Skip to main content
sharethis

ป่าทาม พื้นที่ชุ่มน้ำโลก


 



เอกสารประกอบงานวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก ๒๕๕๑


โดย  โครงการส่งเสริมนโยบายสาธารณะเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำป่าทามมูน


Project on Public Policy Promotiom for Mun Wetland Recovery  (Tammun.4p)


 


 


๑.พื้นที่ชุ่มน้ำ คือ อะไร ?


 


พื้นที่ชุ่มน้ำ(wetland) มีคำจำกัดความที่ให้ความหมายกว้างขวาง คือ " พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม มีน้ำขัง  พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่มีน้ำขังหรือท่วมอยู่ถาวรและชั่วครั้งชั่วคราว ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเลและพื้นที่ของทะเลในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลงต่ำสุดมีความลึกของระดับไม่เกิน ๖ เมตร อาจรวมถึงพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำ และชายฝั่งทะเล ซึ่งมีเขตติดต่อกับพื้นที่ชุ่มน้ำและเกาะ หรือเขตน้ำทะเลที่มีความลึกมากกว่า ๖ เมตร เมื่อน้ำลงต่ำสุดซึ่งอยู่ภายในขอบเขตของพื้นที่ชุ่มน้ำนั้น"


 


ชื่อ "พื้นที่ชุ่มน้ำ" เป็นคำเรียกที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ เมื่อประเทศไทยได้เข้าร่วมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ (Ramsar Covention) แต่ในวิถีของชุมชนท้องถิ่นบ้านเราทราบและตระหนักกันดีว่า ระบบนิเวศน์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ไม่ว่าจะเป็น ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ ทะเล และพื้นที่น้ำท่วมถึง ท่วมขัง เช่น ป่าบึงน้ำจืด ป่าชายเลน ป่าพรุ ป่าทาม ฯลฯ เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อการตั้งถิ่นฐาน มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์เป็นฐานการดำรงชีวิตและเป็นแหล่งสั่งสมอารยธรรมของมนุษย์มาทุกยุคทุกสมัย


 


คุณค่าด้านนิเวศวิทยาของพื้นที่ชุ่มน้ำ คือ เป็นแหล่งเก็บกักน้ำตามธรรมชาติ ช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำใต้ดิน ช่วยลดและป้องกันปัญหาน้ำท่วมฉับพลัน ป้องกันมิให้น้ำเค็มรุกเข้ามาในแผ่นดิน ป้องกันการพังทลายของชายฝั่ง เป็นแหล่งดักจับตะกอนและธาตุอาหารที่พัดพามากับน้ำ ทั้งยังทำหน้าที่กักกรองสารพิษที่ปนเปื้อนมากับน้ำ  เป็นแหล่งความหลากหลายทางกายภาพและชีวภาพที่สำคัญต่อวงจรชีวิตของพืชและสัตว์นานาชนิด  พื้นที่ชุ่มน้ำจึงมีคุณค่ามากมายต่อชีวิตมนุษย์ เป็นแหล่งทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรประมง ทรัพยากรพืชและสัตว์ป่า ทรัพยากรการเกษตร เป็นพื้นที่ที่ชุมชนท้องถิ่นใช้เป็นแหล่งหาและผลิตปัจจัยสี่ ใช้ในการคมนาคม แหล่งพลังงาน นันทนาการและการประกอบพิธีกรรมของท้องถิ่น ฯลฯ


 


๒.สถานการณ์พื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทย


 


กล่าวได้ว่า คุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนไทยตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน เกิดขึ้น ดำรงอยู่และเป็นไปบนฐานทรัพยากรสำคัญคือพื้นที่ชุ่มน้ำนี่เอง  แต่ในระยะเวลาแห่งการพัฒนาที่มุ่งเน้นภาคอุตสาหกรรม การเติบโตของชุมชนเมืองในรอบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ส่งผลให้พื้นที่ชุ่มน้ำต่างๆ เสื่อมสภาพ  สูญเสีย  ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งต่อระบบนิเวศน์และวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น ทั้งเกิดความขัดแย้งให้เห็นอยู่ทั่วไป


คูคลองอันเคยเป็นเส้นชีวิตของชุมชนถูกเปลี่ยนเป็นที่ถ่ายเทของเสียของชุมชน ระบบนิเวศน์น้ำไหลถูกสร้างเขื่อนกักกั้นเป็นน้ำนิ่ง และอ่างเก็บน้ำซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเอาน้ำใช้ประโยชน์ ขณะเดียวกันก็สร้างหายนะให้แก่ระบบนิเวศน์ที่สมดุลและสร้างความเดือดร้อนแก่ชุมชนที่ใช้ประโยชน์มาแต่เดิม  มีการก่อสร้างมากมายที่เกิดขึ้นด้วยการรุกล้ำและถมทำลายพื้นที่ชุ่มน้ำและกีดขวางทางเดินของน้ำ ทั้งอาคารบ้านเรือน ถนน สนามบิน โรงงานอุตสาหกรรม


เมื่อพื้นที่ชุ่มน้ำมีน้อยลง แต่การใช้ประโยชน์ของมนุษย์ยิ่งทวีความเข้มข้นขึ้นตามแรงผลักดันของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม  เราจึงพบว่าเกิดการแย่งชิงทรัพยากรในพื้นที่ชุ่มน้ำให้เห็นบ่อยขึ้น ทั้งเกิดจากการคุกคามที่มาในนามของนโยบายรัฐ จากนายทุน-ธุรกิจเอกชนและจากชุมชนทั้งบ้านใกล้บ้านไกล ที่มุ่งจับจองทำประโยชน์ ทำนากุ้ง นาเกลือ สวนป่ายูคาลิปตัส แปลงพืชเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจการดูดทราย ถนน เขื่อน เครื่องมือประมงขนาดใหญ่ 


กิจกรรมเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับรัฐและนายทุนรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ หลายกรณีลามไปสู่ความขัดแย้งแตกแยกกันเองของคนในชุมชนท้องถิ่น  และแน่นอนที่สุดผลกระทบต่อภูมิอากาศและคุณภาพสิ่งแวดล้อมก็รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งภาวะภัยแล้ง น้ำท่วม มลภาวะ ไม่เกินความจริงนักถ้าจะกล่าวว่าปัญหาเหล่านี้อยู่ในขั้นวิกฤติแล้ว


เหตุปัจจัยสำคัญของการเสื่อมสภาพและการสูญเสียพื้นที่ชุ่มน้ำ นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องนี้ระบุตรงกันว่ามาจาก "นโยบายรัฐ" ในอดีตที่มุ่งแต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ไม่มีนโยบายและมาตรการที่ชัดเจนและเหมาะสมในการพิทักษ์ปกป้อง อนุรักษ์หรือฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือการจัดการให้มีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างเหมาะสม 


รศ.ประสิทธิ์  คุณุรัตน์ แห่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า การขาดนโยบายที่จะกำหนดแนวทางการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำเกิดจากความไม่รู้หรืออวิชชา  นับเป็น "ภัยคุกคามที่สำคัญที่สุด" ขณะที่ ดร.ศันสนีย์  ชูแวว แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงอีกเหตุหนึ่งที่สำคัญ คือ การขาดการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ


 


๓.นโยบายเกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำ


 


อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ เป็นต้นมา ได้มีการริเริ่มกล่าวถึงความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำมากขึ้น โดย "กรมป่าไม้" ได้จัดประชุมแลกเปลี่ยนและผลักดันให้เกิดนโยบายเกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำขึ้น


ต่อมาในปี ๒๕๓๖ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้แต่งตั้ง "คณะอนุกรรมการพื้นที่ชุ่มน้ำ" ขึ้น โดยมีสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม(กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในขณะนั้น) เป็นสำนักงานเลขานุการ  คณะอนุกรรมการพื้นที่ชุ่มน้ำ ได้มีการศึกษาสถานภาพของพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทยและผลักดันประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ(อนุสัญญาแรมซาร์) เมื่อปี ๒๕๔๑ ซึ่งการเข้าร่วมดังกล่าวได้กระตุ้นให้เกิดการตื่นตัว และการปฏิบัติตามพันธะสัญญาโดยการกำหนดและวางแผนการดำเนินงานเพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาด และมีโอกาสในการแลกเปลี่ยน ช่วยเหลือและรับการหนุนช่วยต่างๆ จากระดับสากล 


ต่อมาในปี ๒๕๓๘ อนุกรรมการพื้นที่ชุ่มน้ำได้มีการจัดทำฐานข้อมูลพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทย  ซึ่งพบว่าในประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำ รูปแบบต่างๆ กระจายกันอยู่ทั่วประเทศมีเนื้อที่ประมาณ  ๒๖.๓๖ ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ ๖.๗๕ ของพื้นที่ประเทศ   ถูกจำแนกเป็น


พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ ๖๑ แห่ง 


พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ ๔๘ แห่ง


พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับท้องถิ่น ๑๙,๒๙๕ แห่ง 


เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญเร่งด่วนที่ควรได้เสนอเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำระหว่างประเทศ ๙ แห่ง เป็นพื้นที่ที่สมควรได้รับการฟื้นฟูและคุ้มครองโดยเร่งด่วน ๒๘ แห่ง  


 


เมื่อ วันที่  ๑ สิงหาคม ๒๕๔๓ คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบมาตรการอนุรักษ์พื้นที่


ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติ  ซึ่งประกอบด้วย  การอนุรักษ์ การสร้างจิตสำนึก  การศึกษาสำรวจและการป้องกันไฟป่า (ดูนโยบายและมาตรการในตาราง) จากนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมป่าไม้ ได้จัดทำแผนและมาตรการการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ ๕ ปี (๒๕๔๕-๒๕๕๐) สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมได้ศึกษาและจัดทำแผนการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำเฉพาะพื้นที่หลายกรณี  กรมประมงก็จัดทำโครงการนำร่องเกี่ยวกับการประมงในพื้นที่ชุ่มน้ำในหลายพื้นที่ เป็นต้น


 


 


ตาราง แสดงมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ


และระดับชาติตามมติคณะรัฐมนตรี ๑ สิงหาคม ๒๕๔๘


 




























































มาตรการ


หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ


หน่วยงาสนับสนุน


)  ให้นำเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญาพื้นที่ชุ่มน้ำ (Ramsar sites)


สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม


กรมป่าไม้


กรมประมง


)  ให้ประกาศพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า  หรือพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมหรือพื้นที่อนุรักษ์ในลักษณะอื่นของกรมป่าไม้


สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม


กรมประมง องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น


)  ให้เร่งรัดออกหนังสือสำคัญที่หลวงในกรณีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาตินั้นเป็นที่สาธารณะประโยชน์และให้เร่งดำเนินการจัดทำแนวเขตที่ชัดเจนเพื่อป้องกันปัญหาการบุกรุกโดยไม่เกิดผลกระทบที่ต่อระบบนิเวศน์ของพื้นที่ชุ่มน้ำ


กรมป่าไม้  กรมที่ดิน  กรมการปกครอง


องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น


)  ให้ดำเนินการฟื้นฟูระบบนิเวศน์พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติที่เสื่อมโทรมและต้องการปรับปรุงโดยด่วน  เพื่อให้พื้นที่ชุ่มน้ำนั้นสามารถดำรงบทบาทหน้าที่ทางนิเวศวิทยาและอุทกวิทยาได้ตามธรรมชาติ


สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม  กรมป่าไม้  กรมประมง กองทัพเรือ


องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น  สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท


) ให้จัดทำแผนแม่บทการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อคุ้มครองและฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำ  โดยมีการแบ่งเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่เป็นเขตอนุรักษ์และเขตพัฒนา  พร้อมทั้งกำหนดแนวเขตกันชนพื้นที่  ตลอดจนกำหนดกิจกรรมที่สามารถกระทำได้และห้ามกระทำในพื้นที่


สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม  กรมป่าไม้


หมายเหตุ: พื้นที่ชุ่มน้ำที่อยู่ในเขตพื้นที่คุ้มครองรับผิดชอบโดยกรมป่าไม้  พื้นที่ชุ่มน้ำที่อยู่นอกเขตพื้นที่คุ้มครองรับผิดชอบโดยสำนักงานนโยบายและแผน


กรมประมง


กรมเจ้าท่า


สถาบันการศึกษา


กรมพัฒนาที่ดิน


) ให้มีการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม  สำหรับโครงการพัฒนาใดๆ ที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศน์ของพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติ


สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม


กรมป่าไม้


สถาบันการศึกษา


กรมชลประทาน


)  ให้สร้างจิตสำนึกและปลูกฝังความรู้  ความเข้าใจในคุณค่าของพื้นที่ชุ่มน้ำแก่ชุมชนในพื้นที่และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติด้วย


กรมป่าไม้  กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม  สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม  สถาบันการศึกษา


องค์การพัฒนาเอกชน   องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น


)  ให้มีการศึกษาวิจัยระบบนิเวศน์พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติและเผยแพร่ข้อมูลแก่สาธารณะชนอย่างต่อเนื่อง


กรมป่าไม้     กรมประมง  สถาบันการศึกษา


กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม           สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม


)  ให้มีการติดตามตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศน์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างต่อเนื่องโดยมีการกำหนดปัจจัยหรือดัชนีชี้วัดที่ชัดเจน


กรมป่าไม้ กรมประมง


สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม  สถาบันการศึกษา


๑๐) ให้มีการศึกษาสำรวจพื้นที่ชุ่มน้ำและความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มเติมทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติตามเกณฑ์


คณะอนุกรรมการการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ  กรมป่าไม้ สำนักงานนโยบายและแผน


สถาบันการศึกษา


๑๑)  ให้มีการควบคุมและป้องกันมลพิษจากแหล่งกำเนิดประเภทต่างๆ    ได้แก่  ชุมชนอุตสาหกรรม  เกษตรกรรมและกิจกรรมอื่นๆ


กรมควบคุมมลพิษ  องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น


กรมการผังเมือง


๑๒) ให้มีการควบคุมป้องกันไฟป่าในพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติที่อาจเกิดจากชุมชนหรือเกิดจากกิจกรรมอื่นๆ โดยมีมาตรการดังนี้


) มาตรการป้องกันไฟป่า


(1)             ให้ดำเนินการควบคุมระดับน้ำของป่าชุ่มน้ำให้คงที่


(2)                     ทำแนวกันไฟเปียก(wet-line firebreak) ตามแนวพระราชดำริ


(3)                     ดำเนินการประชาสัมพันธ์ในเชิงรุกทุกรูปแบบเพื่อสร้างจิตสำนึกและความเข้าใจให้กับชุมชนถึงอันตรายที่เกิดจากไฟป่า  เป็นผลให้ชุมชนยุติการจุดไฟเผาป่า


)  มาตรการดับไฟป่า


(1)         จัดตั้งสถานีควบคุมไฟป่าในพื้นที่  เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแล และดำเนินการควบคุมไฟป่าในพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญ


(2)         ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ป่าไม้ให้ปฏิบัติงานดับไฟป่าในพื้นที่ชุมน้ำ


(3)         ใช้เครื่องมือ  อุปกรณ์ดับไฟให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ


กรมป่าไม้


องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น


หมายเหตุ: พื้นที่ชุ่มน้ำที่อยู่ในเขตพื้นที่คุ้มครอง รับผิดชอบโดยกรมป่าไม้   พื้นที่ชุ่มน้ำที่อยู่นอกเขตพื้นที่คุ้มครองรับชอบโดยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น


สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท


๑๓)  ให้มีการศึกษาและจัดทำแผนกายภาพ  ออกแบบภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบและในบริเวณที่ใกล้เคียงพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติ  ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว  เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูที่ดังกล่าวทั้งระบบ


กรมการผังเมือง


องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น


องค์กรพัฒนาเอกชน      กรมป่าไม้


กรมประมง


กรมที่ดิน


กรมชลประทาน


 


 


            เมื่อถึงเวลานี้ เราสามารถกล่าวได้ว่า "นโยบายและมาตรการเกี่ยวกับการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ" นั้นถูกผลิตขึ้นมามากมายพอสมควรแล้ว แต่ทำไมพื้นที่ชุ่มน้ำจึงถูกคุกคามต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง และดูเหมือนจะเร็วและแรงขึ้นเรื่อยๆ  


เหตุปัจจัยคงไม่ได้อยู่ที่ "การไม่มีนโยบาย" อีกแล้ว แต่คงอยู่ที่การมีผู้นำนโยบายนั้นๆ ไปปฏิบัติให้เป็นจริงและอยู่ที่ความเหมาะสมของนโยบาย


จะเห็นได้ว่า บรรดานโยบายที่มีอยู่นั้น ล้วนเป็นนโยบายที่มาจาก "เบื้องบน" รวมศูนย์การควบคุมอยู่ที่หน่วยงานส่วนกลาง ขณะที่หน่วยงานราชการยังขาดความรู้ความเข้าใจในระดับที่จะเป็นผู้ออกนโยบายในการจัดการที่เหมาะสมได้ แต่เรากลับพบว่าผู้ที่ใกล้ชิดกับ "พื้นที่ชุ่มน้ำ" มากที่สุดก็คือชาวบ้านที่พึ่งพาอาศัยพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นแหล่งดำรงชีวิต ชาวบ้านได้สั่งสมองค์ความรู้เกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำไว้มากที่สุด


เช่นที่ป่าทามแม่น้ำมูนตอนกลางหรือป่าทามราษีไศล และพื้นที่ชุ่มน้ำอื่นๆ หลายแห่ง เราพบว่าการเคลื่อนไหวของชุมชนเพื่อแก้ปัญหาป่าทาม มีการเรียนรู้และการปฏิบัติอย่างน่าสนใจ  เป็นการเคลื่อนไหวที่มีพลังและเต็มไปด้วยความหวัง  มีการจัดตั้งองค์กร แล้วประสานกันเป็นเครือข่าย  การพัฒนาองค์ความรู้ของชุมชนโดย "งานวิจัยไทบ้าน" นำมาซึ่งสำนึกร่วมในการพิทักษ์ ปกป้อง ต่อสู้ต่อรองกับภายนอก และขณะเดียวกันก็เกิดการคิดค้นสร้างทางเลือก สร้างกติการ่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าทามในรูปแบบป่าชุมชน การทำชลประทานโดยชุมชน การทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืน หัตถกรรมพื้นบ้าน การทำกลุ่มออมทรัพย์และการทำระบบสวัสดิการของชุมชนในรูปแบบต่างๆ แล้วยังมีความพยายามประสานกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อผลักดันประสบการณ์เหล่านั้นให้เกิดการขยายผลในระดับนโยบายท้องถิ่น ร่วมมือกับโรงเรียนในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น


กล่าวได้ว่า การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำที่ยั่งยืนและเป็นธรรมนั้น กุญแจสำคัญควรเป็นบทบาทของชุมชนท้องถิ่นลุกขึ้นมามีบทบาทหลัก โดยการหนุนช่วยทางวิชาการของภาควิชาการและพันธมิตรในท้องถิ่น ศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ ค้นหาทางเลือกที่สอดคล้องกับระบบนิเวศน์และภูมิปัญญาของท้องถิ่น และเกิดการรวมกลุ่มองค์กร


สิ่งที่จำเป็นที่รัฐพึงกระทำก็คือ การให้อำนาจ เช่นการรับรองสิทธิชุมชน การปรับปรุงข้อกฎหมายให้เอื้ออำนวยให้พลังของชุมชนแสดงตัวออกมา และการสนับสนุนงบประมาณตามความเหมาะสมแก่การดำเนินการตามนโยบายของชุมชนท้องถิ่น


 


.บุ่งทามแม่น้ำมูน


พื้นที่ชุ่มน้ำใหญ่ที่สุดในอีสาน


 


บริเวณตอนกลางของลำน้ำมูน มีสัณฐานเป็นที่ราบต่ำ มีความลาดเอียงน้อย ต่างจากแม่น้ำมูนตอนต้นที่เป็นลำห้วยเล็กๆ ไหลตัดซอกเขาลงสู่ที่ราบ  ส่วนแม่น้ำมูนตอนปลายไหลตัดแนวสันหินปลายเทือกเขาภูพาน เกิดเป็นเกาะแก่งและมีความกว้างของลำน้ำเพียงประมาณ ๒๕๐ เมตร ในฤดูฝนลำน้ำมูนไม่สามารถระบายปริมาณน้ำอันมหาศาลได้ทัน ก่อให้เกิดการเอ่อท่วมของกระแสน้ำในบริเวณตอนกลางของลำน้ำเป็นเวลา ๓-๔ เดือน ลักษณะเช่นนี้เป็นปัจจัยให้เกิดการสั่งสมของดินตะกอนมีสัณฐานสูงต่ำตามอิทธิพลของกระแสน้ำ เกิดเป็นพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงอันกว้างใหญ่ในตอนกลางของแม่น้ำมูน เป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร ภูมิสันฐาณเช่นนี้ ชาวอีสานเรียกว่า "บุ่งทาม" และเรียกสังคมพืชสัตว์ที่ขึ้นในบริเวณนี้ว่า "ป่าบุ่งป่าทาม" หรือ "ป่าทาม"


 


สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม  ได้ขึ้นทะเบียนพื้นที่บุ่งทามแม่น้ำมูนไว้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติใน ๒ บริเวณคือ ผืนหนึ่งบริเวณนับจากอำเภอพุทไธสง,สตึก จ.บุรีรัมย์, อำเภอชมพลบุรี, อำเภอท่าตูม, รัตนบุรี  .สุรินทร์  อำเภอราษีไศลจนถึงอำเภอเมือง  .ศรีสะเกษ พื้นที่ ๖๐๔  ตร.กม. (๓๗๗,๕๐๐ ไร่ )  อีกผืนหนึ่งที่บริเวณแม่น้ำชีไหลลงแม่น้ำมูน ๙๗.๔ ตร.กม.(๖๐,๙๓๗ ไร่) และขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำในลุ่มน้ำมูนที่มีความสำคัญระดับท้องถิ่นไว้หลายบริเวณ


เฉพาะป่าทามบริเวณลุ่มน้ำมูนตอนกลาง ๒ พื้นที่ข้างต้น มีเนื้อที่รวมกันถึง ๔๓๘,๔๓๗ ไร่ นับเป็นพื้นที่ ๑ ใน ๓ ของพื้นที่ชุ่มน้ำในภาคอีสานซึ่งมีอยู่ ๑,๒๔๙,๗๐๖ ไร่


 


พื้นที่ป่าทามที่มีความสำคัญผืนหนึ่งในบริเวณนี้ คือที่เรียกกันว่า"ป่าทามราษีไศล" ซึ่งกำลังได้รับผลกระทบจากเขื่อนราษีไศล ในโครงการ โขง ชี มูล  ซึ่งตามข้อมูลของกรมชลประทาน มีพื้นที่บุ่งทามที่ได้รับผลกระทบประมาณ ๑ แสนไร่  และจากงานศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อปี พ.. ๒๕๔๒  พบว่าพื้นที่นี้มีชุมชนที่เกี่ยวข้อง ใช้ประโยชน์จากพื้นที่บุ่งทามแห่งนี้ประมาณ ๑๔๒  หมู่บ้านใน ๒๑ ตำบล  ๘ อำเภอ  ๓ จังหวัด (สุรินทร์,ร้อยเอ็ด,ศรีสะเกษ)  จำนวนใกล้เคียงกับการศึกษาของ รศ.ประสิทธิ์  คุณุรัตน์ เมื่อปี ๒๕๔๐   คือ ๑๒๖ หมู่บ้าน ๑๙    ตำบล มีประชากรประมาณ ๒๕,๐๐๐  ครอบครัว          


 


ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่บุ่งทามผืนนี้ในอดีตนำพาให้ผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์และวัฒนธรรมเข้ามาตั้งหลักแหล่งหลายยุคสมัย  ชุมชนส่วนใหญ่ในปัจจุบันเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อ ๑๐๐-๒๕๐ ปีที่แล้ว  ทำมาหากินเกี่ยวข้องกับพื้นที่บุ่งทามด้วยวิธีทำกินที่สอดคล้องกับฤดูกาล   โดยเฉพาะการทำนาในพื้นที่ทาม  มีครัวเรือนร้อยละ ๘๘.  มีที่ดินทำกินในบริเวณนี้เฉลี่ยครัวเรือนละ ๑๑.๐ ไร่ โดยเข้าบุกเบิกเองและสืบทอดจากบรรพบุรุษเป็นมรดก  ร้อยละ ๖๖.  ไม่เคยมีเอกสารสิทธิใดๆในที่ดิน  แต่ถือสิทธิ์ยอมรับกันภายในชุมชนตามจารีตประเพณี  นาทามได้ผลผลิตค่อนข้างสูงคือ ๖๘๔.๖ กิโลกรัมต่อไร่ (ประสิทธิ์  คุณุรัตน์,๒๕๔๐)  ขณะที่ค่าเฉลี่ยผลผลิตข้าวในนาทุ่งทั่วไปในภาคอีสาน  ประมาณ ๓๘๐ กิโลกรัมต่อไร่


 


ในระยะ ๑๐ กว่าปีที่ผ่านมา  การเคลื่อนไหวขององค์กรชาวบ้านเพื่อการแก้ไขปัญหาผลกระทบจาการก่อสร้างเขื่อนราษีไศลได้กระตุ้นให้เกิดการศึกษาข้อมูลและรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับป่าทามผืนนี้ไว้อย่างมากมาย  โดยเฉพาะเกี่ยวกับระบบนิเวศน์บุ่งทาม  เช่น จาก "งานวิจัยไทบ้านราษีไศล" (๒๕๔๗)  ได้ศึกษาระบบนิเวศน์บริเวณรอยต่อ ๓ จังหวัด  พบ ภูมิสัณฐาน ย่อยๆอย่างหลากหลายประกอบด้วยพื้นที่โนนจำนวน ๑๐๓  แห่ง ฮองหรือร่องน้ำจะอยู่คู่กับโนน  มีหนองน้ำ  กุด อันเป็นแหล่งน้ำหน้าดินมีน้ำขังตลอดปีอยู่ทั่วไป (ในงานของประสิทธิ์ คุณุรัตน์  ระบุมีแหล่งน้ำธรรมชาติประมาณ ๕๐๐ แห่ง) พบ พันธุ์ปลา ในบริเวณนี้ ๑๑๒ ชนิด  เป็นปลาอพยพจากแม่น้ำโขง ๓๓ ชนิด  สำรวจพบ เครื่องมือประมงพื้นบ้าน ที่ชาวบ้านใช้หาปลาในบริเวณนี้ ๔๘ ชนิด  ด้านพันธุ์พืช พบ ๒๕๐ ชนิด  แยกเป็นไม้ยืนต้น ๓๗ ชนิด  ไม้พุ่ม ๓๓  ชนิด  ไม้เลื้อย ๕๑  ชนิด  ประเภทเป็นกอ ๔๓ ชนิด พืชน้ำ ๒๔  ชนิด  เห็ด ๓๒ ชนิด มีพืชอาหารวัวควาย ๘๐ ชนิด


ทรัพยากรสำคัญในพื้นที่อีกอย่างหนึ่งคือ เกลือ  ซึ่งชาวบ้านขุดเอา  "ขี้ทา" หรือส่าเกลือในฤดูแล้งมากรองแล้วต้มเคี่ยวเป็นเกลือสินเธาว์  ในบริเวณนี้มีการต้มเกลือมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีลานต้มเกลือหรือที่ชาวบ้านเรียก "บ่อเกลือ" ประมาณ ๑๕๐ บ่อ  มีความกว้างตั้งแต่ ๑๐ - ๑๐๐ ไร่


ชุมชนรอบป่าทามแห่งนี้ได้ใช้ฐานทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ดังกล่าวในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพเป็นเศรษฐกิจสำคัญของครอบครัวและชุมชน  นับเป็นเขตพื้นที่ที่มีความมั่นคงทางอาหารและสามารถพึ่งตนเองได้ระดับสูงเขตหนึ่งทีเดียว


 


ในระยะ ๔๐ กว่าปีที่ผ่านมา มีความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อป่าทามราษีไศล คือ ภาวะน้ำหลากท่วมลดน้อยลงเพราะมีการสร้างเขื่อนหลายแห่งที่บริเวณต้นแม่น้ำมูน มีการบุกเบิก บุกรุกพื้นที่บุ่งทาม เปลี่ยนสภาพการใช้ประโยชน์ มีการจับจองเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจโดยชุมชนและนายทุน เกิดธุรกิจดูดทรายทำให้ตลิ่งพัง 


เหตุเหล่านี้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป  แต่เมื่อมีการสร้าง "เขื่อนราษีไศล"ตามโครงการ โขง ชี มูล เมื่อปี ๒๕๓๔ ได้นำพาความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลวงมาสู่พื้นที่บุ่งทามและชุมชนราษีไศล เช่น ปัญหาการสูญเสียที่ดินทำกิน ป่าชุมชน ทำเลเลี้ยงสัตว์ น้ำเน่าเสีย สูญเสียพันธุ์ปลา การแพร่กระจายของดินเค็มน้ำเค็มรอบอ่างเก็บน้ำ การแพร่กระจายของโรคพยาธิและโรคทางเดินอาหาร ที่สำคัญคนในชุมชนก็แตกแยกกันเองและมีความขัดแย้งกับทางราชการ นำไปสู่การเคลื่อนไหวอย่างยืดเยื้อของชุมชนตลอดเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมา


 


๕.ประสบการณ์ของชุมชนป่าทามราษีไศล


ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าทาม



 


ชาวบ้านรอบป่าทามทั่วไปได้ใช้ประโยชน์จากป่าทามในการดำรงชีวิตด้านต่างๆ อย่างหลากหลาย ในอดีตที่ทรัพยากรยังไม่เสื่อมโทรม เขตนี้เป็นเขตที่มีความมั่นคงทางอาหารสูงสุดเขตหนึ่งทีเดียว การจัดการทรัพยากรในพื้นที่ป่าทามมีการ "เฮ็ดน่ำกัน กินน่ำกัน" ตามแบบแผนวัฒนธรรมอีสาน มีการแบ่งปันเอื้อเฟื้อ มีระบบสิทธิชุมชนหรือระบบศีลธรรมในการควบคุมทางสังคม มีพื้นที่ที่เป็นกรรมสิทธิ์ครอบครองของครอบครัว กรรมสิทธิ์ของเครือญาติ กรรมสิทธิ์ร่วมของคนทั้งชุมชน เช่น แหล่งน้ำ ทำเลเลี้ยงสัตว์ ป่าดอนปู่ตา เหล่านี้มีกฎกติกาที่ไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแต่มีความศักดิ์สิทธิ์และมีการยอมรับซึ่งกันและกันอย่างเคร่งครัดตามจารีตประเพณีของชุมชน


ในระยะประมาณ ๒๐ ปีที่ผ่านมา เมื่อมีแนวโน้มว่าพื้นที่ป่าทามจะถูกคุกคามทำลายลงเรื่อยๆ ชาวชุมชนหลายแห่งมีความตื่นตัวและร่วมสร้างกติกาในการใช้ประโยชน์มิให้เกิดการล้างผลาญทำลาย มีการรวมกลุ่มกันคิดค้นกิจกรรมใหม่ๆ เพื่อการอยู่รอดร่วมกัน ทั้งทางด้านอาชีพและการสร้างสวัสดิการของชุมชน ในที่นี้จะกล่าวถึงกิจกรรมที่เป็นแบบอย่างได้ เช่น


 


(๑)การอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าทามในรูปแบบป่าชุมชน ที่เด่นชัดมีอยู่ ๓ ป่า คือ ป่าทามกุดเป่ง ในชุมชน ๔ หมู่บ้านใน อ.โพนทราย จ.ร้อยเอ็ด ป่าทามโนนน้ำเกลี้ยง ชุมชนร่วมกับ อบต.ท่าหาดยาว อ.โพนทราย และป่าทามโนนยาง อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ และยังมีป่าอื่นๆ ในพื้นที่เครือข่ายอีกประมาณ ๒๐ ป่า พื้นที่เหล่านี้เกิดจากการตระหนักร่วมกันของชาวชุมชนที่จะจัดการให้มีพื้นที่ป่าทามไว้ "ใช้ร่วมกัน" อย่างยั่งยืนถึงลูกหลาน มีการสร้างกฎระเบียบและการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแล บ้างมีกลุ่มชาวบ้านผู้นำธรรมชาติเป็นผู้ดูแล บางแห่งมีองค์การบริหารส่วนตำบล บางแห่งมีพระสงฆ์เป็นผู้ดูแล ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ปัจจุบันเกิดความตื่นตัวขององค์การบริหารส่วนตำบลเกือบทุกพื้นที่ที่จะดูแลพื้นที่ป่าทามให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนตามแนวทางนี้ ที่ป่าทามกุดเป่งยังมีการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติของผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจทั่วไปด้วย


(๒)ระบบชลประทานชุมชน เป็นกิจกรรมของกลุ่มชุมชนหลายแห่ง เช่น ป่าทามกุดขาคีม อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์  ตัวอย่างสำคัญที่กล่าวถึงในที่นี้คือ ป่าทามหนองแค-สวนสวรรค์ ซึ่งชาวบ้านได้ร่วมกันพัฒนารูปแบบของการรวมกลุ่มกันจัดการน้ำเพื่อทำนาปรังในฤดูแล้ง โดยทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ๒๕๒๑ มีการรวมกลุ่มกันตามท่าสูบน้ำ(จากแม่น้ำมูนและกุด หนอง) ระดมแรงและระดมเงินกันขุดคลอง ยืมเครื่องสูบน้ำจากกรมชลประทานส่งน้ำดึงเข้าพื้นที่นา  มีทั้งหมด ๗ กลุ่ม มีคลองหลักที่ชาวบ้านขุดเอง ๒๔ สาย รวมเป็นระยะทาง ๘ กิโลเมตร กระจายน้ำทำนาปรังได้ ๑,๖๑๘ ไร่ สมาชิกทั้งสิ้น ๑๘๗ ครอบครัว  การลงทุนสำหรับโครงสร้างต่างๆ เฉลี่ยไร่ละ ๑๐๗ บาท (ขณะที่ห่างออกไป ๒-๓ กิโลเมตร เขื่อนราษีไศล มีค่าการลงทุนตามโครงการประมาณ ๒๕,๐๐๐ บาทต่อไร่) รูปแบบการจัดการน้ำดังกล่าว ชาวบ้านได้ใช้ความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งต่อสภาพสูงต่ำของพื้นที่ ลักษณะของดิน น้ำ เป็นการทำแบบรวมกลุ่มที่บริหารกันเองภายในชุมชนอย่างลงตัว


  (๓)กลุ่มหัตถกรรมกก-ผือทาม ตั้งมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๘ เป็นการรวมตัวของกลุ่มแม่บ้านในอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด โดยการฟื้นฟูภูมิปัญญาดั้งเดิมในการทอเสื่อจาก กกและผือ ซึ่งเป็นพืชที่ขึ้นอยู่ในป่าทาม ผลิตและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้แก่ครอบครัว และยังร่วมกันทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น ออมทรัพย์ ร้านค้าชุมชน กลุ่มสวัสดิการเพื่อผู้ด้อยโอกาส  มีสมาชิกจากกลุ่มพื้นฐานใน ๘ หมู่บ้าน มีสมาชิก ๑๔๐ คน


(๔)กลุ่มเกษตรทามมูน เมื่อได้รับค่าชดเชยที่ดินทำกินในปี ๒๕๔๐ สมาชิกของเครือข่ายจำนวนหนึ่งได้ริเริ่มทำการเกษตรแบบผสมผสาน  จากการเรียนรู้ร่วมกันต่อมาได้พัฒนารูปแบบการเกษตรที่มีแบบแผนเฉพาะ สอดคล้องกับพื้นที่บุ่งทาม โดยนำพืชที่มีศักยภาพทางด้านอาหารและด้านเศรษฐกิจจำนวน ๑๖ ชนิดจากพื้นที่บุ่งทามมาปลูกผสมผสานกับพืชอื่นในแปลงเกษตร เรียกกันว่าเป็น "เกษตรทามมูน" กลุ่มได้พัฒนาในแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน ปลอดสารพิษ ใช้พันธุกรรมพืชสัตว์พื้นบ้าน สร้างความหลากหลายในแปลงเกษตร และมีการพัฒนาการรวมกลุ่ม สร้างกองทุนออมทรัพย์ ปัจจุบันมีสมาชิก ๕๖ ครัวเรือน จาก ๑๒ หมู่บ้าน


  (๕)งานวิจัยไทบ้าน  โดยการสนับสนุนขององค์กรพัฒนาเอกชนและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ได้สนับสนุนให้ชาวบ้านรอบป่าทามราษีไศลรวมกลุ่มกันทำวิจัยประเด็นสำคัญเกี่ยวกับป่าทาม ตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ เป็นต้นมาได้ดำเนินการมาแล้วหลายโครงการ เช่น กลุ่มวิจัยการจัดการน้ำโดยองค์กรชุมชนตำบลกุดขาคีม,วิจัยการเลี้ยงวัวควายที่เหมาะสมในพื้นที่ป่าทาม(งานวิจัยดีเด่นของ สกว. ปี ๒๕๔๗),การประมงในพื้นที่ทาม,ผักทาม,ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำเกษตรนิเวศน์ทาม, บทเรียนการจัดการป่าทามชุมชนในลุ่มน้ำมูนตอนกลาง, อีกด้านหนึ่งชาวบ้านยังมีประสบการณ์มีส่วนร่วมในการวิจัยของสถาบันวิชาการ เช่น การศึกษาผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากเขื่อนราษีไศล(จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ชาวบ้านได้เรียนรู้อย่างสำคัญว่าการวิจัยก็คือกระบวนการเรียนรู้ภายใน ได้พัฒนาภูมิปัญญา เรื่องราวของท้องถิ่นตนเป็นองค์ความรู้ การวิจัยเป็นกระบวนเรียนรู้ที่สามารถสร้างความตระหนัก สร้างพลังภายใน เกิดความมั่นใจในตนเอง และขณะเดียวกันก็สามารถใช้ในการอธิบายสร้างความเข้าใจเรื่องปัญหาของตนต่อสังคม และใช้เป็นเครื่องมือในการต่อรองในการแก้ปัญหา  ปัจจุบันมีการทำวิจัยในขั้นปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง และมีการร่วมมือกับโรงเรียนต่างๆ หลายโรงในพื้นที่เพื่อสร้างหลักสูตรท้องถิ่น


(๖)การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนราษีไศลได้เป็น "เครือข่ายชาวบ้านร่วมอนุรักษ์ป่าทามแม่น้ำมูน" มาตั้งแต่ปี ๒๕๓๖ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และสร้างอำนาจต่อรองในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น กิจกรรมที่กลุ่มดำเนินการ คือการเก็บรวบรวมข้อมูลความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นและยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาล การฝึกอบรมสมาชิก การเคลื่อนไหวรณรงค์สร้างความเข้าใจต่อสังคม เครือข่ายของชาวบ้านขยายการจัดตั้งไปตามสายเครือญาติและวงสัมพันธ์ต่างๆ ในท้องถิ่น  ปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ ๑,๐๐๐ กว่าคนจาก ๓๖ หมู่บ้าน ใน ๓ จังหวัด จากการดำเนินการของเครือข่ายสามารถสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตามลำดับ ขณะเดียวกันก็มีการคิดค้นทางเลือกในการพัฒนาด้านต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว  ในพื้นที่ป่าทามราษีไศลในระยะสิบกว่าปีที่ผ่านมายังเกิดการรวมกลุ่มเป็นกลุ่มองค์กร เครือข่ายต่างๆ อีกมากมายเพื่อผลักดันการแก้ไขปัญหา ดูคล้ายจะเกิดความวุ่นวายทางสังคมพอสมควร  แต่อีกด้านหนึ่งก็สะท้อนให้เห็นความตื่นตัว  ความตระหนักในสิทธิของชุมชนได้เป็นอย่างดีที่ต้องการมีส่วนร่วมกับรัฐในการแก้ไขปัญหา และการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรของท้องถิ่นให้เกิดความเป็นธรรมและยั่งยืนในอนาคตด้วย


 


๖.บทสรุป


 


ป่าบุ่ง หรือป่าทาม ซึ่งถูกนับเป็น "พื้นที่ชุ่มน้ำ" ประเภทหนึ่งนี้ ถือเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ที่เราเรียกในวาระนี้ว่า "ป่าทาม พื้นที่ชุ่มน้ำโลก" แต่คุณค่าความสำคัญที่แท้และใกล้ตัวที่สุดก็คือ คุณค่าต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยเฉพาะต่อชาวชุมชนลุ่มน้ำที่พึ่งพาอาศัยพื้นที่นี้มาเป็นเวลาอันยาวนาน และต้องพึ่งพาอาศัยพื้นที่นี้ต่อไปอีกยาวนาน


ด้วยความเร่งรุดไปสู่ความเจริญของการพัฒนาประเทศและการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของชาวชุมชน  พื้นที่ป่าทามกำลังลดลงอย่างรวดเร็ว ถูกเปลี่ยนเป็นอ่างเก็บน้ำ สวนยูคาลิปตัส และมีกระบวนการต่างๆอีกมากมายที่กำลังคุกคามการดำรงอยู่ของป่าทาม ที่สุดผลกระทบก็มาถึงมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 


 


อย่างไรก็ดีท่ามกลางการคุกคามทำลายก็มีการคิดค้นสร้างสรรค์


วันนี้เราทั้งหลายควรมีเวลาสำหรับคิดที่จะลดปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยคุกคาม และสนับสนุนปัจจัยบวก คือ พลังสร้างสรรค์ของชุมชน ซึ่งได้นำเสนอในเอกสารนี้โดยเฉพาะการรวมพลังของหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งราชการ  องค์กรวิชาการ  องค์กรพัฒนาเอกชน  เพื่อเป้าหมายให้  "ป่าทาม"  ขี้นเป็น


 


พื้นที่ชุ่มน้ำโลก


มดลูกของแม่น้ำ


ไตของแผ่นดิน


ครัวของชุมชน


ดำรงบทบาทสำคัญของมันต่อไปควบคู่ไปกับความยั่งยืน  เป็นธรรม  สันติสุขของสังคมมนุษย์


 


 


 


 .................................................................................................


 



ภาคผนวก


 


 


งานมหกรรมป่าทามพื้นที่ชุ่มน้ำโลก : ๒ กุมภาพันธ์ วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก


วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ณ ที่ว่าการอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ


 


วัตถุประสงค์


(๑)เพื่อสร้างความเข้าใจและรณรงค์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความสำคัญและแนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำป่าทาม


(๒)เพื่อให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขององค์กรท้องถิ่นในลุ่มน้ำมูนตอนกลางในการอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำป่าทาม


 


องค์กรร่วมจัด


            ๑.โครงการส่งเสริมนโยบายสาธารณะเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำป่าทามมูน


กองทุนสิ่งแวดล้อม  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


๒.กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


            ๓.ศูนย์ส่งเสริมวิจัยเพื่อท้องถิ่นทุ่งกุลาร้องไห้  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)


            ๔.อำเภอราษีไศล  จังหวัดศรีสะเกษ


            ๕.สมาคมป่าชุมชนอีสาน


            ๖.คณะกรรมการชาวบ้านเพื่ออนุรักษ์ป่าทามมูน


๗.เครือข่ายฮักแม่มูนเมืองศรีสะเกษ


๘.องค์การบริหารส่วนตำบลยางคำ  จังหวัดร้อยเอ็ด


๙.องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหาดยาว  จังหวัดร้อยเอ็ด


๑๐.องค์การบริหารส่วนตำบลกุดขาคีม จังหวัดสุรินทร์


๑๑.องค์การบริหารส่วนตำบลทับใหญ่  จังหวัดสุรินทร์


 


โครงการส่งเสริมนโยบายสาธารณะเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำป่าทามมูน


Project on Public Policy Promotiom for Mun Wetland Recovery  (Tammun.4p)


 


ดำเนินการโดย   โครงการทามมูล  มูลนิธิชุมชนอีสาน


 


สถานที่ติดต่อ ที่อยู่ 53/1 .สระโบราณ  .เมือง  .สุรินทร์  โทรศัพท์ 044-530019 , โทรสาร  044-515590 e-mail tammoon_kcm@hotmail.com ,  tammoon_kcm@yahoo.com


 


สนับสนุนโดย  กองทุนสิ่งแวดล้อม  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


กรรมการโครงการ


                        (1) นายสุพรรณ  สาคร 


                        (2) ดร.นันทิยา  หุตานุวัตร 


                         (3) นายอุบล  อยู่หว้า 


                         (4) นายสังเวียน  ขำเนตร


               (5) นายบุญเสริฐ  เสียงสนั่น


                         (6) นางผา  กองธรรม


                         (7) นายปรีชา  สังข์เพชร  


                        (8) นางสาวปราณี  มัคนันท์   


                        (9) นายสนั่น  ชูสกุล  


 


ที่ปรึกษาโครงการ


(1) รศ.ประสิทธิ์ คุณุรัตน์


 (2) อาจารย์บัณฑร  อ่อนดำ                      


(3) ดร.อุษา  กลิ่นหอม 


 (4) ดร.ศันสนีย์   ชูแวว 


 (5) คุณวิสูตร  อยู่คง 


                         (6) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดร้อยเอ็ด


                         (7) นายอำเภอโพนทราย   จังหวัดร้อยเอ็ด


                         (8) อาจารย์นิภาวดี   ทะไกรราช 


                         (9) นายนันทโชติ   ชัยรัตน์  


                        (๑๐) เครือข่ายองค์กรชุมชนลุ่มน้ำมูน


                        (๑๑) นายยกองค์การบริหารส่วนตำบลทุกตำบลในพื้นที่ดำเนินงานโครงการ


 


วัตถุประสงค์


            (1) เพื่อเสริมความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนในการจัดการป่าทามอย่างยั่งยืน มุ่งให้เกิดแบบอย่างที่สามารถใช้ขยายผลได้


            (2) เพื่อพัฒนายกระดับองค์ความรู้เกี่ยวกับพื้นที่ป่าทามให้เกิดความเด่นชัด โดยการสังเคราะห์ข้อมูลความรู้เดิม  การศึกษาทดลองเพิ่มเติมในพื้นที่ และผลิตสื่อเผยแพร่สู่สังคมอย่างต่อเนื่อง   


            (3) เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดนโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่น ในการจัดการป่าทามอย่างยั่งยืน และสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ การเฝ้าระวังและการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำป่าทามในพื้นที่ลุ่มน้ำมูน


 


แผนงานหลัก


 


๑. แผนงานเสริมความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน โดยการสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้พัฒนาศักยภาพคณะทำงาน สรุปบทเรียนและติดตามแผนการดำเนินงานกลุ่มเกษตรทามมูน เครือข่ายหัตถกรรมกก-ผือทาม และองค์กรชุมชนในการจัดการป่าทามในรูปแบบของ "ป่าทามชุมชน"


๒.แผนส่งเสริมนโยบายสาธารณะในพื้นที่เครือข่าย  โดยการจัดตั้งทีมศึกษาและปฏิบัติการพื้นที่เพื่อเป็นกลไกในการประสานงาน  เสริมความรู้ทางด้านกฎหมายนโยบายพื้นที่ชุ่มน้ำ ศึกษาและรวบรวมข้อมูลด้วยระบบ GIS พร้อมทั้งการสนับสนุนการจัดทำแผนชุมชน ท้อถิ่นเพื่อจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำป่าทาม


๓.แผนรณรงค์และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สังเคราะห์และรวบรวมข้อมูล เผยแพร่ทางสื่อสาธารณะและ web. Esaanvioce.net ในรูปแบบของบทความ ข่าว นิทรรศการ ดีวีดี และวารสาร "สารแม่มูน"


 


กำหนดการ


"มหกรรมป่าทาม พื้นที่ชุ่มน้ำโลก"


2 กุมภาพันธ์ วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก


วันที่ 5  กุมภาพันธ์ 2551 ณ ที่ว่าการอำเภอราษีไศล  จังหวัดศรีสะเกษ


 


 



























วันที่ 5 กุมภาพันธ์  2551


09.00 -10.00 น.


            ลงทะเบียน


10.00-10.10 น.


กล่าวต้อนรับ โดย นายอำเภอราษีไศล


10.10-10.20 น.


10.20-11.00 น.


พิธีเปิด


§             กล่าวรายงานความเป็นมา  โดยประธานโครงการ


§             กล่าวเปิดและบรรยายพิเศษ โดยผู้ว่าราชการจังหวัศรีสะเกษ          


§             พิธีมอบใบเกียรติบัตรแก่องค์กรร่วมจัดและองค์กรชุมชน - ท้องถิ่น


11.00-12.30 น.


เวทีอภิปราย 


"การสร้างความร่วมมือในการจัดการพื้นที่บุ่งทามโดยท้องถิ่น"             


โดย    


คุณวิสูตร อยู่คง  นักวิชาการป่าไม้  7 ว. "ป่าทามป่าไทย"


            แม่ผา กองธรรม  ประธานคณะกรรมการป่าทามชุมชนกุดเป่ง


" ทำไม?ต้องดูแลป่าทาม"


§  นายธนานุวัฒน์  กมล  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าหาดยาว


"จะร่วมกับองค์กรท้องถิ่นในการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำป่าทามอย่างไร"


§  คุณหาญณรงค์  เยาวเลิศ นักวิชาการอิสระ


"สถานการณ์นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ชุ่มน้ำ"


ดำเนินรายการโดย  อ.สำราญ  บุญธรรม


12.30-13.30 น.


รับประทานอาหาร


13.30-14.30 น.


เดินรณรงค์วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก


14.30-17.00


§    เรียนรู้พื้นที่ชุ่มน้ำป่าทามผ่านนิทรรศการและการสาธิตชุด  "วิถีทาม  วิถีอีสาน" โดยหน่วยงานราชการ  องค์กรพัฒนาเอกชน  นักวิจัยไทบ้าน กลุ่มกิจกรรมและโรงเรียน  


§  เวทีศิลปะการแสดง ,ดนตรี , หมอลำ , สรภัญญะ


 


 


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net