Skip to main content
sharethis

วิษณุ นาควิโรจน์
นักข่าวพลเมือง สำนักข่าวประชาธรรม รายงาน


 


2 กันยายน 2551 เวลา 12.00 น. ที่ลำปาง ตัวแทนชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้า และ ดต.สอาด บุญลอง สจ.เขต 2 จ.ลำปาง รวม 500 กว่าคนได้รวมตัวกัน ณ ที่ว่าการอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เพื่อเรียกร้องถึงปัญหากรณีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้า โดยต้องการให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และคณะกรรมการได้ตอบปัญหาถึงเรื่องกองทุนพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้าถึงการบริหารงานอย่างไม่โปร่งใส ตลอดถึงการวางเฉยของข้าราชการ และคณะกรรมการกองทุน


 


ชุมชนแม่เมาะ ตั้งอยู่บริเวณที่ราบในหุบเขาคล้ายแอ่งกระทะลักษณะภูมิประเทศเช่นนี้ทำให้เกิดความกดอากาศค่อนข้างสูง ทำให้อากาศเคลื่อนตัวช้าจากบนสู่ล่าง ดังนั้นจึงทำให้เกิดความเดือดร้อนกับราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากมลภาวะเป็นพิษ อันเนื่องจากการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่อ้างความเจริญและการพัฒนาประเทศชาติเพื่อประชนส่วนใหญ่ แต่ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น กับประชาชนในพื้นที่รอบๆ บริเวณโรงไฟฟ้าแม่เมาะ


 


กรณีโรงไฟฟ้าแม่เมาะ กรณีปัญหามลภาวะทางอากาศ จากก็าซซัลเฟอร์ ไดออกไซค์ เกิดจากการผลิตกระแสไฟฟ้าถ่านหินปัญหาฝุ่นละอองที่เกิดจากการขุดระเบิด และขนถ่ายวัสดุดิน ถ่านหินจากเหมืองแม่เมาะ ปัญหาเรื่องกลิ่นที่เกิดจากการสันดาปลุกไหม้ตนเองของถ่านหิน ได้สร้างความเดือดร้อน รำคาญจากกลิ่นเหม็นเป็นประจำ ปัญหาด้านสุขภาพ เนื่องจากชาวบ้านที่ได้รับมลพิษจากโรงไฟฟ้า ผลกระทบเฉียบพลันอันได้แก่ อาการระคายเคืองเยื่อบุต่างๆ เช่น ตา หู คอ  จมูก ทางเดินหายใจ ที่มีอาการแสบคันและอาจตามมาด้วยการติดเชื้อ หลังการระคายเคือง อาการต่อทางดินหายใจ ทำให้หายใจลำบาก หอบหืด แน่นหน้าอก สมรรถภาพปอดลดลงและมีอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว วิงเวียนศีรษะ และผลกระทบเรื่อรังทำให้ทางเดินหายใจส่วนบน และส่วนล่างอักเสพเรื้อรัง และมีโอกาสติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อยขึ้น อันเป็นเหตุให้ชาวบ้านเจ็บป่วยและเสียชีวิต พืชผลทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยงเสียหาย


 


จากนั้น คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช) ได้เห็นชอบแนวทางและชั้นตอนการจัดตั้งกองทุนพัฒนาชุมชนรอบ ๆ โรงไฟฟ้าซึ่งกำหนดให้โรงไฟฟ้าทุกแห่งต้องจ่างเงินเข้ากองทุน ทั้งโรงไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ) ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ (IPP) ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) ทั้งนี้โรงไฟฟ้าที่จะต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบจะต้องเป็นโรงไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ 6 เมกะวัตต์ขึ้นไป


 


ตัวแทนชาวบ้าน กล่าวว่า ที่ผ่านมา กองทุนพัฒนารอบๆ โรงไฟฟ้า ไม่ได้มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนแม่เมาะแต่อย่างได ซึ่งวัตถุประสงค์ของกองทุนนั้นมีความในชัดเจนถึงวัตถุประสงค์ในตัวดังจะเห็นได้จากโครงการที่เสนอด้านอาชีพ การศึกษา ช่วยเหลือคนชรา ด้านสุขภาพ และด้านความปลอดภัย กลับถูกมองข้ามแต่หันไปสนับสนุนโครงการที่มีส่วนเอื้อผลประโยชน์ต่อกลุ่มนายทุนและข้าราชการในพื้นที่และการวางตัวไม่เป็นกลางของคณะกรรมการที่ทำหน้าที่พิจรณาโครงการ ตลอดจนการกระจายงบประมาณไม่ได้รับการจัดสรรอย่างทั่วถึง


 


ด้าน นาย ดิเลก ก้อนกลีบ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง กล่าวว่า กองทุนพัฒนาที่กล่าวมานี้ โครงการส่วนใหญ่นั้นเป็นโครงการที่มุ่งเน้นให้ประชาชนที่อยู่รอบโรงไฟฟ้าได้มีชีวิตอยู่ที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งยังได้เกิดการผลักดันให้เศรษกิจของจังหวัดดีขึ้น ซึ่งในอนาคนลำปางจะศุนย์กลางของอินโดจีน โดยทางจังหวัดได้เลงเห็นถึงโอกาสและได้วางแผนให้จังหวัดลำปางแล้ว แต่อย่างไรก็ดีโครงการต่างๆ อยากเห็นประชาชนได้มีส่วนร่วมและเกิดการกระจายอย่างทั่วถึง ตลอดจนผลักดันให้เกิดนวัฒกรรมด้านการจัดการโครงการซึ่งจะส่งผลให้เกิดกลุ่มอาชีพใหม่ๆ เกิดขิ้น


 


นายเสริมศักดิ์ สีสันต์ นายอำเภอแม่เมาะ กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้มีการพิจรณาถึงกองทุนโดยกองทุนที่ผ่านเกณท์การประเมินของคณะกรรมการนั้นได้มีการประเมิณถึงความสมเหตุสมผลของโครงการตลอดจนความเหมาะสมของงบประมาณ แต่อย่างไรก็ตามกองทุนนี้ยังจะมีการเปิดรับเสนอโครงการ และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม


ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net