Skip to main content
sharethis

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวัน 13 ธันวาคม 2550 ที่โรงแรมซีเอส.ปัตตานี กลุ่มสถาบันทางวิชาการ องค์กรสื่อและองค์กรพัฒนาเอกชนในภาคใต้ จะร่วมกันเสนอนโยบายแห่งชาติเพื่อการแก้ปัญหาวิกฤตความรุนแรงชายแดนใต้ต่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของพรรคการเมืองที่คาดว่าจะได้รับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 พรรค ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ ชาติไทย พลังประชาชน และเพื่อแผ่นดิน พร้อมทั้งร่วมทำสัญญาประชาคมรับข้อเสนอนโยบายดังกล่าวด้วย โดยมีนายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นสักขีพยาน


 


 






นโยบายแห่งชาติเพื่อการแก้ปัญหาวิกฤตความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้


 


เสนอโดย


 


สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ


สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย


สถาบันข่าวอิศรา


สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข


สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11


สมาคมวิทยุโทรทัศน์ไทย


สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภาคใต้


เครือข่ายบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคใต้


เครือข่ายรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ภาคใต้ (ครต.)


เครือข่ายและกลุ่มภาคประชาสังคมภาคใต้


 


 


 


๑. การปฏิรูปโครงสร้างการบริหารจัดการเฉพาะพื้นที่


๑.๑ การปรับโครงสร้างการบริหารจัดการของ ศอบต. ให้เป็นองค์กรอิสระ ขึ้นตรงกับ นายกรัฐมนตรี


       โดยเป็นองค์กรที่มีคุณลักษณะดังนี้


·         มีอำนาจในการตัดสินใจในการแก้ปัญหาและการวางแผนพัฒนา


·         มีอำนาจเบ็ดเสร็จในเรื่องงบประมาณ


·         มีอำนาจในการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐทุกสังกัด ที่มาปฏิบัติงานในพื้นที่ พิจารณาการย้ายข้าราชการเข้ามาในพื้นที่และการเสนอย้ายข้าราชการที่มีพฤติการณ์ที่ไม่เหมาะสมออกนอกพื้นที่ รวมทั้งการจัดอบรม  ปฐมนิเทศ การให้บำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษแก่ข้าราชการที่มีผลงานดีเด่น


·         ใช้การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม เช่น สัดส่วนของคณะกรรมการบริหารองค์กรให้มีคนในพื้นที่มากกว่าคนนอกพื้นที่


·         คณะกรรมการบริหารองค์กรต้องเป็นที่ยอมรับจากประชาชนในพื้นที่


๑.๒ การใช้วิถีมุสลิมบูรณาการกับการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจัดให้มีสมัชชาประชาชน หรือ สภาชุมชนที่ใช้กระบวนการซูรอ เป็นกระบวนการในการพัฒนาการเมืองแบบมีส่วนร่วม


 


๒. การปฏิรูประบบความยุติธรรม


 


๒.๑ การจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อความยุติธรรมในพื้นที่ ขึ้นตรงกับ นายกรัฐมนตรี


        โดยเป็นองค์กรที่มีคุณลักษณะดังนี้


·         มีระบบการร้องเรียน ร้องทุกข์เพื่อความเป็นธรรมเป็นภาษาถิ่น


·         มีระบบการร้องเรียนโดยเฉพาะเรื่องการเยียวยา


·         บูรณาการและเชื่อมประสานกับระบบยุติธรรมของรัฐ


๒.๒ การตั้งผู้พิพากษาศาลซารีอะห์ในระบบยุติธรรมคดีครอบครัวและมรดก


๒.๓ การตั้งศูนย์นิติวิทยาศาสตร์ในชายแดนภาคใต้


 


๓. การปฏิรูประบบการศึกษา


๓.๑ การคงความหลากหลายของการจัดการศึกษาในพื้นที่


๓.๒ พัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งสามัญศึกษา ศาสนศึกษา  อิสลามศึกษา  และอาชีพ ในโรงเรียนของรัฐ  โรงเรียนเอกชน  โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่   ทั้งด้านหลักสูตร  และครูผู้สอน


         ให้มีความเป็นเลิศ


๓.๓ การพัฒนาเป็นศูนย์กลางอิสลามศึกษาและอาหรับศึกษา


๓.๔ การจัดหลักสูตรในทุกระดับให้มีการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม


๓.๕ การจัดการศึกษาเพื่อผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์


๓.๖ การจัดตั้งองค์กรเฉพาะเพื่อการแก้ปัญหาความรุนแรงที่เกิดกับครู การหยุดเรียนของนักเรียน


๓.๗ เสนอให้วันศุกร์วันเสาร์เป็นวันหยุดเรียนของโรงเรียนทุกประเภทในพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของท้องถิ่น และเป็นจุดเริ่มต้นของการยอมรับความหลากหลายของการจัดการด้านต่างๆในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้


 


๔. การปฏิรูประบบเศรษฐกิจ


๔.๑ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อขจัดความยากจน เช่น


·       การฟื้นฟูนาร้าง


·       การยกเลิกเรืออวนรุน อวนลาก เรื่อปั่นไฟปลากะตะ การมีพรบ.ประมง ใหม่


·       การแก้ปัญหาที่ทำกินที่บูโด สุไหงปาดี


๔.๒ การพัฒนาฝีมือแรงงานไทยในพื้นที่ให้มีความสามารถ มีทักษะ และส่งเสริมให้ไปทำงานในต่างประเทศ รวมถึงการดูแลแรงงานไทยในต่างประเทศ


๔.๓ การพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล การเป็นครัวโลก


๔.๔ เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ และส่งเสริมการค้าไทย-มาเลเซีย


 


๕. การปฏิรูปสังคม ประเพณี วัฒนธรรม


๕.๑ การจัดสวัสดิการสังคมภายใต้ ระบบซากาต


๕.๒ การพัฒนาให้เป็นพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ความเป็นพหุวัฒนธรรมและความสมานฉันท์


๕.๓ สนับสนุนการขับเคลื่อนงานด้านศาสนาของชุมชน


๕.๔ การพัฒนาการสื่อสารสาธารณะ ให้อยู่บนฐานของความรู้ที่สังเคราะห์จากความเป็นจริงในพื้นที่


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net