Skip to main content
sharethis

 



หมายเหตุ: บทความแปลชุด "สื่อในเอเซีย" แปลและเรียบเรียงโดย สุภัตรา ภูมิประภาส นี้เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน www.midnightuniv.org ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน (สิทธิชุมชน) ในประเทศไทย


 


 


ชื่อเดิม: นโยบายยุติธรรมแห่งรัฐ...โทษหมิ่นประมาททางอาญากับสื่อ: บทเรียนการต่อสู้ของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งอินโดนีเซีย [1]


 


 


โดย ลีโอ บาตูบารา [2]


 



  1. รัฐธรรมนูญไม่ประกันเสรีภาพในการแสดงออก

การแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2 ของมาตรา 28E และ 28F ของรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2488 (1945) คุ้มครองเสรีภาพสื่อ


 


มาตรา 28E


(4) บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะสมาคม ชุมนุม และแสดงความเห็นใดๆ


 


มาตรา 28F


บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะสื่อสารและรับข้อมูลข่าวสารเพื่อที่จะพัฒนาตัวเอง และสภาพแวดล้อมทางสังคมของพวกเขา, และมีสิทธิที่จะแสวงหา, รวบรวม, เป็นเจ้าของ, เก็บรักษา, จัดการ และให้ข้อมูลข่าวสารโดยใช้ทุกช่องทางที่มี


 


การแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2 ของมาตรา 28J จัดเตรียมการคุ้มครองทางกฎหมายที่ต่อต้านการคุกคามเสรีภาพสื่อ:


 


(1)    บุคคลทุกคนต้องเคารพสิทธิมนุษยชนของบุคคลอื่นในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม, ประเทศ และรัฐ


 


สภาการหนังสือพิมพ์กำลังต่อสู้เพื่อให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะทำให้มั่นใจว่าสิทธิของพลเมืองอินโดนีเซีย ในเรื่องเสรีภาพสื่อถูกทำให้เข้มแข็งในรัฐธรรมนูญโดยให้ระบุถ้อยคำต่อไปนี้: "ข้อบังคับทุกข้อ, กฎระเบียบ และกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพสื่อไม่สามารถกระทำได้"


 



  1. กฎหมายสื่อ (ฉบับที่ 40/2542) คุ้มครองเสรีภาพสื่อ

 

























กระบวนทัศน์ของกฎหมายสื่อเบื้องต้น - การใช้อำนาจ


กฎหมายสื่อ (ฉบับที่ 40/2542)- กระบวนทัศน์ประชาธิปไตย


1. รัฐบาลควบคุมสื่อ


1. สื่อควบคุมรัฐบาล


2. รัฐบาลมีสิทธิเข้าแทรกแซงการบริหารจัดการสื่อ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงข้อมูลข่าวสารมีอำนาจออกกฎข้อบังคับทั้งในนามรัฐบาล และกฎข้อบังคับของกระทรวง


2. รัฐบาลไม่มีสิทธิเข้าแทรกแซงการทำงานของสื่อ, ไม่มีกฎข้อบังคับทั้งของรัฐบาลและของกระทรวง, กฎข้อบังคับเกี่ยวกับสื่อจะต้องจัดทำโดยสื่อสำหรับองค์กรสื่อ (กฎข้อบังคับที่ควบคุมกันเอง)


3. เครื่องมือแรกของรัฐบาลในการควบคุมสื่อคือระบบการออกใบอนุญาต


3. สื่อสิ่งพิมพ์ไม่ต้องขอใบอนุญาต, ไม่มีการเซ็นเซอร์ และการห้ามพิมพ์


4. เครื่องมือที่ 2 ของรัฐบาลในการควบคุมสื่อคือการใช้กฎหมายอาญากับสื่อ


4. กฎหมายสื่อไม่ให้สื่อมีโทษทางอาญา ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในสื่อจะได้รับการแก้ไขผ่านกลไกสิทธิที่จะตอบโต้ การใช้กระบวนการทางแพ่งด้วยการจ่ายค่าปรับ หากจำเป็น


5. สภาการหนังสือพิมพ์มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงข้อมูลข่าวสารเป็นประธาน ซึ่งภารกิจหลักของรัฐมนตรีฯ คือการออกกฎที่สนองความต้องการของรัฐบาล


5. หน้าที่หลักของสภาการหนังสือพิมพ์ที่เป็นอิสระ รวมถึง:


ก. ปกป้องเสรีภาพสื่อ


ข. ดำเนินการร่างข้อบังคับสำหรับสื่อ


ค. นำเสนอความเห็นและแก้ปัญหาต่อคำร้องเรียนของสาธารณะเกี่ยวกับสื่อ


6. กระบวนทัศน์นี้ได้รับการเสริมให้เข้มแข็งในกฎหมายสื่อเบื้องต้น (ฉบับที่ 11/2509, ฉบับที่ 40/2510 และฉบับที่ 21/2525)


6. ความเข้าใจนี้ต่อเสรีภาพสื่อได้รับการเสริมให้เข้มแข็งในกฎหมายสื่อฉบับใหม่ (ฉบับที่ 40/2542)


 


กลไกในการแก้ปัญหาข้อพิพาทที่เพิ่มขี้นจากการรายงานข่าว อยู่บนหลักการพื้นฐานของกฎหมายสื่อ:


คัดค้านการลงโทษทางอาญาต่อสื่อ สนับสนุนให้ยกเลิกการลงโทษทางอาญากับสื่อ


 


ความเข้าใจต่อรายงานข่าวสองประเภทที่แตกต่างกัน


1.       ข่าวที่เข้าลักษณะเป็นการทำงานตามวิชาชีพสื่อ


 


(1)    การทำงานของสื่อรวมถึง : การแสวงหา, การรวบรวม, การเป็นเจ้าของ, การเก็บรักษา, การจัดทำและเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร,


(2)    อยู่บนฐานของแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้, มีดุลยภาพและเที่ยงธรรม, ครอบคลุมความเห็นของทุกฝ่าย, ข้อเท็จจริงพิสูจน์ได้, ตรวจสอบและตรวจสอบซ้ำ,


(3)    เขียน/รายงานโดยนักข่าวที่ทำงานโดยอิสระและไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด


(4)    รายงานนั้นเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน


 


หากรายงานข่าวละเมิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ หรือละเมิดกฎหมายสื่อ บทลงโทษ คือ


(1)    ข้อความที่ผิดพลาดจะได้รับตีพิมพ์แก้ไข (ผ่านการใช้สิทธิในการโต้แย้ง) ถ้าสื่อปฏิเสธสิทธิที่จะโต้แย้ง [ของผู้เสียหาย -ผู้แปล] จะต้องมีโทษปรับสูงสุด 500,000,000 รูปี (มาตรา 18.2)


(2)    รายงานข่าวที่เป็นการหมิ่นประมาท สบประมาทหรือสร้างความเสียหาย รายงานข่าวที่ไม่เคารพหลักการที่สันนิษฐานว่า บุคคลยังเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะมีคำสั่งพิพากษา ต้องถูกลงโทษด้วยโทษปรับสูงสุด 500,000,000 รูปี (มาตรา 5.1 และ มาตรา 18.2)


 


2.       รายงานข่าวที่นอกเหนือไปจากการประกอบวิชาชีพสื่อ (การปฏิบัติมิชอบในการประกอบวิชาชีพ):


การปฏิบัติมิชอบในการประกอบวิชาชีพ, รายงานข่าวที่ไม่เป็นไปตามหลักการวิชาชีพสื่อ สามารถที่จะถูกดำเนินการตามประมวลกฎหมายอาญา:


 


(1)    หากรายงานข่าวนั้นไม่เป็นไปตามหลักการวิชาชีพ แต่เป็นการปฏิบัติมิชอบในการประกอบวิชาชีพ (มาตรา 12 ของกฎหมายสื่อระบุไว้ว่า "ให้เป็นไปตามกฎหมายต่างๆที่มีอยู่" และ ประมวลกฎหมายอาญา)


(2)    รายงานข่าวที่ถูกจัดอยู่ในประเภทการปฏิบัติมิชอบในการประกอบวิชาชีพ:


ก.     ข่าวที่มีจุดมุ่งหมายจะแบล็คเมล์


ข.     ข่าวที่เป็นความเท็จที่เขียนขึ้นเอง


ค.     ข่าวที่มีเจตนามุ่งร้ายต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะ


ง.      ข่าวที่มีเนื้อหาลามกอนาจารด้วยเจตนาที่จะปลุกกำหนัด/ ความต้องการทางเพศของผู้อ่าน/ ผู้ฟัง/ ผู้ชม


จ.      ข่าวที่มีเจตนาดูหมิ่นศาสนา


 


คำร้องเรียนที่ยื่นต่อสภาการหนังสือพิมพ์ (พ.ศ. 2543 - 2550)

















































 


 


 


        


ปี พ.ศ.


 


 


 


ประเภท


คำร้องเรียน


2543-กรกฎาคม 2546


 


สิงหาคม 2546


2547


2548


2549


2550


รวม


ร้องเรียนตรงต่อสภาการหนังสือพิมพ์


 


427


 


34


 


59


 


68


 


79


 


42


 


709


ร้องเรียนโดย cc ถึงสภาการหนังสือพิมพ์


 


-


 


67


 


94


 


59


 


128


 


208


 


556


รวม


427


101


153


127


207


250


1265


 


3.      จำนวนที่เพิ่มขึ้นของกฎหมายที่คุกคามเสรีภาพสื่อ


 


1.      ประมวลกฎหมายอาญา:


ในยุคที่อินโดนีเซีย อยู่ภายใต้การปกครองของดัชต์ ได้มีการออกประมวลกฎหมายอาญา ในปี พ.ศ. 2460 (1917) ที่รู้จักกันในชื่อ Wetboek van Strafrecht หรือในภาษาอินโดฯ คือ KUHP


 


กฎหมายนี้มี 37 มาตราที่ระบุโทษจำคุกนักข่าวด้วยเหตุอันมาจากการปฏิบัติหน้าที่สื่อ


 


ปัจจุบัน อินโดนีเซียได้รับอิสรภาพมานานถึง 63 ปีแล้ว แต่กฎหมายฉบับนี้ ยังมีผลบังคับใช้อยู่


ก.      ในช่วงการปกครองของประธานาธิบดีซูการ์โน (พ.ศ. 2488-2509) และประธานาธิบดีซูฮาร์โต (พ.ศ. 2509-2541) นักข่าว 20 คนถูกลงโทษจำคุกด้วยสาเหตุแห่งการปฏิบัติหน้าที่สื่อ เพราะเจ้าหน้าที่รัฐเห็นว่ารายงานข่าวของพวกเขาไม่เป็นประโยชน์ต่อรัฐ


 


เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 บรรณาธิการบริหารของหนังสือพิมพ์รายวัน Indonesia Raya คือ Mochtar Lubis ถูกลงโทษจำคุก 9 ปีด้วยเหตุจากบทความที่เขาเขียนเกี่ยวกับการทุจริตคอรัปชั่นอย่างแพร่หลายของเจ้าหน้าที่รัฐ เขาถูกพิพากษาลงโทษจำคุกด้วยความผิดฐานละเมิดมาตรา 154 และมาตรา 207 ของประมวลกฎหมายอาญาซึ่งระบุโทษจำคุกสูงสุด 7 ปี


 


ข.      ในช่วงของการปฏิรูปนี้ นักข่าวนับสิบถูกจับเข้าคุกเพราะถูกกล่าวหาว่าละเมิดประมวลกฎหมายอาญา


1)      Karim Paputungan หัวหน้ากองบรรณาธิการของ Rokyat Merdeka ถูกพิพากษาลงโทษจำคุกห้าเดือนและทัณฑ์บนอีก 10 เดือน (9/9/03) เพราะภาพประกอบรายงานข่าวที่เขาเขียนถูกพิจารณาว่าเป็นการหมิ่นประมาท Akbar Tanjung ประธานพรรค Golkar


 


Supratman บรรณาธิการบริหารของ Rakyat Merdeka ถูกพิพากษาลงโทษจำคุกหกเดือนและทัณฑ์บน 12 เดือน (17/10/03) เพราะข้อความพาดหัวข่าวว่า "ลมหายใจของเมกาวาตีส่งกลิ่นน้ำมันดีเซล" ("Megawati"s Breath Smells Diesel Oil") ถูกพิจารณาว่าเป็นการหมิ่นประมาทประธานาธิบดีเมกาวาตี


 


2)      Dahri Nasution บรรณาธิการบริหารนิตยสารรายสัปดาห์ Oposisi (opposition) ถูกศาลสูงพิพากษาว่ามีความผิดและสั่งจำคุกหนึ่งปี


วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2550 Nasution ถูกจองจำที่คุก Tanjung Gusta ในเมืองเมดาน เขาถูกฟ้องหมิ่นประมาทเพราะรายงานข่าวที่ตีพิมพ์ในฉบับเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ซึ่งมีข้อความว่า "สามปีครึ่งในตำแหน่ง - อธิการบดีของ IAIN ถูกกล่าวหาว่าสร้างความมั่งคั่งผ่านระบบพวกพ้องและการทุจริตคอรัปชั่น"


 


 


วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2549 ศาลสูงสุดมีคำพิพากษาลงโทษจำคุก Risang Bima Wijaya [3] หัวหน้ากองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรายวัน Radar Jogja เป็นเวลาหกเดือน จากคดีหมิ่นประมาทที่ถูก Soemadi Martono Wonohito เจ้าของผู้พิมพ์หนังสือพิมพ์รายวัน Kedaulatan Rakyat ฟ้องร้องว่าเขาถูกหมิ่นประมาทจากรายงานข่าวที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Radar Jogja ช่วงระหว่างพฤษภาคม - ตุลาคม พ.ศ. 2545


 


ประมวลกฎหมายอาญาฉบับปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลผลิตจากช่วงที่ดัชต์ปกครองอินโดนีเซีย นั้น ได้ถูกนำมาใช้เป็นประโยชน์สำหรับการจับกุมคุมขังผู้นำขบวนการเพื่ออิสรภาพของอินโดนีเซีย และนักข่าว


 


ข้อเท็จจริงนี้แสดงให้เราเห็นว่าช่วงเวลา 63 ปีที่ผ่านมานับแต่อินโดนีเซียได้อิสรภาพ ประมวลกฎหมายอาญา (KUHP) ของประเทศถูกใช้เพื่อการปกป้องบรรดาเจ้าหน้าที่รัฐ นักการเมือง และนักธุรกิจที่มี "ปัญหา" ด้วยการใช้โทษจำคุก หรือคุกคามด้วยคำขู่ว่าจะถูกจำคุกต่อนักข่าวที่ปฏิบัติหน้าที่ตามวิชาชีพในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ


 


(1)    เจ้าหน้าที่รัฐที่ไร้ความสามารถ, นักการเมือง และนักธุรกิจ


(2)    เจ้าหน้าที่รัฐหรือนักธุรกิจที่ถูกกล่าวหาว่า


(ก)   เกี่ยวข้องกับ KKN


(ข)   เกี่ยวข้องกับการพนัน หรืออยู่เบื้องหลังธุรกิจการพนัน


(ค)   ละเมิดสิทธิมนุษยชน


(ง)    เกี่ยวข้องกับธุรกิจยาเสพติด


(จ)    เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติมิชอบของรัฐบาล


 


รัฐบาลกำลังร่างประมวลกฎหมายอาญาฉบับใหม่ ประกอบด้วย 61 มาตราที่สามารถลงโทษจำคุกนักข่าวด้วยเหตุแห่งการปฏิบัติงานตามวิชาชีพของพวกเขา กฎหมายสื่อนั้นคุ้มครองสื่อในการปฏิบัติหน้าที่ควบคุมตรวจสอบรัฐบาล แต่ประมวลกฎหมายอาญาทำลายกฎหมายสื่อและเสรีภาพสื่อ


 


2.      กฎหมายแพ่ง (KUHPerdata) ทำให้สื่อล้มละลายได้:


ก.      นิตยสาร Trust ถูกฟ้องร้องโดย John Hamenda ผู้อำนวยการของ PT. Petindo เพเนื่องจากตีพิมพ์ข่าวในนิตยสารฉบับวันที่ 1-7 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ที่พาดหัวว่า "กลุ่ม [บริษัท PT. Petindo] เป็นสาเหตุให้ BNI ล้มละลาย" ("The Group caused BNI to Collapse") ศาลจาการ์ตากลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าปรับแก่โจทก์เป็นเงินจำนวน 1 พันล้านรูปี (ประมาณ 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐ -ผู้แปล)


 


ข.      เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 Purwaning Yanuar ตัวแทนสำนักงานกฎหมาย O.C. Kaligis กระทำการในนามของ Marimutu Simivasan ผู้บริหารของ PT. Texmaco GROUP ยื่นฟ้อง Jakob Oetama ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา Kompas, Suryopratomo หัวหน้ากองบรรณาธิการ และ บริษัท PT. Kompas Media Nusantara ต่อศาลจาการ์ตากลาง กล่าวหาว่าภาพและรายงานข่าวเกี่ยวกับโจทก์ที่ตีพิมพ์ใน Kompas ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2542 - เดือนเมษายน พ.ศ. 2546 ไม่เป็นความจริง Kompas ถูกเรียกค่าเสียหายฐานหมิ่นประมาทเป็นตัวเงิน 150 เหรียญสหรัฐ และอื่นๆ มีมูลค่ารวมอีก หนึ่งล้านเหรียญสหรัฐ


 


ค.      วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2550 คณะผู้พิพากษาศาลสูงสุดมีคำพิพากษาให้นิตยสารไทมส์ (TIME Magazine) จ่ายค่าเสียหายแก่อดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตเป็นเงินประมาณ 110 ล้านเหรียญสหรัฐ


 


นิตยสารไทมส์ฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ตีพิมพ์ผลรายงานการสอบสวนเกี่ยวกับการที่อดีตประธานาธิบดีสะสมความร่ำรวย ให้กับธุรกิจครอบครัวของตน หรือ Soeharto Inc. ไทมส์ เอเชีย (TIME Asia) รายงานว่าความมั่งคั่งของครอบครัวซูฮาร์โตมีมูลค่าสูงถึง 15 พันล้านเหรียญสหรัฐ


 


3.      กฎหมายฉบับที่ 1/2489 แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง


ข่าวที่เป็นเท็จด้วยเจตนาที่จะก่อให้เกิดความไม่สงบในสังคม จะมีโทษจำคุกสูงสุด 9 ปี


Bambang Harymurti บรรณาธิการนิตยสารเทมโป้ (Tempo Magazine) ถูก Tomy Winata (นักธุรกิจผู้ทรงอิทธิพลของอินโดนีเซีย) ฟ้องภายใต้กฎหมายนี้ และถูกพิพากษาจำคุก 9 ปี


 


4.      กฎหมายฉบับที่ 32/2545 ว่าด้วยการกระจายเสียง


หลายมาตราในกฎหมายว่าด้วยการกระจายเสียงเป็นการเมืองเรื่องกฎหมาย ข่าวสารที่เผยแพร่ที่มีเนื้อหาหมิ่นศาสนา/ สบประมาท, เป็นเท็จ ไม่เพียงแต่มีโทษจำคุก 5 ปี แต่ยังมีโทษปรับสูงสุดถึง 10,000 ล้านรูปี


 


5.      กฎหมายฉบับที่ 10/2551 ว่าด้วยพรรคการเมือง (DPRD) และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (DPR), สมาชิกวุฒิสภา (DPD) คุกคามเสรีภาพสื่อ


มาตรา 97 ระบุว่า "สื่อสิ่งพิมพ์ต้องจัดเตรียมพื้นที่ที่เป็นธรรมและเวลาที่เหมาะสมสำหรับรายงานข่าวและบทสัมภาษณ์ต่างๆ รวมทั้งประชาสัมพันธ์การรณรงค์ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง"


กรณีที่มีการละเมิดมาตรานี้ สื่ออาจถูกลงโทษด้วยการสั่งปิด (ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 99 (1))


 


ส่วนมาตรา 18 (2) ของกฎหมายสื่อระบุว่า "ผู้ใดเซ็นเซอร์และสั่งห้ามสื่อมีโทษจำคุกสูงสุด 2 ปี และโทษปรับสูงสุด 500 ล้านรูปี


 


6.      กฎหมายว่าด้วยความโปร่งใสของข้อมูลข่าวสารสาธารณะ (UU KIP)


กฎหมายว่าด้วยความโปร่งใสของข้อมูลข่าวสารสาธารณะซึ่งมีผลเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2551 เป็นกฎหมายที่ขัดแย้งในตัวเองด้วย กฎหมายใช้ชื่อว่าความโปร่งใส แต่กลับกำหนดโทษจำคุกไว้ในตัวเนื้อหา กฎหมายนี้วางระเบียบเรื่องข้อมูลที่เป็นความลับและข้อมูลสาธารณะ ข้อมูลสาธารณะต้องเปิดให้สาธารณะชนสามารถเข้าถึงได้, แต่ยังคงมีโทษจำคุกสูงสุด 1 ปีสำหรับ "บุคคลที่ใช้ข้อมูลสาธารณะในทางไม่สุจริต มาตราเหล่านี้เป็นที่เชื่อว่าเพื่อสกัดกั้นประสิทธิภาพของการทำข่าวเชิงสืบสวนในการใช้ข้อมูลสาธารณะเพื่อป้องกันการทุจริตคอรัปชั่นในวงราชการ และรัฐวิสาหกิจ (BUMN)


 


7.      กฎหมายฉบับที่ 11/2551 ว่าด้วยข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารทางอิเลคโทรนิคส์ คุกคามเสรีภาพสื่อ


พัฒนาการด้านเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดและความก้าวหน้าของธุรกิจสิ่งพิมพ์ที่ต้องตามให้ทันการปรับตัวของสื่อ ผลผลิตด้านสื่อนอกจากเผยแพร่ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์แล้ว ยังมีสื่อออนไลน์ สถานีวิทยุ โทรทัศน์ และสื่ออินเตอร์เนท สื่อกระแสหลัก เช่น Kompas, Media Indonesia, Tempo ในปัจจุบันสามารถเข้าถึงได้ในรูปแบบของสื่ออิเลคโทรนิคส์ด้วย


 


มาตรา 27 (3) และมาตรา 45 (1) ของกฎหมายข้อมูลข่าวสารฯ (UU ITE) ระบุว่าสื่อที่เผยแพร่ข้อความที่มีเนื้อหาหมิ่นศาสนา และหมิ่นประมาทในรูปแบบของสื่ออิเลคโทรนิคส์มีโทษจำคุก 6 ปี และ/ หรือโทษปรับสูงสุด 1,000 ล้านรูปี


 


ปัญหาคือ กฎหมายสื่อและประมวลกฎหมายอาญานิยามการหมิ่นศาสนา และการหมิ่นประมาทแตกต่างกัน ตัวอย่างที่อธิบายได้คือคดีของนิตยสารเทมโป้ "Ada Tomy di Tenabang (3/3/2546)


 


ตามคำตัดสินของศาลจาการ์ตากลางและศาลสูงแห่ง จาการ์ตาโดยใช้ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ 1/2489 เป็นความผิดทางอาญา เพราะรายงานข่าวของนิตยสารเทมโป้มีข้อความที่เป็นเท็จ หมิ่นศาสนา และหมิ่นประมาท


 


แต่คำพิพากษาของศาลสูงเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 (9/2/06) รายงานข่าวชิ้นนี้ไม่ถือเป็นการละเมิดภายใต้กฎหมายสื่อ


 


4.      เสรีภาพสื่ออินโดนีเซีย ถดถอยลง


 












































ปี พ.ศ.


อันดับเสรีภาพสื่อของอินโดนีเซีย


จำนวนประเทศ


ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดี


2544


ดีที่สุด


ในเอเซีย


บีเจ ฮาร์บีบี


2545


57


139


อับดูร์ราห์มาน วาฮิด


2546


111


166


เมกาวาตี


2547


117


167


เมกาวาตี


2548


105


167


ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน


2549


103


167


ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน


2550


100


169


ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน


 


5.      บทสรุป


 


จากการวิเคราะห์ทั้งหมดข้างต้น เราสามารถสรุปอะไรได้บ้าง?


ประการแรก, นโยบายยุติธรรมแห่งรัฐซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญาที่กล่าวมาทั้งหมดมีบทบัญญัติที่คุกคามเสรีภาพสื่ออย่างชัดเจน


กฎหมายสื่อคุ้มครองการควบคุมสื่อเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลแห่งรัฐ


 


ประการที่สอง, ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดี ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน เสรีภาพสื่อเป็นอย่างไร?


ด้านหนึ่ง ประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ประกาศว่าจะคุ้มครองเสรีภาพสื่อ แต่อีกด้านหนึ่งคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลของเขากลับคุกคามสื่อ


 


 


 


 


 


000000


เชิงอรรถ


[1] แปลจากรายงานเรื่อง State"s Justice Policy Maintains Criminal Defamation Against The Press นำเสนอที่การสัมมนานานาชาติ International Seminar on Defamation: Building a Regional Advocacy Platform ระหว่างวันที่ 9-10 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ที่เมืองจ็อกจาการ์ตา (Yogyakarta) ประเทศอินโดนีเซีย


 


[2] Leo Batubara เป็นรองประธานสภาการหนังสือพิมพ์อินโดนีเซีย


 


[3] เพิ่มเติมโดยผู้แปล - คณะผู้ร่วมสัมมนานานาชาติฯ เข้าเยี่ยมและสัมภาษณ์ Risang Bima Wijaya ที่เรือนจำ Cemani ในเมือง Yogyakarta เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2551


 


Risang Bima Wijaya ถูกฟ้องหมิ่นประมาทเพราะเขียนบทความ 14 ชิ้น เพื่อกระตุ้นให้มีการสอบสวนเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศในที่ทำงานที่เขาได้รับร้องเรียนจากแหล่งข่าวสตรี 2 คน เขาแพ้คดีและถูกพิพากษาจำคุก 6 เดือน ระหว่างการถูกคุมขัง ทางกองบรรณาธิการจ่ายเงินเดือนให้เขา 40%


 


 


  


.......................................


งานที่เกี่ยวข้อง


มองสื่อนอก: บทนำ ว่าด้วย "การหมิ่นประมาท: การสร้างเวทีระดับภูมิภาคเพื่อสนับสนุนเสรีภาพสื่อ"


 


โปรดติดตามตอนต่อไป: สถานการณ์สื่อในอินโดนีเซีย : "แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ยาว?"


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net