Skip to main content
sharethis

"วันแรงงานสากล" ไม่มีใครพิเศษหรือสูงส่งไปกว่าใครในวันที่ 1 .. วันแห่งกรรมาชีพ… ทั่วโลกเฉลิมฉลองเนื่องในวันของปุถุชนคนธรรมดา มีทั้งการประท้วง ปะทะ เพื่อเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของคนส่วนใหญ่ที่อยู่เบื้องหลังสังคม เบื้องหลังความเจริญของโลกใบนี้


 


จากปัจจัยทางสภาพเศรษฐกิจ กอปรกับการหวนคืนไปสู่แนวคิดของฝ่ายซ้าย ทำให้สถานการณ์วันแรงงานทั่วโลกเผ็ดร้อน และมีการปะทะกับฝ่ายปกครองประปราย


 


ซึ่งแม้นอาจจะดูไม่งามตามากนัก เมื่อเทียบกับการไปยื่นหนังสือให้คนใหญ่คนโตอย่างขบวนการแรงงานในบ้านเรา แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือขบวนการแรงงานเหล่านั้นนอกเหนือจากการเคลื่อนไหวบนท้องถนนแล้ว กลุ่มขบวนการแรงงานหลายประเทศทั่วโลก มักจัดตั้งกันและเป็นปีกหนึ่งของพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองแนวสังคมนิยมในประเทศนั้นๆ ซึ่งมีการสนับสนุนพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองอย่างชัดเจน ซึ่งจุดนี้แตกต่างกับบ้านเราอย่างสิ้นเชิง


 


 


 


แรงงานญี่ปุ่นร่วมรณรงค์ในวันแรงงาน สำหรับญี่ปุ่นกำลังเผชิญปัญหาเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ที่มาภาพ: AP Photo/Koji Sasahra


 


 


 


ขบวนประท้วงในรัสเซีย กระแสหลักในขบวนการแรงงานกำลังหวนคำนึงหาลัทธิคอมมิวนิสต์ ที่มาภาพ: REUTERS/Alexander Natruskin (RUSSIA)


 


 


 


ผู้ประท้วงในเบอร์ลิน, เยอรมัน กำลังถูกตำรวจจับกุม ที่มา: REUTERS/Tobias Schwarz (GERMANY)


 


 


 


 


เช่นเดียวกันกับที่ปากีสถาน ขบวนการแรงงานรณรงค์เรียกร้องค่าแรงเพิ่มขึ้น สวัสดิการทางด้านสุขภาพและการศึกษา รวมถึงให้ยุติระบบแรงงานจ้างเหมาค่าแรง ที่มาภาพ: AP Photo/Fareed Khan


 


 


สถานการณ์วันแรงงานรอบโลก


 


เนื่องในวันแรงงานสากล (1..) แรงงานทั่วโลกลุกมาเฉลิมฉลองตามแบบของชาวกรรมาชีพ ในสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก อาทิเช่น…


 


ฝรั่งเศส - แรงงานกว่านับแสน เดินขบวนประท้วงทั่วประเทศ เพื่อเรียกร้องค่าแรงและเงินบำนาญสูงขึ้น พร้อมกดดันนโยบายต่างๆ ของประธานาธิบดีนิโคลัส ซาร์โกซี (Nicolas Sarkozy) ที่ไม่ให้ความสำคัญของชนชั้นแรงงาน


 


เยอรมัน เมื่อมีการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมซึ่งทำให้มีผู้บาดเจ็บ และประชาชน 65 คนถูกจับกุมที่เบอร์ลิน (Berlin) ส่วนที่เมืองในแถบตะวันออกอย่างเฟรดิชเชน (Friedrichshain) และ เพรนซเลาเออร์ เบิร์ก(Prenzlauer Berg) กลุ่มเยาวชนฝ่ายซ้ายก็ได้ประท้วงอย่างดุเดือด


 


ที่ฮัมบูร์ก (Hamburg) ทางภาคเหนือของเยอรมัน ได้มีการรณรงค์มาตั้งแต่วันพฤหัสบดี โดยกลุ่มฝ่ายซ้ายกว่า 6,600 ได้เดินขบวนประท้วงต่อต้านพรรคการเมืองฝ่ายขวาอย่างพรรค National Democratic Party (NPD) เช่นเดียวกับเมืองในตอนใต้อย่างนูเรมเบิร์ก (Nuremberg) ที่กลุ่มฝ่ายซ้ายได้ปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่งผลให้ผู้ประท้วงถูกจับกุมไป 6 ราย


 


ทั้งนี้ประเพณีการต่อสู้บนท้องถนนอันเผ็ดร้อนเนื่องในวันแรงงานของเยอรมัน เริ่มปะทุมาตั้งแต่ยุค 1980"s หลังจากการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน การเข้ามาของระบบเสรีนิยมที่ทำให้ชนชั้นแรงงานไม่พอใจ


 


ยูเครน - กลุ่มผู้สนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์ 2,500 คน ได้เดินขบวนประท้วงในใจกลางกรุงเคียฟ (Kiev) ธงแดงปลิวโบกสะบัด โดยมีคำขวัญต่อต้านรัฐบาลโปรตะวันตกของประธานาธิบดี วิคเตอร์ ยุซเชนโก (ViktorYushchenko) โดยฝูงชนต่างตะโกนท้าทายประธานาธิบดี "ยุซเชนโก! ยูเครนไม่ใช่เมืองขึ้นของอเมริกา"


 


สเปน - แรงงานกว่า 25,000 เดินขบวนในกรุงมาดริด (Madrid) ท่ามกลางกับการเผชิญปัญหาการว่างงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการสิ้นสุดของยุคบูมทางเศรษฐกิจ ปัญหาเงินเฟ้อ และการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ


 


อินโดนีเซีย - กรุงจาการ์ตา () แรงงานกว่า 40,000 คนได้เดินขบวนไปตามท้องถนนในกรุงจาการ์ตา ทั้งนี้ปัญหาที่แรงงานในอินโดนีเซียต้องประสบก็คือเรื่องราคาอาหารแพงและการลดการให้เงินอุดหนุนของรัฐในภาคพลังงาน มีการชูแผ่นป้ายให้รัฐบาลลดราคาอาหาร และเรียกร้องให้เพิ่มเงินช่วยเหลือแก่แรงงานและเกษตรกร


 


ปากีสถาน - แรงงานนับพันในปากีสถานเดินขบวนประท้วงทั่วเมืองหลักของประเทศ เพื่อเรียกร้องค่าแรงเพิ่มขึ้น สวัสดิการทางด้านสุขภาพและการศึกษา รวมถึงให้ยุติระบบแรงงานจ้างเหมาค่าแรง (contract system)


 


การประท้วงใหญ่ที่สุดอยู่ที่เมืองลาฮอร์ (Lahore) ทางตะวันออกของประเทศ แรงงานกว่า 2,000 คน ได้โบกธงแดงรณรงค์บนท้องถนน ชูสโลแกนต่อต้านความยากจน การเจ็บป่วยจากการทำงาน ระบบสวัสดิการที่ย่ำแย่ และค่าแรงต่ำ


 


เช่นเดียวกับที่เมืองการาจี (Karachi) มุลตาน (Multan) และไฟซาลาบัด (Faisalabad) ที่สมาชิกสหภาพแรงงานต่างๆ ได้ออกมาเดินประท้วงรัฐบาลที่มีท่าทีไม่สนอกสนใจชนชั้นแรงงาน - โดยค่าแรงขั้นต่ำในปากีสถานนั้นอยู่ที่ 3,000 รูปี (ประมาณ 50 ดอลลาร์) เท่านั้นเอง


 


รัสเซีย - สำนักข่าว Novosti ประเมินว่า แรงงานมากกว่า 2 ล้านคนในรัสเซีย ได้ประท้วงใน 1,000 เมืองหลักของรัสเซีย เนื่องจากความไม่พอใจในปัญหาข้าวของราคาแพงขึ้น โดยการประท้วงในหลายแห่งนำโดยพรรคคอมมิวนิสต์ มีการขุดเอารูปเลนินและสตาลิน ธงขาวแดง และสัญลักษณ์ค้อนเคียว ขึ้นมาใช้ในการณรงค์ด้วย


 


ฟิลิปปินส์ - เหล่าแรงงานได้เดินขบวนประท้วงในกรุงมะนิลา (Manila) รณรงค์ให้มีความมั่นคงในการทำงาน รวมถึงการเพิ่มค่าแรงอีก 3 ดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำอยู่ที่วันละ 8.57 ดอลลาร์


 


พร้อมกันนี้ได้เรียกร้องให้ประธานาธิบดีกลอเรีย อาร์โรโย (Gloria Arroyo) ลาออกเนื่องจากไม่เห็นความสำคัญชนชั้นแรงงาน รวมถึงการบริหารที่ไม่ได้เรื่องซึ่งทำให้เกิดวิกฤตราคาค่าครองชีพในประเทศสูงขึ้น


 


ทั้งนี้ฝ่ายปกครองของฟิลิปปินส์ได้ปล่อยข่าว โดยเชื่อมโยงการประท้วงของแรงงานเข้ากับการรัฐประหารด้วย โดยอ้างว่าการประท้วงของแรงงานนั้นเป็นแผนการทำรัฐประหารของกลุ่มทหารฝ่ายซ้าย และกองกำลังคอมมิวนิสต์ ซึ่งแรงงานที่ประท้วงอยู่หน้าทำเนียบมาลาคันนัง (Malacanang) นั้นมีได้ทหารฝ่ายรัฐบาลและตำรวจ คุมเชิงคุ้มกันทำเนียบประธานาธิบดีแห่งนี้อยู่นับพันนาย


 


ญี่ปุ่น - ปัญหาเรื่องราคาเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้นเป็นประเด็นสำคัญในการประท้วงที่ญี่ปุ่น แรงงานกว่า 44,000 คน ได้เดินขบวนประท้วงในกรุงโตเกียว (Tokyo) ทั้งนี้พรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่น (Japanese Communist Party) นำโดยนายคาซูโอะ ชิอิ (Kazuo Shii) เป็นหัวหอกในการรณรงค์ต่อต้านการนำการเก็บภาษีเชื้อเพลิงมาใช้


 


ตุรกี - กรุงอิสตันบุล (Istanbul) สมาชิกจากสหภาพแรงงานตุรกีหลายแห่งฝ่าฝืนคำสั่งห้ามของรัฐบาล จัดการชุมนุมที่จัตุรัสทักซิม (Taksim) ในกรุงอิสตันบูล โดยมีผู้ถูกจับกุม 530 คน ทั้งนี้ที่จัตุรัสทักซิมเคยเกิดการประท้วงอย่างรุนแรงเมื่อหลายสิบปีก่อน และมีเหตุการณ์กลุ่มมือปืนกราดยิงผู้ชุมนุมในวันแรงงาน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 37 คน เมื่อปี 1977


 


… รวมถึงอีกหลายประเทศที่มีการประท้วง ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นการเรียกร้องให้เห็นความสำคัญของแรงงานในประเด็นต่างๆ เช่น การเพิ่มค่าแรง, สวัสดิการให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ, การยกเลิกการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรมตามรูปแบบแรงงานจ้างเหมาค่าแรง และสิทธิของแรงงานข้ามชาติ เป็นต้น


 


……


ที่มา:


Protesters battle German police in May Day violence (Reuters via Yahoo! News - May 01 2008)


Worldwide protests mark May Day (Al Jazeera - May 01 2008)


May Day clashes and anger over food prices  (AFP via Yahoo! News - May 01 2008)


 


 


 


ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net