Skip to main content
sharethis

5 ก.ย.50 -  คณาจารย์กว่า 100 คนจากมหาวิทยาลัยหลายแห่งร่วมกันลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เพื่อให้ยกเลิกการเสนอร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ. ...เนื่องจากสาระของร่างกฎมายนี้ได้สถาปนารัฐทหารใหม่ที่อาจเป็นปรปักษ์กับอำนาจของรัฐบาลที่มาจากเลือกตั้งของประชาชน และอาจจะมีการใช้อำนาจเพื่อควบคุมสังคมในนามของผู้พิทักษ์ความมั่นคงของรัฐ และความมั่นคงของประชาชน ทั้งยังทำให้การใช้รัฐธรรมนูญในการปกครองประเทศไม่มีความหมายอีกต่อไป เนื่องจากเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ. นี้ได้ล้มล้างหลักการและเงื่อนไขสำคัญในรัฐธรรมนูญ


 


รายละเอียดของจดหมายเปิดผนึก มีดังนี้


 


 






 


จดหมายเปิดผนึก


                                                                                               


5 กันยายน 2550


 


เรื่อง   ขอให้พิจารณายกเลิกการเสนอร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ..


กราบเรียน  ฯพณฯ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี


 


                นับแต่คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.. ….เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2550 ตามข้อเสนอของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และได้ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา เพื่อเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป แม้จะมีกระแสการคัดค้านจากองค์กรสื่อมวลชน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรสิทธิมนุษยชน และบุคคลหลายวงการอย่างกว้างขวางดังเป็นที่ทราบโดยสาธารณะชนทั่วไป ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวยังคงอยู่ในลำดับการพิจารณาในลำดับเร่งด่วนของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อให้ทันสมัยประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทั้งยังมีการคาดการณ์ภายในว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจะผ่านการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาภายในระยะเวลาอันใกล้นี้


               


               พวกข้าพเจ้าในฐานะนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาต่างๆ มีความห่วงใยว่าการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยจะประสบกับความถดถอยยิ่งขึ้นนับแต่การยึดอำนาจโดยคณะทหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน เนื่องจากสาระของร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรดังกล่าว ได้สถาปนารัฐทหารใหม่ที่อาจเป็นปรปักษ์กับอำนาจของรัฐบาลที่มาจากเลือกตั้งของประชาชน และอาจจะมีการใช้อำนาจเพื่อควบคุมสังคมในนามของผู้พิทักษ์ความมั่นคงของรัฐ และความมั่นคงของประชาชน ดังเหตุผลต่อไปนี้


             


            ประการที่หนึ่ง การขยายอำนาจการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรทั้งในภาวะปกติและภาวะไม่ปกติ เป็นการทำให้สถานการณ์ฉุกเฉินดำรงอยู่ตลอดเวลาในสถานการณ์ปกติ เพื่อให้ทหารเข้ามามีบทบาทในการบริหารประเทศได้อย่างกว้างขวางและอย่างถาวรในทุกพื้นที่และทุกเวลา ทั้งที่โดยแท้จริงแล้วทหารจะเข้ามามีบทบาทเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีภัยคุกคามความอยู่รอดของชาติที่มีการจำกัดเวลาและสถานที่ ซึ่งต้องมีการประกาศกฎอัยการศึก หรือการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเสียก่อนตามกฎหมายที่มีอยู่แล้ว  ทั้งนี้ เนื้อหาในร่างพระราชบัญญัติ ที่จะเป็นปัญหามีสาระสำคัญดังต่อไปนี้


       


1.       การขยายอำนาจให้ผู้บัญชาการทหารบกในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ใช้อำนาจบริหาร ซึ่งเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี คือ การใช้อำนาจบังคับบัญชาหน่วยงานของรัฐ  การแต่งตั้งบุคคล การสั่งย้ายเจ้าหน้าที่ของรัฐออกจากพื้นที่ 


          


2.       การขยายอำนาจให้ผู้บัญชาการทหารบกในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ใช้อำนาจนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นอำนาจของรัฐสภา คือการใช้อำนาจในการออกข้อกำหนดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน เช่น ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ห้ามการแสดงมหรสพ ห้ามการโฆษณา  และการใช้อำนาจในการออกประกาศให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจในการจับกุม การควบคุมตัว การเรียกบุคคลมารายงานตัว  การค้น การยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ตลอดจน การปราบปรามบุคคล กลุ่มบุคคลหรือกลุ่มองค์กร 


 


 


3.       การใช้อำนาจเบ็ดเสร็จในนามของความมั่นคงของชาติ มีความครอบคลุมเกือบจะทุกแง่มุมของชีวิตทางสังคมของประชาชน ปราศจากความชัดเจน โดยให้อยู่ภายใต้ดุลพินิจของทหารเป็นสำคัญ


 


4.       การขยายอำนาจให้ผู้บัญชาการทหารบกในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ใช้อำนาจเสมือนอำนาจตุลาการ ซึ่งเป็นอำนาจของอัยการหรือศาล คืออำนาจการแต่งตั้งเจ้าพนักงานร่วมฟังการสอบสวน หรือเรียกสำนวนการสอบสวนคดีอาญามาตรวจดูได้  และการมีความเห็นว่าไม่สมควรดำเนินคดีกับผู้ต้องหา รวมทั้งการสั่งให้ผู้ต้องหาเข้าการอบรมเป็นเวลาไม่เกินหกเดือน


                


5.       การใช้อำนาจโดยปราศจากการตรวจสอบจากศาล เนื่องจากการออกกฎ หรือคำสั่งของผู้บัญชาการทหารบกไม่สามารถให้ศาลปกครองตรวจสอบการออกกฎหรือคำสั่งที่อาจไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติตามกฎหมายนี้ก็ไม่ต้องรับผิดทางอาญา ทางแพ่ง หรือทางวินัยอีกด้วย


 


                ประการที่สอง การดำเนินการให้มีการพิจารณาประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ย่อมส่งผลให้การใช้รัฐธรรมนูญในการปกครองประเทศไม่มีความหมายอีกต่อไป เนื่องจากเนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ล้มล้างหลักการและเงื่อนไขสำคัญในรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายหลักในการปกครองประเทศตามหลักสากลโดยทั่วไป


 


พวกข้าพเจ้ามีความเห็นว่า การรวบอำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการให้ผู้บัญชาการทหารบกในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ใช้อำนาจแต่เพียงผู้เดียวโดยปราศการตรวจสอบจากฝ่ายบริหารและศาล ย่อมจะกลายเป็นภัยคุกคามต่อหลักสิทธิเสรีภาพ หลักการประชาธิปไตย หลักนิติธรรม และหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน อันจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งยวดต่อระบอบประชาธิปไตย และจะยิ่งสร้างความขัดแย้งให้บังเกิดความร้าวฉานในสังคมไทยมากขึ้น จนไม่สามารถธำรงไว้ซึ่งความมั่นคงของรัฐและความมั่นคงของประชาชน ตลอดจนไม่อาจสร้างความสามัคคีและความสมานฉันท์ให้เป็นไปตามที่รัฐบาลได้เคยประกาศเป็นเจตจำนงทางการเมืองในการบริหารประเทศชั่วคราว จึงขอเรียกร้องให้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีพิจารณายุติการเสนอร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ..... เพื่อให้รัฐบาลและรัฐสภาที่มาจากผู้แทนปวงชนเป็นผู้พิจารณากฎหมายดังกล่าวต่อไป


 


             จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา    


                                                           


            ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง


                                                                         (รายชื่อแนบท้าย)


                       






















































































































































































































































































































ชื่อ


องค์กร



  1. วิทยา สุจริตธนารักษ์

หลักสูตรเอเชียอาคเนย์ศึกษา


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. วิฑิต มันตาภรณ์

คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. สุริชัย หวันแก้ว

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. นฤมล ทับจุมพล  

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. ฉันทนา บรรพศิริโชติ

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. ประภาส ปิ่นตบแต่ง

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. แก้วคำ ไกรสรพงษ์

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. พวงทอง ภวัครพันธุ์

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. นิติ ภวัครพันธุ์

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. ใจ อึ้งภากรณ์                  

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. สุธี ประศาสน์เศรษฐ์         

คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. สุรางค์รัตน์  จำเนียรพล     

สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. ชาญชัย ชัยสุโกศล

นศ.ปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. สิริพรรณ นกสวน

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. ผาสุก พงษ์ไพจิตร

คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. ฉลอง สุนทราวาณิชย์

คณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. ประทับจิตร นีละไพจิตร

นศ.ปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. หัสไชยญ์ มั่งคั่ง

นศ.ปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. กนกรัตน์ เลิศชูสกุล

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. พฤฒธิสาน ชุมพล

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. วรศักดิ์ มหัทธโนบล

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. นวลน้อย ตรีรัตน์

คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. นพนันท์ วรรณเทพสกุล

คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์

คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์         

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



  1. เกษียร เตชะพีระ 

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



  1. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



  1. ประจักษ์ ก้องกิรติ            

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์/University of Wisconsin-Madison, USA



  1. อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล        

สถาบันเทคโนโลยีสิรินทร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



  1. อัครพงษ์ คามคุณ 

หลักสูตรอุษาคเนย์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



  1. เกษม  เพ็ญภินันท์ 

ภาควิชาปรัชญา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



  1. บุญเลิศ วิเศษปรีชา

คณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



  1. นลินี ตันธุวนิตย์

คณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



  1. กนกรัตน์ กิตติวิวัฒน์

คณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



  1. สมคิด เลิศไพฑูรย์

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



  1. กฤตยา อาชวนิจกุล

สถาบันวิจัยประชากรและสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล



  1. ศรีประภา เพชรมีศรี

สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล



  1. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว

สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล



  1. สุภิญญา กลางณรงค์

สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล



  1. งามศุกร์ รัตนเสถียร

ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล



  1. โคทม อารียา

ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล



  1. พรพิมล พลพร้อม

ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล



  1. ใจสิริ วรธรรมเนียม

ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล



  1. Dr. Michael Hayes

สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล



  1. วราภรณ์ แช่มสนิท

สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล



  1. ยงยุทธ บุราสิทธิ์

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล



  1. ภัททิยา ยิมเรวัต

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล



  1. อนุชาติ พวงสำลี

คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล



  1. เชษฐา พวงหัตถ์

คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร



  1. เจริญ คัมภีรภาพ

คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร



  1. บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์

คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร



  1. ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์



  1. อลิสา หะสาเมาะ              

 


คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์



  1. ศุลีมาน นฤมล วงศ์สุภาพ   

 


คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์/LaTrobe University, Australia  



  1. นิค อับกุล รากิ๊บ บิน ฮัสซาน

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์



  1. อุทัย ดุลยเกษม

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์



  1. เลิศชาย ศิริชัย

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์



  1. วรศักดิ์ มหัทธโนบล

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. ชนิดา จรรยาเพศ

สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



  1. วิระดา สมสวัสดิ์               

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



  1. ปิ่นแก้ว  เหลืองอร่ามศรี

คณะสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



  1. นงเยาว์ เนาวรัตน์

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



  1. ไชยันต์ รัชชกูล

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



  1. วรวิทย์ เจริญเลิศ

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



  1. ชลิต ถาวรนุกิจกุล

สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร  พะเยา



  1. กนกวรรณ มโนรมย์

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี



  1. จันทรา ธนะวัฒนาวงศ์

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี



  1. ประเทือง ม่วงอ่อน

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี



  1. ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร

วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



  1. ศิวพล  ละอองกุล        

วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



  1. พิศาล  มุกดารัศมี       

วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



  1. อลงกรณ์  อรรคแสง    

วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



  1. สมชัย  ภัทรธนานันท์   

วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



  1. จิตราภรณ์  สมยานนทกุล 

วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



  1. วรวุฒิ  จำลองนาค       

วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



  1. มณีรัตน์ มิตรปราสาท

วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



  1. พุฒิพงศ์  สัตยวงศ์ทิพย์ 

คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



  1. ชูพักตร์  สุทธิสา          

  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 


   มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



  1. กนกพร  รัตนสุธีระกุล   

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 


มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



  1. ธวัชชัย ป้องศรี

วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



  1. บัวพันธ์ พรหมพักพิง

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น



  1. มรกต  เจวจินดา ไมยเออร์

 


ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์


มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ



  1. ธงชัย วินิจจะกุล              

University of Wisconsin-Madison, USA



  1. ศิโรฒน์ คล้ามไพบูลย์

PhD Candidate, University of Hawaii, USA



  1. ชินวุฒิ เตชานุวัตร์

PhD Candidate, University of Oxford, UK



  1. Michelle Tan                 

PhD Candidate, University of Leeds, UK



  1. ธัญญมาศ เทพญา            

LLM Human Rights, London Metropolitan University, United Kingdom



  1. ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา

นักวิชาการอิสระ



  1. นิธินันท์ ยอแสงรัตน์         

นักวิชาการ/สื่อมวลชนอิสระ



  1. ปรางค์ทิพย์ ดาวเรือง

นักวิชาการ/สื่อมวลชนอิสระ



  1. ศรินธร รัตน์เจริญขจร

สำนักงานวิจัยระบบสาธารณสุข



  1. เพ็ญโฉม  แซ่ตั้ง              

กลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรม



  1. ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์

คณะกรรมการการเลือกตั้ง



  1. Chris Baker

นักวิชาการอิสระ



  1. ดุษฎี วรธรรมดุษฎี

นักวิชาการอิสระ



  1. อัฮฆมัด สมบูรณ์ บัวหลวง

โครงการพัฒนาประชาธิปไตยในชุมชนมุสลิม ปัตตานี


100. อังคณา นีละไพจิตร


กลุ่มยุติธรรมเพื่อสันติภาพ


101. เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์


อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net