Skip to main content
sharethis

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า คณะนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากศูนย์วิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรปหรือเซิร์น  ได้เริ่มทดลองยิงอนุภาคโปรตอนเพื่อไขปริศนาหาจุดกำเนิดของจักรวาลหรือเอกภพแล้ว ท่ามกลางการเฝ้าจับตาสังเกตการณ์จากนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ทั่วโลกกว่า 9,000 คน



 


รายงานข่าวแจ้งว่า การทดลองยิงอนุภาคโปรตอนครั้งนี้ นับเป็นครั้งใหญ่ที่สุด มีขึ้นที่อุโมงค์ใต้ดิน บริเวณพรมแดนระหว่างฝรั่งเศสกับสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งลึกลงจากพื้นผิวโลกไปประมาณ 300 - 400 ฟุต ทั้งนี้ การทดลองยิงอนุภาคโปรตอน มีขึ้นเมื่อวันพุธที่ผ่านมาในเวลาประมาณ 09.32 น.เวลาท้องถิ่น หรือตรงกับเวลา 14.30 น.ตามเวลาในไทย


 



โดยนางพาโอลา คาทาพาโน โฆษกหญิงของเซิร์น กล่าวว่า อนุภาคโปรตอนที่ยิงออกไปครั้งใหญ่ที่สุดในโลกครั้งนี้  ถูกยิงจากเครื่องลาจ  ฮาดรอน คอลลิเดอร์ หรือแอลเอชซี ซึ่งเป็นเครื่องยิงอนุภาคโปรตอน มีลักษณะคล้ายท่อวงแหวนมีขนาดความยาว 27  กิโลเมตร ที่ถูกสร้างขึ้นตามโครงการที่คิดขึ้นเมื่อ  30  ปีที่แล้ว  


 


อย่างไรก็ตาม เครื่องแอลเอชซี ดังกล่าวเพิ่งถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2546 หรือ 5 ปีที่ผ่านมา ด้วยงบประมาณ


การก่อสร้าง จำนวน 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 1.3 แสนล้านบาท) ทั้งนี้  เครื่องยิงอนุภาคโปรตอน จะทำหน้าที่เป็นเร่งความเร็วของอนุภาคโปรตอนให้มีความเร็วเท่ากับหรือเกือบเท่ากับความเร็วของแสงวิ่งชนกัน  เพื่อให้เกิดปรากฏการณ์ระเบิดครั้งใหญ่หรือบิกแบง ซึ่งตามสมมติฐานของนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ เชื่อว่า ปรากฏการณ์บิกแบงนี้จะก่อให้เกิดวิวัฒนาการต่างๆ รวมทั้งวิวัฒนาการของเอกภพหรือจักรวาลด้วย



ขณะเดียวกัน ทางด้านนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ต่างพากันแสดงความหวั่นวิตกว่า การทดลองครั้งนี้จะส่งผลทำให้เกิดหลุมดำแม้เพียงขนาดเล็ก แต่ก็สามารถดูดกลืนดูดเข้าไปได้ซึ่งนายเจมส์  กิลเลส หัวหน้าคณะโฆษกของเซิร์น ออกมาตอบโต้ว่า ความหวั่นวิตกดั่งกล่าว เป็นเรื่องเหลวไหล


 


ที่มา : สยามรัฐ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net