Skip to main content
sharethis

ทวิช จิตรสมบูรณ์


 


 


 







หมายเหตุ บทความชิ้นนี้เขียนโดยทวิช จิตรสมบูรณ์ ผู้ขึ้นปราศรัยบนเวทีพันธมิตรฯ เมื่อคืนวันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน และ เสาร์ที่ 14 มิถุนายน 2551 เพื่อนำเสนอ 4 ประเด็กหลักที่ต้องทำเพื่อกู้ชาติ และได้เขียนบทความประกอบการปราศรัยดังกล่าวมาลงประชาไท ชิ้นนี้เป็นบทความตอนที่ 2 ว่าด้วยเศรษฐกิจ และมีส่วนที่เพิ่มเติมจากตอนหนึ่งซึ่งผู้เขียนได้ส่งเพิ่มมาเป็นพิเศษด้วย


 


 


 


 







(เพิ่มเติมตอนที่หนึ่ง)


เวทีพันธมิตรออนไลน์ เรื่อง 4 ประเด็นหลักที่ต้องทำเพื่อกู้ชาติ http://www.prachatai.com/05web/th/home/12540


 


สิ่งสำคัญคือ คนไทยเราไม่มีลักษณะอิงตนแบบฝรั่ง จึงไม่กล้าท้าทายอำนาจรัฐมากนัก ดังนั้นระบบจะต้องประกันได้ว่าจะได้ "คนดีที่สุด" ไม่ใช่ "คนเลวน้อยที่สุด" เข้ามาเป็นผู้บริหารประเทศ และจะต้องมีการคานอำนาจกันอย่างสร้างสรรค์ (หรือเสริมความดีงามกันก็ยิ่งดี) ซึ่งถ้าทำได้ดังนี้ก็ไม่ต้องการ "การเมืองภาคประชาชน" คอยกำกับดูแลให้เหนื่อยยาก หรือเรียกได้ว่าเป็น "ประชาธิปไตยที่ลืมได้" (เทียบกับ "ปชต.ที่กินได้" ซึ่งเป็นวลีที่กำลังนิยมกล่าวขวัญกัน) ขอเสนอฝากไว้ดังนี้:


 



  1. .. ให้เลือกมาจากการเลือกตั้งทั่วไปตามปกติ แต่ห้ามส.. เกี่ยวข้องกับการบริหารโดยสิ้นเชิง ให้มีแต่หน้าที่นิติบัญญัติเท่านั้น วิธีนี้จะทำให้ส.. เข้าไปถอนทุนไม่ได้  ดังนั้นก็จะไม่มีการ"ลงทุน" ซื้อเสียง ซึ่งจะช่วยให้เราได้ส..น้ำดีเข้าไปในสภามากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อไปสร้างกฎหมายดีๆ ไว้รองรับการบริหารประเทศ

 



  1. รมต. ทุกคน (รวมนายก) ให้มาจากการสรรหา ตามวิธีที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้"ห้าม" ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็น ส.. จากนั้นให้เสนอรายชื่อผู้ได้รับการสรรหาไปยังสภาผู้แทนเพื่อโหวตรับรองด้วยเสียงข้างมาก  วิธีการนี้ยังเป็นปชต. 100% เพราะ ส.. ซึ่งเป็นผู้แทนของประชาชนทั้งประเทศเห็นชอบโดยเสียงข้างมาก ว่าไปแล้วเป็นปชต. มากกว่าระบบเก่าเสียอีก เพราะรมต. "ทุกคน" ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภา "ซึ่งไม่ได้อยู่พรรคเดียวกับตน" ด้วยซ้ำไป ระบบเก่านั้นเป็นการล็อคเสปคตัวนายกไว้ล่วงหน้าด้วยซ้ำไป ซึ่งความจริงไม่น่าต้องมาสร้างภาพว่าเป็นประชาธิปไตยด้วยการโหวตเลือกนายกในสภาให้เปลืองเวลาด้วยซ้ำไป วิธีนี้มีข้อดีเด่นคือ จะได้คนเก่งที่สุด และดีที่สุดเท่าที่สรรหาได้มาเป็นรมต.บริหารประเทศ มีความรู้ในการบริหารงานที่เกี่ยวข้อง และเป็นระบบที่ปลอดธุรกิจการเมือง

 



  1. .. ให้มาจากการกำหนดโดยตำแหน่งตามที่กฎหมายกำหนด  โดยกระจายตามอาชีพที่สำคัญ เช่น นายกสมาคมทนาย การค้า อุตสาหกรรม นสพ. แรงงาน เกษตรกร นักวิชาการ ปลัดกระทรวงเกษียณอายุไม่เกิน 65 ปี  ซึ่งภาคอาชีพต่างๆได้คัดสรรบุคคลเหล่านี้ไว้แล้วตามระบบคัดสรรขององค์กรเหล่านั้น จึงถือเป็นระบบประชาธิปไตยโดยปริยาย ไม่ต้องมาคัดสรรอีกต่อหนึ่งและเชื่อถือได้ว่าจะได้ผู้ทรงคุณวุฒิที่แท้จริง ควรมี ส.. ประมาณ 100 คน

 


ระบบนี้ยังมีข้อดีมากมายกว่าที่ได้กล่าวมาอีกหลายประการ เช่น


 


-           .. จะทำหน้าที่ในสภาด้วยความไม่ลำเอียงเหมือนระบบเก่าที่ต้องเข้าข้างพรรคของตนเองที่เป็นรัฐบาล ดังนั้นระบบนี้จึงเป็นการ "เสริมความเก่งความดี" ซึ่งกันและกัน เพราะคณะรัฐบาลเป็นคนเก่งคนดีที่สรรหามา และสภาก็คอยเสริมให้ดียิ่งขึ้นโดยไม่เห็นแก่พวกพ้อง (พรรคของตน) ต่างจากระบบเก่าที่มีแต่การคานความชั่วกัน ซึ่งนำไปสู่การทะเลาวะวิวาทอย่างไม่สร้างสรรค์ในสภาอยู่เนืองๆ


-           หาก ครม. หรือ รมต. คนใด บริหารไม่ดีหรือทุจริตก็จะถูกถอดถอนโดยสภาอย่างรวดเร็วที่สุด เพราะเขาเหล่านี้ไม่ได้มีเสียงข้างมากสนับสนุนในสภา ว่าไปแล้วไม่มีแม้แต่เสียงเดียว เนื่องจากบัญญัติไว้ว่าต้องไม่เป็น ส..


-           การถอนทุนการเมืองจะหมดไป เพราะ รมต. ไม่ได้ลงทุนอะไรเลยในการเข้าสู่ตำแหน่งบริหาร


-           สำหรับวิธีการสรรหา รมต. นั้นไม่ยากที่จะทำให้ดีและบริสุทธิ์ยุติธรรม ผมไม่อยากลงรายละเอียดตรงนี้ เดี๋ยวจะเฝือเสียก่อน  และอย่าลืมว่าอย่างไรเสียก็ต้องโหวตรับรองโดย ส..อยู่แล้ว ถ้าคัดสรรไม่ดีก็คงไม่ผ่านสภา


 


 


 


 0000


 


ในตอนที่ 1 ผมได้เสนอทางเลือกระบบประชาธิปไตยแบบใหม่สำหรับประเทศไทยเพื่อให้ได้คนเก่ง คนดี เข้าไปบริหารประเทศ และทำให้ปลอดผลประโยชน์ทางธุรกิจการเมือง ซึ่งจะเป็นรากฐานด้านการเมืองที่สามารถนำพาประเทศไทยไปสู่ความเจริญได้


 


ในตอนที่ 2 นี้ ผมจะนำเสนอแนวคิดการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ ซึ่งที่ผ่านมากว่า 40 ปี ตั้งแต่ปลายสมัยรัฐบาลสฤษดิ์ จนถึงสมัยถนอม ประภาส ณรงค์ และทุกสมัยจากนั้น รัฐบาลไทยได้ใช้วิธี "รวยลัด" ที่บ่อนทำลายความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจไทยมาจนถึงวันนี้ ภายใต้การยอมรับโดยดุษฎี(บัณฑิต)ของนักวิชาการไทยทั้งผอง (ดังนั้นระบบการศึกษาของเราก็ต้องการการปฎิรูปด้วย ซึ่งผมจะเอาไว้กล่าวถึงในตอนที่ 3)


 


วิธีรวยลัดดังกล่าวคือการเชื้อเชิญให้ นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนทำอุตสาหกรรมในประเทศได้อย่างง่ายดาย ด้วยมาตรการเอื้อหนุนมากมาย เช่น การลดภาษี นำเข้า ส่งออก ศุลกากร เงินได้นิติบุคคล ฯลฯ กระทั่งพัฒนามาเป็นหน่วยงานส่งเสริมการลงทุน เช่น BOI ซึ่งทั้งแจกทั้งแถมให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามากอบโกยความร่ำรวยของแผ่นดินนี้กันเป็นที่สนุกสนาน นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เศรษฐศาสตร์ไทยควรจะได้ศึกษาให้ถ่องแท้ว่าเกิดอะไรขึ้น โดยผมขอเสนอประเด็นวิจัยว่า เรื่องนี้ไทยไม่ได้คิดออกเองหรอก แต่ฝรั่งคิดให้เสียมากกว่า เพราะเขาได้ประโยชน์หลายต่อ คือ ประโยชน์ทางการค้า การเมือง และวัฒนธรรม ซึ่งไทยเราอาจเป็นห้องทดลองห้องแรก (หรือ แรกๆ) ของโลกในการ "ล่าอาณานิคม" ยุคอีเล็กทรอนิกส์ก็เป็นได้ ซึ่งต้องนับว่าเป็นการทดลองที่ประสบผลสำเร็จอย่างถล่มทะลาย ทำให้พวกเขาขยายผลไปยังประเทศอื่นๆ เช่น ฟิลิปปินส์ เกาหลี อินโดนีเซีย อเมริกากลาง ใต้ เวียตนาม อีกหลายประเทศ เพราะนอกจากจะช่วยต้านคอมมิวนิสต์ (ในอดีต) แล้ว ยังทำให้พวกเขารวยขึ้น และสบายขึ้นอีกด้วย เป็นการ "ทำอุตสาหกรรมบนหลังคน" ทีแนบเนียนที่สุด เพราะเขาอ้างได้เสมอว่า นำรายได้ (จากการขายแรงงาน) มาให้ ซึ่งมีมูลค่ามากกว่าการทำเกษตรกรรมดั้งเดิมเสียอีก จนเกิดเป็นคำขวัญก้องประเทศในช่วงรัฐบาล ถปน. ว่า "งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข" ที่ลูกเด็กเล็กแดงต่างก็ท่องจำกันได้ขึ้นใจ และจากนั้นก็ไม่มีเสียงเพรียกที่แสนดังอันใดจะกู่ให้สังคมไทยกลับไปอยู่อย่างพอเพียงแบบเดิมได้อีกแล้ว


 


มาตรการส่งเสริมการลงทุนสำเร็จผลดียิ่ง จนโรงงานอุตสาหกรรมต่างชาติมาตั้งกันเต็มพรืดเป็นทิวแถว ตามปริมณฑลกทม. และชายฝั่งทะเล  จนรายได้ของพวกนักลงทุนเหล่านี้มีปริมาณถึง 70% ของรายได้ประชาชาติ  (GDP) ทั้งหมดของประเทศไทย ผมเริ่มเอะใจในตัวเลขนี้เมื่อ พศ. 2543 เมื่อได้อ่านพบข้อมูลในนิตยสารเอเชียวีคว่า GDP และ GNP ของประเทศไทยมีค่าต่างกันกว่า 3 เท่า เมื่อคำนวณดูก็พบว่าคนสัญชาติไทยมีสัดส่วนรายได้เพียง 30% ของทั้งหมดเท่านั้น ซึ่งตัวเลขนี้ได้รับการยืนยันอีกครั้งจากปากของ รมต. คลัง เมื่อ พศ. 2549 ยิ่งไปกว่านั้นผมเชื่อเหลือเกินว่าใน 30% นี้อย่างน้อย 15% ตกอยู่ในมือของนักลงทุนไทยไม่เกิน 20 ตระกูล ที่ส่วนใหญ่ก็หากินแบบร่วมลงทุนอยู่กับนายทุนต่างชาตินั่นแหละ (ควรมีการวิจัยหาสัดส่วนที่แท้จริงกันต่อไป)  ใน 15% ที่เหลือเชื่อได้ว่า 5% ตกอยู่กับคนชั้นกลางประมาณ 5 ล้านคน ซึ่งเป็นลูกจ้างของบริษัทต่างชาติหรือทำมาหากินอยู่กับต่างชาติไม่โดยตรงก็โดยอ้อม และเป็นเจ้าของกิจการรายย่อย เหลืออีก 10% เท่านั้นที่เป็นรายได้ของคนไทย 58 ล้านคน ซึ่งนี่คือคำตอบว่าทำไมชนบทไทยยังคงยากจนอยู่มาก ทั้งที่รถเบนซ์แน่นกรุงเทพไปหมด ตัวเลข 10% ของรายได้กระจายอยู่กับคน 58 ล้านคนนี้เป็นตัวเลขที่ฟังขึ้น  เพราะคำนวณดูแล้วจากรายได้ประชาชาติ 8.5 ล้านๆบาทต่อปีหมายความว่ามีรายได้เฉลี่ยครอบครัวละ 4,885 บาทต่อเดือน (สมมติว่ามีสมาชิก 4 คนต่อครอบครัว) ซึ่งในชนบทอีสานจะมีรายได้น้อยกว่านี้เสียอีกด้วยซ้ำไป


 


ดังนั้นประเทศไทยจึงเป็นประเทศที่มีช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนสูงที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง จึงไม่แปลกเลยว่าทำไมจึงมีโสเภณีมากเหมือนเช่นประเทศในลักษณะเดียวกันเช่น ฟิลิปปินส์ เม็กซิโก โคลอมเบีย และ จีน เพราะผมเชื่อว่า โสเภณีไม่ได้เกิดจากความยากจน แต่เกิดจากช่องกว้างทางเศรษฐกิจ ดังจะเห็นว่าประเทศที่ ปชช. จนเท่ากันหมดก็ไม่ค่อยมีโสฯ (เช่นในอาฟริกา) และประเทศที่คนรวยเท่ากันหมดก็ไม่ค่อยมีโสฯ (เช่นในแสกนดิเนเวีย)


 


ชาวชนบทไทยได้รับเคราะห์กรรมโดยตรงจากนโยบายสร้างชาติแบบรวยลัดอันผิดพลาดอย่างมหันต์ของรัฐบาลไทยทุกยุคสมัย เพราะสถาบันครอบครัวซึ่งเป็นฐานรากของสังคมถูกสั่นคลอนอย่างหนักจากการที่สมาชิกครอบครัวทิ้งไร่นาอพยพไปขายแรงงานในนิคมอุตสาหกรรมต่างชาติ ปล่อยให้ลูกเล็กถูกเลี้ยงดูไปตามยถากรรมโดยปู่ย่าตายาย โดยต่างก็หวังว่าสักวันหนึ่งจะหอบเงินฟ่อนกลับมาบ้านเกิด แต่อนิจจาสิ่งที่พวกเขาได้กลับมาเยี่ยมบ้านปีละสองครั้งตอนช่วงปีใหม่และสงกรานต์คือโรคพิษสุราเรื้อรังที่พวกเขาพัฒนาขึ้นมาเนื่องจากความเครียด ความหว้าเหว่ และความจน จนประเทศไทยก้าวขึ้นติดอันดับที่ห้าของโลกในการจัดอันดับการดื่มสุราของพลเมือง


 


ก็มันจะร่ำรวยอะไรได้กับการขายแรงงานวันละ 180 บาท (สองคนผัวเมีย 360 บาท) ในเมื่อมีค่าใช้จ่ายมากมาย เช่น ค่าที่พัก(เมื่อก่อนอยู่บ้านตัวเองก็ไม่ต้องจ่าย)  อาหาร(เมื่อก่อนหาเก็บผักจิ้มริมรั้ว) เดินทาง และแน่นอนค่าเหล้า และค่าสังคมจิปาถะต่างๆ ครั้นจะเลิกทำ กลับไปบ้านนอกก็กลัวจะอายคนเขาที่สู้ขายไร่ขายนาเข้ามาหวังรวยเอาในเมืองกรุง นี่แหละปัญหาของสังคมไทยเราที่ก่อขึ้นมาอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์โดยผู้นำประเทศของเรา


 


อีกทั้งการที่จะไปง้อให้เขามาลงทุนนั้นรัฐบาลก็ต้องไปกู้เงินมาจากต่างชาติเพื่อมาสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (infra-structure) เช่น ไฟฟ้า ประปา ถนน ท่าเรือ เพื่อรองรับการเข้ามาตักตวงความร่ำรวยของบรรษัทข้ามชาติเหล่านี้ และต้องขายสาธารณูปโภคเหล่านี้ให้พวกเขาแบบถูกๆ ตามราคารัฐวิสาหกิจอีกต่างหาก ถามว่าใคร..ที่จะต้องจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยเพื่อใช้หนี้เงินกู้ระยะยาวเหล่านี้ ถ้าไม่ใช่ลูกหลานคนไทยในอนาคต ซึ่งตอนนั้นโรงงานพวกนี้ก็คงย้ายฐานการลงทุนไปที่อื่นที่สามารถเอาเปรียบได้มากกว่าประเทศนี้แล้วก็เป็นได้ หวังว่าเราคงจะมีเงินเหลือเก็บเอาไว้จ่ายค่ารักษาพยาบาลที่จะมากขึ้นเนื่องจากผลของมลภาวะจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างชาติอีกด้วย


 


ปริมาณ (และคุณภาพ) ของการเข้ามาของทุนต่างชาติที่พอดี พอเหมาะ พอควร น่าจะเป็นสิ่งที่ดี แต่การเข้ามาที่มากเกินไป โดยไม่มีวิสัยทัศน์ สะเปะสะปะ ไม่มียุทธศาสตร์ชาติรองรับ นับว่าอันตรายอย่างยิ่ง เช่น


 



  1. ทุนต่างชาติที่มากเกินไปย่อมครอบงำเศรษฐกิจชาติโดยปริยาย โดยเฉพาะในสังคมที่อ่อนแอทางการเมืองเช่นประเทศไทย พวกเขาอาจ "ลงขัน" ด้วยเงิน "เพียงเล็กน้อย" เพื่อเปลี่ยนโยบาย กฎหมาย แม้แต่รัฐบาลของเราได้ทุกเมื่อ จึงเท่ากับว่าเราเป็นอาณานิคมทางเศรษฐกิจต่อพวกเขาแล้วโดยสิ้นเชิง  ในราคาปัจจุบัน (พศ. ๒๕๕๑) ถ้าพวกเขาลงขันกันเพียง 0.1% ของรายได้ (6,000 ล้านบาท)  ก็จะสามารถซื้อเสียงเลือกตั้งเพื่อจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากได้แล้ว  หมายความว่าถ้าคุณมีเงิน 100 บาท ก็ใช้เพียง 10 สตางค์เท่านั้น ขนหน้าแข้งไม่ร่วง

  2. คนสัญชาติไทยไม่อาจพัฒนาขึ้นเป็นเจ้าของกิจการอุตสาหกรรมได้ เพราะต่างชาติมีทุนสูงแถมได้รับ BOI  ที่ทั้งแจกทั้งแถมไปหมดโดยเฉพาะด้านการลดหย่อนภาษี   เช่น ตอนนี้ถ้าใครคิดอยากจะเป็นเจ้าของโรงงานผลิตกระดาษเช็ดก้น ก็คงทำไม่ได้ เพราะยี่ห้อต่างชาติครองตลาดหมดแล้ว จะไปทำตลาดสู้เขาไม่ได้ รวมไปถึงดินสอ ปากกา ไม้บรรทัด แว่นตา เข็มขัด รองเท้า เราคนไทยทั้งหลายจึงหมดหนทางทำมาหากิน เป็นได้แต่เพียงลูกจ้าง (ขี้ข้า) โรงงานต่างชาติเท่านั้น (หลายคนภูมิใจที่ลูกหลานได้ทำงานในโรงงานฝรั่งด้วยซ้ำไป)  ดูเหมือนว่าอาชีพการผลิตที่คนไทยพอทำได้โดยไม่ต้องแข่งกับอุตสาหกรรมต่างชาติจะเหลืออยู่เพียงไม่กี่อาชีพ เช่น อาชีพผลิตโลงศพ และดอกไม้จันท์เอาไว้เผาศพตนเอง (ซึ่งรัฐบาลน่าจะออก พรบ. คุ้มครองอาชีพเหล่านี้ไว้ให้ดี เพราะอีกหน่อยโรงงานต่างชาติอาจมองเห็นช่องทางทำกำไรได้ดีในธุรกิจนี้ เนื่องจากคนไทยกำลังแห้งตายกันมากกว่าปกติ)

  3. มลภาวะจากอุตสาหกรรม จะก่อปัญหาเชิงสุขภาพในระยะยาวอย่างไร และคิดเป็นมูลค่าเท่าใด หักกลบลบเกลื่อนแล้วเราจะขาดทุนอีกเท่าใด

  4. ถ้าเกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว)  พวกเขาจะถอนทุนหมด คนจะตกงานนับสิบล้าน รัฐบาลก็ไม่มีรายได้หรือทุนสำรองเพียงพอที่จะรองรับวิกฤต ความทุกข์มหันต์จะเกิดขึ้นกับสังคมปานใด เคยคิดกันบ้างไหม เพราะเมื่อก่อนหากมีปัญหายังมีภาคการเกษตรเป็นหยุ่นกันกระแทก แต่บัดนี้ภาคเกษตรก็กำลังล่มสลาย ทิ้งไร่ทิ้งนามาเป็นลูกจ้างขายแรงงานกันหมด

  5. ศักดิ์ศรีของชนเผ่า ไม่เคยคำนึง สรุปว่าชนเผ่าไตนี้สร้างชาติด้วยมือของตัวเองไม่ได้ใช่ไหม จึงต้องยืมมือ และทุน จากต่างชาติมาทำปู้ยี่ปู้ยำเช่นนี้ และดังกล่าวแล้วยิ่งชักนำเขาเข้ามามากเท่าไรเราก็หมดหนทางสร้างชาติด้วยมือตนเองเท่านั้น

 


ประเด็นที่ขอเสนอแนะเพื่อกอบกู้เอกราชทางเศรษฐกิจของไทยมีดังนี้ครับ


 



  1. การสร้างทุกชนิดต้องมีฐานราก ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจทุกวันนี้เช่น สรอ. ญี่ปุ่น เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย ต่างวางฐานรากการพัฒนาประเทศจากเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการเกษตรทั้งสิ้น ชาติไทยคงจะเป็นกรณียกเว้นชาติแรกในโลกที่จะพัฒนาประเทศด้วยการทำลายรากฐานทางเกษตรกรรม   เช่น นายกทักษิณ วางยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศก็เอา ความเป็นดีทรอยด์ออฟเอเชียไว้สำคัญที่สุด ตามด้วย "เมืองไทยเมืองแฟชั่น"  ดังนั้นเราต้องกลับไปดูแลบำรุงฐานรากให้ดี ให้อยู่เย็นเป็นสุข ไม่ต้องมายากเข็ญเป็นทุกข์สาหัสด้วยการรับจ้างหามรุ่งหามค่ำด้วยค่าแรงราคาถูกๆในนิคมอุตสาหกรรมอันแออัด ต้องวางแผนพัฒนาประเทศจากรากขึ้นไปหายอด  โดยให้เกษตรกรรมเป็นรากนำไทย โดยมีนโยบายเกษตรชีวภาพ 100% ภายใน 10 ปี ออกกฎหมายห้ามดินเกษตรไทยเสพสารเคมีทุกชนิด เช่นเดียวกับห้ามคนไทยเสพยาบ้า โดยต้องกำหนดนโยบายด้วยว่าจะให้สัดส่วนอาชีพเกษตรกรสักเท่าใด ขอเสนอว่าควรจะประมาณ 25% ของประชากร ไม่มากหรือน้อยกว่านี้ อาชีพอุตสาหกรรมสัก 25% ที่เหลือเป็นภาคบริการ (ของ สรอ. มีเกษตกรเพียงประมาณ 1.8% เท่านั้น ซึ่งผมเห็นว่าน้อยเกินไปมาก  จะไม่พอเป็นหยุ่นกันกระแทกเมื่อเศรษฐกิจล่ม แต่ถ้ามีเกษตรกรมากเกินไปก็หมายความว่าพื้นที่ทำการเกษตรต่อหัวจะมีน้อยเกินไป ซึ่งทำให้ให้ยากจน อาจต้องกำหนดด้วยว่าบุคคลจะครองพื้นที่มากกว่า 500 ไร่มิได้ เพื่อป้องกันเกษตรกรรายใหญ่เกินไป)


  2. ต้องปรับค่าแรงขั้นต่ำให้ได้มาตรฐานสากล เพราะค่าแรงมีจุดดีที่สุด ถ้าถูกหรือแพงเกินไปจะไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ ขณะนี้ค่าแรงขั้นต่ำของไทยเราต่ำกว่าระดับดีที่สุดมากไปหลายเท่า ทำให้สังคมไม่สามารถพัฒนาได้ดี (ไม่ต้องอ้างความเป็นธรรมก็ยังได้) เช่นอาจคิดค่าแรงตามราคาข้าวราดแกง หรือ ก๋วยเตี๋ยว ค่าแรงขั้นต่ำใน usa วันละประมาณ  2,000 บาท พร้อมสวัสดิการอีกมาก ส่วนของเราได้วันละ 180 บาท แถมไม่ค่อยมีสวัสดิการ แต่แฮมเบอร์เกอร์ของเขาแพงกว่าข้าวแกงเราประมาณ 3 เท่า ดังนั้นถ้าจะคิดให้เท่าเทียมกันเมื่อเทียบแฮมฯกับข้าวแกงแล้ว (หรือเรียกให้โก้ว่าเทียบ purchasing power parity) ค่าแรงขั้นต่ำของเราควรจะอยู่ที่วันละประมาณ 650 บาท แต่ที่เราทำเช่นนี้ไม่ได้เป็นเพราะนายทุนทั้งเทศและไทยต่างต่อต้าน โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติ ถ้าเราขึ้นค่าแรงเขาขู่ว่าจะถอนการลงทุน (หรือเราคิดไปว่าเขาจะขู่) จะย้านฐานไปเวียตนาม จีน กันหมด รัฐบาลเราก็หัวหดแล้ว ถามว่าค่าแรง usa แสนแพงแล้วทำไมจึงมีต่างชาติไปลงทุนกันมากมาย โดยเฉพาะญี่ปุ่น ที่เป็นดังนี้เป็นเพราะรัฐบาล usa เขาเก่งน่ะซี่ แต่รัฐบาลไทยไม่เก่ง (แถมโกง) ก็เลยได้แค่นี้ ปอดแหกกลัวต่างชาติถอนทุนอยู่นั่นแหละ แต่สำหรับนายทุนไทยผมขอให้ข้อมูลว่าค่าแรงงานที่เหมาะสม ไม่ถูกหรือแพงเกินไป จะเป็นผลดีต่อนักลงทุนอุตสาหกรรมที่ต้องจ้างแรงงาน จริงอยู่ท่านต้องเสียค่าแรงงานมากขึ้น แต่อย่าลืมว่าพนักงานโรงงานอื่นซึ่งเป็นลูกค้าของคุณก็มีกำลังซื้อมากขึ้นด้วย ทำให้สินค้าที่คุณผลิตออกมาถูกซื้อมากขึ้นด้วย ทำกำไรให้คุณมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

 



  1. ผลิตผลการเกษตรไทยเรานั้น ถ้ารู้จักเพิ่มมูลค่าให้ดีก่อนส่งออกขายต่างชาติ จะทำให้เรา "รวย" ขึ้นได้อีก 30 เท่า เช่น มันสำปะหลังกก.ละ  2 บาท เอามาทำเป็น พลาสติกชีวภาพ กก. ละ 300 บาท  ยางพารากก. ละ 20 บาท เอามาทำยางรถยนต์กก.ละ 500 บาท ข้าวสาร กก ละ 20 บาท เอามาทำของขบเคี้ยวสำเร็จรูป หรืออาหารสำเร็จแช่แข็ง กก ละ 100 บาท  กุ้งแช่แข็งเอามาทำเป็นกุ้งปรุงรสสำเร็จรูป ฯลฯ ที่ผ่านมาเรามีแต่นักการเมืองและรัฐบาลเส็งเคร็ง จึงขาดวิสัยทัศน์ด้านนี้ ส่งออกสินค้าเกษตรแบบดิบๆเสียเป็นส่วนใหญ่ ก็เลยยากจนข้นแค้นกันอยู่อย่างนี้เรื่อยมา

 



  1. ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ต้องเลิกเดินตามทฤษฎีฝรั่งที่ว่า ต้องทำกำไรสูงสุด (maximization of profit ) แต่หันมาทำบุญสูงสูด (maximization of virtue)  โดยการเปลี่ยนทุนนิยม มาเป็น บุญนิยม ตามแบบอย่างของสำนักสันติอโศก (หมายเหตุ. ผมไม่ได้เป็นสมาชิก และไม่เห็นด้วยกับสันติอโศกในหลากหลายประเด็น) กล่าวคือ ไม่สะสมส่วนเกิน แบ่งปันกัน เอื้ออารีย์ต่อกันระหว่างนายทุนและผู้ใช้แรงงาน เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องอุดมคติที่ทำไม่ได้ ใครที่คิดว่าเป็นเรื่องอุดมคติก็เท่ากับว่าถูกล้างสมองโดยลัทธิทุนนิยมสามานย์เรียบร้อยแล้ว เพราะแม้แต่ในอดีตสมัยพุทธกาลยังทำได้เลย วันนี้เรามีความรู้ข้อมูลมากกว่าเดิมมาก แต่ทำไมเรากลับสร้างกลไกสังคมที่สามานย์มากขึ้นทุกที เราถูกมอมเมามาแต่เด็กแต่เล็กจน ดื้อยา พร่ามัว มองไม่เห็น คิดไม่ออก กันไปหมดทั้งประเทศ และ โลก สยบยอมต่อทุนนิยมสามานย์ข้ามชาติ หาว่านี่คือวิวัฒนาการของสังคมโลกไปโน่น

 



  1. ต้องเน้นการสร้างประเทศด้วยมือและสมองของเราเองให้มากที่สุด ใช้มือต่างชาติแต่น้อยเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ยิ่งทำด้วยมือเราเอง ยิ่งแกร่ง ยิ่งรู้มากขึ้น ก็ยิ่งเจริญ ไม่ใช่คอยแต่รับใช้ต่างชาติด้วยแรงกายโดยสมองไม่คิดอะไร อยู่ไปวันๆ แบบไร้ศักดิ์ศรีเช่นนี้ อาจกำหนดในรัฐธรรมนูญไปเลยว่าสัดส่วนรายได้ประชาชาติของต่างชาติต้องไม่เกิน 30%

 


ที่ผ่านมาประเทศเราจนทั้งเงินและปัญญา  เพราะเรามีรัฐบาลซึ่งมาจากนักการเมืองเส็งเคร็ง  ที่ไม่เคยมีเวลาหยุดคิดเพื่อสังคม เพราะพวกเขาต้องเอาเวลาและสมองส่วนใหญ่ไปหมกมุ่นครุ่นคิดเพื่อความรุ่งเรืองร่ำรวยของตนและพวกพ้องเสียหมดนั่นเอง


 


ส่วนนักวิชาการก็คิดแต่จะไปหาเงินจากการเป็นที่ปรึกษาบริษัทห้างร้าน ที่จะทำงานวิจัยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลผลิตการเกษตรไทยนั้นหาได้แสนยาก หอคอยงาช้างทุกวันนี้แม้ต้องการหาก็หาได้แสนยาก เห็นมีแต่หอ atm เต็มมหาลัย


 


ขอเชิญชวนชาวไทยมาเรารวมพลังกัน กู้ชาติ เพื่อวางรากฐาน และสร้างนโยบายการพัฒนาสังคมกันใหม่ เพื่อลูกหลานของเราอีก 200 ปีข้างหน้าจะได้มีสังคมอารยะไว้เป็นที่อยู่อาศัยด้วยความภาคภูมิใจสืบไป...อดีต 40 ปีที่ผ่านมาตะโกนก้องฟ้องอยู่ว่าอีก 40 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ดังนั้นหากเราไม่ "กู้ชาติ" ตอนนี้ อีก 40 ปีจากนี้ไปอาจไม่เหลือชาติไทยแบบที่เราเคยรู้จัก 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net