Skip to main content
sharethis

อ.อับดุชชะกูร์ บิน าฟิอีย์ ดินอะ (อับดุลสุโก ดินอะ)


Shukur2003@yahoo.co.uk


 


ชื่อบทความเดิมศึกษาดูงานในมาเลเซีย: การจัดการศึกษาบูรณาการระหว่างศาสนาและวิทยาศาสตร์


 


000


 


ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนามุฮัมมัดและละผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน


 



มัสยิดโรงเรียนประทีปศาสน์ จ.นครศรีธรรมราช


 


เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2550 ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมเครือข่ายการพัฒนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ณ โรงเรียนประทีปศาสน์ หรือ ปอเนาะบ้านตาล จ.นครศรีธรรมราช ของดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตรมต.ต่างประเทศ เป็นผู้บริหาร


 


ในการประชุมครั้งนี้ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีต รมต.ต่างประเทศซึ่งเป็นประธานที่ประชุมได้กล่าวต่อหน้าผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ว่า ปัจจุบันท่านได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างมูลนิธิซาซากาว่าเพื่อสันติภาพแห่งประเทศญี่ปุ่นและมูลนิธิเพื่อการพัฒนาการศึกษาโรงเรียนประทีปศาสน์ โดยฯพณฯ ฮิเดกิ โคบายาชิ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยร่วมลงนามเป็นสักขีพยาน เพื่อพัฒนาการศึกษาเครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในประเทศไทยโดยเฉพะภาคใต้ โดยให้ผู้บริหารที่มาในวันนี้ตกลงว่าจะพัฒนาในด้านใดบ้าง


 


ผลการประชุมปรากฏว่ามีมติการพัฒนา ด้านหลักสูตรการเรียนการสอนและบุคลากร ในหลักสูตรนั้นจะเริ่มพัฒนาการบูรณาการระหว่างสาระวิชาวิทยาศาสตร์กับศาสนาอิสลาม และการพัฒนาบุคลากรนั้นจะสร้างครูผู้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนานักเรียนให้มีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ที่สามารถบูรณาการกับหลักการศาสนธรรมได้เช่นกัน โดยเริ่มแรกได้จัดตั้งทีมศึกษาดูงาน ณ ประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ 4 คน คือผู้เขียน อ.ศักริน สุมาลี อ. นัสรุดดีน กะจิ และ อ.รอเซ็ด เบ็นแหละแนะ


 


ดังนั้น เมื่อ วันที่ 3-6 กรกฎาคม 2550 คณะของเรา ได้เดินทางไปศึกษาดูงานที่


รัฐกลันตัน และตรังกานูก่อนเป็นลำดับแรกเพราะรัฐทั้งสองมีวิถีวัฒนธรรมเกี่ยวกับการจัดการ


ศึกษาที่คล้ายกันกับภาคใต้ของไทย


 


การจัดการศึกษาบูรณาการศาสนาและวิทยาศาสตร์ในมาเลเซีย


ผู้เขียนและคณะได้เดินทางไปศึกษาดูงาน 2 แห่งด้วยกัน คือโรงเรียน มะอฺฮัด ตะฟิซอัลกุรอานวัลอุลูม บ้านตาเนาะแมเราะห์ รัฐกลันตัน และ โรงเรียนอิมติญาซ (school of Exelent) รัฐตรังกานู ทั้งสองโรงเรียนอยู่ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลท้องถิ่น เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาสายวิทยาศาสตร์บูรณาการหลักสูตรศาสนาโดยเฉพาะสายแพทย์ เภสัช และวิศวกรรมศาสตร์


 


เป้าหมายของโรงเรียนทั้งสองคือผู้ที่จบจากที่นี่จะต้องจำอัลกุรอาน มีความรู้ด้านศาสนาอย่างถูกต้องและจบมัธยมศึกษาสายวิทยาศาสตร์เพื่อเรียนต่อในสายวิทย์ในระดับมหาวิทยาลัยและสามารถบูรณาหลักการศาสนาและวิทยาศาสตร์ได้อย่างอย่างกลมกลืน


 


จากการสัมผัสการบูรณาการหลักการศาสนาซึ่งมีบัญญัติในอัลกุรอานและวิทยาศาสตร์ของที่นี่พบว่าได้นำหลักคำสอนดังกล่าวมาอธิบายอย่าน่าสนใจและทันสมัยมาอธิบายเช่น


 


1. โองการอัลกุรอานระบุว่า "โลกกลม"


อัลกุรอานได้ระบุไว้อย่างลึกซึ้งซึ่งปรากฏการทางธรรมชาติในจักรวาลเกี่ยวกับโลกว่า มันสัณฐานกลมเพียงถ้อยคำสองคำซึ่งระบุอยู่ในซูเราะฮ์(บท)"อัลฮิจญ์" อายะห์ (ประโยค)ที่ 19 และในซูเราะฮ์ "กอฟ" อายะห์ที่ 7 ไว้ความว่า "และแผ่นดินเราได้ขยายมันออกแล้ว"


 


เมื่อพิจารณาและใคร่ครวญถึงถ้อยคำของอัลกุรอานที่ระบุอยู่ในโองการนี้แล้ว จะพบว่าอัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูว่าตะอาลา ทรงยืนยันแก่มวลมนุยษชาติทั้งหลายว่า "โลกนั้นมีสัณฐานกลม" พระองค์อัลลอฮ ศุบฮานะฮูว่าตะอาลา ทรงแสดงโวหารอันลึกซึ้งในเชิงสื่อความวิทยาการสมัยใหม่เกี่ยวกับประกฎการณ์กลางวันและกลางคืน ดังโองการการ


 


ความว่า "อันดวงตะวันย่อมป็นไปไม่ได้ที่มันจะไล่ทันดวงเดือน เพราะอยู่กันคนละตำแหน่ง และเป็นไปไม่ได้ที่กลางวัน คือดวงเดือนจะล่วงหน้าดวงตะวันเป็นไปไม่ได้ และทุกๆสิ่งต่างก็โคจรในระบบจักรวาล" (ซูเราะฮ์ยาซีน อายะห์ ที่ 40)


 


อัลลอฮฺทรงตรัสอีกความว่า "และพระองค์ทรงบันดาลกลางคืนและกลางวันให้สลับ (หมุนเวียน) กันสำหรับผู้ที่ประสงค์จะรำลึกหรือปรารถนาที่จะกตัญญู" (ซูเราะฮ์อัลฟุรกอน อายะห์ ที่ 62)


 


โองการทั้งสองที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ได้เฟ้นโวหารอีกทั้งสาธยายถึงกฎต่างๆของธรรมชาติและจักรวาล นั่นคือ สาธยายถึงสัณฐานของโลกว่ามีลักษณะกลม และดวงอาทิตย์ไม่อาจไล่ตามทันดวงจันทร์ได้อย่างเด็ดขาด เพราะทั้งสองนั้นโคจรอยู่ในเส้นทางที่ขนานกัน ซึ้งทฤษฎีดังกล่าวนี้ นักวิชาการเพิ่งค้นพบเพียงไม่กี่ศตวรรษนี้เอง หลักการที่ได้จากโองการ ความว่า "และกลางคืนก็จะไม่ล้ำหน้ากลางวัน" (ซูเราะฮ์ยาซีน อายะห์ ที่ 40) ดังนี้


1. ดวงอาทิตย์ไม่อาจไล่ตามทันหรือชนกับดวงจันทร์ เพราะทั้งสองโคจรคนเส้นทางกัน แต่ทั้งสองจะชนกันได้ก็ต่อเมื่อวันสิ้นโลกได้อุบัติขึ้น ตามหลักฐานจากอัลกุรอานในซูเราะฮฺ "อัลกียามะห์" อายะห์ที่ 9-10 ได้ระบุดังนี้ " (ในวันสิ้นโลกนั้น) ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์จะถูกรวามเข้าหากัน มนุษย์ก็พูดขึ้นในวันนั้นว่า ไหนที่หลบหนี (ของเรา) "


2. โลกของเรามีสัณฐานกลม ตามทฤษฎีข้างต้น


3. กลางวันและกลางคืนถูกสร้างขึ้นพร้อมๆกัน


 


2. โองการที่ระบุว่า "กำเนิดจักวาล"


อัลกุรอานได้ระบุไว้ความว่า 1. "บรรดาผู้ไร้ศรัทธาไม่สังเกตดอกหรือว่า ที่จริงฟากฟ้าและแผ่นดินแต่เดิมผนึก (ratqan) เป็นชิ้นเดียวกันต่อมาเราจัดการแยกมัน ทั้งสองออกจากกันและเราได้สร้าง สิ่งมีชีวิตมาจากน้ำ แล้วไฉนเล่า พวกเขาจึงไม่ศรัทธา" ซูเราะฮฺ อัลอัมบิยะอฺ อายัตที่ 30


2. อัลลอฮฺทรงตรัสอีกความว่า "หลังจากนั้นพระองค์ทรงบันดาลฟากฟ้า ในขณะที่มันเป็นหมอกเพลิงอยู่ และตรัส แก่มันทั้งสองว่าจงเกิดตามคำสั่งเถิดจะ โดยสมัครใจหรือฝืนใจก็ตาม มันทั้งสอง กล่าวว่าเราทั้งสองเกิดโดยสมัครใจ" ซูเราะฮฺ ฮา มีม (ฟุซซิลัต: 41) อายัตที่ 11


 


นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าจักรวาลมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดเมื่อเริ่มต้นกำเนิดจักรวาลมันเริ่มจากจุดเล็กๆ ของอะไร บางอย่างที่ไม่ใครรู้ได้ สิ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นนี้เป็นวัตถุที่หลักการทางวิทยาศาสตร์ไม่สามารถ อธิบายได้และกฎต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ไม่สามารถจะใช้ได้


กับสิ่งแรกๆนี้ นักวิทยาศาสตร์เรียกมันว่า สาเหตุแรกเริ่ม(First cause) หรือเรียกว่า หนึ่งเดียว (Singularity) ภายในสิ่งแรกนี้ มีพลังงานมหาศาลและ แปรปรวนมาก มันไม่เสถียร


 


ในกุรอาน ซูเราะฮฺฮา มีม อายัตที่ 11 ข้างบนเรียกสภาวะแรกเริ่มนี้ว่า ดุฆอน (Dukhan)สิ่งแรกเริ่มนี้คือทุกอย่างของจักรวาลในซูเราะฮฺอัลอัมบิยะอฺ อายัตที่ 30 ข้างบนนี้คือ ฟากฟ้าและแผ่นดินเดิมมันผนึกหรือหลอม(Ratqam)อยู่ด้วยกันจักรวาลเริ่มต้นนับเวลาเป็น 0


เมือสิ่งแรกเริ่ม(หนึ่งเดียว: Singularity) หรือดุฆอนนี้ระเบิดออกมาหรือแยกออกมาตามในซูเราะฮฺอัลอัมบิยะอฺ อายัตที่ 30 นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า การระเบิดครั้งใหญ่ (BIG BANG) การเกิดบิกแบงทำให้จักรวาลเริ่มต้น


 



 


รูปข้างบนแสดงวิวัฒนาการของจักรวาล หลังจากการระเบิดครั้งใหญ่ จักรวาลเริ่มขยายตัวและเย็นลงที่เวลาประมาณเศษหนึ่งส่วนล้านของวินาที ในรูปคือ time อุณหภูมิของจักรวาลมากกว่า หนึ่งล้านล้านองศาเคลวิน ในรูปคือ Tuniv (อุณหภูมิห้องที่ 27 องศาเซลเซียส จะเท่า กับประมาณ 300 องศาเคลวิน) จักรวาล ณ เวลานี้ จะจักรวาลประกอบด้วยส่วนผสมเป็นเนื้อของอนุภาคขนาดเล็กมากๆ เช่น ควาก กลูออน อิเลคทรอนและนิวทรีโนในเวลาเศษหนึ่งส่วนหมื่นของวินาที อุณหภูมิของจักรวาลเย็นลงอยู่ที่ หนึ่งล้านล้านองศาเคลวิน เนื้อของ อนุภาคต่างๆเริ่มก่อตัวเป็นโปรตอน, นิวทรอนเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 3 นาทีหลังระเบิด โปรตอน นิวทรอนก็จะเริ่มสร้างนิวไคล (แก่นของอะตอม) ของธาตุ ดิวเตอร์เรียม ฮีเลี่ยม และลิเธียม อุณหภูมิของจักรวาลอยู่ที่ หนึ่งพันล้านองศาเคลวิน


หลังจากระเบิดแล้ว สี่แสนปี จึงเริ่มสร้างอะตอมที่เป็นกลาง อุณหภูมิอยู่ที่ สี่แสนเคลวิน


 


หลังระเบิดหนึ่งพันล้านปี กลุ่มของอะตอมจึงเกิดการรวมตัวด้วยแรงโน้มถ่วง(แรงดึงดูดระหว่างมวล) สร้าง ดวงดาวต่างๆ อุณหภูมิของจักวาลอยู่ที่ประมาณ 20-3 เคลวิน


 


เวลาหลังจากนี้(มากกว่าหนึ่งพันล้านปี) ไฮโดรเจนและฮีเลี่ยม หลอมเข้าด้วยกันเป็นธาตุหนักต่างๆถึงวันนี้หลังจากการระเบิดครั้งใหญ่ หนึ่งหมื่นห้าพันล้านปี จักรวาลเป็นอย่างที่เห็นอยู่ อุณหภูมิของจักรวาล อยุ่ที่ 3 เคลวิน


วิวัฒนาการที่กล่าวมานี้นักวิทยาศาสตร์มีหลักฐานต่างๆพิสูจน์ได้หลายกรณี เช่น ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถวัดอุณหภูมิพื้นหลังของจักรวาลได้ว่า มีค่าเท่ากับ 3 เคลวินตามที่เคยคำนวณไว้สิ่งหนึ่งที่พิสูจน์ว่า ณ วันนี้การขยายตัวของจักรวาลยังคงมีอยู่ คือการที่นักวิทยาศาสตร์สามารถวัดได้ว่า ดวงดาวทุกดวงในจักรวาลกำลังถอยหลังหนีออกจากโลก โดยการสังเกตุสเปคตรัมของแสงที่เกิด การเลื่อนทางแถบสีแดง(Red Shieft)อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูว่าตะอาลา ได้โองการในซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายัตที่ 48 ความว่า "และเราได้แผ่(ขยาย)แผ่นดิน(จักวาล) แท้จริงเราเป็นผู้แผ่(ขยาย)ที่ยอดเยี่ยมที่สุด" เมื่อการขยายตัวของจักรวาลสิ้นสุดลง จักรวาลก็จะถูกแรงดึงดูดทำให้เกิดการ ยุบตัว อย่างรุนแรงนั้นเป็นจุดอวสานของสรรพสิ่ง (วันสิ้นโลกตามทัศนะศาสนา)


 


3. อัลกุรอานให้ความสำคัญกับ "การคิดวิเคราะห์ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์"


ในอัลกุรอานใช้คำที่แสดงถึงการใช้สติปัญญากว่า 300 แห่งเป็นการบ่งบอกการคิดวิเคราะห์ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ดังเช่นอัลลอฮฺได้โองการถ้อยคำเหล่านี้


 


- ความว่า "สูเจ้าไม่ใช้ปัญญาดอกหรือ"


- ความว่า "แด่ชนผู้ใช้สติปัญญา"


- ความว่า "พวกเขาไม่วิเคราะห์ดอกหรือ"


 


ถ้อยคำเหล่านี้อัลกุรอานนำมากล่าวซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อกระตุ้นเตือนให้มนุษย์สนใจการศึกษาคิดค้นและพิจารณาถึงสรรพสิ่งและธรรมชาติทั้งปวง ความมหัศจรรย์แห่งธรรมชาติทั้งหลายทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ มนุษย์ได้ค้นพบไปตามที่อัลกุรอานได้บงชี้ไว้ เป็นการชี้ที่ไม่ให้รายละเอียดเพื่อให้มนุษย์ได้ถือเป็นแนวทางแรกในการค้นคว้าต่อไป การที่อัลกุรอานไม่พูดถึงรายละเอียดก็เพราะอัลกุรอานเป็นคัมภีร์ไม่ใช่ตำรา และเป็นการให้เกียรติแก่มนุษย์ที่ได้รับสติปัญญาและมันสมองที่มาจากการสร้างสรรค์ของพระผู้เป็นเจ้า ก็ควรได้ใช้ให้สมศักดิ์ศรี และมนุษย์ใช้สมองคิดค้นประสบผลสำเร็จตลอดมาด้วยดี เมื่อมนุษย์ได้ค้นพบ มนุษย์ก็ยิ่งรำลึกในอำนาจของพระองค์ ยอมสยบ และเกรงกลัวพระองค์อย่างแท้จริง มนุษย์ไม่กล้าที่จะมีทิฐิ อวดดี และดื้อดึงต่อพระองค์ ยิ่งมนุษย์มีความรู้ในสัญลักษณ์ต่างๆ แห่งสรรพสิ่งและธรรมชาติอันมหัศจรรย์เหล่านั้นเท่าใด มนุษย์ก็ยิ่งเกรงกลัวอัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูว่าตะอาลา เท่านั้น อัลลอฮฺทรงตรัสว่า ความว่า "โดยแท้จริงผู้รู้เท่านั้นที่มีความกลัวต่ออัลลอฮฺอย่างที่สุดจากมวลบ่าวของพระองค์" (ซูเราะฮฺฟาฏิร 28)


 


นี่คือบางตัวอย่างในการศึกษาบูรณาการหลักศาสนาซึ่งมีอยู่ในอัลกุรอานและวิทยาศาสตร์


 


ความเป็นจริงวิถีชีวิตของคนคนสองรัฐมิได้แตกต่างกันมากกล่าวคือคล้ายกับผู้คนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งชอบที่จะส่งบุตรหลานของตนเรียนศาสนาควบคู่สามัญ มีหลายโรงเรียนที่เปิดสอนศาสนาอย่างเดียวแบบเดียวกับปอเนาะชายแดนใต้ หลายแห่งมีการเปิดศูนย์ท่องจำอัลกุรอาน เช่นเดียวกับศูนย์ท่องจำอัลกุรอานในชายแดนใต้เช่นกัน ในขณะที่คนที่เรียนโรงเรียนสามัญโดยตรงมีโอกาสเรียนต่อสายแพทย์ เภสัช วิศวกรรมศาสตร์และสายวิทยาศาสตร์อื่นๆ เมื่อจบอกมาห่างเหินศาสนาเพิ่มมากขึ้นทำให้ผู้ปกครองไม่นิยมส่งบุตรหลานเรียนสามัญอย่างเดียว หากปล่อยไว้เช่นนี้จะทำให้คนของรัฐทั้งสองขาดแคลนบุคลากรด้านสายแพทย์ เภสัช วิศวกรรมศาสตร์และสายวิทยาศาสตร์อื่นๆ


 


ด้วยจุดด้อยด้านวิทยาศาสตร์และจุดเด่นด้านศาสนาโดยเฉพาะการท่องจำอัลกุรอานของผู้คนในรัฐทั้งสองนี้ทำให้รัฐทั้งสองจัดตั้งโรงเรียนดังกล่าวขึ้นเพื่อรองรับความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ที่สามารถบูรณาการกับหลักศาสนา


 


โดยรัฐได้ลงทุนเริ่มแรกประมาณ 150 ล้านบาทในการสร้างปัจจัยจำพื้นฐานของโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นอาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ หอพัก สนามกีฬา สถานที่ปฏิบัติศาสนกิจ โรงอาหารและปัจจัยที่จำเป็นอื่นๆนอกเหนือจากงบประมาณ การจ้างบุคลากร


 


การรับสมัครนักเรียนที่จะเข้ามาเรียนที่นี่จะคัดเลือก มีคุณสมบัติดังนี้(เท่านั้น)


1.จบชั้นเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 คะแนนเฉลี่ย 3.5


2.อ่านอัลกุรอานได้อย่างคล่องแคล่ว


3.สามารถจำอัลกุรอานอย่างแม่นยำได้ตามหน้าที่กำหนดเมื่อให้เวลาท่อง 1 ชั่วโมง


 


สำหรับค่าเล่าเรียนนั้นมีค่าใช้จ่ายดังนี้


1.ค่าเล่าเรียน 1700 บาทต่อปี


2.ค่าเล่าเรียน 1400 บาทต่อเดือน


3.ค่าที่พักและอาหาร 1300 บาทต่อเดือน


 


สำหรับนักเรียนจากประเทศไทยทางโรงเรียนดังกล่าวยินดีต้อนรับเสมอหากสามารถสอบผ่านการคัดเลือกของโรงเรียนตามเงื่อนไขที่กล่าวไว้ข้างต้น


 


หากท่านอยากทราบรายละเอียดหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.imtiaz.com.my/ และ www.kelantan.com.my/yik หรืออยากรู้เกี่ยวกับอิสลามและวิทยาศาสตร์หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.fathoni.com/lesson/sci/index.html และ http://www.islamworld.net/


 


ปัจจุบันประเทศมาเลเซีย มีบทบาทสำคัญในเวทีเศรษฐกิจและการเมือง ของภูมิภาคอาเซียน ตลอดจนเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีอัตราความเจริญทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีสูง นอกจากนี้ประเทศมาเลเซียยังมีกลุ่มชาติพันธ์ ภูมิประเทศ และวัฒนธรรมคล้ายกับภาคใต้ของไทย จากความสำคัญของมาเลเซียในด้านต่างๆ พบว่ายังขาดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับมาเลเซียปัจจุบัน ทั้งด้านด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง โดยเฉพาะนโยบายด้านการศึกษาของมาเลเซีย


 


รัฐในฐานะผู้จัดการศึกษาในพื้นที่ชายแดนใต้ ควรเล็งเห็นความสำคัญของการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาของประเทศมาเลเซีย เพื่อการกำหนดท่าทีของประเทศไทย ทั้งในเชิงเพื่อนบ้านและคู่แข่ง และเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศมาเลเซียในฐานะที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีภูมิวัฒนธรรมใกล้เคียงกับประเทศไทย


 


ความเป็นจริงการศึกษาและวิจัยยังมีอีกมากที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศเกี่ยวกับ สังคมและ วัฒนธรรมไม่ว่าจะเป็นการศึกษานโยบาย และมาตรการของมาเลเซีย ที่ทำให้คนอยู่ร่วมกันได้ในสังคม ระหว่างเชื้อชาติต่างๆ ได้แก่ มลายู อินเดีย จีน (ตั้งแต่มีการจลาจลเมื่อปี 1969) ศึกษาโลกทัศน์ ประวัติศาสตร์ ของคนมาเลเซียมุสลิมตั้งแต่เด็ก และเยาวชน ว่ามีมุมมองเกี่ยวกับโลกมลายู (Malay world) ในแหลมมลายูอย่างไร รวมถึงการเข้ามาของคนมลายูในภูมิภาคนี้ (ศึกษาผ่าน ตำรา แบบเรียนของนักเรียนมุสลิมในมาเลเซีย หนังสือ ทั้งที่ตีพิมพ์ในภาษามาเลเซีย ภาษาอังกฤษ และภาษามลายู)


 


ศึกษาวิธีการที่ดีที่สุดในการบริหารจัดการ (best practices) ของมาเลเซียในการบริหารสังคมพหุลักษณ์ ศึกษาแนวทางอิสลามภิวัฒน์ (Islamization) ในมาเลเซีย ว่ามีแนวทางการสร้างและใช้ประโยชน์อย่างไรตลอดจนการ positioning ตัวเองเป็น มุสลิมสายกลาง และ สมัยใหม่


 



โรงเรียนอิมติญาซ (school of Exelent ) รัฐตรังกานู

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net