Skip to main content
sharethis


(ภาพจาก: Reuters)


 


ประชาไท - 11 มิ.ย.2550 สำนักข่าวเอบีซีรายงานความเคลื่อนไหวขององค์กรเฝ้าระวังสิทธิส่วนบุคคลนานาชาติ (Privacy International) จากสำนักงานใหญ่ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยระบุว่าไพรเวซี่ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเมินการให้บริการทางอินเตอร์เน็ตของบริษัทกูเกิล อิงค์ และพบว่าเสิร์ชเอนจินของกูเกิลละเมิดสิทธิส่วนบุคคลมากที่สุด ซึ่งหมายถึงว่า บริษัทครอบครองข้อมูลของลูกค้าอย่างเบ็ดเสร็จและสร้างบรรยากาศที่เป็นศัตรูต่อสิทธิส่วนบุคคล   


 


ทางกลุ่มระบุว่า บริษัทอีก 22 แห่งที่ได้รับการสำรวจ รวมถึงเสิร์ชเอนจินรายอื่นๆ ที่เป็นคู่แข่งของกูเกิล เช่น ยาฮู, ไมโครซอฟท์ และเอโอแอล ไม่ได้ถูกจัดอันดับอยู่ในระดับเดียวกับกูเกิล แต่ก็ไม่มีบริษัทหรือเว็บไซต์ใดที่ได้คะแนนสูงสุดจากองค์กรเช่นกัน และมีเพียง 5 บริษัทเท่านั้นที่ได้รับการจัดอันดับว่าเป็นผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตที่ "ตระหนักถึงสิทธิส่วนบุคคลในระดับทั่วไป" เช่น บีบีซี, อีเบย์ และวิกิพีเดีย


 


ทั้งนี้ นิโคล หว่อง ทนายความของกูเกิล ได้ออกมาตอบโต้ต่อกรณีนี้ ด้วยการระบุว่าทางบริษัทรู้สึกผิดหวังต่อการรายงานของไพรเวซี่อินเตอร์เนชั่นแนลเป็นอันมาก เพราะรายงานดังกล่าวมาจากความเข้าใจผิดและข้อมูลที่ไม่แม่นยำเกี่ยวกับการบริการของกูเกิล จึงถือเป็นเรื่องน่าละอายอย่างยิ่งที่ไพรเวซี่อินเตอร์เนชั่นแนลเผยแพร่รายงานก่อนที่ทางบริษัทจะได้มีโอกาสพูดคุยเกี่ยวกับข้อปฏิบัติด้านสิทธิส่วนบุคคล


 


อย่างไรก็ตาม ไซมอน เดวี่ส์ ผู้อำนวยการของไพรเวซี่ อินเตอร์เนชั่นแนล แย้งว่า ทางองค์กรได้ติดต่อกับ กูเกิลแล้วเมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายน เพื่อรายงานผลการประเมินให้ทราบและเปิดโอกาสให้ทางกูเกิลได้ชี้แจง แต่ไม่มีการตอบรับจากกูเกิลแต่อย่างใด

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net