Skip to main content
sharethis


 


เมื่อวันที่ 23-25 .ย.ที่ผ่านมา ที่หอประชุม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการจัดเวทีในวันวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 3 : สู่สังคมร่มรื่นและเป็นสุข โดยในวันที่สองของงาน มีการอภิปรายในหัวข้อ  "ภัยธรรมชาติ : ภัยพิบัติ" โดย รศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว และเป็นหัวหน้าคณะวิจัยในโครงการลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวของประเทศไทย (ระยะที่ 1) ได้พูดถึง "ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว" ซึ่งอาจเกิดความรุนแรงเสียหายในหลายส่วนพื้นที่ของไทย หากไม่มีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือ


 


ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว ป้องกันได้


วิธีป้องกันที่ดีที่สุด ก็คือ การออกแบบอาคารต้านแผ่นดินไหว


รศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ย้ำว่า แผ่นดินไหว ไม่ใช่เป็นภัยธรรมชาติที่จะป้องกันไม่ได้ และจริงๆ แล้ว การเตรียมพร้อมรับมือแผ่นดินไหว เราก็คิดได้หลายแนวทาง ทั้งในการพยากรณ์ ในทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งการเตรียมการรับมือหลังจากที่เกิดสถานการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมา เราก็ยังรักษาชีวิตผู้คนเอาไว้ได้น้อยมาก หลังจากที่ตึกพังทลาย


 


รศ.ดร.เป็นหนึ่ง ได้ฉายภาพเคลื่อนไหวของการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศที่ขาดการเตรียมพร้อมรับมือ เช่น ประเทศปากีสถาน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว บอกว่า ความรุนแรงของแผ่นดินไหวได้ทำลายเมืองทั้งเมืองลงอย่างราบคาบ โดยเฉพาะเมืองมูซาฟฟาราบัด ของแคว้นแคชเมียร์ อาคารคอนกรีตได้พังลงมากองราบหมด ไม่เหลือซักหลัง ไม่มีอาคารตั้งอยู่เลย


 


นอกจากนั้น ยังยกตัวอย่างภาพเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 6.2 ริคเตอร์ ที่ยอก จากาตาร์ ประเทศอินโดนีเซีย ทำให้มีคนตายไป 3.000 คน และที่น่าสนใจก็คือ อาคารสมัยใหม่ ซึ่งเป็นอาคารคอนกรีตก็ถูกทำลายด้วย รวมทั้งอาคารที่ตั้งของรัฐบาลก็พังหมด ซึ่งเมื่อมุดเข้าไปดูด้านใต้ของอาคารจะเห็นว่า เสาคอนกรีตขนาดใหญ่ก็ถูกทำลายหมด


 


รศ.ดร.เป็นหนึ่ง บอกว่า การเตรียมพร้อมรับมือกับภัยจากแผ่นดินไหวนั้นมีหลายวิธี แต่วิธีที่เชื่อว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุด คือการออกแบบและก่อสร้างอาคารในพื้นที่เสี่ยงภัยให้มีความสามารถต้านทานแผ่นดินไหวที่รุนแรงได้ ส่วนวิธีการอื่น เช่น การเตรียมรับสถานการณ์ฉุกเฉินหลังเกิดเหตุ ก็อาจมีส่วนช่วยเสริมได้บ้างแต่ก็ไม่สำคัญเท่า


 


ทั้งนี้ เนื่องจากแผ่นดินไหวที่รุนแรงมิได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง การเกิดที่รุนแรงแต่ละครั้งอาจมีการทิ้งช่วงเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ตำแหน่งที่เกิดและเวลาที่เกิดแผ่นดินไหวก็ไม่แน่นอน ไม่สามารถพยากรณ์ได้ล่วงหน้า(ด้วยเทคโนโลยียุคปัจจุบัน) แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะสามารถแผ่คลื่นการสั่นสะเทือนมาถึงตำแหน่งอาคารภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่วินาที ซึ่งเร็วเกินกว่าที่จะอพยพเคลื่อนย้ายผู้คนออกจากตัวอาคาร ดังนั้น หากอาคารสามรถทนการสั่นสะเทือนนี้ได้โดยไม่ทลายลงมา ก็จะสามารถรักษาชีวิตของประชาชนได้


 


อาคารที่ได้รับการออกแบบให้สามารถต้านทานแผ่นดินไหวที่รุนแรงได้นั้น มักมีรูปทรงที่สมมาตร มีระบบโครงสร้างที่ดี และมีสัดส่วนโครงสร้างที่แข็งแรง ในขณะเดียวกันก็จะมีความยึดหยุ่นและความเหนียวค่อนข้างสูง คือ สามารถโยกไหวได้โดยไม่แตกร้าวรุนแรงจนสูญเสียกำลังรับน้ำหนักบรรทุก


 


"วิธีที่ดีที่สุด ก็คือ การทำตึกอาคารบ้านเรือนให้มีความแข็งแรง เวลาเกิดเหตุแผ่นดินไหวแล้ว ไม่ถล่มพังลงมา" รศ.ดร.เป็นหนึ่งบอกย้ำ


 


ย้ำต้องปรับกฎกระทรวงควบคุมอาคารสูง ครอบคลุมกรุงเทพฯ และปริมณฑล


เป็นที่รับรู้กันว่า กระทรวงมหาดไทยได้ออกกฎกระทรวงมาฉบับหนึ่ง ควบคุมให้อาคารในพื้นที่เสี่ยงภัยมีการออกแบบก่อสร้างให้ต้านทานแผ่นดินไหวได้อย่างเหมาะสม พื้นที่เสี่ยงภัยที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับนี้ ได้แก่ จ.เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน และกาญจนบุรี กฎกระทรวงฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2540 นับเป็นก้าวสำคัญของการดำเนินการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวของประเทศไทย


 


อย่างไรก็ดี พื้นที่เสี่ยงภัยตามกฎหมายนี้มิได้ครอบคลุมถึงบริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑล และข้อกำหนดต่างๆ ในการออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหวที่ระบุไว้ในกฎกระทรวงก็ค่อนข้างล้าสมัยและไม่สมบูรณ์ครบถ้วน


 


"ที่ผ่านมา กฎหมายควบคุมอาคารสูงเพียง10 จังหวัด คือ ภาคเหนือ 9 จังหวัด และ จ.กาญจนบุรี เท่านั้น ซึ่งล่าสุด จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องแก้กฎหมายฉบับนี้ ที่ต้องรวมกรุงเทพฯ และปริมณฑลเข้าไปด้วย เพราะว่า มันเคยมีปัญหาที่ชัดเจนมาแล้วที่เมืองเม็กซิโกซิตี้ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในทะเล ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองเม็กซิโกถึง 350 กม. แต่แผ่นดินไหวครั้งนั้นส่งผลกระทบทำให้ตัวอาคารในพื้นที่เม็กซีโกซิตี้ถล่มลงมา ทำให้คนเสียชีวิตมากกว่า 10.000 ราย แล้วเมื่อหันกลับมามองกรุงเทพฯ ของเรา เป็นเมืองที่ใหญ่กว่าเม็กซิโกซิตี้มาก และมีโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8 ริคเตอร์ ในทะเลอันดามันซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 400 กม.อีกทั้งพื้นดินใต้ตึกสูงของกรุงเทพฯ ก็ล้วนเป็นภาวะดินอ่อนด้วย ซึ่งเราไม่รู้ว่าผลกระทบจะรุนแรงมากน้อยเท่าไหร่"


 


ทั้งนี้ รศ.ดร.เป็นหนึ่ง ยังบอกอีกว่า นอกจากจะควบคุมอาคารสูงแล้ว ก็น่าจะต้องควบคุมอาคารเล็กด้วย เพราะจากสถิติเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงที่ผ่านมา จะเห็นได้เลยว่า อาคารขนาดเล็กมันจะได้รับผลกระทบเสียหายมากที่สุด..."


 


อีกทั้งการนำกฎหมายฉบับนี้ไปบังคับใช้อย่างจริงจังเพื่อให้ได้ผลในทางปฏิบัติเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้น ก็ดูเหมือนจะมีปัญหาและอุปสรรคอยู่หลายประการ ที่สำคัญคือ เจ้าหน้าที่ในภาครัฐที่มีหน้าที่ควบคุมการออกแบบก่อสร้าง รวมทั้งวิศวกรผู้ออกแบบทั้งในภาคเอกชนและภาครัฐนั้น ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในหลักการสำคัญๆ ของการออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหว ซึ่งแตกต่างจากการออกแบบรับแรงประเภทอื่นๆ


 


"ปัญหาของการบังคับใช้ของกฎหมายฉบับนี้ก็คือ มักอ้างว่าเจ้าหน้าที่ไม่พร้อมและวิศวกรผู้รับเหมาก็ยังไม่พร้อม และก็กลัวว่าประชาชนทั่วไปจะบอกว่าเป็นกฎหมายที่ควบคุมรุนแรงเกินไป...ซึ่งที่ผ่านมาได้เสนอข้อมูลนี้ไปเมื่อสองสามปีมาแล้ว แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้า ยังคงวนไปมาอยู่อย่างนี้ และไม่รู้ว่าอีกเมื่อไหร่ถึงจะออกมา..."


 


สถิติการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยและใกล้เคียงตั้งแต่เดือน เม.ย.- พ.ย.2550


 

































































































วันที่


เวลา


latitude


longitude


ขนาด


บริเวณที่เกิด


ข้อมูลอื่น ๆ


29-11-2550


07:06


-3.04


100.5


5.7


ตอนใต้ของเกาะสุมาตรา


- ไม่มีผลกระทบ


23-11-2550


09:45


20.032


100.415


3.2


อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย


- ห่างจากจ.เชียงราย 60 กิโลเมตร


15-11-2550


17:28


20.25


99.74


3.6


อ.แม้ฟ้าหลวง จ.เชียงราย


-


13-11-2550


20:27


19.36


99.2


2.6


อ.พร้าว จ.เชียงใหม่


-


13-11-2550


00:27


20.26


99.07


2.6


ประเทศพม่าใกล้พรมแดน


-


12-11-2550


16:42


19.01


100.1


2


อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา


-


11-11-2550


06:20


-3


100.7


6.2


ตอนใต้เกาะสุมาตรา


- ไม่มีผลกับประเทศไทย


09-11-2550


06:44


20.55


100.73


3.6


ประเทศลาวตอนบน


-


06-11-2550


21:04


20.61


99.36


3.3


ประเทศพม่า


- ห่างจาก จ.เชียงราย 90 กม.


04-11-2550


08:28


20.46


100.81


3


ประเทศลาว


- ห่างจาก จ.เชียงราย 110 กม.



 

































































































วันที่


เวลา


latitude


longitude


ขนาด


บริเวณที่เกิด


ข้อมูลอื่น ๆ


02-11-2550


02:05


21.57


100.92


5.7


พรมแดนพม่า-ลาว-จีน


- ห่างจาก จ.เชียงราย 200 กม. รู้สึกสั่นไหวที่บริเวณ จ.เชียงราย


27-10-2550


17:35


20.06


100.35


3.1


อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย


-


16-10-2550


13:47


20.8


100.93


5


ตอนเหนือของประเทศลาว


- รู้สึกได้ที่ จ.เชียงราย


09-10-2550


09:35


9.7


93.7


4.3


หมู่เกาะนิโคบาร์ ประเทศอินเดีย


- ห่างจาก จ.ระนอง 500 กม.


01-10-2550


21:03


4


96.9


5.2


ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา อินโดนีเชีย


- ห่างจาก จ.ภูเก็ต 460 กม.


19-07-2550


18:17


20.26


99.05


4.2


ประเทศพม่า


- ห่างจาก จ.เชียงใหม่ 120 กม. รู้สึกได้ที่ อ.ฝาง และ อ.ชัยปราการ จ.เชียงใหม่


23-06-2550


15:17


21.27


99.82


5


ประเทศพม่า


- รู้สึกได้ที่ จ.เชียงราย


19-06-2550


12:06


18.9


99


4.5


อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่


- รู้สึกสั่นไหวได้ที่ จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน


16-05-2550


17:04


21


100.5


4.7


พรมแดนลาว-พม่า


- ห่างจาก จ.เชียงราย 95 กม. รู้สึกสั่นไหวที่หลายจังหวัดทางภาคเหนือ และอาคารสูงใน กทม.


23-04-2550


21:18


19.6


99.2


4


อ.พร้าว จ.เชียงใหม่


-



 


ที่มา : www.tmdseismology.com


 


ต้องบอกประชาชนรับรู้ข้อมูลแผ่นดินไหว


อีกปัญหาหนึ่งที่ รศ.ดร.เป็นหนึ่ง บอกไว้ก็คือ ต้องบอกให้ประชาชนรับรู้ เพราะที่ผ่านมา เคยมีอยู่ยุคหนึ่งที่มีผู้ทำการศึกษาเรื่องแผ่นดินไหวบอกว่า ปัญหานี้เราคุยกันเอง ไม่ควรบอกให้ประชาชนรับรู้ จึงทำให้การแก้ไขปัญหานี้ไม่มีความก้าวหน้า ซึ่งตอนหลังพอเราเริ่มมีการบอกข้อมูลความรู้เรื่องแผ่นดินไหวให้ประชาชน ก็เริ่มนำไปสู่การผลักดันอย่างเหมาะสมได้ จึานี้เราคุยกันเอง ไม่ต้อง


 


ดังนั้น การนำมาตรการกฎหมายมาควบคุมการออกแบบอาคาร จึงจำเป็นต้องทำควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงเหล่านี้ด้วย


 


รศ.ดร.เป็นหนึ่ง ยังยกตัวอย่างประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศเดียวในโลกที่สร้างตึกขึ้นมาไว้เพื่อทดลองแรงแผ่นดินไหว โดยเอาตึกทั้งตึกไปเขย่าเป็นการทดสอบตัวอย่างเสาคอนกรีตเพื่อรองรับแผ่นดินไหว


 


อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.เป็นหนึ่ง บอกว่า ในส่วนของประเทศไทย ขณะนี้กำลังมีการทำวิจัยในเรื่องนี้กันอยู่ โดยได้เชิญอาจารย์จาก 6 มหาวิทยาลัยมาร่วมกันทำงาน เพราะว่าปัญหานี้เป็นปัญหาค่อนข้างใหญ่ ซึ่งเราได้มีการทดสอบแรงแผ่นดินไหวกันทั้งเสา คาน พื้นคอนกรีต ต่างๆ ซึ่งความรู้ที่ได้ก็นำมาปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัย


 


ระบุต้นทุนอาคารต้านแผ่นดินไหว ไม่แพงอย่างที่คิด


รศ.ดร.เป็นหนึ่ง บอกว่า จากการศึกษาวิจัยพบว่า อาคารซึ่งได้รับการออกแบบให้ต้านทานแผ่นดินไหวอย่างถูกวิธีจะมีราคาสูงกว่าอาคารที่ไม่ได้ออกแบบให้ต้านทานแผ่นดินไหวเพียง 2% ถึง 7% เท่านั้น ราคามิได้เพิ่มขึ้นเป็นหลายเท่าตัวเหมือนที่หลายๆ คนเชื่อกัน อีกทั้งราคาที่เพิ่มขึ้นนี้ยังสามารถปรับลดลงไปได้อีกถ้าอาคารมีการออกแบบในด้านอื่นๆ ที่ดี


 


รศ.ดร.เป็นหนึ่ง บอกว่า ล่าสุด กำลังมีการทดลองทำคอนกรีตสำเร็จรูป เช่น คาน เสา ผนัง ฯลฯ ที่ออกแบบขึ้นมาให้ต้านทานแผ่นดินไหว ซึ่งต่างประเทศได้มีการผลิตและใช้กันมาแล้ว โดยสามารถคอนกรีตสำเร็จรูป นำไปประกอบใส่เป็นโครงสร้างของตัวอาคารได้เลย


 


"ซึ่งคอนกรีตสำเร็จรูปนี้สามารถก่อสร้างอาคารได้เร็วและง่าย แถมยังต้านทานแผ่นดินไหวได้ แถมราคาก็ไม่ได้แพงอย่างที่คิด ซึ่งเรากำลังพยายามจะทำลายความเชื่อที่ผิดๆ ว่า การสร้างบ้านอาคารต้านทานแผ่นดินไหวจะมีราคาแพงขึ้น ซึ่งเรากำลังมีการวิจัยกันอยู่ว่าเรื่องนี้ไม่เป็นความจริงและสามารถนำไปใช้ได้ และบ้านต้านทานแผ่นดินไหว ในอนาคตจะถูกยอมรับมากยิ่งขึ้น"


 


แนะเสริมฐานรากอาคารเดิม เพิ่มความต้านทานแรงแผ่นดินไหว


รศ.ดร.เป็นหนึ่ง ตอบคำถามที่ว่า แล้วอาคารเดิมที่สร้างมาก่อนหน้านั้นแล้ว จะแข็งแรง ทนทานได้แค่ไหน จะต้านทานแผ่นดินไหวได้อย่างไรว่า วิธีที่ดีที่สุด ก็ควรนำเอาข้อมูลการออกแบบการก่อสร้างอาคารนั้นๆ มาทำโมเดลทางคอมพิวเตอร์ เพื่อให้รู้ว่า อาคารนั้นจะมีความเสียหายตรงไหน อ่อนแอจุดไหน จะรองรับต้านทานแผ่นดินไหวได้มากน้อยเพียงใด แล้วก็เข้าไปทำการเสริมความแข็งแรงของตัวอาคารเดิม


 


"ซึ่งเทคนิคการเสริมความแข็งแรงของอาคาร เรากำลังทำการวิจัยกันอยู่ แต่การใช้วิธีการเสริมอาคารเดิมนั้นค่อนข้างแพง..."


 


รศ.ดร.เป็นหนึ่ง บอกว่า นอกจากที่ผ่านมาได้ทำการสร้างแผนที่แสดงความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย และก็ได้นำแผนที่ดังกล่าวมาช่วยในการวางแผน รวมทั้งนำไปใช้ในการเพิ่มมาตรฐานในการรับมือแผ่นดินไหวแล้วนั้น ล่าสุด กำลังมีการทำวิจัยชิ้นล่าสุด คือกำลังรวบรวมข้อมูลวิจัยเรื่อง อาคารบ้านเรือนทั้งในเขตภาคเหนือ จ.กาญจนบุรี รวมทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล มาประมวลรวมกับข้อมูลทางธรณีวิทยา เกี่ยวกับรอยเลื่อนต่างๆ เพื่อประเมินความเสี่ยง และสามารถคำนวณได้ว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว ว่าในแต่ละครั้งนั้นเกิดความเสียหายมากน้อยเท่าไหร่ กระทบมากน้อยเพียงใด และเสียชีวิตจำนวนเท่าใดบ้าง


 


"...ต่อไปในอีกสองสามปีข้างหน้า เราก็สามารถคาดการณ์ได้ว่า ถ้าหากเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.2 ริคเตอร์ ในพื้นที่กลางเมือง จ.เชียงใหม่ เราจะสามารถรู้ได้เลยว่าอาคารตรงไหนจะพังบ้าง จะมีคนบาดเจ็บเสียชีวิตเท่าไหร่ ผลกระทบในแง่คุณค่า ทรัพย์สินเท่าไหร่ ซึ่งเราจะบอกเป็นภาษาชาวบ้านและเตรียมพร้อมวางแผนรับมือได้ ซึ่งเรากำลังทำวิจัยเรื่องนี้อยู่"


 


ทั้งนี้ รศ.ดร.เป็นหนึ่ง ได้สรุปทิ้งท้ายเอาไว้ว่า เราคงจะไม่สามารถเพิกเฉยต่อภัยธรรมชาตินี้ได้อีกต่อไป และเชื่อว่าการลดความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวเป็นสิ่งที่ทำได้จริง แต่ก็มิใช่เรื่องง่าย เพราะผู้ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะพิเศษของภัยแผ่นดินไหว และมีการเตรียมพร้อมป้องกันอย่างถูกวิธี ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับภัยแผ่นดินไหวมากกว่าที่เป็นอยู่นี้ และร่วมมือช่วยกันผลักดันให้มาตรการลดภัยพิบัติบังเกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างแท้จริง


 


"ถ้าเราทำได้เร็วเพียงพอ เราอาจจะสามารถรักษาชีวิตของประชาชนเป็นจำนวนมากไว้ได้จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงต่อไปในอนาคต"


 


ข้อมูลประกอบ


สำนักแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา


วิศวกรรมสาร,ปีที่ 59ฉบับที่4  เดือนก.ค.-ส.ค.2549


เอกสารประกอบงานวิจัย "ภัยพิบัติแผ่นดินไหวที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในประเทศไทย,รศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย


 


ข่าวต่อเนื่อง


รายงาน : เมื่อ "แผ่นดินไหว" กลายเป็นภัยพิบัติที่คนไทยต้องสนใจ (1)


http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=10368&SystemModuleKey=HilightNews&SystemLanguage=Thai

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net