Skip to main content
sharethis


การจลาจลทั่วประเทศ สืบเนื่องมาจากการไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีเคนยา เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว มีการทำลายยุ้งฉางไร่นา ส่งผลให้เป็นปัจจัยภายในเสริมภาวะวิกฤตอาหารในเคนยา


(ที่มาภาพ: Reuters)


เคนยาประท้วง


เมื่อวันที่ 31 .. ที่ผ่านมา สำนักข่าว BBC รายงานว่าตำรวจต้องใช้แก๊สน้ำตาเข้าสลายฝูงชนนับพัน จากการชุมนุมประท้วงในกรุงไนโรบี (Nairobi) เมืองหลวงของประเทศเคนยา โดยผู้ประท้วงต้องการให้รัฐบาลควบคุมราคาอาหารพื้นฐานหลักอย่างข้าวโพดและแป้งไม่ให้สูงเกินที่ประชาชนจะซื้อหาได้ตามปกติ


 


ทั้งนี้ตำรวจให้เหตุผลในการสลายการชุมนุมว่าผู้ชุมนุมกระทำผิดกฎหมาย และมีผู้ถูกจับกุม 4 คน


 


ราคาอาหารในประเทศภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เริ่มเกิดวิกฤตการเมืองในภูมิภาค เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว การเลือกตั้งประธานาธิบดีของเคนยา ก่อให้เกิดการจลาจลทั่วประเทศ ประชาชนกว่า 1,500 คนเสียชีวิต และอีกกว่า 600,000 ต้องไร้ที่อยู่อาศัย


 


ยุ้งฉางและเทือกสวนไร่นาถูกเผาทำลาย ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องนำเข้าข้าวโพดกว่า 3 ล้านถุงจากต่างประเทศ ภาวะเงินเฟ้อก็เพิ่มสูงขึ้นจาก 21.8% ในเดือนมีนาคม มาเป็น 26.6% ในเดือนถัดมา โดยเหตุหลักสืบเนื่องมาจากราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น


 


ทอม อาโอซา (Tom Aosa) หนึ่งในผู้ร่วมจัดการรณรงค์ประท้วงเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมากล่าวว่ารัฐบาลจำเป็นจะต้องให้ความช่วยเหลือประชาชนในการชดเชยอุดหนุนค่าอาหาร โดยเขาเห็นว่ามันไม่เป็นธรรมอย่างยิ่งที่จะปล่อยให้คนยากจนตกระกำลำบากช่วยเหลือตัวเองในสภาวะราคาอาหารแพงแบบนี้ โดยที่รัฐบาลเองก็ไม่ได้ขึ้นเงินเดือนขั้นต่ำ


 


ธนาคารโลกเตรียมตั้งกองทุนสู้วิกฤตอาหาร


ก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 29 .. ที่ผ่านมานายโรเบิร์ต โซลลิกค์ (Robert Zoellick) ได้ระบุว่าทางธนาคารโลกจะจัดสรรเงิน 1.2 พันล้านดอลลาร์ ในการตั้งกองทุนเพื่อต่อสู้กับภาวะวิกฤตอาหาร โดยกว่า 200 ล้านดอลลาร์จะเป็นการบริจาคให้กับประเทศยากจน


 


โดยกองทุนมูลค่า 1.2 พันล้านดอลลาร์นี้ จะถูกนำไปสนับสนุนในด้านเครือข่ายสังคมสงเคราะห์ ด้านการเงิน ที่เกี่ยวกับอาหารและการผลิตอาหาร


 


โซลลิกค์ กล่าวว่ากองทุนนี้จะสามารถช่วยเหลือผู้คน 2,000 ล้านคนให้มีชีวิตรอดในภาวะวิกฤตอาหารนี้ได้ รวมถึงจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาระยะยาว ในลำดับแรกธนาคารโลกจะอนุมัติเงินช่วยเหลือให้แก่ประไลบีเรีย, เฮติ และจิบูติ ก่อน ตั้งแต่วันวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา


 


โดยไลบีเรียและเฮติได้รับเงินช่วยเหลือ 10 ล้านดอลลาร์ ส่วนจิบูติ ได้รับเงิน 5 ล้านดอลลาร์ ส่วนทาจิกิสถาน,โตโก, และเยเมน จะต้องได้รับพิจารณาจากบอร์ดของธนาคารโลกก่อนในเดือนหน้า และอีก 7 ประเทศที่ร้องขอความช่วยเหลือมายังคงต้องรอการทบทวนอยู่



ทั้งนี้ธนาคารโลกยังมีแผนการที่จะปล่อยเงินกู้เพื่อกระตุ้นภาคอุตสาหกรรมการเกษตรของโลกเพื่อเพิ่มผลผลิตอีก 6 พันล้านดอลลาร์ (เพิ่มขึ้นอีก 50%) ในปีหน้า


 


…………..


ที่มาข่าว:


World Bank helping on world food crisis (AP - 29 May 2008)


Clashes at Nairobi food protest  (BBC News - 31 May 2008)


 


*ที่มาภาพประกอบหน้าแรก AFP


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net