฎหมายดังกล่าวตามที่คณะรัฐมนตรีชุดที่ผ่านมาสั่งการ 


             อย่างไรก็ตาม   ในปัจจุบันแม้จะมีความพยายามในการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมให้เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆมากมาย   และแทบจะทุกที่เมื่อมีการดำเนินการก็มักที่จะได้รับการคัดค้านอย่างรุนแรง   ในบางพื้นที่มีการใช้วิธีการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อให้สามารถดำเนินการได้   ในหลายๆพื้นที่ใช้มาตราการทางเศรษฐกิจเป็นการจูงใจ   ในหลายๆกรณีใช้วิธีการปิดล้อมทำให้จำยอม  ฯลฯ    ประเด็นสำคัญจากปรากฎการณ์ดังที่กล่าวมาสำหรับการพัฒนาประเทศต่อไปข้างหน้าก็คือ   หากจะต้องมีการพัฒนาอุตสาหกรรม  การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนควรจะพัฒนาอย่างไร


             ในงานศึกษานี้   มุ่งที่แนวทางการกำหนดเขตพื้นที่ ( Area Approach )เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นหน่วยที่ใช้ในการศึกษา    โดยสรุปจากประสบการณ์ด้านที่ไม่ได้ดำเนินการ  หรือที่ดำเนินการแล้วไม่ประสบความสำเร็จ   จากกรณีพื้นที่การพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ต่างๆในประเทศไทย  โดยพิจารณาประกอบกับกรณีศึกษาการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมในกรณีของต่างประเทศที่น่าจะเป็นแบบอย่างที่ดีมาจัดทำเป็นข้อเสนอที่ว่าด้วย  " เขตอุตสาหกรรมยั่งยืน "


 


              1.  ข้อเสนอเกี่ยวกับจุดยืน หลักการ  และปรัชญาของนโยบายของรัฐในการพัฒนาเขตอุตสาหกรรม    หากจะมีนโยบายที่ส่งเสริมให้เกิดเขตอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนแล้วจะต้องตั้งอยู่หลักการและปรัชญาการป้องกัน ( Preventive  Oriented ) เป็นหลัก   ให้ความสำคัญต่อความเป็นมนุษย์   และ ความสมดุลและศักยภาพของสิ่งแวดล้อม 


                     ดังนั้น  บนปรัญชาและหลักการและจุดยืนดังกล่าว   ในการดำเนินการทั้งหลายที่จะนำไปสู่การจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมในทุกๆขั้นตอนจะต้องผ่านการตรวจสอบอย่างเคร่งครัดและเข้มงวดว่าตั้งอยู่บนจุดยืนของหลักการและปรัชญาดังกล่าวหรือไม่   และเมื่อมีการดำเนินการไปแล้วก็จะต้องตรวจสอบอยู่เสนอว่ายังคงเป็นไปตามจุดยืน  หลักการ  และปรัชญาตามที่ได้ประกาศไว้หรือไม่   และหากไม่เป็นไปตามจุดยืน  หลักการ  และปรัชญาดังกล่าวแล้วจะมีมาตราการดำเนินการอย่างไร  


                      ทั้งนี้เนื่องจากที่ผ่านมาการดำเนินการในแต่ละพื้นที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักการดังกล่าว   หากแต่เน้นหรือให้ความสำคัญต่อ   ความสำเร็จในการจัดทำพื้นที่ให้เป็นเขตอุตสาหกรรม  แล้วต่อจากนั้นนำเอาอุตสาหกรรมมาลงในเขตพื้นที่นั้นๆโดยการใช้แรงจูงใจทุกๆทางที่จะทำให้เกิดการขายพื้นที่ได้   ดังนั้นที่ผ่านมาจึงเป็นการใช้แนวทางหรือปรัชญาการดำเนินการแบบ Can Do  และแบบ  ทำไปแก้ไป     


                       จากการศึกษาสังเคราะห์ข้อมูล  กรณีศึกษา  และสถานขององค์ความรู้ที่เกี่ยวกับปัญหาสืบเนื่องจากการพัฒนาประเทศโดยอาศัยรูปแบบการพัฒนาจากประเทศที่ประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจ  ซึ่งประเทศต้นแบบส่วนใหญ่แล้วจะเป็นประเทศอุตสาหกรรม   ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศเพื่อให้ประเทศพัฒนาเป็นประเทศที่ทันสมัยจะเห็นได้อย่างชัดเจนจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจ  และนโยบายของรัฐที่ผ่านมา  ดังที่ปรากฎในงานศึกษาจำนวนมากที่เป็นการประเมินและสะท้อนความไม่สมมาตรของการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่


                     ภายใต้นโยบายที่ดำเนินการอย่างเข้มงวดที่ถูกผลักดันโดยกลุ่มผลประโยชน์อย่างน้อยๆในยุคแรกมีอยู่สามกลุ่มใหญ่   และเนื่องจากในขณะนั้นรัฐไทยถูกครองงำโดยระบบราชการทหารและข้าราชการสายเทคนิควิชาการซึ่งประสานความร่วมมือมาจากหลากหลายหน่วยงาน   ดังนั้นจึงทำให้เกิดนโยบายที่ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการพัฒนาที่ไม่สมดุล  กล่าวคือ เป็นการพัฒนาที่เกิดขึ้นและตกอยู่ในอิทธิพลของคนกลุ่มน้อย  เป็นการพัฒนาที่มีลักษณะพึงพิงต่างประเทศในแทบจะทุกๆด้าน  ตั้งแต่  ความรู้  เทคโนโลยี  เงินทุน  บุคคลากร  และตลาด       ด้วยเหตุดังนั้น  เมื่อไม่ได้เป็นผู้ที่สามารถควบคุมกำกับปัจจัยการผลิตในส่วนที่สำคัญๆทั้งหมดนอกจากวัตถุดิบ   และไม่สามารถที่จะมีอิทธิพลในการกำหนดราคาสินค้าได้ทิศทางในการผลิตทั้งหมดซึ่งส่งผลต่อมายังทิศทางในการพัฒนาทั้งหมดที่ดำเนินการมาภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตลอดระยะเวลาเกือบห้าสิบปีก็ยังอยู่ในภาวะความเสี่ยงจากเงื่อนไขต่างๆอย่างต่อเนื่อง  ทั้งนี้เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงและการขยายตัวและเปิดประเทศรับการลงทุนของประเทศต่างๆมากมาย   อีกทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในการผลิตและการเปลี่ยนแปลงของตลาดสินค้า   ในประการสุดท้ายคือพัฒนาการทางการเมืองในปัจจุบันที่เปิดกว้างมากขึ้นเกิดการเคลื่อนไหวในทางการเมืองภายในประเทศต่างๆ   มีการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารอย่างกว้างขวาง   รวมถึงการให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดี    ทั้งสี่ปัจจัยดังกล่าวทำให้จึงการเคลื่อนย้ายการลงทุนจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง   ดังนั้นการเคลื่อนย้ายของทุนในภาคอุตสาหกรรมจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับภาคอุตสาหกรรมไทยที่ทำให้เกิดความตื่นกลัวว่าการลงทุนจากต่างประเทศไหลไปยังประเทศอื่นที่มีเงื่อนไขในการส่งเสริมการลงทุนและการได้เปรียบในเชิงเปรียบเทียบในการผลิตและจำหน่ายสินค้าที่ดีกว่า 


                   2.  การกำหนดเขตพื้นที่ที่จะดำเนินการจัดตั้งเป็นเขตอุตสาหกรรมยั่งยืน


                 การกำหนดให้เขตหนึ่งเขตใดเป็นเขตอุตสาหกรรมที่จะมีความยั่งยืนนั้น  ต้องคำนึงถึง  ศักยภาพของพื้นที่เป็นหลักสำคัญที่สุดว่าสามารถที่จะรองรับผลกระทบในด้านต่างๆได้หรือไม่  มากน้อยเพียงใด    หากใช้แนวทางในการวิเคราะห์ความเสี่ยงในด้านต่างๆแล้วศักย์ภาพของพื้นที่กับประเภทของอุตสาหกรรมนั้นเป็นอย่างไร   (  โยงกับเรื่อง  การประเมินผลทางด้านต่างๆเพื่อประกอบการตัดสินใจ  และโยงกับระบบการตรวจสอบประเมินผล )


                     กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ  หลักการข้อนี้คือการใช้ศักยภาพในทุกๆมิติของพื้นที่เป็นการกำหนดประเภทของอุตสาหกรรม   มากกว่าที่จะให้เงินทุนในการประกอบอุตสาหกรรมมากำหนดพื้นที่


                      ดังนั้น  ความจำเป็นที่จะต้องกำหนดศักยภาพของพื้นที่ต่างๆว่าพื้นที่ใดสามารถที่จะเป็นเขตอุตสาหกรรมได้หรือไม่อย่างไร  และได้ในระดับไหน  ต้องมีความชัดเจนและมีสภาพบังคับอย่างแท้จริง  ( ซึ่งในปัจจุบันก็มีกฎหมายอยู่หลายฉบับที่มีวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์เช่นนี้   เช่น กฎหมายผังเมือง  แต่ปัญหาคือ การใช้นโยบายแทนกฎหมาย   และ/หรือ ใช้กฎหมายให้รับใช้นโยบาย   ซึ่งส่งผลให้กลไกต่างๆในทางกฎหมายไม่สามารถที่จะทำงานได้ต่อไป    เมื่อกลไกทางกฎหมายไม่สามารถที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ   กลไกในทางด้านอื่นๆก็ยากที่จะดำเนินการหรือปฎิบัติการต่อไปได้   ไม่ว่าจะเป็นกลไกในทางการเมือง  กลไกในทางสังคม   กลไกของความรู้ที่จะจัดการปัญหาก็ไม่สามารถที่จะทำงานได้ต่อไป )


                         ข้อเสนอสำหรับการกำหนดพื้นที่คือ    ในการกำหนดพื้นที่ว่าจะให้พื้นที่ใดเป็นเขตอุตสาหกรรมนั้นจะต้องมีเกณฑ์ในการพิจารณาซึ่งประกอบด้วยเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะต้องนำไปประกอบการพิจารณาตัดสินใจ  ดังต่อไปนี้


                                   1.1   เงื่อนไขประเภทและศักยภาพของที่ดิน   แหล่งน้ำ    และสิ่งแวดล้อม


                                   1.2   เงื่อนไขทางด้านเศรษฐกิจ


                                   1.3   เงื่อนไขทางด้านสังคม   และ


                                   1.4   เงื่อนไขศักย์ภาพและประสิทธิภาพขององค์กรการบริหารจัดการของภาครัฐ 


                                           ในระดับพื้นที่


 


 


                   3. มีการกำหนดประเภทของอุตสาหกรรมว่า  ประเทศไทยจะรับ( หรือไม่รับ )การลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมประเภทไหน ( ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับหลักการในข้อ 1.และข้อ 2.  )  และประเภทของอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยจะรับเข้ามาดังกล่าวจะมีมาตราการที่จูงใจอย่างไรซึ่งจะต้องแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายส่งเสริมการลงทุน  อาทิเช่น  อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  อุตสาหกรรมที่ของเสียเป็นศูนย์  ฯลฯ


                     ทั้งนี้เนื่องจากในปัจจุบันภายใต้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมซึ่งประเทศอุตสาหกรรมทั้งหลายประสบอยู่ทำให้มีความพยายามที่จะขับไล่   บังคับ  ส่งเสริม  ให้อุตสาหกรรมเหล่านั้นไปอยู่หรือไปดำเนินการในประเทศที่ไม่ให้ความสำคัญหรือไม่ให้ความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อม  มลพิษ


 


              4. เมื่อสามารถที่จะเลือกพื้นที่ว่าเขตพื้นที่ใดเหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมประเภทใดโดยตั้งอยู่บนเกณฑ์การประเมิน( ทั้งหลายที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนได้   และสามารถที่จะใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ช่วยประกอบการตัดสินใจ) แล้ว


                   การออกแบบการใช้พื้นที่ที่ดี  เพื่อจัดวางและสร้างระบบป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้น   พร้อมทั้ง  การออกแบบบริเวณโดยรอบนอกเขตโรงงาน (  มี buffer zone )  , มีการจัดเป็น zone ย่อยๆ ต้องคำนึงถึงชุมชนและลักษณะของสภาพทางภูมิศาสตร์ อุตุนิยม  และอุทกศาสตร์  ชลศาสตร์ ,  การจัดวางที่คำนึงถึงมาตราการในการป้องและการแก้ปัญหาเรื่องความเสี่ยงทั้งหลายที่อาจจะเกิดขึ้น  รวมถึงในทุกๆ zone จะต้องมีระบบและหน่วยที่ทำหน้าที่ในการจัดการของเสียและระบบความปลอดภัยจากอันตรายทั้งหลายที่อาจจะเกิดขึ้น   ซึ่งรวมไปถึงการเตรียมตัวของหน่วยงานภาครัฐในระดับพื้นที่ซึ่งจะต้องเตรียมความพร้อมทั้งในด้านบุคคลกร  เครื่องมือ   อุปกรณ์และงบประมาณเพื่อป้องกันความเสี่ยงความเสียหากที่อาจจะเกิดขึ้น   


                (  ดูแบบอย่าง กรณีของกลุ่มประเทศยุโรปที่นำความรู้เกี่ยวกับการออกแบบภูมิทัศน์ไปใช้ในการป้องกันผลกระทบจากเขตอุตสหกรรม )


                  


                       5. มีระบบการควบคุม  ตรวจสอบ  ถึงความปลอดภัย  ความพร้อมในทุกๆด้านทั้งก่อนและขณะที่ประกอบ  พร้อมทั้งการมีหน่วยสนับสนุนที่จะทำให้การประกอบการนั้นๆสามารถที่จะดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง  


                            จากการศึกษาบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการในระบบโรงงาน  ในปัจจุบันมีกฎหมายที่กำหนดหลักการและแนวทางปฎิบัติอยู่เป็นจำนวนมากที่เป็นไปตามหลักการในการบริหารงานสมัยใหม่  หลักการในการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวล้อม  หรือต่อแรงงาน   แต่ไม่ค่อยจะมีการปฎิบัติ  ดังนั้น  จะออกแบบระบบอย่างไรจึงจะทำให้เกิดการบังคับใช้กฎหมาย


 


                        6. จะต้องสร้างและปรับปรุงระบบการติดตามการบังคับใช้กฎหมาย  ข้อตกลงทั้งหลายที่ต้องสอดคล้อง  ทันเหตุการณ์  และเป็นปัจจุบัน   ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย  และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง   พร้อมทั้งการเปิดโอกาสให้ทุกๆฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม   มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลทั้งหลายที่เกี่ยวกับการตรวจสอบในทุกๆด้านอย่างละเอียด   ตามปรัชญาและหลักการการป้องกัน   รวมถึงการสร้างมาตราการที่เป็นการจูงใจให้นำหลักบรรษัทภิบาลเข้ามาใช้ในการจัดการและการดำเนินการ


                              ปัญหาที่เป็นผลกระทบที่สำคัญที่สุดของนิคมอุตสาหกรรมที่มีต่อชุมชน  ผู้ใช้แรงงาน  และต่อสิ่งแวดล้อม  คือ ปัญหาการไม่บังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งระบบ 


กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ  การส่งเสริมและการจัดทำเป็นเขตอุตสาหกรรม  เป็นกรณีที่รัฐกำหนดภาระกิจที่แตกต่างไปจากภาระกิจแบบเดิมที่รัฐทำภาระกิจไม่กี่ประเภท    แต่การส่งเสริมการอุตสาหกรรมในรูปแบบ  "เขตอุตสาหกรรม "  ซึ่งมีหลายระดับ  มีอยู่หลายขนาด  และความสลับซับซ้อนของปัญหาที่เกิดขึ้นก็แตกต่างไปจากเดิมเป็นอย่างมาก   การจัดองค์กรขึ้นมารับภาระกิจดังกล่าว   ในกรณีการนิคมอุตสาหกรรมที่จัดตั้งในรูปแบบรัฐวิสาหกิจ   ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงข้อจำกัดที่ชัดเจนในตัวอยู่แล้วขององค์กรในระบบราชการปรกติ   จึงจำเป็นต้องสร้างองค์กรที่มีรูปแบบ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่วิธีการดำเนินงานที่เป็นลักษณะพิเศษ   ดังนั้น  ในกรณีของปัญหาที่เกิดขึ้นจากเขตอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบต่อประชาชนและประโยชน์สาธารณะจึงไม่มีทางที่จะทำให้องค์กรตามระบบราชการที่มีอยู่  ไม่ว่าจะเป็น  ราชการส่วนภูมิภาค  ราชการส่วนท้องถิ่น  จะสามารถที่จะแก้ปัญหาได้    


                                ดังนั้น   แนวคิดที่จะใช้เป็นรากฐานความคิดในการแก้ไขปัญหาความไม่สามารถขององค์กรก็คือ  เมื่อภาระกิจของรัฐเปลี่ยนแปลงไป  ปัญหาหรือโจทย์ที่ต้องแก้ไขแตกต่างไปจากเดิม  ดังนั้นจะต้องออกแบบและสร้างองค์กรรูปแบบใหม่เพื่อแก้ปัญหา


                                 สำหรับในกรณีเขตอุสาหกรรมในกรณีประเทศไทย  มีการดำเนินการในแนวทางดังกล่าวอยู่บ้างในระดับหนึ่งเท่านั้น   และเมื่อเกิดการประกอบการแล้วไม่ได้ดำเนินการจัดตั้งองค์กรอื่นๆที่มีความจำเป็นต่อให้สามารถรับภาระกิจ( หรือปัญหา) ที่จะเกิดติดตามมาอย่างที่อาจคาดหมายได้อยู่แล้ว  


                                  การดำเนินการจัดตั้งองค์กรที่ผ่านมาและที่ยังไม่ได้จัดตั้งในกรณีการส่งเสริมการอุตสาหกรรม  คือ 


1.       ในระดับ นโยบายและการให้ความสำคัญกับภาคอุตสาหกรรม


มีการจัดตั้ง  สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ที่กำหนดนโยบาย


                    ส่งเสริมภาคอุสาหกรรม


                     และ  ในกรณีของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งตะวันออก (


                                Eastern Seaboard ) มีการตั้งคณะกรรมการในการ


                                กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการผลักดันให้เป็นไป


                                ตามนโยบายดังกล่าวโดยเฉพาะ  คือ


                                คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งตะวันออก ( คพอ.)


                     ในระดับจังหวัด  มีการตั้ง คณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐ


                                และเอกชน ( กรอ.)                                     


2.       ในระดับองค์กรดำเนินการ  มีการจัดตั้ง  การนิคมอุตสาหกรรม 


                                                   มีการจัดตั้ง  คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน


                                                                                      มีการจัดตั้ง   การท่าเรือแห่งประเทศไทย 


                                                                           


                      แต่ที่ขาดหายไปและไม่มีการพัฒนาต่อหรือดำเนินการใดๆคือ  องค์กรที่ทำหน้าที่ในการรับเรื่องราวความเดือดร้อนหรือข้อร้องเรียนจากเอกชนหรือจากประชาชนทั่วไป   ทั้งนี้ที่ผ่านมาปัญหาที่เกิดขึ้นกับภาคเอกชนผู้ประกอบการจะมีช่องทางของคณะกรรมการต่างๆในระดับนโยบายที่ค่อยให้ความดูแล  ช่วยเหลือ   สนับสนุน ส่งเสริม ( ไม่ได้ทำหน้าที่ในการให้ความเป็นธรรม   แต่ทำหน้าที่ให้ความเห็นชอบที่จะได้ประโยชน์จากการผลักภาระให้กับสังคม)     ในระดับชาวบ้าน  ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ  ผู้ใช้แรงงาน  ก็ถูกกำหนดโดยกฎหมายให้ไปใช้ช่องทางปรกติ  คือ  ราชการส่วนท้องถิ่น  ราชการส่วนภูมิภาค   และกระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง  ทางอาญา  ปรกติ   ซึ่งที่ผ่านมาไม่สามารถที่จะสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นได้   ดังนั้น


                                3.  ดังนั้น  องค์กรที่ขาดหายไปและไม่มีการดำเนินการด้วยอุปสรรคทางการเมืองและปัญหาในระบบราชการไทย  คือ


                                   องค์กรที่ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการในลักษณะที่เป็น  Tribunal[1]


3.1    ให้เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการ  ควบคุม  ติดตาม  ตรวจสอบ  การใช้


อำนาจและการบริหารงานของหน่วยงานที่มีหน้าที่ในระดับพื้นที่ให้เป็นไป


       ตามที่กฎหมาย  กฎ  ระเบียบต่างๆกำหนด [2]


3.2    ให้องค์กรดังกล่าวทำหน้าที่ในการระงับหรือยุติข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในระดับ


        พื้นที่  โดยให้มีหน้าที่ในการชี้ขาดข้อพิพาทในบางเรื่อง  เช่น  การต้อง   


         ดำเนินการตามแผนฯ  การสั่งให้ชดใช้ค่าความเสียหาย  การสั่งให้หยุดการ


         ดำเนินการ  การสั่งปิดโรงงาน  สั่งให้ทำตามคำสั่งในกรณีที่จะต้องมีการ


         ปรับปรุงโรงงาน  กระบวนการผลิต  ซึ่งการให้องค์กรดังกล่าวมีอำนาจใน


         การชี้   ขาด ( Quasi judicial )   หรือ  อำนาจกึ่งตุลาการ  จะสามารถที่จะทำ


         ให้ข้อพิพาทต่างๆสามารถมีข้อยุติ  มีทางออกในระดับพื้นที่  ไม่เป็นคลื่น 


          กระทบฝั่งเหมือนที่ผ่านๆมา


3.3     องค์ประกอบขององค์กรดังกล่าว  มาจากตัวแทนจากฝ่ายต่างๆและจาก


        ผู้เชี่ยวชาญ   โดยจะต้องมีการกำหนดวิธีพิจารณาเรื่องที่สามารถแสวงหา   


       ข้อเท็จจริงในกว้างขวางและเป็นจริง 


3.4    นอกจากนั้น  จะต้องพัฒนาระบบศาลเฉพาะทางขึ้นเพื่อตรวจสอบการใช้


              7.   มีระบบการจัดทำฐานข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการที่ดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาล  และจัดทำฐานข้อมูลโรงงาน  ผู้ประกอบการที่ไม่ดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลและการพัฒนาที่ยั่งยืน   โดยต้องเชื่อมโยงกับมาตราการในการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ  และมาตราการในการส่งเสริมการลงทุน


                 8. แนวทางทั้ง 7 ประการข้างต้น  จำเป็นที่จะต้องมีการจัดตั้ง  คณะกรรมการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับภาระกิจของรัฐในทางด้านการอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่บนหลักการการป้องกัน  หลักความยั่งยืน  ขึ้นเป็นการเฉพาะ


 


ส่วนที่ 2


แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับองค์กรที่ใช้อำนาจกึ่งตุลาการ (  Tribunal ) สำหรับการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากเขตพัฒนาอุตสาหกรรม


            สภาพไร้อำนาจรัฐเหนือเขตนิคมอุตสาหกรรม   เป็นสภาพที่ไม่เกินเลยไปจากความเป็นจริงเลย


(  de facto )[3] แม้แต่น้อย     สภาพเช่นนั้นสะท้อนอะไรหลายๆประการที่เกิดขึ้นและกำลังเป็นไปในสังคมไทย    กล่าวโดยเฉพาะในทางกฎหมายซึ่งควรที่จะเป็นสิ่งที่ช่วยทำหน้าที่ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆเหล่านั้น   กลับไม่สามารถที่จะแสดงออกถึงความหวัง  ความเป็นธรรมที่ประชาชนจะพึงได้


เท่านั้นยังไม่พอ   การว่าเฉยของระบบกฎหมาย  การวางเฉยของกระบวนการในการใช้อำนาจรัฐเท่ากับเป็นการซ้ำเติม  ผลักไส   หรือแม้กระทั้งเป็นการชักนำให้ประชาชนไปเผชิญสภาพไร้รัฐสภาพไร้ซึ่งอำนาจ


           การแสดงออกของอำนาจรัฐสามารถที่จะแสดงออกได้หลายทาง   ปัญหาคือ  วิธีการแสดงออกของอำนาจรัฐด้วยวิธีไหนที่จะเกิดการแก้ปัญหา   วิธีไหนที่จะเกิดผลดีแก่ประชาชน   วิธีไหนจะมีประสิทธิภาพ   ประเด็นเหล่านี้ต่างหากที่เป็น "วิธีคิด"ที่สำคัญที่สุด 


            หากประเมินย้อนรอยกลับไปข้างหลังเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจโดยใช้อุตสาหกรรมเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ   เราจะพบว่าปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาที่เกิดจากการจัดโครงสร้างของอำนาจรัฐ   เสียเป็นส่วนใหญ่    ปัญหาจากโครงสร้างการจัดองค์กร  ดังกล่าวประกอบด้วย


1.       ความไม่เป็นเอกภาพขององค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากภาคอุตสาหกรรม  ( ในขณะที่ในด้านการส่งเสริมกลับมีความเป็นเอกภาพ  แม้จะไม่ได้มีการจัดองค์กรที่เป็นเอกภาพ  แต่กลับใช้วิธีารประสานงานอย่างใกล้ชิดและนอกความเป็นทางการ  เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการลงทุน  )


                ความไม่เป็นเอกภาพดังกล่าวสืบเนื่องจากทั้งบทบัญญัติกฎหมายในแต่ละฉบับ   


         และทั้งจากการจัดองค์กรของรัฐที่ไม่มีความเป็นเอกภาพ    รวมถึงความไม่เป็น 


         เอกภาพของหน่วยงานในระดับพื้นที่    และความไม่เป็นเอกภาพของหน่วยงานที่เป็น


         องค์กรราชการประจำกับองค์กรที่เป็นการปกครองส่วนท้องถิ่น


 


2.         ปัญหาการขาดความชัดเจนและขาดการบูรณาการร่วมกันระหว่างปรัชญาของ  


  หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง  


                  3.      ปัญหาการไม่บังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานต่างๆซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมาย   


                  4.      ปัญหาการขาดแนวทางและวิธีการในการแก้ปัญหาที่ชัดเจน  รวดเร็ว  เป็นธรรมและมี


                           ประสิทธิภาพของหน่วยงานต่างๆ


5.            ปัญหาการขาดระบบฐานข้อมูลกลาง  ขาดระบบสนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงานทั้งหลายของรัฐ


6.            ปัญหาการไม่มีระบบในการติดตามประเมินผลในภาระกิจต่างๆที่ได้ดำเนินการไป


7.            ปัญหาความไม่เป็นอิสระในการใช้อำนาจเนื่องจากการถูกแทรกแซงโดยนักการเมือง


                   จากปัญหาเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดโครงสร้างองค์กรดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น   หากพิจารณาประกอบกับธรรมชาติหรือสภาวะความเป็นจริงของปัญหาจะทำให้สามารถที่จะเข้าใจถึงแกนของปัญหาได้ดังต่อไปนี้


                    1. ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรม  เป็นปัญหาที่มนุษย์สร้างขึ้น   และการสร้างปัญหาดังกล่าวไม่ได้เกิดจากการกระทำของผู้หนึ่งผู้ใดแต่เพียงผู้เดียว    หากแต่เกิดจากกลุ่มของบุคคลที่เข้ามามีส่วนในการก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมา    (และมีข้อที่น่าสังเกตด้วยว่า  กลุ่มบุคคลดังกล่าวที่เข้ามามีส่วนในการก่อให้เกิดปัญหานั้น   จะมีการพูดถึงองค์กรที่มีฐานะเป็นบุคคลในทางกฎหมาย( นิติบุคคล )ซึ่งไม่สามารถที่จะจับต้องได้ในความเป็นจริง        ด้วยเหตุดังนั้น   เมื่อต้องหาตัวผู้กระทำก็จะเป็นปัญหาที่ยุ่งยาก  และยิ่งมาตราการทางกฎหมายไม่ชัดเจน  การจัดโครงสร้างองค์กรไม่เป็นเอกภาพ   ก็ไม่สามารถที่จะจัดการกับองค์กรใดๆได้    แต่องค์กรเหล่านั้นได้ผลประโยชน์ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่คิดจะเข้ามาลงทุนในประเทศ) 


                   2.  จะเห็นได้ว่าปัญหาทั้งหลายเหล่านั้นเกิดขึ้นมาอย่างเป็นระบบ  สามารถที่จะย้อยรอยกลับไปแสดงให้เห็นได้ว่ามีขบวนการอย่างไรที่ก่อให้เกิดปัญหากล่าวขึ้น[4]


                   3.  แนวทางที่ถูกต้องและสามารถที่จะหยุดยั้งไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นมามีบทเรียนมามากมายทั้งในและต่างประเทศว่า  ต้องสร้างและใช้มาตราการในการป้องกันจึงจะเกิดประสิทธิภาพของระบบในการแก้ไขปัญหา    เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการในการแก้ไข   เพราะปัญหาที่เกิดจากอุตสาหกรรมมักจะมีพฤติกรรมของการเกิดที่มีรูปแบบการแตกตัวแบบทวีคูณ  ดังนั้น  เมื่อเกิดขึ้นในแต่ละครั้งก้จะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง


                   4.  ต้องเปลบี่ยนแปลงรูปแบบในการแก้ไขปัญหาจาก  รูปแบบการร้องเรียนความเดือดร้อนไปสู่ รูปแบบการแก้ไขปัญหาแบบข้อพิพาท(  ในลักษณะเชิงคดี )


                จากสภาพความเป็นจริงและต้นต่อของปัญหาดังที่ได้ชี้ให้เห็นมาข้างต้น  จะเห็นได้ว่ากรณีเรื่อง " เขตอุตสาหกรรม "  ในแง่ของพัฒนาการทั้งในทางความเป็นจริง  ในทางปฎิบัติ และ ในทางทฤษฎีจะเห็นได้ว่า   เป็นแนวความคิดที่เกิดจากสภาวะของปัญหาที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่อย่างกระจัดกระจายปะปนไปกับการใช้พื้นที่ในลักษณะต่างๆเช่น  พื้นที่ทางการเกษตรกรรม  พื้นที่พักอาศัย  พื้นที่อนุรักษ์  ฯลฯ  และในที่สุดก็นำไปสู่ความขัดแย้ง   ความไม่ถูกสุขลักษณะ   ความไม่คุ้มค่า  ฯลฯ   ดังนั้นจึงมีการเสนอให้จัดตั้งเป็นเขตๆในการที่จะใช้ประโยชน์ในพื้นที่ต่างๆ  ดังจะเห็นได้อย่างชัดเจนในพระราชบัญญัติผังเมือง 


 


สภาพปัญหาที่การจัดรูปแบบองค์กรแบบเดิมไม่สามารถที่จะแก้ปัญหา  หรือไม่เพียงพอในการแก้ปัญหา


             รูปแบบการจัดองค์กรแบบเดิมที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา


             ในระดับชาติ


                  ระบบการร้องเรียนในระบบราชการปรกติ


                  (  กรมต่างๆ / กระทรวง  ,  คณะกรรมการตามกฎหมาย เช่น  คณะกรรมการสวล.  


                      คณะกรรมการน้ำบาดาล   )


                  ระบบการร้องเรียนไปยังกรรมาธิการของสภา


                  ระบบการร้องเรียนไปยังองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ


                  ( ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา ,  คณะกรรมการสิทธิมนุษย์ชนแห่งชาติ )


                  การฟ้องเป็นคดีต่อศาล ( ศาลปกครอง  ,  ศาลยุติธรรม  )


             ในระดับพื้นที่   


                  การใช้กลไกของจังหวัด/อำเภอ


                  การใช้กลไกของอปท


                  การใช้ช่องทางในทางการเมือง


                  การใช้ช่องทางสื่อสาธารณะ


              ระบบที่มีอยู่ทั้งหมดไม่สามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากเขตนิคมอุตสาหกรรมแต่อย่างใด    ทั้งนี้เนื่องจากมีแต่หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนเท่านั้น    แต่ไม่มีหน่วยงานที่แก้ไขปัญหา  ทั้งๆที่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องทำ   โดยไม่จำเป็นต้องถามถึงพื้นฐานความคิดระดับสำนึกของความเป็นผู้ที่ได้รับฉันทานุมัติให้ใช้อำนาจสาธารณะ      


 


หน้าที่และโครงสร้างขององค์กร


                 องค์กรดังกล่าวทำหน้าที่หลักในการใช้อำนาจกึ่งตุลาการ  ( Quasi  Judical ) เพื่อแก้ไขปัญหาที่อำนาจนิติบัญญัติ  องค์กรอิสระ  องค์กรปกครองทั้งหลายในระบบราชการ   และอำนาจตุลาการไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้  ดังนั้นองค์กรดังกล่าวจึงต้องทำหน้าที่หลัก  สอง  ประการ  คือ 


                1. หน้าที่ในการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการทำงานของส่วนราชการต่างๆที่อยู่ในพื้นที่ซึ่งมีเขตนิคมอุตสาหกรรมตั้งอยู่   เพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายนั้นๆกำหนดให้ต้องทำ   โดยใช้แนวทางของหลักธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมในการดำเนินการ


                2.  หน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เป็นผลสืบเนื่องจากการมีเขตนิคมอุตสาหกรรมซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน  ต่อชุมชน  ต่อสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย ที่อยู่ในเขตหรือบริเวณที่ได้รับผลกระทบ  ซึ่งอาจจะเป็นข้อพิพาทที่เกิดจากการที่รัฐไม่ใช้อำนาจตามกฎหมาย   หรืออาจจะเป็นการใช้อำนาจทางปกครองเพื่อการตรวจสอบการดำเนินการตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐที่ดำเนินการกับผู้ประกอบการ


 


ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร กับ ประชาชน  สังคม  ผู้ประกอบการ  และ  เจ้าหน้าที่ของรัฐ


              ในขณะที่  มีองค์กรของรัฐมากมายที่เข้าร่วมสนับสนุนให้เกิดเขตนิคมอุตสาหกรรม   สนันสนุนอย่างเต็มที่ในการทำให้เกิดโรงงาน   โดยแทบจะทุกกรณีของเขตนิคมอุตสาหกรรมไม่ได้เตรียมการอย่างใดๆในการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น    ทั้งๆที่มีบทบัญญัติกฎหมาย  กำหนดมาตราการต่างๆที่พอจะแก้ขัดไปได้  หากการจัดองค์กรและกระบวนการยุติธรรมทั้งทางแพ่ง  ทางอาญา  และทางปกครอง  เป็นไปอย่างสอดคล้องที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับพื้นที่ต่างๆอันเนื่องมาจากการมีเขตนิคมอุตสาหกรรมเข้าไปเปลี่ยนแปลงสภาพทางสังคมเศรษฐกิจ สังคม การเมือง  กฎหมาย  วัฒนธรรม  ในพื้นที่เหล่านั้นอย่างสิ้นเชิง


                ดังนั้น  การปรับโครงสร้างองค์กร  โดยให้องค์กรดังกล่าวเป็นมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบในเขตพื้นที่ด้วยวิธีการรับเรื่องราวร้องทุทข์ที่เกิดจากการที่หน่วยงานของรัฐไม่ดำเนินการตามกฎหมาย  


                ดังนั้น  ความสัมพันธ์ในระดับแรก คือ  การเข้ามาติดตาม  ตรวจสอบ  ประเมินผล  การทำงานของหน่วยงานทั้งหลาย   ซึ่งมีผลโดยอ้อมที่จะทำให้ผู้ประกอบการ  โรงงานจะต้องอยู่ในกรอบกติกา  ที่มีองค์กรกำกับอย่างใกล้ชิดสองชั้น


                            ความสัมพันธ์ในระดับที่สอง คือ การมีตัวแทนของประชาชนทั้งในทางตรงและทางอ้อมที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบของกรรมการในคณะกรรมการติดตาม  ตรวจสอบ  ประเมินผลการทำงานของระบบราชการ


                            ความสัมพันธ์ในระดับที่สาม  คือ การนำเอาข้อมูลจากประชาชนในพื้นที่เข้าสู่กระบวนการพิจารณาในชั้นของการระงับข้อพิพาท  


 


งบประมาณที่จะใช้ในการดำเนินการ


                             เมื่อเปรียบเทียบกับความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา   การที่รัฐบาลมีมาตราการในการส่งเสริมการลงทุน   โดยการยกเว้นภาษีให้กับผู้ประกอบการ  การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานบนโดยใช้มาตราการทางกฎหมายริบเวนคืนต้นทุนชีวิตวัฒนธรรมของชุมชน   การส่งเสริมให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรที่เป็นของส่วนรวมให้กับผู้ที่มีอำนาจที่มากกว่า  การผลักภาระหน้าที่ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องจ่ายไปให้ประชาชนที่อยู่ใกล้ต้องแบกรับ  โดยที่ระบบราชการไม่ได้ทำหน้าที่อย่างใดๆในนามของสังคมที่จะเรียกร้องค่าความเสียหายอย่างใดๆจากผู้ทำความเสียหายและได้ประโยชน์ฝ่ายเดียว


               ดังนั้น  หาจะจัดสรรงบประมาณที่เป็นเงินของแผ่นดิน  เพื่อมากอบกู้ฟื้นฟูปรับเปลี่ยนระบบที่ไม่สามารถสร้างระบบสังคมที่เป็นธรรมให้เป็นสังคมที่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล   โดยกำหนดเป็นสัดส่วนจากการลงทุน  และจากสัดส่วนภาษีที่ผู้ประกอบการได้รับการส่งเสริมการลงทุน  มาเป็นงบประมาณในการดำเนินการ


                ในขณะเดียวกัน  ในส่วนของเจ้าหน้าที่  บุคคลากร  และสำนักงาน  ก็เป็นส่วนที่รัฐบาลในฐานะฝ่ายบริหารจะต้องดำเนินการในการปฎิรูประบบราชการและดำเนินการให้ตรงตามความต้องการของประชาชน  ซึ่งเป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี  ที่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐมีพันธะที่จะต้องดำเนินการ


 


การเตรียมความพร้อม


                  นอกจากการที่จะต้องผลักดันให้เป็นบทบัญญัติในทางกฎหมายแล้ว[5]   จำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมทั้งในเรื่อง  ระบบฐานข้อมูล  ระบบการบริหารงานบุคคล   ระบบวิธีพิจารณาคดี   ระบบการติดตาม  ระบบการประสานงาน   การจัดค่ามาตราฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมที่จะใช้อ้างอิง  ฯลฯ


 


 สภาพบังคับขององค์กร


                  ดำเนินการติดตาม  ตรวจสอบ   ประเมินผล  และแจ้งผลการดำเนินการ(หรือที่ไม่ดำเนินการ)ให้ผู้บังคับบัญชาทราบ


                   จัดทำรายงานเกี่ยวกับการดำเนินการของหน่วยงาน


                   เป็นผู้ดำเนินคดีแทนผู้เสียหาย


 


คณะกรรมการติดตามตรวจสอบให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลในเขตนิคมอุตสาหกรรม


องค์ประกอบของคณะกรรมการ


                 ระดับชาติ


                         1. ตัวแทนขององค์กรวิชาชีพที่มีประสบการณ์ (  วิศวกรรมสถาน /  แพทย์สภา /  นักสิ่งแวดล้อม )


                         2. ตัวแทนสภาอุตสาหกรรม


                         3. ตัวแทนของภาควิชาการที่มีประสบการณ์ในสาขาที่เกี่ยวข้อง ( วิศวะ/สิ่งแวดล้อม / 


                             วิทยาศาสตร์ / กฎหมาย / ..... )


                         4. ตัวแทนอปท.ที่มีนิคมตั้งอยู่


                         5. ตัวแทนประชาชนในพื้นที่มีโอกาสเสี่ยง


                         6. ตัวแทนอาชีวะอนามัย


                 ระดับพื้นที่


1.       ตัวแทนของประชาชนที่อยู่ในบริเวณเขตที่อาจจะได้รับผลกระทบจากนิคม


       อุตสาหกรรม


2.       ตัวแทนโรงงาน  ตัวแทนผู้ประกอบการ


3.       ตัวแทนแรงงาน


4.       ตัวแทนกลุ่มผู้ตรวจสอบมาตราฐานขององค์กร


5.       ตัวแทนฝ่ายสาธารณะสุขในพื้นที่


6.       ตัวแทนการนิคมอุตสากรรมในพื้นที่


7.       ตัวแทนฝ่ายสิ่งแวดล้อม


8.       ตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชนทางด้านสิ่งแวดล้อม  สุขภาพ 


9.       ตัวแทนของอปท.


10.    ตัวแทนของฝ่ายปกครอง


 


อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ


                          อำนาจคณะกรรมการในระดับชาติ


1.       วางกรอบ  นโยบายในการดำเนินการติดตาม  การตรวจสอบ  การประเมินผล


2.       ดำเนินการประเมินผลการดำเนินการของหน่วยงานทั้งหลายในเขตอุตสาหกรรมแต่ละเขต


3.       จัดทำมาตราฐานความปลอดภัยเกี่ยวกับเขตอุตสาหกรรม


4.       จัดทำข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล  รัฐสภา  เกี่ยวกับการปรับปรุง  แก้ไขกฎหมายในระดับต่างๆ


                          อำนาจคณะกรรมการในระดับพื้นที่


1.       อำนาจในการติดตามตรวจสอบ


1.1    ระบบฐานข้อมูล


1.2    การดำเนินการของหน่วยงานทั้งหลายของรัฐ


1.3    ระบบการป้องกันตามที่กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องดำเนินการ  จัดให้มี  ตามกฎหมาย


1.4    การติดตามการทำตามข้อแนะนำที่การศึกษาผลกระทบทางสิ่งวดล้อม  และผลกระทบทางสังคม  ให้คำแนะนำ 


2.       อำนาจในการประเมินผล


2.1    การดำเนินการตามกฎหมายของหน่วยงานในระดับพื้นที่


2.2    การประเมินผลเครื่องมือในทางกฎหมายว่ามีเพียงพอ  หรือมีประสิทธิภาพหรือไม่


2.3    การประเมินศักยภาพของหน่วยงานต่างๆที่มีหน้าที่ในทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อุตสาหกรรม


 


คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรม


องค์ประกอบของคณะกรรมการ


                  คณะกรรมการระดับชาติ


                                 ตัวแทนจากองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ


                                 ตัวแทนจากองค์กรที่ติดตามปัญหาโรคที่เกิดจากการทำงาน


                                 ตัวแทนจากองคืกรที่ติดตามปัญหาเรื่องสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรม


                                 ตัวแทนจากนักวิชาการ


                                 ( เศรษฐศาสตร์   วิทยาศาสตร์   สิ่งแวดล้อม  วิศวกรรมศาสตร์   นิติศาสตร์ 


                                   รัฐศาสตร์   )


                                  ตัวแทนจากองค์กรวิชาชีพ      


                  คณะกรรมการระดับพื้นที่


 


 


อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ


                  อำนาจคณะกรรมการในระดับชาติ


                                 1. รับพิจารณาเรื่องที่เป็นข้อพิพาทระหว่างประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบกับหน่วยงานของรัฐหรือกับผู้ประกอบการ  หรือ โรงงาน ที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรม


                                 2.  วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทและมีคำวินิจฉัยชี้ขาดให้หน่วยงานของดำเนินการเพื่อแก้ไขข้อพิพาท


                                 3.  วางข้อกำหนด  แนวทางในการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรม 


 


                  อำนาจคณะกรรมการในระดับพื้นที่


                                   มีอำนาจเช่นเดียวกับคณะกรรมการในระดับชาติ  แต่มีขอบเขตการใช้อำนาจเฉพาะข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเท่านั้น   ซึ่ง  เป็นการกระจายอำนาจมาสู่พื้นที่ที่เป็นปัญหา   


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


ส่วนที่ 3  ร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม


 


ร่าง พระราชบัญญัติ


คณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม


พ.ศ.............


----------


                               


                               


                                มาตรา ๑  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า  "พระราชบัญญัติคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม   พ.ศ. .............. "


 


                                มาตรา ๒  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน


ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป


                               


 


                                มาตรา ๓   ในพระราชบัญญัตินี้


                                "  เขตนิคมอุตสาหกรรม"  หมายความว่า  เขตนิคมอุตสาหกรรมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรม   เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมตามกฎหมายโรงงาน   เขตประกอบกิจกรรมอุตสาหกรรมตามกฎหมายผังเมือง   และให้หมายความรวมถึงพื้นที่ซึ่งมีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่อย่างหนาแน่น


                            "  ข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม "  หมายความว่า  บรรดาข้อพิพาททั้งหลายซึ่งบุคคลผู้ได้รับผลกระทบและเกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการประกอบกิจการโรงงาน   และให้หมายความรวมถึง  ข้อร้องเรียนที่เกี่ยวกับการปฎิบัติหน้าที่หรือการงดเว้นการปฎิบัติตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเขตนิคมอุตสาหกรรมตามพระราชบัญญัตินี้


                                "เจ้าหน้าที่ของรัฐ"  หมายความว่า  ข้าราชการ  พนักงาน  ลูกจ้าง  หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานของรัฐ


                               


                               


                                มาตรา   ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้  และให้มีอำนาจ


ออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้


                                กฎกระทรวงนั้น  เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว  ให้ใช้บังคับได้


 


ภาค ๑


คณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม


----------------


หมวด ๑


บททั่วไป


----------------


 


                                มาตรา ๕  ให้มีคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม    ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานโดยตำแหน่ง


                            คณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม   ประกอบด้วยกรรมการสองประเภท  คือ  "คณะกรรมการติดตามตรวจสอบให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลในเขตนิคมอุตสาหกรรม"   และ  คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม  โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา ตามมาตรา ๑๐  มาตรา  ๒๔  และ มาตรา ๒๕


                                ประธานคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม    มีอำนาจหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปของคณะกรรมการ


 


                                มาตรา ๖  คณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม    มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้


                                (๑)  คณะกรรมการติดตามตรวจสอบให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลในเขตนิคมอุตสาหกรรม   มีอำนาจหน้าที่


                                       (ก)  จัดการระบบฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบันทั้งหลายเกี่ยวกับเขตนิคมอุตสาหกรรม  ระบบการผลิต   ระบบการป้องกันและระบบเตือนภัยทั้งหลายที่จะมีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อม  สุขภาพ  อนามัย  


                                           เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลทั้งหลายที่จำเป็น   ให้คณะกรรมการมีอำนาจที่จะเรียกให้หน่วยงานภาครัฐ  รัฐวิสาหกิจ   และผู้ประกอบการที่อยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมส่งข้อมูล  แผนที่  แผนผังสถานที่  รวมถึงแผนปฎิบัติ  ซึ่งผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องจัดทำตามกฎหมายให้แก่สำนักงานคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม


                                       (ข)  กำหนดแนวทาง  วิธีการ  และ จัดทำแผนการดำเนินการทั้งหลายเพื่อการติดตาม  การตรวจสอบ  และการประเมินผลการปฎิบัติหน้าที่ตามกฎหมายทั้งหลายของหน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือตามแผนการป้องกันหรือเฝ้าระวังความไม่ปลอดภัยทั้งหลายที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากการดำเนินการทั้งหลายในเขตนิคมอุตสาหกรรม 


                                  (ค)  ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ  รัฐวิสาหกิจ  ภาคเอกชน  ชุมชน  เพื่อจัดทำมาตราฐานตัวชี้วัดความมีมาตราฐานของเขตนิคมอุตสาหกรรมตามหลักธรรมาภิบาล  รวมตลอดถึงมาตราฐานความปลอดภัยทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในเขตนิคมอุตสาหกรรมชนิดและประเภทต่างๆซึ่งจำเป็นต้องมีให้สอดคล้องกับมาตราฐานสากลโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนและความเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย


                                       (ง )  เสนอความเห็นและข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการให้มีกฎหมาย


หรือแก้ไขปรับปรุง หรือยกเลิกกฎหมาย


                                (๒)  คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม


                                       (ก)  วินิจฉัยข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรมามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้


                                       (ข)  เสนอความเห็นต่อ  เพื่อสั่งการต่อหน่วยงานของรัฐที่จะต้องดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๓๗ ( ๕)


                                      (ค)  รายงานผลการสั่งการของนายกรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัตินี้ 


พร้อมทั้งเสนอวิธีการที่นายกรัฐมนตรีควรสั่งการต่อไปในกรณีที่มีการปฏิบัติงานยังไม่เป็นผล


                                       (ง)  เสนอแนะคณะรัฐมนตรี  เพื่อมีมติกำหนดระเบียบปฏิบัติราชการ


ตามมาตรา ๖


                                       (จ)  เสนอความเห็นและข้อสังเกตตามเกี่ยวกับการปรับปรุงกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ดำเนินการจัดให้มี   แก้ไข  ปรับปรุง  หรือยกเลิกกฎหมาย


                                       


                                มาตรา ๗   บุคคลใดจะดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการทั้งสองประเภทตามมาตรา  ๕ วรรคสอง ในขณะเดียวกันมิได้


 


                                มาตรา ๘  ให้กรรมการตามมาตรา ๕ได้รับค่าตอบแทนตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา


 


                                มาตรา ๙  ในการปฏิบัติหน้าที่ให้คณะกรรมการตามมาตรา ๕  และ เจ้าพนักงานของสำนักงานคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม     ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการติดตาม การตรวจสอบ  และ รับผิดชอบในการสอบสวน   รวมรวมข้อเท็จจริงต่างๆที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาท    เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา


 


หมวด ๒


กรรมการติดตามตรวจสอบให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลในเขตนิคมอุตสาหกรรม


---------------


 


                                มาตรา ๑  ให้มี กรรมการติดตามตรวจสอบให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลในเขตนิคมอุตสาหกรรมมีจำนวนไม่เกิน 15 คนมีวาระดำรงตำแหน่งคราวละสามปีนับแต่วันที่วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ   ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี          


                            ให้เลขาธิการคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรมเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง


 


                                มาตรา ๑๑ ผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการติดตามตรวจสอบให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลในเขตนิคมอุตสาหกรรม   ต้องเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในทางนิติศาสตร์  รัฐศาสตร์  เศรษฐศาสตร์  สังคมศาสตร์  สิ่งแวดล้อม  การสาธารณสุข   วิทยาศาสตร์  หรือการบริหารราชการแผ่นดินและต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด  ดังต่อไปนี้


                                (๑)  รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือเทียบเท่า


                                (๒)  รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่า  อัยการ ผู้พิพากษาศาล หรือตุลาการศาลปกครองที่เคยรับผิดชอบในการดำเนินคดีที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 


                                (๓)  เป็นหรือเคยเป็นอาจารย์สอนวิชาที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในสถาบันการศึกษา


ในระดับอุดมศึกษาของรัฐมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี


                                (๔)  เป็นบุคคลที่มีภูมิลำเนาและพักอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ที่เป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมมาเป็นเวลานาน  อย่างน้อยก่อนการประกาศตั้งเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรม


                                (๕)  เป็นบุคคลที่มีผลงานอันเป็นที่ประจักษ์เกี่ยวกับการปกป้องรักษาอนุรักษ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม    


                               ( ๖ ) เป็นบุคคลที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการติดตามประเมินผลให้เป็นไปตามมาตราฐานสากลในทางด้านสิ่งแวดล้อมของโรงงานหรือสถานประกอบการ


 


                                มาตรา ๑๒  นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ  กรรมการติดตามตรวจสอบให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลในเขตนิคมอุตสาหกรรมพ้นจากตำแหน่ง  เมื่อ


                                (๑)  ตาย


                                (๒)  ลาออก


                                (๓)  ต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก 


เว้นแต่ในความผิดที่กระทำโดยประมาท  หรือความผิดลหุโทษ


                                (๔)  เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ


                                (๕)  เป็นบุคคลล้มละลาย


 


                                มาตรา ๑   ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้  ให้คณะกรรมการติดตามตรวจสอบให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลในเขตนิคมอุตสาหกรรม  มีอำนาจในการเรียกบุคคลให้มาให้ถ้อยคำ  มีอำนาจในการเรียกเอกสารจากส่วนราชการทั้งหลายซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายในการติดตามควบคุม  ตรวจสอบ  อนุมัติ  อนุญาต  หรือออกคำสั่งประการใดๆที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการติดตาม ตรวจสอบ  หรือประเมินผล  การดำเนินการทั้งหลายในเขตนิคมอุตสาหกรรม


 


 


                                มาตรา ๑๔  ให้ประธานคณะกรรมการติดตามตรวจสอบให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลในเขตนิคมอุตสาหกรรม   มีอำนาจ ออกระเบียบเกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไข  ระยะเวลา   วิธีการ  สถานที่   เพื่อดำเนินการในการติดตามตรวจสอบการดำเนินกิจการของโรงงาน  หรือ  เพื่อส่งเสริม  ติดตาม  การปฎิบัติงานของส่วนราชการทั้งหลายที่มีหน้าที่ตามกฎหมาย    ทั้งนี้  โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี


                           


                            มาตรา ๑   ในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องดำเนินการติดตามตรวจสอบเพื่อให้การประกอบการเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล  หรือตรวจสอบติดตามการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายของส่วนราชการใดที่มีหน้าที่ตามกฎหมายในเขตนิคมอุตสาหกรรมเขตใดเขตหนึ่งหรือหลายเขต    คณะกรรมการติดตามตรวจสอบให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลในเขตนิคมอุตสาหกรรม   อาจตั้งอนุกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่งซึ่งประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมให้ทำหน้าที่ตามที่คณะกรรมการติดตามตรวจสอบให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลในเขตนิคมอุตสาหกรรมมอบหมาย


                   


                          มาตรา ๑๖  ในกรณีอันจำเป็นฉุกเฉิน และเพื่อเป็นการป้องกันภยันตรายที่จะเกิดแก่สาธารณะคณะกรรมการติดตามตรวจสอบให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลในเขตนิคมอุตสาหกรรมอาจมีความเห็นแจ้งไปยังคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่นซึ่งมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับเขตนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายนี้ให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมายนั้นๆ


  


                           มาตรา ๑๗    ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องบังคับใช้ในเขตนิคมอุตสาหกรรมหรือที่เกี่ยวเนื่องกับข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรมเป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐหน่วยใด   หรือเป็นของเจ้าหน้าที่ของรัฐในตำแหน่งใด  เพื่อประโยชน์ในการติดตามและประเมินผลการดำเนินการทั้งหลายของหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้   ให้ถือว่าเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกันของหน่วยงานหรือของตำแหน่งนั้นๆ


                            หน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกันตามวรรคหนึ่ง  ไม่เป็นการกระทบกระเทือนต่อความรับผิดทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง


 


หมวด ๓


กรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรม


-----------------


ส่วนที่ ๑


สิทธิการนำข้อพิพาทมาร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรม


-----------------


 


                                มาตรา ๑๘  บุคคลทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการในเขตนิคมอุตสาหกรรมและไม่มีหน่วยงานของรัฐใดที่มีหน้าที่ตามกฎหมายดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผลกระทบหรือความเสียหายดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอข้อพิพาทต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมได้ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้


                            สิทธิเสนอข้อพิพาทตามวรรคหนึ่ง   ให้รวมถึงกรณีที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้เข้าไปดำเนินการอย่างใดๆแต่ผลกระทบหรือความเสียหายยังคงมีอยู่ด้วย


                                การเสนอข้อพิพาทตามพระราชบัญญัตินี้ไม่เป็นการตัดสิทธิร้องทุกข์อันจะพึงมีได้ตามกฎหมายอื่น


                               


                            มาตรา ๑๙  ข้อพิพาทที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมจะรับไว้พิจารณาได้ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้


                                (๑)  เป็นเรื่องที่ผู้เสนอข้อพิพาทได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย  หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากการประกอบกิจการหรือการดำเนินการทั้งหลายในเขตนิคมอุตสาหกรรม  และ


                                (๒)  ความเดือดร้อนหรือความเสียหายตาม (๑)  นั้นเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ


                                       (ก)  ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ


                                       (ข)  ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร


                                       (ค)  กระทำการนอกเหนืออำนาจหน้าที่  หรือขัดหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย


                                       (ง)  กระทำการไม่ถูกต้องตามขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการนั้น


                                       (จ)  กระทำการโดยไม่สุจริตหรือโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร  หรือ


                                  (ฉ)  ความเดือดร้อนหรือความเสียหายตาม (1) เกิดจากการจงใจฝ่าฝืนบัญญัติกฎหมาย  หรือมีเจตนาทุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ปฎิบัติตามกฎหมาย  คำสั่งของหน่วยงาน  หรือตามข้อตกลงของโรงงาน  ผู้ประกอบการ  หรือผู้รับช่วงงานจากโรงงาน


 


                มาตรา ๒๐  ข้อพิพาทดังต่อไปนี้ไม่ให้รับไว้พิจารณา


                              (๑)  ข้อพิพาทที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาล  หรือที่ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งเด็ดขาดแล้ว   เว้นแต่จะเป็นกรณีการก่อให้เกิดความเสียหายหรือผลกระทบจากการกระทำซ้ำ


                                (๒)  ข้อพิพาทที่ยังมิได้ดำเนินการเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายครบขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนดไว้


                                (๓)   ข้อพิพาทที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมได้วินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดแล้ว    เว้นแต่เป็นกรณีที่มีการพบพยานหลักฐานใหม่


                                (๔)   ข้อพิพาทที่ไม่มีผู้ร้องทุกข์ดำเนินการต่อไปตามกฎหมาย  


                           ( ๕ )  ข้อพิพาทตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน  และแรงงานสัมพันธ์  เว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานในโรงงานหรือสถานประกอบการ                             


                               


                           มาตรา ๒๑  การเสนอข้อพิพาทต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมต้องทำเป็นหนังสือและจะต้องมีเนื้อหาในสาระสำคัญดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย


                                (๑)  มีชื่อและที่อยู่ของผู้เสนอข้อพิพาท


                                (๒)  ระบุเรื่องอันเป็นเหตุแห่งข้อพิพาทพร้อมทั้งข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์


ตามสมควรเกี่ยวกับเรื่องที่พิพาท


                                (๓)  ใช้ถ้อยคำสุภาพ


                                (๔)  ลงลายมือชื่อของผู้เสนอข้อพิพาท    ถ้าเป็นการยื่นข้อพิพาทแทนผู้อื่น


จะต้องแนบใบมอบฉันทะมาด้วย


 


                                มาตรา ๒๒  คำร้องเสนอข้อพิพาทให้ยื่น ณ หน่วยงานธุรการของคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม หรือจะยื่นต่อกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม คนหนึ่งคนใด  หรือยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด  นายอำเภอ กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  หรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม เพื่อให้ส่งต่อไปยังหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรมก็ได้  การส่งข้อพิพาทต่อไปยังหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม ให้เป็นไปตามระเบียบของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม


                                ข้อพิพาทอาจส่งไปยังหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรมโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้ 


                                ส่วนราชการใดที่ได้รับเรื่องข้อพิพาท ถ้าเห็นว่าข้อพิพาทนั้นอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัย ชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรมจะส่งข้อพิพาทนั้นให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรมก็ได้


                             ในกรณีที่ส่วนราชการที่ได้รับข้อพิพาทไว้เห็นเป็นอย่างอื่นให้ส่วนราชการนั้นแจ้งเหตุผลให้ผู้ยื่นคำร้องทราบด้วย


 


                                มาตรา ๒๓  ข้อพิพาทที่ได้ยื่นต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรมและคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรมได้วินิจฉัยแล้วว่ามิใช่ข้อพิพาทที่จะรับไว้พิจารณาได้ ให้หน่วยงานธุรการของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรมแจ้งให้ผู้ยื่นข้อพิพาททราบและเพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติราชการจะส่งต่อไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนั้นทราบก็ได้


 


               


 


ส่วนที่ ๒


การแต่งตั้งและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมพื้นที่


-------------------


                           มาตรา ๒๔   ให้เลขาธิการคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรมดำเนินการเสนอรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติตามมาตรา  27  ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอรับความเห็นชอบจากวุฒิสภาแต่งตั้งให้เป็น คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรม   จำนวนไม่เกิน  15  คนประจำอยู่ที่ส่วนกลาง  และให้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายนี้ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททั้งหลายที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมและไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่โดยตรงของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมเฉพาะพื้นที่


                               


                           มาตรา  ๒๕   เมื่อจะมีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่ใด   ให้เลขาธิการคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรมดำเนินการเพื่อเสนอรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติตามมาตรา  ๒๗   ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอรับความเห็นชอบจากวุฒิสภาแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมเฉพาะพื้นที่คณะหนึ่งเป็นอย่างน้อย   จำนวนไม่เกิน 9  คน   และให้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายนี้ในการวินิจฉัยข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในและเกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ที่มีการจัดตั้งเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรม   


                


                                มาตรา ๒๖  คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมมีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี


 


                             มาตรา ๒๗  ผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรม    ต้องเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในทางนิติศาสตร์  รัฐศาสตร์  เศรษฐศาสตร์  สังคมศาสตร์  สิ่งแวดล้อม  การสาธารณสุข   วิทยาศาสตร์    หรือการบริหารราชการแผ่นดินและต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด  ดังต่อไปนี้


                             (๑)  เป็นบุคคลที่ประชาชนที่อยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรม  กลุ่มแรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรม  และ วิศวกรรมสถานเสนอชื่อเพื่อการคัดเลือกให้ทำหน้าที่


                             (๒)  เคยเป็นกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัติเรื่องราวร้องทุกข์


พ.ศ. ๒๔๙๒


                             (๓)  รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา


หรือเทียบเท่า  ตุลาการศาลปกครองสูงสุด  หรือตุลาการพระธรรมนูญศาลทหารสูงสุดมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี


                             (๔)  รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือเทียบเท่า


มาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี


                             (๕)  เป็นหรือเคยเป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายหรือวิชาที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินในสถาบันการศึกษาของรัฐในระดับมหาวิทยาลัยมาแล้วไม้น้อยกว่าหกปี


                             (๖)  มีประสบการณ์ในการบริหารราชการไม่น้อยกว่าสิบปี                                                  


                                     ทั้งนี้ในการเสนอชื่อบุคคลจะต้องคำนึงถึงสัดส่วนของตัวแทนจากฝ่ายต่างๆตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา


 


                           มาตรา ๒๘     ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรม    จะต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง  ผู้ดำรงตำแหน่งในทางการเมือง  สมาชิกสภาท้องถิ่น  กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง  หรือประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอย่างอื่นที่ขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมตามระเบียบที่คณะกรรมการชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมจะได้กำหนดขึ้น


                           กรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง  ให้พ้นจากตำแหน่ง


 


                            มาตรา  ๒๙  ในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรม ให้กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์มีอิสระในความคิดเห็นของตนในการพิจารณาวินิจฉัย ชี้ขาดข้อพิพาท ให้กรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมให้ดำเนินการเป็นองค์คณะในนามของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรม ในองค์คณะต้องมีหัวหน้าคณะกรรมการ


 


                              มาตรา ๓ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรม   มีอำนาจดังต่อไปนี้


                                (๑)  มีหนังสือสอบถามหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง 


เพื่อให้มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงหรือให้ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐ


หรือของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง


                                (๒)  ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องส่งวัตถุ  เอกสาร  หรือพยานหลักฐานอื่น


ที่เกี่ยวข้อง  หรือส่งผู้แทนหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของรัฐนั้นมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำ


ประกอบการพิจารณาได้


                                (๓)  มีหนังสือเรียกให้ผู้ยื่นคำร้องทุกข์นำพยานหลักฐานมาประกอบการพิจารณา


                                (๔)  มีหนังสือเรียกให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทมาให้ถ้อยคำหรือ


ให้ส่งพยานหลักฐานมาประกอบการพิจารณา


                            ( ๕ ) เข้าไปในพื้นที่ของสถานประกอบการ  โรงงาน  หรือบริเวณใกล้เคียงในเขตนิคมอุตสาหกรรม   เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง  พยานหลักฐานต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับข้อพิพาทที่มีการร้องทุกข์ 


    


                                มาตรา ๓๑  ในการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์  ถ้าคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมเฉพาะพื้นที่ วินิจฉัยว่า


                                (๑)  เรื่องที่พิจารณานั้นไม่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมเฉพาะพื้นที่ตามมาตรา ๑๙ หรือมาตรา ๒๐  ให้เลขาธิการคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรมสั่งจำหน่ายเรื่องร้องทุกข์นั้น 


                                    แต่ในกรณีที่กรรมการวินิจฉัยชี้ขาดที่ประกอบเป็นองค์คณะพิจารณาเรื่องร้องทุกข์นั้นหรือเลขาธิการคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรมเห็นว่ากรณีมีปัญหาอันควรแก่การรับไว้พิจารณาจะเสนอเรื่องร้องทุกข์นั้นต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ส่วนกลางเพื่อพิจารณาวินิจฉัย  ก็ได้


                                (๒)   มีกรณีเป็นที่สงสัยว่าเรื่องที่มีการร้องทุกข์เป็นข้อพิพาทดังกล่าว   อาจจะมีสาเหตุมาจากการละเว้นการไม่ปฎิบัติตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ  และหรือจากการจงใจไม่ปฎิบัติตามกฎหมายของโรงงาน  สถานประกอบการ  หรือผู้รับงานช่วง  ให้เลขาธิการคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม  แจ้งให้คณะกรรมการติดตามตรวจสอบให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลในเขตนิคมอุตสาหกรรมดำเนินการต่อไป


 


                            มาตรา ๓๒ การพิจารณาข้อพิพาทของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมเฉพาะพื้นที่โดยปกติให้กระทำ ณ สถานที่พิจารณาข้อพิพาทตามวันเวลาทำการ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือจำเป็นหรือเพื่อความสะดวกของราษฎรในเขตท้องที่ที่มีข้อพิพาทเป็นจำนวนมากหัวหน้าคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมเฉพาะพื้นที่จะสั่งให้มีการพิจารณาในสถานที่อื่นหรือในวันเวลาใดเป็นการเฉพาะคราวก็ได้  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในระเบียบของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรม จะเป็นผู้กำหนด  และจะต้องทำเป็นประกาศกำหนดสถานที่พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด


                               


                          มาตรา ๓๓   การเข้าฟังการพิจารณาข้อพิพพาท  ให้เป็นไปตามระเบียบ


ของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรม จะเป็นผู้กำหนด


 


                                มาตรา ๓๔   การคัดค้าน  การยื่นคำคัดค้าน  การพิจารณาคำคัดค้านเพราะเหตุที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมเฉพาะพื้นที่    ให้เป็นไปตามระเบียบของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรม จะเป็นผู้กำหนด


                               


                            มาตรา ๓๕  การพิจารณาข้อพิพาทต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นไปโดยรวดเร็ว 


แต่ทั้งนี้ ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ยื่นคำร้องทุกข์  เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องมีโอกาส


ชี้แจงและแสดงพยานหลักฐานประกอบคำชี้แจงของตนตามสมควร


 


                                มาตรา ๓๖  ในขณะพิจารณาข้อพิพาท  ถ้าคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมเฉพาะพื้นที่เห็นสมควรกำหนดมาตรการหรือวิธีการใด ๆ เพื่อบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้ร้องทุกข์เป็นการชั่วคราวก่อนการวินิจฉัย  ไม่ว่าจะมีคำร้องขอจากผู้ร้องทุกข์หรือไม่  ให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมเฉพาะพื้นที่


เสนอความเห็นในการดำเนินการพร้อมด้วยเหตุผลไปยังเลขาธิการคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรมเพื่อแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้รับผิดชอบของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ  หรือผู้ว่าราชการจังหวัด  แล้วแต่กรณี  ที่จะสั่งการได้ตามกฎหมายว่าด้วย


ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหรือตามกฎหมายอื่น  พิจารณาสั่งการเพื่อบรรเทาทุกข์นั้นก่อนก็ได้  ในกรณีเช่นนี้ถ้าบุคคลดังกล่าวไม่เห็นด้วยกับมาตรการหรือวิธีการของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมเฉพาะพื้นที่ก็ให้มีอำนาจสั่งการได้ตามที่เห็นสมควรภายใต้ขอบเขตแห่งกฎหมาย  และเมื่อได้สั่งการไปประการใดหรือในกรณีที่เห็นว่าไม่สมควรสั่งการให้แจ้งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมเฉพาะพื้นที่


ทราบพร้อมด้วยเหตุผลภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเลขาธิการคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม


 


                                มาตรา ๓๗  คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมเฉพาะพื้นที่ ต้องระบุ


                                (๑)  ชื่อผู้ยื่นคำร้องทุกข์


                                (๒)  เหตุแห่งการร้องทุกข์


                                (๓)  ข้อเท็จจริงของเรื่องร้องทุกข์


                                (๔)  เหตุผลแห่งคำวินิจฉัย


                                (๕)  ข้อเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้รับผิดชอบของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ  หรือผู้ว่าราชการจังหวัด  แล้วแต่กรณี  ที่จะสั่งการได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหรือตามกฎหมายอื่นโดยต้องระบุให้ชัดแจ้งว่าผู้บังคับบัญชาหรือผู้รับผิดชอบควรจะสั่งการ


ในเรื่องใดว่าอย่างไร  พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบด้วย


                                (๖)  ข้อเสนอแนะหรือข้อสังเกตอย่างอื่นเกี่ยวกับการวางระเบียบปฏิบัติราชการ


การให้มีกฎหมาย  หรือแก้ไขปรับปรุง หรือยกเลิกกฎหมาย


                                คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมเฉพาะพื้นที่ต้องลงลายมือชื่อของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมเฉพาะพื้นที่ที่วินิจฉัยเรื่องข้อพิพาทนั้น


 


                                มาตรา ๓๘   เมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมเฉพาะพื้นที่ได้วินิจฉัยข้อพิพาทในเรื่องใดแล้ว ให้เลขาธิการคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมเสนอคำวินิจฉัยไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้รับผิดชอบของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ  หรือผู้ว่าราชการจังหวัดโดยเร็วที่สุด แต่ต้อง


ไม่เกินเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้มีคำวินิจฉัยเช่นนั้น


                               


 


ภาค ๒


สำนักงานคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม  


----------------


 


                                มาตรา ๓๙     ให้มีสำนักงานคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม   มีหน้าที่รับผิดชอบในงานราชการของคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม   และโดยเฉพาะให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้


                                (๑)  รับผิดชอบในงานธุรการของคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม   และศึกษาและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม


                                (๒)  ช่วยเหลือและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฎิบัติตามกฎหมายแก่หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม


                                (๓)  พิจารณาและจัดทำรายงานผลการดำเนินการ  การติดตาม  การประเมินผลการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ   การจัดทำระบบฐานข้อมูลทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับเขตนิคมอุตสาหกรรม   อาทิเช่น ระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี  ระบบการป้องกันภัย  ระบบการเตือนภัย  เป็นต้น


                            (๔) เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้มีกฎหมายหรือแก้ไขปรับปรุง  หรือยกเลิก


กฎหมายที่เกี่ยวกับการปัญหาที่สืบเนื่องจากเขตอุตสาหกรรม


                                (๕)  ให้ความเห็นหรือปฏิบัติงานอื่นอันเกี่ยวกับกฎหมายให้แก่หน่วยงานของรัฐ 


รัฐวิสาหกิจ 


(๖)   ประสานงานกับส่วนราชการ  รัฐวิสาหกิจ  ผู้ประกอบการในเขตนิคมอุตสาหกรรม


(๗)   ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ธุรการและวางระเบียบการปฏิบัติราชการของสำนักงานในส่วนที่เกี่ยวกับงานธุรการ


                                ( ๘)  ติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐหรือของเจ้าหน้าที่ของรัฐเมื่อ


ได้มีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมหรือเมื่อ        ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานได้สั่งการตามกฎหมายเพื่อให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินั้นๆ


                                (๙)  วิเคราะห์เหตุแห่งข้อพิพาท  ตลอดจนหลักกฎหมายและระเบียบแบบแผน


ที่จะนำมาใช้กับกรณีข้อพิพาท


                                (๑๐)  จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการติดตาม  ประเมินผล  การดำเนินของหน่วยงานต่างๆ และการดำเนินการทั้งหลายเกี่ยวกับข้อพิพาทที่สำนักงานรับเข้ามาดำเนินการ คณะรัฐมนตรี  และรัฐสภา


 


                                มาตรา ๔๐       ให้มีเลขาธิการคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม    มีหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งราชการของสำนักงานและ      รับผิดชอบขึ้นตรงต่อประธานคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม    และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงาน


                                ให้มีรองเลขาธิการคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม  เป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ


                                ให้เลขาธิการคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม    เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความเชี่ยวชาญในทางการบริหารการตรวจสอบองค์กรภาครัฐและการบริหารราชการแผ่นดินตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีและได้รับความเห็นชอบของวุฒิสภา


 


                                มาตรา  ๔๑     ให้เลขาธิการคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรมแต่งตั้งพนักงานผู้รับผิดชอบสำนวนข้อพิพาทจากข้าราชการซึ่งสังกัดสำนักงานคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม


                                เพื่อประโยชน์ในการทำสำนวนสอบสวนเรื่องข้อพิพาท  ให้เลขาธิการ


คณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรมมีอำนาจในการเรียกเอกสาร  ขอให้บุคคลมาให้ถ้อยคำสำนวน  หรือมาชี้แจงข้อเท็จจริง  ในการนี้เลขาธิการคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม


อาจมอบอำนาจเป็นหนังสือให้พนักงานผู้รับผิดชอบสำนวนข้อพิพาทหรือเลขานุการคณะกรรมการ


วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทประจำเขตนิคมอุตสาหกรรมปฏิบัติแทนได้


 


                                มาตรา  ๔๒   เลขาธิการคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรมมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลหนึ่งบุคคลใด


ให้เป็นเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรมเพื่อปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดภายในเขตท้องที่ที่บุคคลนั้นมีภูมิลำเนาตามที่ได้รับมอบหมาย  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในระเบียบของคณะกรรมการติดตามและวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเนื่องมาจากเขตนิคมอุตสาหกรรม


                                มาตรา  ๔๓   เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมขึ้นในท้องที่ใด ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้กำหนดหน่วยงานของรัฐที่จะเป็นหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรม   ดังกล่าวไว้ด้วย


                                ในกรณีที่พระราชกฤษฎีกากำหนดให้หน่วยราชการใดเป็นหน่วยงานธุรการ


ของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรม       และส่วนราชการนั้นๆมีงบประมาณไม่เพียงพอให้รัฐจัดสรรเงินอุดหนุนแก่ส่วนราชการนั้น


 


                                มาตรา  ๔๔   หน่วยงานธุรการของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรม       มีหน้าที่ในการจัดหาสถานที่  พนักงานผู้รับผิดชอบสำนวน เจ้าหน้าที่  ตลอดจนปฏิบัติงานธุรการต่าง ๆ ให้แก่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรม  โดยจัดตั้งขึ้นเป็น "สำนักงานคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมเฉพาะพื้นที่    "


                                ให้มีเจ้าหน้าที่คนหนึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมพื้นที่มีหน้าที่รับผิดชอบในงานธุรการของคณะกรรมการ


                                การแต่งตั้งเลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมพื้นที่และพนักงานผู้รับผิดชอบสำนวนข้อพิพาทประจำคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมพื้นที่ ให้แต่งตั้งจากข้าราชการของส่วนราชการที่เป็นหน่วยธุรการ


 


ภาค ๓


บทกำหนดโทษ


----------


 


                                มาตรา        ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน  ปฏิบัติหรือละเว้นไม่ปฏิบัติต่อผู้ที่ยื่นคำร้องข้อพิพาทมายังสำนักงานหรือต่อบุคคลอื่นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย  เพราะเหตุที่มีการร้องเรียนในปัญหาที่เป็นข้อพิพาท ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี  และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท


 


                                มาตรา ๔๕       ผู้ใดเอาความเท็จมาเสนอเป็นเรื่องร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัตินี้ 


ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี  หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ 


 


                                มาตรา ๔๖       ผู้ใดในฐานะเป็นพยานจงใจให้ถ้อยคำ  หรือแสดงพยานหลักฐาน


อันเป็นเท็จในข้อสำคัญอันเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นข้อพิพาท  ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรม    พนักงานผู้รับผิดชอบสำนวน   หรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นผู้ได้รับ


มอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี  หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท


หรือทั้งจำทั้งปรับ


                             แต่ถ้าผู้นั้นลุแก่โทษแจ้งความจริงต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรม    พนักงานผู้รับผิดชอบสำนวนข้อพิพาท  หรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ก่อนมีการวินิจฉัยเรื่องที่เป็นข้อพิพาทนั้น  ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้


 


                                มาตรา ๔๗      ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในเขตนิคมอุตสาหกรรมต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน  หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


 


บทเฉพาะกาล


----------


 


       ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ               


 






[1] ในต่างประเทศที่มีการกำหนดภาระกิจของรัฐใหม่ในลักษณะนี้จะมีการตั้ง องค์กรในลักษณะนี้เสมอ  ซึ่งนอกจากจะเรียกว่า  tribunal  แล้ว  ยังอาจจะเรียกชื่ออย่างอื่นอีกเช่น  regulatory  commission  หรือ  อาจจะเรียกว่า  regulatory  agency  ก็ได้ 


    และองค์กรที่จะถูกควบคุมติดตามตรวจสอบได้แก่  การนิคมฯ  กรมโรงงาน  กรมแรงงาน  กรมควบคุมมลพิษ  จังหวัด  เป็นต้น  



[2] ซึ่งจากการตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมหรือการป้องกันปัญหาในปัจจุบันก็มีอยู่เป็นจำนวนมากและน่าจะครอบคลุมปัญหาต่างๆได้ในระดับหนึ่ง



[3] ตัวอย่างเช่น  การที่หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการตรวจโรงงาน  ไม่สามารถที่จะเข้าตรวจได้     ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่มีอำนาจบังคับอย่างใดทั้งในความเป็นจริงและในทางกฎหมาย   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเจ้าอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนในเขตท้องถิ่นที่เป็นมาตุภูมิของตนเองได้    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณะสุขไม่สามารถแม้กระทั้งเข้าไปดูสภาพที่เป็นอันตรายต่อสุขภาวะต่อประชาชนที่เกิดขึ้นในโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมในภาคเหนือได้     อำนาจตุลาการไม่(สามารถที่จะ)ทำหน้าที่ในการค้นหาความจริงทั้งหลายที่เกิดขึ้นเบื้องหลังโรงงาน  และเกินความ(รับ) รู้ เหนือและใต้เขตพื้นที่โรงงาน    อำนาจนิติบัญญัติในฐานะกรรมาธิการชุดต่างๆกลายเป็นตัวตลกในการใช้อำนาจ  เพราะเรียกหรือสั่งข้าราชการที่ดูแลรับผิดชอบให้มาชี้แจงก็เป็นการกระทำที่ไม่เกิดความหมายอย่างใดๆ    ล่าสุด  ประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ  ก็กลัวแม้กระทั้งเงาของคำขู่ของโรงงานที่เอยปากว่าจะย้ายฐานไปยังประเทศอื่น    หรือแม้กระทั้ง  หมอที่เป็นผู้ที่ถือว่ามีความรู้  มีความคิด  ทันต่อสภาพความเสี่ยงและความไม่ปลอดภัยทั้งหลาย  ก็ยังไม่สามารถใช้ความรู้ความสามารถปกป้องดูแลลูกหลานของตัวเอง  ฯลฯ



[4] ระบบโครงสร้างที่ก่อให้เกิดปัญหาอย่างเป็นระบบเริ่มต้นจาก   ความคิดในการพัฒนาที่เลือกตัวแบบของการพัฒนาแบบไม่สมดุลในทุกๆด้าน   โดยมีระบบราชการ  ระบบกฎหมาย   ระบบกระบวนการยุติธรรม  ให้การสนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อม  ทั้งในลักษณะกระตือรือล้น  และในลักษณะวางเฉยไม่ให้ความช่วยเหลือ   ไม่รับรู้   ไม่ให้ความเป็นธรรม  


             ในกรณีเขตนิคมอุตสาหกรรมมีระบบการสนับสนุนและจัดโครงสร้างแบบพิเศษ   โดยมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้เกิดการตั้งโรงงานและประกอบการได้   ในทางด้านบริหารทั้งในระดับนโยบาย   ที่มุ่งส่งเสริมโดยมีนโยบายที่ชัดเจน   ต่อเนื่อง  ติดต่อกันมาเป็นเวลานาน   มีการจัดตั้งองค์กรให้ทำหน้าที่ในการส่งเสริม  ดูแล  แก้ปัญหา (  ดังจะเห็นได้จาก  การจัดตั้งสภาพัฒน์   มีการตั้งคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกเป็นการเฉพาะ )    มีการจัดระบบราชการให้ทำการสนับสนุน   มีการใช้มาตราการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุน  มีการจูงใจให้เกิดการลงทุน   มีมาตราการจูงใจให้สามารถือครองที่ดิน      มีหน่วยงานในระบบราชการตั้งแต่ระดับบนและระดับล่างให้การสนับสนุน   โดยขาดระบบการการประเมิน   ขาดการติดตามผล   การใช้วิธีการลดการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายจึงเป็นการจูงใจให้อุตสาหกรรมที่มีลักษณะที่มีแนวโน้มจะไม่ชอบด้วยกฎหมายในด้านต่างๆนิยมชมชอบเป็นอย่างยิ่ง  เพราะมีรัฐที่ประกันความเสี่ยงที่เกิดจากการถูกบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายได้


             ความพยายามล่าสุดของฝ่ายบริหาร  คือ  ความพยายามในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ  


             ในทางด้านนิติบัญญัติ   นอกจากไม่ปรับปรุงกฎหมายให้นำไปสู่การมีมาตราการป้องกันปัญหาแล้ว    กลไกกรรมาธิการของรัฐสภาก็ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาให้ได้


              กลไกกระบวนการยุติธรรมไม่มีการปรับตัว   ระบบทั้งระบบเมื่อเปรียบเทียบกับความสลับซับซ้อนของปัญหาแล้วไม่สามารถที่จะหวังหรือเห็นได้ว่า  ระบบกระบวนการยุติธรรมจะให้ความเป็นธรรมที่คุ้มค่ากับทรัพยากรที่สังคมทุ่มเทให้ได้อย่างไร   



[5] เนื่องจาก  ปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้นมีสาเหตุมาจากอำนาจตามกฎหมายของหน่วยงานต่างๆขัดแย้งกัน  ซึ่งรวมไปถึงอำนาจในการใช้งบประมาณ  อำนาจในการบังคับบัญชากำลังคน  และผลประโยชน์อื่นๆที่จะได้รับมาจากความบกพร่องของระบบราชการ  จึงทำให้ต้องปฎิรูปใหญ่ในส่วนที่ว่าด้วยการจัดระบบองค์กรเสียใหม่

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net