Skip to main content
sharethis


เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร


 


 






 


 


 


La Société du Spectacle 
(1967) by Guy DEBORD


 


หนังสือเล่มสุดท้ายที่จะกล่าวถึง ในฐานะคัมภีร์แห่งการปฏิวัติของพฤษภา "68 คือ La Société du Spectacle  หรือ "สังคมแห่งมหรสพ" ของ Guy DEBORD  


 


สังคมฝรั่งเศสเคยให้ความสำคัญกับ  La Société du Spectacle  ในฐานะหนังสือที่มีอิทธิพลต่อความคิดยุคก่อนพฤษภา "68 เช่นเดียวกับงานอย่าง La Chinoise ของ Jean-Luc GODARD หรือตำราปรัชญาของ Herbert MARCUSE เพียงเท่านั้น กระทั่งในเวลาต่อมา วงการสื่อจึงได้ค้นพบว่าหนังสือเล่มเล็กนี้ได้เสนอการวิเคราะห์ในเรื่อง "อำนาจของภาพ" ไว้อย่างแยบยลที่สุด  


 


อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่า เราเองมีความเข้าใจต่อหนังสือเล่มนี้เพียงผิวเผินในช่วงแรกและใช้เวลาไม่น้อยกว่าจะสามารถเข้าถึงแก่นสารที่แท้ของงานบุกเบิกชิ้นนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กว่าจะตระหนักว่างานชิ้นนี้ไปไกลกว่าการเสนอวิธีวิเคราะห์แบบวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ของมาร์กซ์และแองเกิลที่ใช้กันอยู่ เนื่องจาก DEBORD ได้เสนอวิธีการสร้างแนวทางปฏิบัติให้กับการปฏิวัติ


 


 






 



ภาพซ้าย:  คนที่ 5 จากซ้าย Guy DEBORD  ผู้แต่ง  La Société du Spectacle  หนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้ง  L"internationale Situationniste


 


ภาพขวา: การลำเลียงหินปูถนน เพื่อสร้างสิ่งกีดขวางการปราบปรามถนน  Gay Lussac ในคืนวันที่ 10 พฤษภาคม 1968




 


 DEBORD นำสมมุติฐานของ Georg LUKACS มาพัฒนาแนวคิดเรื่องการแปลสภาพจากสินค้าเป็นมหรสพ โดยผ่านความคิดเรื่องการกลายเป็นวัตถุของปัจเจกชน อาจกล่าวได้ว่านี่คือการวิเคราะห์ว่าด้วยเรื่องของทรราชย์ที่มาในรูปแบบใหม่ สำหรับ DEBORD แล้ว เมื่อพิจารณาจากบทบาททางประวัติศาสตร์ของชนชั้น ชนชั้นแรงงานเพียงชนชั้นเดียวเท่านั้นที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงเส้นทางของสิ่งต่างๆได้ นอกจากนี้ "มหรสพเป็นปฏิปักษ์กับประวัติศาสตร์และการเคลื่อนไหวของประวัติศาสตร์ โดยผ่านปัจจัยหลายอย่าง เช่น การพัฒนาจนถึงขีดสุดของการบิดเบือนความจริง การทำให้คนเฉื่อย การแยกฝูงชนออกจากความเป็นจริง รวมทั้งการสร้างข้อจำกัดของการชม 


 


 



 


ภาพซ้าย: « Nous ne sommes pas des poupées!» :เราไม่ใช่ตุ๊กตา !  กำเนิดการเคลื่อนไหวของ  feminism


 


ภาพขวา: วัยรุ่นกับการเรียกร้องเสรีภาพในการแสดงออกทางเพศ การเคลื่อนไหวของชายจริงหญิงแท้และกลุ่มรักร่วมเพศ


 


เขาได้กล่าวว่า เรื่องโกหกเกี่ยวกับชีวิตดำรงอยู่ทุกหนแห่ง เพราะ "ในโลกที่กลับตาลปัตรอย่างแท้จริง ความจริงคือชั่วขณะหนึ่งของความเท็จ"


 



 


 


 


แปลและเรียบเรียงจากตอนสุดท้ายของบทความเรื่อง Les Livres qui ont enflammé les esprits หรือ "หนังสือที่จุดดวงวิญญาณให้ลุกโชน" โดย Yan CIRET ในนิตยสาร  Le Magazine Littéraire,  Hors-série No 13, Avril- Mai 2008


 


 


…………………………


บทความที่เกี่ยวข้อง


 


คานนส์กับ May 68


บทความ: คัมภีร์ แห่งการปฏิวัติพฤษภา "68


บทความ: คัมภีร์แห่งการปฏิวัติพฤษภา "68 (ต่อ)


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net