Skip to main content
sharethis

อานุภาพ นุ่นสง
สำนักข่าวประชาธรรม


แม้จะใกล้ช่วงเวลาการเลือกตั้งเข้ามาทุกขณะ แต่ดูเหมือนว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มาจากการแต่งตั้งชุดนี้ยังคงมุ่งมั่นออกกฎหมายหลายต่อฉบับเป็นว่าเล่น ขณะที่หลายฉบับที่คลอดออกมาและกำลังจ่อคิวคลอดออกมาเพื่อบังคับใช้นั้นเข้าข่ายละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน และอีกจำนวนไม่น้อยมุ่งขยายอำนาจแก่ภาคราชการให้มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดมากขึ้น

ที่ผ่านมา แม้คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) และเครือข่ายองค์กรประชาชนจะชุมนุมบริเวณหน้ารัฐสภาเพื่อกดดันให้ สนช.ยุติการพิจารณากฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน โดยให้เหตุผลว่า ช่วงเวลานี้ใกล้ช่วงการเลือกตั้ง ดังนั้น สนช.ไม่มีความชอบธรรมใดๆในการพิจารณากฎหมาย ควรรอให้สภาที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ดำเนินการ

กรณีดังกล่าวนับว่าเป็นเรื่องที่ สนช.จะต้องทบทวนการประชุมสมาชิกในสัปดาห์นี้ซึ่งถือเป็นสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ในการพิจารณากฎหมายให้แล้วเสร็จ แม้ว่ามีกฎหมายอีกหลายฉบับที่ผ่านวาระแรกของ สนช.เพื่อเข้าสู่การพิจารณาในวาระ 2 และ 3 ดังนั้นช่วงเวลาที่เหลือน้อยนอกจากจะขาดความชอบธรรมแล้วยังอาจส่งผลถึงความละเอียดรอบคอบในการพิจารณาด้วย

แต่ทว่า การชุมนุมเรียกร้องครั้งนี้มิได้ส่งผลใดๆต่อการทบทวนบทบาทของ สนช.แม้แต่น้อย เพราะยังคงมุ่งมั่นพิจารณากฎหลายที่ยังค้างคาอยู่ต่อไป อาทิ ร่าง พ...ความมั่นคง ร่าง พ...น้ำ ร่าง พ...ว่าด้วยเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ ร่าง พ...การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ร่าง พ...สภาการเกษตรแห่งชาติ เป็นต้น

ขณะที่กฎหมายหลายฉบับที่ผ่านการพิจารณาไปแล้ว และเข้าข่ายละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชนก็มีจำนวนไม่น้อย อาทิ พ...คอมพิวเตอร์ พ...ป่าชุมชน และอีกหนึ่ง พ...ที่ผ่านการพิจารณาไปแล้วและไม่เป็นที่ถูกกล่าวถึงเท่าไรนัก นั่นคือ ...พัฒนาที่ดิน พ.. 2526 แก้ไขเพิ่มเติม พ..2550

ร่าง พ...พัฒนาที่ดิน ฉบับปรับปรุงแก้ไขดังกล่าว เข้าสู่การพิจารณาของ สนช.ในวาระ 2 และ 3 เมื่อวันที่ 21 ..ที่ผ่านมา ซึ่ง สนช.เห็นชอบไปแล้วด้วยคะแนน 58 เสียง ซึ่งหากพิจารณาหลักการเหตุผลในการปรับแก้ พ...ฉบับดังกล่าวนั้นจะเห็นว่าถูกชงโดยกรมพัฒนาที่ดิน ที่มีมุมมองต่อการแก้ปัญหาที่ดินแบบเดิมๆ คือเน้นแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของดิน การพังทะลายของหน้าดิน ที่มีวิธีคิดว่าสาเหตุมาจากการทำการเกษตรกรรมบนพื้นที่สูงเป็นด้านหลัก

กฎหมายดังกล่าวรวมถึงการปรับปรุงดินที่มีปัญหาต่อการเกษตรและคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมที่เหมาะสมไว้เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของดินและเพื่อประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ซึ่งอาจเป็นเพียงหลักการและเหตุผลที่สวยหรู แต่ลึกลงไปในรายละเอียดกลับสอดแทรกวิธีคิดการจัดการที่ดินแบบภาครัฐ และยังคงรวมศูนย์การจัดการอยู่เช่นเดิม


กม.พัฒนาที่ดิน ผลกระทบเกษตรกร

...พัฒนาที่ดินฉบับปรับปรุงแก้ไขดังกล่าว ถูกเสนอเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.โดยกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งนายบัณฑิต ตันศิริ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ระบุเหตุผลว่า พ...พัฒนาที่ดินฉบับเดิมมีการบังคับใช้มาเป็นเวลานาน จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาที่ดินให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาปัญหาความเสื่อมโทรมของดินได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ทั้งในเรื่องของความอุดมสมบูรณ์ดินที่ลดลง และปัญหาปนเปื้อนจากสารพิษ รวมทั้งการขยายตัวของดินเค็มและการนำพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเกษตรที่รัฐได้ลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานไปใช้เพื่อกิจกรรมอื่น ตลอดจนปัญหาการชะล้างพังทลายของพื้นที่สูงชัน เช่น เหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นที่ อ.ลับแล เมือง และท่าปลา จ.อุตรดิตถ์

นายบัณฑิต ยังระบุอีกว่า ความเสียหายจากความเสื่อมโทรมของดินในรูปแบบต่างๆ มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมและความมั่นคงด้านอาหารของชาติโดยรวม ดังนั้นในร่าง พ...พัฒนาที่ดินที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้ มีเป้าหมายให้เกิดการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน โดยการป้องกันและลดความเสื่อมโทรมของดินทั้งจากการใช้ที่ดินที่ไม่ตรงกับความเหมาะสมของดินและสรรถนะของที่ดิน ตลอดจนลดการสูญเสียหน้าดินจากการชะล้างพังทลายของดิน รวมทั้งการปรับปรุงดินที่มีปัญหาต่อการเกษตรและคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมที่เหมาะสมไว้เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของดินและเพื่อประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ

ทั้งนี้ หลังจาก พ...ฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ กรมพัฒนาที่ดินจะเร่งประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงต่อการพังทลายของหน้าดินและดินถล่ม รวมทั้งพื้นที่เสี่ยงต่อภัยสารเคมีหรือสารปนเปื้อนที่มีผลกระทบต่อการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรทุกชนิด

การประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำแต่ละแห่งจะมีคณะกรรมการ 3 ระดับ แบ่งเป็นระดับประเทศเรียกว่าคณะกรรมการพัฒนาที่ดิน มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน ระดับจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และระดับปฏิบัติการมีนายอำเภอเป็นประธาน โดยทุกเขตที่ประกาศจะเปิดโอกาสให้เกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

นายสุมิตรชัย หัตถสาร ผอ.ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น กล่าวว่า หาก พ...พัฒนาที่ดินฉบับปรับปรุงแก้ไขนี้ผ่านออกมา ชาวบ้านจำนวนมากได้รับผลกระทบแน่นอน เพราะ พ...ฉบับนี้ให้อำนาจกรมพัฒนาที่ดินในการประกาศพื้นที่เสี่ยงภัยได้ อย่างกรณี จ.แม่ฮ่องสอน จะได้รับผลกระทบทั้งจังหวัด ทั้งพื้นที่เกษตรที่สูง ไร่หมุนเวียน มีปัญหาแน่นอน นอกจากนี้พื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีก็จะถูกควบคุมโดย พ...ฉบับนี้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นชาวบ้านที่ทำการเกษตรโดยใช้สารเคมีก็จะถูกตรวจสอบโดยอำนาจรัฐ โดยที่ชาวบ้านเหล่านั้นไม่มีส่วนร่วมในการบวนการนั้นเลย 


รวมศูนย์ภาครัฐ เข้าอีหรอบเดิมๆ

กรณีดังกล่าว นายไพโรจน์ พลเพชร เลขาธิการสมาคมเพื่อสิทธิเสรีภาพประชาชน กล่าวว่า กรณีการปรับปรุง พ...พัฒนาที่ดินนั้น ตนตั้งข้อสังเกตไว้ 2 ประเด็นคือการใช้อำนาจของราชการในการประกาศเขตที่มีความเสี่ยงต่างๆนั้นมีกระบวนการและการมีส่วนร่วมมากน้อยแค่ไหน เพราะหากดูตามเจตนารมณ์ที่ดูเหมือนว่าเป็นเรื่องที่ประสงค์ดี แต่ในการใช้อำนาจ กระบวนการมีส่วนร่วม ทั้งระดับการตัดสินใจ การตั้งคณะกรรมการในการกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ต้องมีสัดส่วนของฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง โดยเฉพาะภาคประชาชนที่รัฐธรรมนูญ 2550 ได้ขยายบทบาทให้องค์กรท้องถิ่นรวมทั้งองค์กรชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร ดังนั้นในการกำหนดโครงสร้างหรือองค์ประกอบต่างๆจะต้องมีส่วนขององค์กรชุมชน องค์กรท้องถิ่นเข้ามาร่วมด้วย ส่วนประเด็นที่สอง วิธีการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำรวมทั้งรายละเอียดขั้นตอนต่างๆจะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เห็นพ้องต้องกันเพราะไม่เช่นนั้นจะนำไปสู่ความขัดแย้งได้

"
การออกกฎหมายลักษณะนี้ออกมาเหมือนเป็นการเพิ่มอำนาจให้ข้าราชการแบบเดิมๆ ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ต้องการกำหนดทิศทางการจัดการและใช้ประโยชน์ในที่ดินที่ต้องไม่ผูกขาดอยู่ที่รัฐเพียงฝ่ายเดียว กฎหมายการให้อำนาจลักษณะนี้ผ่าน สนช.ชุดนี้ออกมามาก ซึ่งทำให้เข้าใจเหมือนกับว่านี่คือการขยายบทบาทและเพิ่มอำนาจให้ระบบราชการ ซึ่งไม่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยที่เรากำลังจะพัฒนาไปข้างหน้า" นายไพโรจน์ กล่าว

เลขาธิการสมาคมเพื่อสิทธิเสรีภาพประชาชน กล่าวต่อว่า การกำหนดมาตรการแก้ปัญหาดินถล่มหรือสารเคมีนั้น โดยส่วนตัวเห็นว่าไม่จำเป็นต้องบัญญัติออกมาเป็นกฎหมาย เพราะหากพิจารณาการใช้สารเคมีเกษตรกรมีแรงจูงใจจากบริษัทยักษ์ใหญ่ทางการเกษตรไปลงทุน แล้วเกิดการผูกขาดจนเกษตรกรต้องตกเป็นเบี้ยล่างของกลุ่มทุนเกษตรขนาดใหญ่ ดังนั้นต้องให้ทางเลือกอื่นๆ กับเกษตรกรให้เขาสามารถพึ่งตนเองได้ ดังนั้นหากพิจารณา พ...ฉบับนี้จะเป็นเพราะการใช้อำนาจแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น

นายสุมิตรชัย กล่าวต่อว่า หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า พ...พัฒนาที่ดินเป็นการเพิ่มอำนาจให้กรมพัฒนาที่ดินมีอำนาจเพิ่มจากเดิมด้วยการอ้างภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ ดินถล่ม ซึ่งจริงๆ แล้วการจัดการป้องกันและแก้ปัญหาเรื่องเหล่านี้หน่วยงานท้องถิ่น ทั้ง อบต. อบจ.เขาก็ทำกันอยู่แล้ว หากภาครัฐอยากแก้ปัญหานี้ก็สามารถประสานความร่วมมือกันได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องออกมาเป็นกฎหมาย แต่นี่ดูเหมือนว่ารัฐกำลังเพิ่มอำนาจให้กรมพัฒนาที่ดินให้มีอำนาจมากกว่า อบต. อบจ. รวมทั้งภาคประชาชน ซึ่งขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญที่บอกว่าต้องการลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน

"
มาตรการแก้ปัญหาเหล่านี้ปัจจุบันองค์กรท้องถิ่นเขาทำกันอยู่แล้ว มีการเฝ้าระวัง การเตือนภัย ดังนั้นจะเห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่มีความจำเป็นใดๆเลย หากคลอดออกมาเป็นกฎหมายก็จะเป็นการเพิ่มอำนาจให้ราชการเท่านั้นเอง" ผอ.ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น กล่าว


ดังนั้น จะเห็นว่าเบื้องหน้าในการแก้ไขปรับปรุง พ...พัฒนาที่ดินฉบับนี้ดูเหมือนว่าเป็นการป้องกันแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของดิน รวมทั้งการปรับปรุงดินที่มีปัญหาต่อการเกษตรและคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมที่เหมาะสมไว้เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของดินและเพื่อประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ แต่แท้จริงแล้วเป้าหมายที่แท้จริงที่ถูกซุกซ่อนอยู่นั่นคือ การมุ่งขยายอำนาจของภาคราชการ และที่น่าหดหู่ยิ่งกว่าคือ การที่ สนช.เองก็เห็นชอบกับการขยายอำนาจดังกล่าว ดังนั้น คงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลายๆ คนรู้จัก สนช.ชุดนี้ในฐานะเครื่องมือการสถาปนาอำนาจให้ราชการเท่านั้นเอง.

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net