Skip to main content
sharethis

 







แถลงการณ์สมาพันธ์พรรคการเมืองเพื่อประชาชนและประชาธิปไตย (สพป.)


 


 


เรื่อง                  ทางออกวิกฤตการเมืองไทยเพื่อประชาชนและประชาธิปไตย


 


เรียน                  ประชาชนชาวไทยที่รักและเคารพผ่านสื่อมวลชนทุกแขนง


 


สมาพันธ์พรรคการเมืองเพื่อประชาชนและประชาธิปไตย (สพป.) (ดังรายชื่อพรรคการเมืองสมาชิกท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้) ขอแถลงต่อพ่อแม่พี่น้องประชาชนถึงจุดยืนและข้อเสนอของ สพป. ต่อวิกฤตการเมืองปัจจุบัน ดังต่อไปนี้


 


1.                                                       ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายต่อสู้ให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยโดยยึดหลัก "สันติธรรม


ประชาธิปไตย" ในการแก้ไขปัญหาการเมืองและประชาธิปไตยของประเทศ โดยไม่ใช้อาวุธ ไม่กระทำใดๆ


ที่โน้มน้าว ยั่วยุ และก่อให้เกิดการใช้ความรุนแรงต่อกัน และเคารพต่อกฎหมายบ้านเมือง


 


2.       ขอเรียกร้องให้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและฝ่ายต่อต้านพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต่างๆ อาทิ นปก. และ นปช. ส่งมอบอาวุธทุกประเภทและทั้งหมดให้แก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยการทำงานร่วมกับกองทัพบกเพื่อป้องกันปัญหาการกระทำรุนแรงต่อกัน


 


3.       ขอให้รัฐสภา โดยการประชุมร่วมกันของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจัดตั้ง "สภาปฏิรูปการเมืองและประชาธิปไตยแห่งชาติ" ประกอบด้วยผู้แทนประชาชนทุกภาคส่วน คือ พรรคการเมืองทุกพรรค พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรชุมชน และ องค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ จำนวน 100 คน  เพื่อทำหน้าที่ประชุมหาข้อยุติในการปฏิรูปการเมืองและประชาธิปไตยของประเทศ และทำความเห็นต่อรัฐสภาเพื่อทำให้วิกฤตการเมืองได้รับการแก้ไขและแสวงหาโอกาสการปฏิรูปที่มีพลังสร้างสรรค์อย่างเต็มที่


 


4.       ขอยืนยันให้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและหัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรคร่วมรัฐบาลมีการเจรจาหารือและทำข้อตกลงร่วมกัน โดยมีคณะบุคคลกลาง (ได้แก่ ประธานวุฒิสภา ประธานรัฐสภา ประธานองค์กรอิสระและองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ผู้บัญชาการทหาบก ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้นำฝ่ายค้าน และ ผู้แทนพรรคการเมืองนอกรัฐสภา) เข้าร่วมและลงนามเป็นสักขีพยาน เพื่อสร้างสามัคคีภายในชาติ โดยมีข้อตกลง คือ


 


4.1 ทั้งสองฝ่ายยอมรับวิถีทางประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การ


ดำรงอยู่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และสถานภาพของรัฐบาล ในปัจจุบัน หากจะมีการเปลี่ยนแปลง


อันใดเกิดขึ้นจะผ่านช่องทางที่รัฐธรรมนูญรับรอง


 


                                    4.2 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะยุติการชุมนุม ออกจากทำเนียบรัฐบาล ยุติการล้มล้างรัฐบาล แต่สงวนสิทธิ์ท่าจะชุมนุมสาธารณะเป็นครั้งคราวตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 63 อันมิใช่การชุมนุมทางการเมืองเพื่อล้มล้างรัฐบาลและระบอบรัฐสภาปัจจุบัน


 


4.3                                                   รัฐบาล ส.ส. ของพรรคการเมืองต่างๆ และพันธมิตรประชาชนเพื่อ


ประชาธิปไตยจะยุติการเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ เว้นแต่การดำเนินการตามข้อเสนอของ "สภาปฏิรูปการเมืองและประชาธิปไตยแห่งชาติ" ที่จัดตั้งตามข้อ 3.


 


4.4                                                   พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยอมรับการเข้าร่วมและร่วมมือกันใน


การสร้างสรรค์การเมืองไทยกับผู้แทนประชาชนในภาคส่วนอื่นๆตามข้อ 3.


 


4.5                                                                                        รัฐบาลยอมรับจะปรับปรุงการทำงานและการแสดงออกเพื่อการแก้ไข


ปัญหาที่เป็นจุดอ่อนต่างๆ และที่เป็นความจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามข้อสังเกตุของพันธมิตรประชาชนเพื่อ


ประชาธิปไตยให้มากที่สุด และ แถลงให้ประชาชนทราบเป็นระยะๆ และผู้นำรัฐบาลจะจริงจังกับการสร้างสามัคคี


ของคนในชาติ


 


5.                                                       ขอให้รัฐสภาทำการปฏิรูประบบพรรคการเมืองโดยเร่งด่วนในประเด็นมาตรฐานพรรค


การเมือง อันครอบคลุมถึงจริยธรรมนักการเมือง จริยธรรม ส.ส. การกำกับดูแลพรรคการเมืองโดยสภาผู้แทนราษฎร ธรรมาภิบาลของพรรคการเมือง (ครอบคลุมในทุกประเด็น รวมทั้งการใช้จ่ายเงินเพื่อการเลือกตั้งของพรรคการเมือง และประชาธิปไตยภายในพรรค) และ อื่นๆ


 


6.                                                       ขอเรียกร้องให้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นของตน


เองและเข้าแข่งขันสมัครรับเลือกตั้งเป็นรัฐบาลในวิถีทางประชาธิปไตยที่รัฐธรรมนูญรับรอง แต่หากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังประสงค์จะเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชนนอกรัฐสภาต่อไปก็ขอให้เป็นการเคลื่อนไหวตามมาตราต่างๆที่รัฐธรรมนูญรับรอง อาทิ มาตรา 63 (การชุมนุมสาธารณะ โดยสงบและปราศจากอาวุธ) ตามมาตรา 68 (การห้ามล้มล้างการปกครองหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยวิถีทางอันมิได้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ) และ ตามมาตรา 87 (การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน)


 


7.                                                       ขอเรียกร้องให้สมาชิกพรรคการเมืองทุกพรรคและผู้นิยมชมชอบพรรคการเมืองใดๆในระบอบรัฐสภาปัจจุบันยุติการเข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่เป็นการล้มล้างรัฐบาลเพื่อหันหน้ามาร่วมมือกันแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำเนินการในระบอบรัฐสภาตามที่รัฐธรรมนูญรับรอง


 


8.                                                       ขอสนับสนุนให้รัฐบาลใช้มาตรการประชามติเพื่อยุติข้อขัดแย้งของคนในชาติในประเด็นสำคัญๆ


 


สพป. จึงขอเรียกร้องให้พ่อแม่พี่น้องประชาชนทุกคน สถาบันทุกสถาบันในสังคม พรรค


การเมืองและกลุ่มการเมืองต่างๆ ได้พิจารณาสนับสนุนทางออกข้างต้นเพื่อร่วมกันแก้ไขวิกฤตการเมืองของ


ประเทศให้สำเร็จผลโดยเร็วที่สุด


 


 


ด้วยสันติธรรมประชาธิปไตย


สมาพันธ์พรรคการเมืองเพื่อประชาชนและประชาธิปไตย (สพป.)*


วันพุธที่ 10 กันยายน 2551


ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว กรุงเทพมหานคร


 


หมายเหตุ


*พรรคการเมืองที่เป็นสมาชิกสมาพันธ์พรรคการเมืองเพื่อประชาชนและประชาธิปไตยในปัจจุบัน ได้แก่ พรรคสังคมธิปไตย พรรค


แนวสังคมประชาธิปไตย พรรคแรงงาน พรรคชีวิตที่ดีกว่า พรรคแทนคุณแผ่นดิน พรรคราษฎรรักไทย พรรคสังคมไท พรรคเสียง


ประชาชน พรรคกสิกรไทย พรรคเสรีประชาไทย พรรคสยาม พรรคอธิปไตย พรรคเพื่อนเกษตรไทย พรรคชาติสามัคคี พรรคกฤษ


ไทยมั่นคง พรรคจงมีสยาม พรรคพัฒนาประชาธิปไตย พรรคดำรงไทย (สังเกตการณ์)


 


 






*เครือข่ายพลังประชาธิปไตยเพื่อประชาชน (ก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2551) ประกอบด้วยองค์กรต่อไปนี้


1.             สมาพันธ์พรรคการเมืองเพื่อประชาชนและประชาธิปไตย (ผู้แทน : ดร. โชคชัย สุทธาเวศ)


2.             ชมรมรัฐธรรมนูญเพื่อประชาชน (สาขานครราชสีมา) (ผู้แทน : นายวงศ์ฑอมร มาตย์สุรีย์)


3.             กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อประชาชน (ผู้แทน : นายภพ แสนปลื้ม)


4.             กลุ่มรวมใจไทยพิทักษ์ประชาธิปไตย (ผู้แทน : นางปัทมาภรณ์ รักษ์แพทย์)


5.             กลุ่มพลังประชาธิปไตยต้านเผด็จการ (ผู้แทน : นายวรัญชัย โชคชนะ)


6.             สภาเครือข่ายประชาชนสี่ภาค (ผู้แทน : นายประพาส โงกสูงเนิน)


7.             กลุ่มเครือข่ายพลังเสริมประชาธิปไตยเพื่อประชาชน (ผู้แทน : ดร. อุดม ขันแก้ว)


 


และได้มีผู้แทนเข้าร่วมสัมมนา เรื่อง "ทางออกวิกฤตการเมืองเพื่อประชาชนและประชาธิปไตย" ในวันที่ 10กันยายน 2551 ณ ห้องประชุมอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ขอสนับสนุนแถลงการณ์ฉบับนี้ของสมาพันธ์พรรคการเมืองเพื่อประชาชนและประชาธิปไตย


 


 


 


 


 







แถลงการณ์โรงเรียนสาธิตมัฆวานฯและเครือข่ายเยาวชน


ฉบับที่ 6/2551


เรื่อง "ทวงถามข้อเรียกร้องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ"


 


ตามที่โรงเรียนสาธิตมัฆวานฯได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 4/2551 เพื่อคัดค้านทัศนคติที่คับแคบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยเรียกร้องให้พิจารณาตนเองว่าสมควรอยู่ในตำแหน่งหรือไม่ โดยจะดำเนินการยื่นรายชื่อเยาวชนที่สนใจในปัญหาบ้านเมือง เพื่อดำเนินการในขั้นต่อไปนั้น


บัดนี้ แม้สถานการณ์จะเปลี่ยนไป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นผู้ที่เยาวชนไม่รู้จักชื่อ ไม่เคยจำหน้า เพราะได้ตายไปจากหัวใจของเยาวชนแล้ว จะต้องทำหน้าที่รักษาการรัฐมนตรี อันเนื่องมาจากพฤติกรรม "กินไปบ่นไป" ของนายกรัฐมนตรีก็ตาม แต่มิได้หมายความว่า รัฐมนตรีผู้ด้อยวิสัยทัศน์ทางการศึกษาผู้นี้ จะไม่กลับมารั้งตำแหน่ง "เสมา1" อีกครั้ง ดังนั้น เพื่ออนาคตของเยาวชน และของวงการการศึกษาของไทยที่จะเดินไปข้างหน้าอย่างมีคุณภาพ เราจึงกลับมาเพื่อทวงถามและเรียกร้องในประเด็นดังต่อไปนี้


1. เราขอเรียกร้องให้รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลาออกจากตำแหน่งโดยทันที เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อเยาวชนผู้มีวิจารณญาณที่จะใช้สิทธิเสรีภาพอันพึงมีตามรัฐธรรมนูญ หากท่านยังนิ่งเฉยไม่พิจารณาข้อเรียกร้องนี้ เราพิจารณาการดำเนินการตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญมาตรา 164 เพื่อเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา ให้มีมติถอดถอนท่านออกจากการเป็นรัฐมนตรีต่อไป


2. เราขอเรียกร้องต่อกระทรวงศึกษาธิการ ออกกฎกระทรวงว่าด้วยการดำเนินการต่อผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา ที่มีพฤติกรรมจำกัดสิทธิเสรีภาพของนักเรียน นิสิต นักศึกษา อันขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 มาตรา 45 มาตรา 63 และมาตรา 70 รวมทั้งกำหนดมาตรการเพื่อดำเนินการตามกฎระเบียบดังกล่าวอย่างจริงจัง


3. เราขอเรียกร้องให้กระทรวงศึกษาธิการ เข้าใจถึงการเคลื่อนไหวทางการเมืองของเยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่ต่างก็ปรารถนาจะเห็นบ้านเมืองสงบสุข ซึ่งจากทัศนคติของเจ้ากระทรวงศึกษาฯที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของเยาวชน เราจึงขอเปลี่ยนชื่อกระทรวงฯ จาก "กระทรวงศึกษาธิการ" เป็น "กระทรวงศึกษาพิการ" เพราะมีความพิการทางความคิด ที่ปิดกั้นสิทธิ เสรีภาพอันพึงมีของเยาวชนไทย เพื่อให้สังคมได้ตระหนัก และร่วมกันแก้ไขปัญหาอันเกิดจากทัศนคติคับแคบนี้ต่อไป


โรงเรียนสาธิตมัฆวานฯ และเครือข่าย จะร่วมกันเพื่อดำเนินการเคลื่อนไหวกิจกรรมทางการเมือง เป็นพลังบริสุทธิ์ที่จะมุ่งสร้างจิตสำนึกทางการเมืองให้กับคนรุ่นใหม่ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติที่จะมีพลเมืองผู้รู้จัก เข้าใจ และอาสาปกป้องผลประโยชน์ของชาติในวันนี้ และในอนาคตสืบไป


ด้วยเจตจำนงอันรักผืนแผ่นดินเกิด


10 กันยายน 2551


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net