Skip to main content
sharethis

ชื่อบทความเดิม :


ปัญหาของระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2540


และการนำระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนมาใช้ในประเทศไทย



 


 


โดย ปริญญา เทวานฤมิตรกุล


 



ผู้เขียนไม่เห็นด้วยเลยแม้แต่น้อยกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยกระบวนการที่มีที่มาจากการยึดอำนาจและฉีกรัฐธรรมนูญเช่นนี้ แต่ทั้งนี้เพื่อเป็นการชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของระบบเลือกตั้งของประเทศไทยที่ผ่านมา และเสนอทางเลือกเรื่องการนำระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน (proportional representation) มาใช้ในประเทศไทย จึงได้เขียนบทความนี้ขึ้น โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบเลือกตั้งของประเทศไทยต่อไป


1. ปัญหาของระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2540


รัฐธรรมนูญ 2540 ได้ออกแบบระบบเลือกตั้ง ส.. ที่ส่งเสริมให้เกิดพรรคการเมืองขนาดใหญ่ โดยพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กจะเสียเปรียบ ซึ่งเราจะเห็นได้จากผลการเลือกตั้ง ส.. ในการเลือกตั้งวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ดังต่อไปนี้ (ตาราง 1)


 


 


ตาราง 1: ผลการเลือกตั้ง ส.. ในการเลือกตั้ง 6 .. 2548


 































































พรรค


แบ่งเขตเลือกตั้ง


บัญชีรายชื่อ


จำนวน


สสทั้งหมด


จำนวน


..


จำนวนคะแนน


จำนวน


..


จำนวนคะแนน


พรรคไทยรักไทย


310 คน


(77.5 %)


16,523,344 คะแนน (51.10 %)


67 คน


(67 %)


18,993,073 คะแนน


(58.73 %)


377 คน


(75.4 %)


พรรคประชาธิปัตย์


70 คน


(17.5 %)


7,401,631 คะแนน


(22.89 %)


26 คน


(26 %)


7,210,742 คะแนน


(22.30 %)


96 คน


(19.2 %)


พรรคชาติไทย


18 คน


(4.5 %)


3,119,473 คะแนน


(9.65 %)


7 คน


(7 %)


2,061,559 คะแนน


(6.37 %)


25 คน


(5 %)


พรรคมหาชน


2 คน


(0.5 %)


2,223,399 คะแนน


(6.88 %)


-


(0 %)


1,346,631 คะแนน


(4.16 %)


2 คน


(0.4 %)


พรรคอื่นๆ


-


389,869 คะแนน


(1.21 %)


-


1,436,218 คะแนน


(4.46 %)


-


รวม


400 คน


29,657,716 คะแนน


100 คน


31,048,223 คะแนน


500 คน


รวมบัตรเสียและงดออกเสียง


 


32,337,611 คะแนน


 


32,341,330 คะแนน


 


 


ที่มา : สรุปและวิเคราะห์จากข้อมูลการเลือกตั้ง 6 กุมภาพันธ์ 2548 ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง


 


 


คำถามคือ การที่ พรรคไทยรักไทย ชนะการเลือกตั้งในการเลือกตั้งวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 "แบบถล่มทลาย" ได้ ส.. มากถึง 377 คน ซึ่งเท่ากับ 75.4 เปอร์เซ็นต์ ของ ส.. ทั้งหมด 500 คนนั้น แปลว่าประชาชนที่ไปเลือกตั้ง 75.4 เปอร์เซ็นต์เลือกพรรคไทยรักไทยใช่หรือไม่ คำตอบคือ ไม่ใช่ เพราะเมื่อเราพิจารณาผลการเลือกตั้งวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งเป็นการเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่สองของ พ... ทักษิณ ชินวัตร เราจะพบว่า พรรคไทยรักไทยได้คะแนนจาก การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเพียง 51.10 เปอร์เซ็นต์ และได้คะแนนจาก การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อเพียง 58.73 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น โดยจะขอแยกวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งปี 2548 ของพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งทั้งสองแบบดังนี้


ใน การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง พรรคไทยรักไทยได้ ส.. ทั้งหมด 310 คน ซึ่งเท่ากับ 77.50 เปอร์เซ็นต์ของจำนวน ส.. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมด 400 คน ในขณะที่ได้คะแนนแบบแบ่งเขตรวมกันทุกเขตทั่วประเทศเพียง 51.10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อพิจารณาจากคะแนนที่ได้มาจากประชาชน จะเห็นได้ว่าพรรคไทยรักไทยได้ ส.. มากเกินไปกว่าเจตนารมณ์ของประชาชน 26.40 เปอร์เซ็นต์ หรือเท่ากับ ส.. จำนวน 105 คน


สำหรับ การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทยได้ ส.. 67 คน หรือ 67 เปอร์เซ็นต์ของจำนวน ส.. แบบบัญชีรายชื่อทั้งหมด 100 คน ในขณะที่ได้คะแนนจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ 58.73 เปอร์เซ็นต์ จะเห็นได้ว่าพรรคไทยรักไทยได้ ส.. แบบนี้มากเกินไปกว่าเจตนารมณ์ของประชาชน 8.27 เปอร์เซ็นต์ หรือเท่ากับ ส.. จำนวน 8 คน


เราจะเห็นได้ว่า ระบบเลือกตั้งของรัฐธรรมนูญ 2540 นั้นมิใช่ระบบเลือกตั้งที่ดี เพราะทำให้พรรคไทยรักไทยของ พ... ทักษิณได้ ส.. มากกว่าที่ควรจะได้ถึง 113 คน (แบบแบ่งเขต 105 คน บวกกับแบบบัญชีรายชื่อ 8 คน) เมื่อพิจารณาในแง่ของเจตนารมณ์ของประชาชนพรรคไทยรักไทยควรที่จะได้ ส.. เพียง 264 คนเท่านั้น ไม่ใช่ 377 คนตามผลเลือกตั้งที่ออกมาเช่นนี้


 


2. ระบบเลือกตั้ง และสาเหตุของความผิดเพี้ยนของระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2540


ระบบเลือกตั้งในโลกนี้ แบ่งออกได้เป็นสองระบบใหญ่ๆ เท่านั้นคือ ระบบเลือกตั้งเสียงข้างมาก (majority system) และ ระบบเลือกตั้งสัดส่วน หรือการมีผู้แทนแบบสัดส่วน (proportional representation) ซึ่งในต่างประเทศจะเรียกสั้นๆ ว่าการเลือกตั้งแบบ PR


ในระบบเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากนั้น ผู้ชนะการเลือกตั้งคือผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุด ระบบเลือกตั้งเสียงข้างมากยังแบ่งเป็น ระบบเลือกตั้งเสียงข้างมากธรรมดา (simple majority system) หรือเสียงข้างมากสัมพัทธ์ (relative majority system) กับ ระบบเลือกตั้งเสียงข้างมากเด็ดขาด หรือเสียงข้างมากสัมบูรณ์ (absolute majority system) ใน ระบบเลือกตั้งเสียงข้างมากธรรมดา ผู้ชนะเลือกตั้งคือผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุดในบรรดาผู้สมัครทุกคน โดยจะน้อยแค่ไหนก็ไม่สำคัญ ขอให้ได้มากที่สุดเป็นอันใช้ได้ การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2540 คือระบบเลือกตั้งแบบนี้


ส่วนใน ระบบเลือกตั้งเสียงข้างมากเด็ดขาด ผู้ที่จะชนะเลือกตั้งจะต้องได้คะแนน เกินครึ่ง ของคะแนนทั้งหมด ระบบเลือกตั้งแบบนี้จึงต้องเป็นระบบเขตละคนเท่านั้น ประเทศที่ใช้ระบบเลือกตั้งเสียงข้างมากเด็ดขาดคือประเทศฝรั่งเศสและประเทศออสเตรเลีย โดยประเทศ ฝรั่งเศส ถ้าในเขตเลือกตั้งหนึ่งๆ ไม่มีผู้ใดได้คะแนนเกินครึ่ง จะต้องมี การเลือกตั้งรอบที่สอง โดยให้ผู้สมัครที่ได้คะแนนมากที่สุดสองคนแรกมาให้ประชาชนเลือกอีกครั้ง ส่วนประเทศ ออสเตรเลีย จะให้ประชาชนเลือกตั้งเพียงครั้งเดียว โดยออกแบบบัตรเลือกตั้งให้ประชาชนลงคะแนนไว้เลยว่า ถ้าผู้ที่ตนเลือกไม่ได้คะแนนมากที่สุดในสองลำดับแรก จะยกคะแนนนั้นให้ใคร ทำให้สามารถได้ผู้สมัครที่ได้คะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาดได้ด้วยการเลือกตั้งเพียงครั้งเดียว ระบบออสเตรเลียนี้เรียกว่าการเลือกตั้งแบบ alternative vote หรือเรียกว่าการเลือกตั้งแบบ AV   


สำหรับ ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน จะให้ประชาชนเลือกเป็นพรรค โดย พรรคการเมืองแต่ละพรรคจะได้ ส.. ตามสัดส่วนของคะแนนที่ได้จากประชาชน ซึ่งการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อตามรัฐธรรมนูญ 2540 คือการเลือกตั้งในระบบนี้


สาเหตุของความผิดเพี้ยนไปจากเจตนารมณ์ของประชาชนในการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อตามรัฐธรรมนูญ 2540 มาจากหลักเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญ 2540 กำหนดให้ พรรคการเมืองที่ได้คะแนนแบบบัญชีรายชื่อไม่ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ จะไม่ได้ ส.. แบบบัญชีรายชื่อเลย เช่น พรรคมหาชนได้คะแนน 4.16 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งควรจะได้ ส.. แบบบัญชีรายชื่อ 4 คน แต่กลับไม่ได้ ส.. แบบนี้เลยแม้แต่คนเดียว ขณะที่ความผิดเพี้ยนของการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งมาจากตัวระบบเลือกตั้งโดยตรง เนื่องจากในการเลือกตั้งระบบเสียงข้างมากธรรมดานั้นคะแนนของประชาชนที่เลือกคนแพ้จะหายไปหมด พรรคการเมืองขนาดกลางหรือขนาดเล็กจึงเสียเปรียบ ระบบเลือกตั้งเสียงข้างมากจึงเป็นระบบเลือกตั้งที่ส่งเสริมพรรคใหญ่ และยิ่งถ้าเป็นระบบเลือกตั้ง เสียงข้างมากธรรมดา ที่แบ่งเขตเลือกตั้งให้เป็น เขตละคน (single member constituency) ซึ่งเป็นระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2540 พรรคที่ใหญ่ที่สุดเท่านั้นที่จะได้เปรียบ ในระบบเลือกตั้งเสียงข้างมากธรรมดาก่อให้เกิดปัญหาว่าบ่อยครั้งที่ผู้ชนะการเลือกตั้งไม่ได้มาจากเสียงข้างมากอย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่น ในการเลือกตั้งปี 2548 ใน 310 เขตที่พรรคไทยรักไทยชนะเลือกตั้ง มีถึง 28 เขตที่คะแนนไม่เอาพรรคไทยรักไทยคือคะแนนที่เลือกพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคมหาชนรวมกันมากกว่าคะแนนของ ส.. พรรคไทยรักไทย


ถึงแม้ว่าระบบเลือกตั้งเสียงข้างมาก เขตละคน จะเป็นระบบเลือกตั้งเสียงข้างมากที่ดีที่สุด และถ้าเป็นระบบเลือกตั้ง เสียงข้างมากธรรมดา จะมีข้อเด่นคือทำให้เกิดรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ เพราะเป็นระบบที่จะคัดเอาพรรคการเมืองขนาดเล็กออกไปจากสภา ในที่สุดถ้าใช้ไปอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิด ระบบพรรคการเมืองสองพรรค ดังเช่นที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ แต่ก็มีข้อเสียคือพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กจะเสียเปรียบ และพรรคการเมืองจะมีจำนวน ส.. ในสภาไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของประชาชน ความจริงแล้วสหรัฐอเมริกาและอังกฤษมีพรรคการเมืองหลายสิบพรรค แต่ด้วยระบบเลือกตั้งเสียงข้างมากธรรมดาเขตละคน ทำให้พรรคการเมืองที่สามหรือพรรคการเมืองทางเลือกแทบไม่มีโอกาสเลย 


ในความเห็นของผู้เขียนระบบเลือกตั้งที่ดีคือ ระบบเลือกตั้งที่ได้ผลการเลือกตั้งตรงตามเจตนารมณ์ของประชาชน เพราะประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ระบบเลือกตั้งจึงควรทำให้ประชาชนได้ผู้แทนในสภาที่ใกล้เคียงกับเจตนารมณ์ของประชาชนให้มากที่สุด เมื่อพิจารณาในแง่นี้ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนจึงเป็นระบบเลือกตั้งที่ดีกว่าระบบเลือกตั้งแบบเสียงข้างมาก ตามรัฐธรรมนูญ 2540 มี ส.. จากระบบเลือกตั้งเสียงแบบข้างมากถึง 400 คน หรือ 80 เปอร์เซ็นต์ของ ส.. ทั้งหมด ในขณะที่ ส.. จากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนมีเพียง 100 คนหรือ 20 เปอร์เซ็นต์เท่นั้น ทั้งยังมีหลักเกณฑ์เรื่องห้าเปอร์เซ็นต์ทำให้พรรคเล็กเสียเปรียบ เราจึงเห็นได้ว่า ระบบเลือกตั้งของรัฐธรรมนูญ 2540 เป็นระบบที่มีแต่พรรคใหญ่เท่านั้นที่ได้เปรียบ พรรคขนาดกลางและขนาดเล็กจะเสียเปรียบ ยิ่งเล็กยิ่งเสียเปรียบ ระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2540 ทำให้ พ... ทักษิณ ได้ ส.. มากกว่าที่ควรจะได้ ในขณะที่ฝ่ายค้านได้ ส.. น้อยกว่าที่ควรจะได้ ทำให้เกิดรัฐบาลเข้มแข็งมากเกินไปกว่าที่ควรจะเป็น เมื่อประกอบกับสาเหตุอื่นๆ จากรัฐธรรมนูญ 2540 ทำให้ พ... ทักษิณ เข้มแข็งมากจนเกินไป กลายเป็น super strong prime minister ฝ่ายค้านอ่อนแอ ไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุล และไม่จำเป็นต้องฟังเสียงประชาชน การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงต้องอยู่บนพื้นฐานของการแก้ปัญหาเหล่านี้


3. แนวทางแก้ไข : ระบบเลือกตั้งเสียงข้างมากเด็ดขาดหรือระบบเลือกตั้งสัดส่วน


ปัญหาของระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2540 ดังที่กล่าวมาในหัวข้อที่ 1 และ 2 มีสองแนวทางในการแก้ไขคือ แนวทางที่หนึ่ง ใช้ระบบเลือกตั้งเสียงข้างมากเด็ดขาด หรือแนวทางที่สอง ใช้ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน ระบบเลือกตั้งเสียงข้างมากเด็ดขาดมีวิธีการสองวิธีคือ เลือกตั้งรอบสองแบบฝรั่งเศส หรือเลือกตั้งแบบ alternative vote ดังที่ใช้ในออสเตรเลียดังที่ได้กล่าวมาแล้ว วิธีนี้จะทำให้ได้ผู้แทนในเขตเลือกตั้งที่ตรงตามเจตนารมณ์ของประชาชนเสียงข้างมากในเขตเลือกตั้งได้อย่างแท้จริง และจะทำให้พรรคการเมืองลำดับที่สองและสามมีที่นั่งในสภามากขึ้น ซึ่งจะทำให้รัฐบาลไม่เข้มแข็งเกินไป ตัวอย่างเช่น สมมติว่าในการเลือกตั้งปี 2548 ใช้ระบบนี้ พรรคไทยรักไทยจะมี ส.. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งน้อยลงไปอย่างน้อย 28 คน (เพราะใน 28 เขตนี้ ผู้สมัครพรรคไทยรักไทยแพ้คะแนนผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์และพรรคมหาชนรวมกัน) จาก 377 คนพรรคไทยรักไทยก็จะเหลือ 349 คน แต่ระบบเลือกตั้งเสียงข้างมากเด็ดขาดก็ยังแก้ปัญหาคะแนนเสียงที่หายไปของประชาชนที่เลือกคนแพ้เลือกตั้งไม่ได้ และจำนวน ส.. 349 คน ซึ่งเท่ากับ 69.8 เปอร์เซ็นต์ของ ส.. ทั้งหมด ก็ยังสูงเกินไปกว่าเจตนารมณ์ของประชาชนมาก ระบบเลือกตั้งเสียงข้างมากเด็ดขาดจึงยังไม่อาจทำให้ได้สภาผู้แทนที่มีผู้แทนตรงตามเจตนารมณ์ของประชาชนได้อย่างแท้จริง วิธีที่ดีกว่าคือระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน ซึ่งจะได้กล่าวถึงในหัวข้อต่อไป


4. การนำระบบเลือกตั้งสัดส่วนมาใช้ในประเทศไทย


นอกจากระบบเลือกตั้งสัดส่วนจะมีข้อดีที่เป็นระบบเลือกตั้งที่พรรคการเมืองจะได้ผู้แทนปวงชนตรงตามเจตนารมณ์ของประชาชนดังที่ได้กล่าวแล้ว ยังมีข้อดีอีกประการคือ เป็นระบบเลือกตั้งที่ส่งเสริมระบบพรรคการเมือง ทำให้พรรคการเมืองต้องแข็งขันกันในทางนโยบาย แต่ขณะเดียวกันระบบเลือกตั้งเสียงข้างมากเขตละคนก็มีข้อดีที่ได้ผู้แทนปวงชนที่ต้องลงไปหาเสียงกับประชาชนและอยู่ใกล้ชิดประชาชนในเขตเลือกตั้ง ประเทศเยอรมนีจึงนำระบบเลือกตั้งทั้งสองระบบมาผสมผสานกัน เกิดเป็นระบบเลือกตั้งสัดส่วนแบบเยอรมันที่สามารถนำข้อดีของระบบเลือกตั้งทั้งสองระบบมาได้ ผู้เขียนจึงขอยกระบบเลือกตั้งสัดส่วนของเยอรมันมาเป็นตัวอย่าง เพื่อที่อาจจะใช้เป็นแนวทางในพัฒนาระบบเลือกตั้งของประเทศไทยได้


สภาบุนเดสทากของประเทศเยอรมนีมี ส.. จากการเลือกตั้งทั้งสองแบบเท่าๆ กันคือมี ส..จากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งซึ่งใช้ระบบเลือกตั้งเสียงข้างมากเขตละคนจำนวน 299 คน และ ส.. จากบัญชีรายชื่ออีก 299 คน รวมจำนวนทั้งหมด 598 คน โดยมิได้แยกกันเด็ดขาดระหว่างการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อเหมือนระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2540 แต่ ใช้คะแนนที่เลือกบัญชีรายชื่อซึ่งเป็นระบบสัดส่วนเป็นตัวกำหนดก่อน ว่าแต่ละพรรคการเมืองจะมี ส.. ได้กี่คน โดยมีขั้นตอนโดยสรุปดังนี้


1. ประเทศเยอรมนีแยกบัญชีรายชื่อออกเป็น 16 บัญชีตามจำนวนมลรัฐ โดยแต่ละมลรัฐจะมีจำนวน ส.. แบบบัญชีรายชื่อ และ ส.. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งเท่าๆ กัน การคำนวณจำนวน ส.. ที่แต่ละพรรคจะได้จะต้องคำนวณแยกกันตามผลการเลือกตั้งของแต่มลรัฐ


2. บัตรเลือกตั้งจะเป็นใบเดียว แต่แยกเป็นสองข้าง ข้างหนึ่งคือคะแนนสัดส่วน จะกากบาทเลือกพรรคที่ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ อีกข้างหนึ่งคือคะแนนเลือก ส.. เขตเลือกตั้ง โดยประชาชนสามารถกากบาทคะแนนสัดส่วนให้พรรคหนึ่ง และกากบาทเลือกผู้สมัคร ส.. เขตเลือกตั้งของอีกพรรคหนึ่งได้


3. รวมจำนวนคะแนนจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนที่แต่ละพรรคได้ในแต่ละมลรัฐ สำหรับพรรคที่ได้คะแนนไม่ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ จะไม่ได้ ส.. แบบบัญชีรายชื่อ โดยมีข้อยกเว้นสำหรับพรรคที่ได้ ส.. แบบแบ่งเขตแล้ว 2 คนขึ้นไป และพรรคที่เป็นพรรคของชนกลุ่มน้อย


4. นำคะแนนการเลือกตั้งแบบสัดส่วนนั้นมาคิดสัดส่วนจำนวน ส.. ที่แต่ละพรรคจะได้รับในแต่ละมลรัฐ โดยใช้จำนวน ส.. ทั้งหมดของทั้งมลรัฐ คือทั้ง ส.. แบบแบ่งเขต และ ส.. แบบบัญชีรายชื่อรวมกัน


5. เมื่อได้จำนวน ส.. ที่แต่ละพรรคจะได้ในแต่ละมลรัฐแล้ว ให้นำจำนวน ส.. ของแต่ละพรรคที่ได้รับเลือกตั้งจาก ส.. แบบแบ่งเขตในมลรัฐนั้นๆ มาหักออก


6. จำนวนที่เหลือคือจำนวน ส.. แบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคจะได้ในแต่ละมลรัฐ โดยผู้ที่ได้เป็น ส.. คือผู้สมัครตั้งแต่ลำดับแรกไปจนถึงลำดับตามจำนวน ส.. แบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคได้รับ


7. สำหรับกรณีที่พรรคการเมืองใดมีจำนวนผู้ชนะการเลือกตั้ง ส.. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เกินกว่าสัดส่วนที่ควรจะได้จากคะแนนบัญชีรายชื่อ ซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นได้ในบางครั้ง ในกรณีนี้ ผู้ชนะการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทุกคนจะได้เป็น ส.. หมด แต่พรรคนั้นจะไม่ได้ ส.. บัญชีรายชื่อในมลรัฐนั้นเลย เพราะได้ ส.. เกินสัดส่วนที่ควรจะได้ไปแล้ว จำนวน ส.. ของเยอรมันจึงมิได้ตายตัวที่ 598 คน แต่อาจจะมีเกินบ้างในบางครั้ง   


เมื่อดูผลเลือกตั้งจากจำนวน ส.. ที่แต่ละพรรคจะได้รับแล้ว จึงเท่ากับประเทศเยอรมนีใช้ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะแต่ละพรรคจะมีจำนวน ส.. ในสภาตามสัดส่วนคะแนนที่มาจากประชาชน แต่ขณะเดียวกันระบบเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากเขตละคน ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่า เพราะทุกคนที่ชนะเลือกตั้งในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจะได้เป็น ส.. ทุกคน ระบบเลือกตั้งของประเทศเยอรมนีจึงเป็นระบบเลือกตั้งที่ผสมผสานข้อดีของการเลือกตั้งทั้งสองระบบ และการเลือกตั้งทั้งเลือกพรรคและเลือกคนเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัวที่สุด ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนของเยอรมันจึงไม่ใช่เพียงแต่เป็น proportional representation เท่านั้น แต่เป็นถูกเรียกว่าเป็น personalized proportional representation คือ การเลือกผู้แทนในระบบสัดส่วนโดยทำให้เป็นการเลือกผู้แทนแบบตัวบุคคลด้วย ระบบเลือกตั้งสัดส่วนของเยอรมันจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นเลิศในบรรดาประเทศที่ใช้ระบบเลือกตั้งสัดส่วนด้วยกัน ถ้าจะมีข้อเสียอยู่บ้างก็คือเป็นระบบเลือกตั้งที่ซับซ้อนและต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ


ระบบเลือกตั้งสัดส่วนแบบเยอรมันมีเงื่อนไขสำคัญคือ หนึ่ง จำนวน ส.. ทั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อจะต้องมีจำนวนเท่ากัน เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดความผิดเพี้ยนได้ สอง ในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตจะต้องเป็นการเลือกตั้งเขตละคน (single member constituency) เพื่อให้เป็นการผสมผสานข้อดีของการเลือกตั้งทั้งสองระบบได้อย่างแท้จริง


เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ผู้เขียนขอยกตัวอย่างถ้าหากจะมีการนำระบบเลือกตั้งสัดส่วนแบบเยอรมันมาใช้ในประเทศไทย สมมติว่าเรามี ส.. ทั้งหมด 500 คนเท่ากับรัฐธรรมนูญ 2540 เราจะต้องแบ่งเป็น ส.. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 250 คน และ ส.. แบบบัญชีรายชื่อ 250 คน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะมีสองคะแนน คะแนนแรกคือการเลือกแบบสัดส่วนหรือเลือกบัญชีรายชื่อ คะแนนที่สองคือคะแนนเลือก ส.. แบบเขตเลือกตั้ง สมมติว่ามีพรรค ก ได้คะแนนแบบสัดส่วน 40 เปอร์เซ็นต์ และได้ ส.. แบบแบ่งเขต 110 คน พรรค ข ได้คะแนนแบบสัดส่วน 30 เปอร์เซ็นต์ และได้ ส.. แบบแบ่งเขต 80 คน พรรค ค ได้คะแนนแบบสัดส่วน 20 เปอร์เซ็นต์ และได้ ส.. แบบแบ่งเขต 40 คน พรรค ง ได้คะแนนแบบสัดส่วน 10 เปอร์เซ็นต์ และได้ ส.. แบบแบ่งเขต 20 คน (โปรดดูตาราง 2) การคำนวณต้องเริ่มต้นจาก (1) นำคะแนนจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน (คือคะแนนที่เลือกบัญชีรายชื่อ) มาคำนวณจำนวน ส.. ที่แต่ละพรรคจะได้ (2) จากนั้นให้นำจำนวน ส.. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละพรรคได้ (3) มาลบออกจากจำนวน ส.. ทั้งหมดของแต่ละพรรค (2) ผลที่ได้ก็คือจำนวน ส.. แบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรค (4) ผลการเลือกตั้งก็จะเป็นไปตามตาราง 2 ข้างล่างนี้


 


ตาราง 2: ตัวอย่างวิธีการเลือกตั้งระบบสัดส่วนแบบเยอรมัน


 








































 


(1) คะแนนจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน


(2) จำนวน ส.. ทั้งหมดที่แต่ละพรรคจะได้


(3) จำนวน ส..


แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง


(4) จำนวน ส..


แบบบัญชีรายชื่อ


พรรค ก


40 %


200 คน


110


90


พรรค ข


30 %


150 คน


80


70


พรรค ค


20 %


100 คน


40


60


พรรค ง


10 %


50 คน


20


30


รวม


100 %


500 คน


250 คน


250 คน


 


นอกจากนี้การเลือกตั้งระบบสัดส่วนแบบเยอรมันยังมีเงื่อนไขประการที่ สาม คือบัญชีรายชื่อจะต้องแยกเป็นหลายบัญชีตามมลรัฐ เพื่อให้ผู้สมัคร ส.. แบบบัญชีรายชื่อกระจายไปตามมลรัฐไม่รวมศูนย์ที่ส่วนกลาง ซึ่งทำให้ ส.. บัญชีรายชื่อลงไปใกล้ชิดประชาชนมากขึ้น การเลือกตั้งระบบสัดส่วนจึงไม่ควรใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้งโดยมีแค่บัญชีเดียว แต่ควรที่จะต้องแบ่งเป็นเขตเลือกตั้ง ซึ่งหลักก็คือ แบ่งเขตเลือกตั้งออกไปให้มาก ให้ลงไปถึงประชาชนให้มากที่สุด แต่ต้องไม่มากจนกระทั่งเขตเลือกตั้งแต่ละเขตมี ส.. น้อยเกินไป เพราะจะทำให้ไม่สามารถนำมาจัดสรรให้ตรงตามสัดส่วนของคะแนนที่ได้จากประชาชน ซึ่งการแบ่งการเลือกตั้งแบบสัดส่วนออกเป็นหลายเขตเลือกตั้งนี้ จะมีประโยชน์สำคัญคือ ถึงแม้จำนวน ส.. จากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจะมีน้อยลง แต่จะทำให้ ส.. ที่เคยเป็น ส.. เขตเลือกตั้ง จะมาย้ายมาเป็น ส.. บัญชีรายชื่อมากขึ้น ปัญหาที่ว่า ส.. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจะได้รับผลกระทบ เพราะมีจำนวน ส.. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งลดลงก็จะบรรเทาลงไป


ถ้าสมมติว่าในการเลือกตั้งปี 2548 ซึ่งมี ส.. 500 คน ประเทศไทยใช้ระบบเลือกตั้งสัดส่วนแบบเยอรมัน พรรคการเมืองแต่ละพรรคจะได้ ส.. กี่คน? ถ้าเราจำลองสถานการณ์นี้โดยใช้คะแนนการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคเป็นตัวกำหนดจำนวน ส.. ที่แต่ละพรรคจะได้ตามระบบของเยอรมัน (สถานการณ์จำลองนี้ยังต้องให้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง คือมีบัญชีรายชื่อบัญชีเดียวตามรัฐธรรมนูญ 2540) จำนวน ส.. ของพรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน ในปี 2548 จะเป็นไปตามตารางนี้


 


ตาราง  3: ผลการเลือกตั้ง ถ้าสมมติว่าในการเลือกตั้งปี 2548 ใช้ระบบเลือกตั้งสัดส่วนแบบเยอรมัน


































 


คะแนนแบบบัญชีรายชื่อที่ได้จากการเลือกตั้งในปี 2548


จำนวน ส.. ทั้งหมดที่ได้จากการเลือกตั้งปี 2548


จำนวน ส.. ของแต่ละพรรค ถ้าในปี 2548 ใช้ระบบเลือกตั้งแบบเยอรมัน


จำนวนที่จะเพิ่มขึ้นหรือลดลง


พรรคไทยรักไทย


18,993,073 คะแนน


(58.73 %)


377 คน


(75.4 %)


294 คน


(58.73 % จาก 500 คน


เท่ากับ 293.65 คน)


ลดลง 83 คน


พรรคประชาธิปัตย์


7,210,742 คะแนน


(22.30 %)


96 คน


(19.2 %)


112 คน


(22.30 % จาก 500 คน เท่ากับ 111.50 คน)


เพิ่มขึ้น 18 คน


พรรคชาติไทย


2,061,559 คะแนน


(6.37 %)


25 คน


(5 %)


32 คน


(22.30 % จาก 500 คน เท่ากับ 31.85 คน)


เพิ่มขึ้น 7 คน


พรรคมหาชน


1,346,631 คะแนน


(4.16 %)


2 คน


(0.4 %)


21 คน


(22.30 % จาก 500 คนเท่ากับ 20.80 คน)


เพิ่มขึ้น 19 คน


 


จะเห็นได้ว่าพรรคไทยรักไทยนั้นจะมี ส.. ลดลงไป 83 คน ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์จะได้ ส.. มากขึ้น 18 คน พรรคชาติไทยได้ ส.. มากขึ้น 7 คน และพรรคมหาชนได้มากขึ้น 19 คน (จำนวน ส.. รวมกันทั้งหมดจะไม่ใช่ 500 คน และจำนวน ส.. พรรคไทยรักไทยที่ลดลงไป จะไม่เท่ากับจำนวนของทั้งสามพรรคที่ได้เพิ่มขึ้นมา เพราะยังไม่ได้คำนวณคะแนนของพรรคอื่นๆ ที่คะแนนแบบบัญชีรายชื่อต่ำกว่า 5 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งจะเป็นผลเลือกตั้งที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคจะได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรตรงตามเจตนารมณ์ของประชาชนอย่างแท้จริง และเป็นผลการเลือกตั้งที่เป็นธรรมที่สุด เพราะแต่ละพรรคจะได้ที่นั่งตามสัดส่วนคะแนนที่ได้จากประชาชน ซึ่งตามเหตุการณ์สมมตินี้จะมีเฉพาะพรรคไทยรักไทยซึ่งเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดเท่านั้นที่จะได้ ส.. น้อยลง ส่วนพรรคอื่นๆ จะได้ ส.. มากขึ้นทั้งสิ้น ในการพิจารณาต่อไปว่าพรรคการเมืองทั้งสี่พรรคจะได้ ส.. แบบบัญชีรายชื่อกี่คนนั้น ก็จะต้องนำเอาจำนวน ส.. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละพรรคมาลบออกไปดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ตัวอย่างเช่น พรรคมหาชนได้ ส.. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 2 คน พรรคมหาชนก็จะได้ ส.. บัญชีรายชื่อ 21 ลบ 2 เท่ากับ 19 คน (สถานการณ์จำลองนี้ ไม่สามารถนำจำนวน ส.. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละพรรคมาจำลองเหตุการณ์ได้ทั้งหมด เพราะในปี 2548 มี ส.. แบบแบ่งเขต 400 คน ไม่ใช่ 250 คน)     


ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนเป็นระบบเลือกตั้งที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคจะได้ ส.. ตรงตามเจตนารมณ์ และส่งเสริมให้พรรคการเมืองแข่งขันกันในทางนโยบาย จึงสมควรที่จะนำมาใช้ในประเทศไทย ทั้งนี้เนื่องจากการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมาก ก็มีข้อดีคือ ส.. จะใกล้ชิดประชาชนมากกว่า การนำระบบเลือกตั้งสัดส่วนแบบเยอรมันที่สามารถผสมผสานข้อดีของการเลือกตั้งทั้งสองระบบมาใช้ จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งในการนำมาพัฒนาระบบเลือกตั้งของประเทศไทย และจะทำให้เกิดการพัฒนาระบบพรรคการเมืองอย่างก้าวกระโดด ดังเช่นที่เกิดขึ้นมาแล้วในประเทศเยอรมนี



สำหรับในเรื่องความเห็นที่มีต่อระบบเลือกตั้ง ส.. ตามร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ของคณะกรรมาธิการยกร่างว่ามีปัญหาอย่างไร เนื่องจากผู้เขียนเชื่อว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญจะต้องมีการแก้ไขปรับปรุงหลายอย่าง ดังนั้นเพื่อมิให้บทความนี้พ้นสมัยไปในเวลาเพียงสั้นๆ ทั้งเพื่อมิให้บทความนี้ยาวเกินไป ผู้เขียนจึงได้เขียนบทวิจารณ์ระบบเลือกตั้ง ส.. ของร่างรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นบทความต่างหากแยกไว้ในภาคผนวกท้ายบทความนี้


 


ภาคผนวก


 


 


วิจารณ์ระบบเลือกตั้ง ส.. ของร่างรัฐธรรมนูญ 2550


ตามร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 92 คณะกรรมาธิการยกร่างได้กำหนดให้จำนวน ส.. ลดลงจาก 500 คนตามรัฐธรรมนูญ 2540 เหลือ 400 คน โดยจำนวน 320 คนมาจาก การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตละสามคน คน และจำนวน 80 คนมาจาก การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ในเรื่องจำนวน ส.. ที่ลดลงมานั้น เมื่อเทียบกับประเทศที่มีประชากรมากกว่าประเทศไทย เช่น สหรัฐอเมริกาซึ่งมีประชากร 285 ล้านคน มี ส.. เพียง 435 คน หรือประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีประชากร 128 ล้านคน มี ส.. 480 คน และก่อนหน้ารัฐธรรมนูญ 2540 ประเทศไทยเคยมี ส.. มากที่สุดเพียง 393 คนเท่านั้น (ในการเลือกตั้งปี 2539) ดังนั้น ส.. 400 คนจึงไม่น้อยเกินไป และไม่ใช่ประเด็นที่เป็นปัญหา ประเด็นที่ต้องพูดถึงมากกว่าคือเรื่องของระบบเลือกตั้งที่เป็นที่มาของ ส.. 400 คนนี้


ในเบื้องต้นจะเห็นได้ว่าสัดส่วนของ ส.. จากการเลือกตั้งทั้งสองแบบไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากรัฐธรรมนูญ 2540 เพราะรัฐธรรมนูญ 2540 กำหนดให้มี ส.. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 คน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์เท่ากับ 80 เปอร์เซ็นต์ และมี ส.. แบบบัญชีรายชื่ออีก 100 คน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์เท่ากับ 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อจำนวน ส.. ลดลงจาก 500 เหลือ 400 คน จำนวนของ ส.. จากการเลือกตั้งทั้งสองแบบก็เพียงแต่ลดลงมาตามส่วน เพราะจำนวน ส.. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 320 คนนั้นเท่ากับ 80 เปอร์เซ็นต์ และจำนวน ส.. แบบบัญชีรายชื่อ 80 คนเท่ากับ 20 เปอร์เซ็นต์เท่าเดิม ประเด็นที่มีการเปลี่ยนแปลงคือระบบเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้เปลี่ยนจากเขตละคนเป็นเขตละสามคน และในการเลือกตั้งแบบสัดส่วนหรือบัญชีรายชื่อมีการเปลี่ยนแปลงสองประการคือ หนึ่ง ตัดเกณฑ์ขั้นต่ำ 5 เปอร์เซ็นต์ออก โดยที่ยังไม่ทราบว่าจะมีเกณฑ์ขั้นต่ำอย่างไร และสอง เขตเลือกตั้งจะแบ่งเป็น 4 เขต โดยมีเขตละบัญชีรายชื่อ ซึ่งผู้เขียนจะขอวิเคราะห์ทีละประเด็นดังต่อไปนี้


ประเด็นเรื่องระบบเลือกตั้งเสียงข้างมากเขตละสามคน ร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 92 (1) ยังมิได้กำหนดว่าประชาชนจะมีเสียงกี่เสียง เพียงเสียงเดียวหรือสามเสียงตามจำนวน ส.. แต่ที่ฟังจากการชี้แจงของกรรมาธิการผู้ที่เกี่ยวข้อง ทราบว่าคณะกรรมาธิการยกร่างตั้งใจที่จะให้ประชาชนมีสามเสียงตามจำนวน ส.. ดังนั้นระบบเลือกตั้งนี้ก็คือระบบที่เรียกว่า "แบ่งเขตเรียงเบอร์" ที่เคยใช้มาตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2517 มาจนถึงการเลือกตั้งก่อนหน้ารัฐธรรมนูญ 2540 นั่นเอง ซึ่งเป็นระบบเลือกตั้งที่ผู้เขียนเห็นว่ามีปัญหาหลายประการดังต่อไปนี้


1. ปัญหาเรื่องหลักความเสมอภาค เนื่องจากการแบ่งเขตจะเริ่มต้นจากการคำนวณจำนวน ส.. ของแต่ละจังหวัดก่อน โดยใช้ฐานจำนวนประชากร (ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติของรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ผ่านมา) ทุกจังหวัดต้องมี ส.. อย่างน้อยหนึ่งคน จังหวัดที่มี ส.. มากกว่าสามคนก็จะถูกแบ่งเขตให้มีไม่เกินสามคน ถ้าใช้จำนวนประชากรในปี 2548 ซึ่งมี 63,079,765 คนมาคำนวณกับจำนวน ส.. 320 คน สัดส่วนประชากรต่อ ส.. หนึ่งคนจะเท่ากับ 197,124 คน เมื่อนำสัดส่วนประชากรต่อ ส.. หนึ่งคนมาคำนวณจำนวนประชากรของแต่ละจังหวัด (ข้อมูลปี 2548) ผลก็คือจะมี 4 จังหวัดที่มี ส.. หนึ่งคน ได้แก่ ตราด ระนอง สมุทรสงคราม และสิงห์บุรี และมี 11 จังหวัดที่มี ส.. สองคน ได้แก่ กระบี่ ชัยนาถ นครนายก พังงา ภูเก็ต มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน  สตูล อ่างทอง อำนาจเจริญ และอุทัยธานี ที่เหลือจะมี ส.. ตั้งแต่สามคนขึ้นไป สำหรับจังหวัดที่มี ส.. เกินกว่าสามคน แต่จำนวน ส.. หารด้วยสามไม่ลงตัว ก็จะเกิดเขตเลือกตั้งที่มี ส.. สองคน เช่น จังหวัดที่มี ส.. สี่คน ได้แก่ กาญจนบุรี กำแพงเพชร เป็นต้น จะต้องแบ่งเขตเลือกตั้งเป็น สอง-สอง ถ้าจังหวัดใดมี ส.. ห้าคน เช่น กาฬสินทร์ เพชรบูรณ์ สมุทรปราการ ก็จะต้องแบ่งเขตเป็น สาม-สอง หรือจังหวัดที่มี ส.. เจ็ดคน เช่น ศรีษะเกษ เขตเลือกตั้งก็จะถูกแบ่งเป็น สาม-สอง-สอง ดังนี้เป็นต้น ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือว่า จะมีเขตเลือกตั้งที่มี.. หนึ่งคน เขตเลือกตั้งที่มี.. สองคน และเขตเลือกตั้งที่มี.. สามคน ประชาชนในจังหวัดตราดที่มี ส.. หนึ่งคน หรือประชาชนในจังหวัดกระบี่ที่มี ส.. สองคน ทั้งๆ ที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยเหมือนกัน แต่กลับไม่เท่าเทียมกับประชาชนที่อยู่ในเขตเลือกตั้งที่มี ส.. ได้สามคน ถึงแม้ว่าจะอธิบายว่าจำนวนเฉลี่ยของ ส.. หนึ่งคนกับประชากร จะใกล้เคียงกัน แต่สิทธิในการเลือกผู้แทนนั้นอย่างไรก็ไม่เท่ากัน ระบบเลือกตั้งเขตละสามคนจึงขัดกับหลักความเสมอภาค ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย


2. ระบบเลือกตั้งแบ่งเขตเรียงเบอร์ไม่ส่งเสริมระบบพรรคการเมือง เพราะประชาชนจะเลือกเลือกผู้สมัครโดยไขว้พรรคกันอย่างไรก็ได้ ซึ่งก็คือการเลือกตั้งที่เน้นที่ตัวบุคคลเป็นหลัก โดยที่ พรรคการเมืองจะมีความสำคัญน้อยลง และไม่จำเป็นต้องแข่งขันกันในทางนโยบาย ดังเช่นสภาวการณ์ของระบบพรรคการเมืองไทยก่อนหน้ารัฐธรรมนูญ 2540


3. ระบบเลือกตั้งแบ่งเขตเรียงเบอร์ ไม่ได้แก้ปัญหาซื้อเสียง อย่างที่คณะกรรมาธิการได้ชี้แจงเหตุผลเอาไว้แต่ประการใดทั้งสิ้น (โปรดดู สาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พร้อมตารางเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญ 2540, หน้า 59) เนื่องจากผู้ชนะการเลือกตั้งคือผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุดสามคนแรก ทำให้จะเกิดการซื้อเสียงแบบ "ลูกโดด" นั่นคือให้กากบาทเลือกเพียงแค่คนเดียว ซึ่งจะทำให้น้ำหนักของคะแนนมากขึ้นเป็นเท่าตัวในการนำพาผู้สมัครคนนั้นทะลุขึ้นไปสู่สามอันดับแรก "ลูกโดด" นี้จะราคาแพงกว่าการซื้อแบบให้กากบาทเลือกสามเบอร์ได้ถึงสามเท่า เพราะถ้ากากบาทเลือกสามเบอร์อาจรับเงินได้สามคน ถ้าให้กากบาทเลือกเพียงคนเดียว ราคาก็ย่อมจะต้องแพงกว่าสามเท่า ยิ่งกว่านั้นเขตที่ใหญ่ขึ้นก็จะยิ่งทำให้จำนวนเงินที่ใช้ต้องมากขึ้น ระบบเลือกตั้งแบ่งเขตเรียงเบอร์จึงมีแต่จะยิ่งทำให้ราคาของการซื้อเสียงยิ่งแพงขึ้น และจะทำให้เกิดการทิ้งกันเองในพรรคเดียวกันหรือหักหลังกัน ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดมาแล้วทั้งสิ้นก่อนหน้ารัฐธรรมนูญ 2540


สำหรับ ประเด็นเรื่องการเลือกตั้งแบบสัดส่วน จากที่รัฐธรรมนูญ 2540 กำหนดให้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง ทำให้มีบัญชีเดียวทั้งประเทศ คณะกรรมาธิการยกร่างได้แบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็นสี่เขต แต่ละเขตมี ส.. 20 คน "โดยให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนประชากรที่ใกล้เคียงกันและมีพื้นที่ติดต่อกัน" (มาตรา 92 (2)) ในเบื้องต้นผู้เขียนเห็นด้วยกับที่จะมีการแบ่ง ส.. แบบบัญชีรายชื่อให้มีหลายบัญชี กระจายไปตามภูมิภาค เพราะจะทำให้ ส.. ในต่างจังหวัดสามารถเข้ามาอยู่ในบัญชีรายชื่อมากขึ้น และทำให้ ส.. บัญชีรายชื่อใกล้ชิดประชาชนมากขึ้น ไม่ใช่รวมศูนย์อยู่ที่กรุงเทพเหมือนที่เคยเป็น แต่การกำหนดให้มีสี่เขตเลือกตั้ง โดยมีประชากรใกล้เคียงกันและมีจำนวน ส.. 20 คนเท่ากันหมด แต่ละเขตจะต้องมีประชากรประมาณ 15,750,000 คน (จำนวนประชากรทั้งหมด 63 ล้านหารด้วย 4) ซึ่งจะทำให้เขตเลือกตั้งสี่เขตจะไม่เป็นไปตามภาคสี่ภาคตามที่ยึดถือปฏิบัติกันมา และจะเกิดปัญหาในทางภูมิศาสตร์กับเขตเลือกตั้งได้มากพอสมควร


ตัวอย่างปัญหาที่เห็นชัดเจนที่สุดคือภาคใต้ซึ่งมี 14 จังหวัดได้แก่ กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สตูล สุราษฎร์ธานี และสงขลา รวมประชากรทั้งหมด 9,191,676 คน (ข้อมูลจากการเลือกตั้งปี 2548) ถ้าบวกประจวบคีรีขันธ์ (492,480 คน) เพชรบุรี (461,738 คน) สมุทรสาคร (448,199 คน) สมุทรสงคราม (203,998 คน) นครปฐม (812,404 คน) และกาญจนบุรี (797,339 คน) ก็ยังเพิ่งได้ 12,407,384 คนเท่านั้น ต่อให้รวมสุพรรณบุรี (868,681 คน) และนนทบุรี (924,890 คน) เข้าไปก็ยังเพิ่งจะได้ 14,201,405 คน ถ้าจะนำจำนวนที่ขาดอยู่อีกประมาณหนึ่งล้านห้าแสนโดยแบ่งจากกรุงเทพไปรวมก็ทำไม่ได้ ครั้นจะเอาปทุมธานี (739,404 คน) กับอยุธยา (751,259 คน) มารวม ซึ่งจะได้จำนวน 15,692,068 คน ใกล้เคียงกับ 15 ล้าน 7 แสน ก็จะเกิดปัญหาว่าปทุมธานีและอยุธยาอยู่ทางเหนือของกรุงเทพ ก็คงจะเป็นเขตเลือกตั้งที่ประหลาดเกินไป สุดท้ายคงต้องรวมเอาจังหวัดที่อยู่ค่อนมาทางตะวันตกแทบทั้งหมดเข้าไป ได้แก่ อุทัยธานี (339,483 คน) ตาก (498,714 คน) และชัยนาถ (349,216 คน) เข้าไปด้วยถึงจะได้ 15,388,818 คน จึงจะเกิดเขตเลือกตั้งที่มีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับ 15 ล้าน 7 แสนคนได้ นั่นหมายความว่าเขตเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อของภาคใต้จะขึ้นมาถึงจังหวัดนนทบุรี สุพรรณบุรี เลยไปถึงอุทัยธานี ตาก และชัยนาถ และนี่เป็นแค่ตัวอย่างของเขตเลือกตั้งภาคใต้เท่านั้น


การแบ่งเขตเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อเป็นสี่เขตโดยให้มีจำนวน ส.. เท่าๆ กัน จึงเป็นเรื่องที่จะมีปัญหาตามมาเป็นอย่างมาก ผู้เขียนขอเสนอ ทางแก้ สองทางคือ หนึ่ง ถ้าจะคงจำนวนเขตเลือกตั้งให้มีสี่เขต ก็จะต้องทำให้เป็นสี่เขตตามสี่ภาค โดยแต่ละภาคไม่ต้องมีจำนวน ส.. ให้เท่ากัน แต่ให้เป็นจำนวนมากน้อยตามฐานประชากร ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับของประเทศเยอรมนีที่มี 16 บัญชีรายชื่อแยกเป็นมลรัฐ โดยมีจำนวน ส.. มากน้อยแตกต่างกันตามฐานประชากร หรือทางที่ สอง ถ้าต้องการให้มี ส.. เขตละเท่าๆ กัน ก็ต้องแบ่งเขตให้มีมากกว่าสี่เขต เช่น อาจให้เป็นหกเขต หรือเจ็ดเขตไปเลย จึงจะแก้ปัญหาได้


คณะกรรมาธิการยกร่างคงจะได้เห็นถึงปัญหาของระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2540 จึงได้พยายามแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้ง ซึ่งบางเรื่องก็เป็นเรื่องที่ดี เช่น ความคิดเรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบสัดส่วนหรือบัญชีรายชื่อออกเป็นหลายเขต แต่ก็มีปัญหาที่ต้องแก้ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่เรื่องที่แก้ไขแล้วจะแย่กว่าเดิม คือการเปลี่ยนการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเขตละคนให้เป็นเขตละสามคน ถึงแม้ว่าจะทำให้พรรคที่สองและพรรคที่สามมีโอกาสมากขึ้น โดยพรรคใหญ่ที่สุดจะไม่ได้เปรียบมากเหมือนเขตละคน แต่ระบบเลือกตั้งเสียงข้างมากเขตละสามคนเป็นระบบเลือกตั้งที่มีปัญหาตั้งแต่หลักการพื้นฐานในเรื่องหลักความเสมอภาค ทั้งยังมีปัญหาในเรื่องไม่ส่งเสริมระบบพรรคการเมือง และยังจะทำให้การเมืองไทยจะถอยหลังกลับไปหาสภาพการเมืองและปัญหาที่เคยเกิดมาแล้วก่อนหน้ารัฐธรรมนูญ 2540 ถ้าสภาร่างรัฐธรรมนูญต้องการที่จะใช้ระบบเลือกตั้งเสียงข้างมากในการเลือก ส.. จำนวน 80 เปอร์เซ็นต์ต่อไป ผู้เขียนขอเสนอให้เป็นเขตละคนโดยใช้ระบบเสียงข้างมากเด็ดขาดแบบฝรั่งเศสหรือออสเตรเลียไปเลยจะดีกว่ามาก

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net