Skip to main content
sharethis

 


เรียน สมาชิก E-drug

จากข่าวที่ปรากฎบน E-drug เมื่อเร็วๆ นี้ องค์การหมอไร้พรมแดนไม่ได้ต้องการเรียกร้องให้นานาประเทศบอยคอตการประชุมขององค์การอนามัยโลกว่าด้วยยาปลอมแปลง เราเชื่อว่ายาปลอมคือยาที่มีเจตนาสำแดงข้อมูลเท็จบนฉลากยาเพื่อหลอกลวงให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดในเรื่องของคุณลักษณะเฉพาะและ/หรือแหล่งผลิตของยานั้นๆ อันเป็นภัยอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพื่อหยุดยั้งการกระทำอาชญากรรมนี้       

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกมีบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจนในการรับรองว่ามาตรการต่อต้านสินค้าปลอมแปลงที่ประเทศต่างๆ บรรจุไว้ในกฎหมายนั้นเป็นมาตรการที่ถูกต้องเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และไม่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงและการค้าขายยาถูกกฎหมาย ซึ่งการนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่องค์การอนามัยโลกจะหันมาทบทวนข้อเสนอต่างๆ ที่ได้นำเสนอในบริบทของ IMPACT เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีการบรรจุข้อเสนอที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเข้าถึงยาถูกกฎหมาย   

บางท่านได้นำเสนอประเด็นต่างๆ ที่พึงต้องใส่ใจระวังในร่างกฎหมายต่อต้านสินค้าปลอมแปลง ด้วยในทางปฏิบัติอาจส่งผลกระทบด้านลบต่อตลาดยาชื่อสามัญ ซึ่งทางองค์การฯ เองก็มีความวิตกในประเด็นเหล่านี้เช่นกัน และเราเห็นว่าองค์การอนามัยโลกต้องออกมาทัดทานอย่างจริงจังเพื่อมิให้มาตรการต่อต้านสินค้าปลอมแปลงนี้เป็นอุปสรรคกีดขวางการเข้าถึงยาชื่อสามัญ ดิฉันจึงขอหยิบยกเอกสารสรุปที่องค์การหมอไร้พรมแดนตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อแสดงความวิตกกังวลต่อร่างกฎหมายต่อต้านสินค้าปลอมแปลงของเคนยาตามลิงค์นี้ http://www.msfaccess.org/resources/key-publications/key-publication-detail/?tx_ttnews%5Btt_news%5D=1497&cHash=fa92956fc1 (ฉบับภาษาไทย ตามแนบ)



องค์การฯ เชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า องค์การอนามัยโลกต้องเร่งดำเนินการเพื่อจัดการปัญหายาด้อยคุณภาพ ซึ่งมาตรการที่จะแก้ไขปัญหานี้ต้องไม่ถูกกระแสความสนใจในปัจจุบันที่เน้นพุ่งเป้าไปที่ปัญหายาปลอมครอบงำ ทั้งนี้ยาด้อยคุณภาพคือยาของแท้ทั่วไปที่ไม่ได้คุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ปัญหายาด้อยคุณภาพนี้เป็นปัญหาที่สำคัญและแตกต่างไปจากปัญหายาปลอมแปลง จึงจำเป็นต้องใช้มาตรการจัดการที่ต่างกัน  

ดิฉันขอนำเสนอรายงานว่าด้วยปัญหายาด้อยคุณภาพของผู้เขียนตามรายชื่อต่อไปนี้ J.-M. Caudron, N. Ford, M. Henkens, C. Mace, R. Kiddell-Monroe และ J. Pinel "ยาด้อยคุณภาพในพื้นที่ที่ขาดแคลนทรัพยากร: ปัญหาที่ไม่ควรเพิกเฉยอีกต่อไป" Tropical Medicine and International Health, ฉบับรวมเล่มที่ 13 เล่มที่ 8 หน้า 1062-1072 สิงหาคม 2551 หรือคลิกอ่านได้ที่ http://www.msfaccess.org/fileadmin/user_upload/key-publication/Trop_Med_and_Int_Health_vol_13_Substandard%20Meds.pdf



ข้อที่สำคัญอีกประการคือ ควรทราบว่าการปลอมแปลงนั้นเป็นการสำแดงเจตนาหลอกลวงอีกรูปแบบหนึ่งเพื่อหวังยอดขาย แต่เรายังมีปัญหาด้านอื่นๆ อีกที่เป็นภัยอันตรายต่อสุขภาพและไม่สามารถจัดการแก้ไขได้ด้วยมาตรการต่อต้านสินค้าปลอมแปลง ดูรายละเอียดได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Pharma_Fraud



แน่นอนว่ามาตรการที่สำคัญที่สุดที่พึงนำมาลงมือปฏิบัติก็คือ การรับประกันให้ประชาชนสามารถถึงยาที่จำเป็นในราคาที่สามารถซื้อหาได้ หากประชาชนสามารถเข้าถึงยาดีมีประสิทธิภาพที่ผ่านการรับรองคุณภาพและมีราคาถูกได้อย่างเป็นระบบแล้วไซร้ ย่อมเท่ากับไม่เปิดช่องให้ผู้กระทำผิดฉกฉวยใช้เป็นโอกาสปลอมแปลงสินค้าหรือกระทำการอื่นใดที่มีเจตนาหลอกลวงผู้บริโภคได้   



ด้วยความนับถือ

เอเลน โฮเอน


 


ผู้อำนวยการด้านการรณรงค์เชิงนโยบาย


องค์การหมอไร้พรมแดน (MSF) ฝ่ายรณรงค์เพื่อการเข้าถึงยาจำเป็น


 


E-DRUG: Counterfeit medicines and WHO


-------------------------------------

Dear E-drug readers,



Contrary to recent media reports posted on e-drug MSF has not called on countries to boycott a WHO meeting on counterfeit medicines. We believe that counterfeit medicines which are medicines that are deliberately and fraudulently mislabeled with respect to identity and/or source, are dangerous for health and authorities need to take appropriate measures to stop this criminal activity.

There is a clear role for the WHO to play in making sure that the anti-counterfeit measures countries put in place are the right measures, that they are effective and that they do not hamper access to and trade in legitimate medicines. This will also require the WHO critically reviewing what is being proposed in the context of IMPACT to ensure that no barriers to legitimate medicines are put in place.

Some of you have drawn attention on this list to draft anti-counterfeit legislation that would in fact negatively affect the availability of generic medicines. We share those concerns and we believe that the WHO should strongly warn against anti counterfeit measures that throw up barriers to generic medicines. I refer to a briefing document we published in response to the proposed anti-counterfeit legislation in Kenya.
Available at: http://www.msfaccess.org/resources/key-publications/key-publication-detail/?tx_ttnews%5Btt_news%5D=1497&cHash=fa92956fc1 [repair link]

We also strongly believe that the WHO should step up its work on substandard medicines and that this work should not be overshadowed by the current emphasis counterfeit medicines. Substandard medicines are genuine products which do not meet quality specifications set for them. The problem of substandard medicines is significant but it is distinct from counterfeit medicines and requires a different set of interventions.

I refer to the recent paper on the issue of substandard medicines: J.-M. Caudron, N. Ford, M. Henkens, C. Mace, R. Kiddell-Monroe and J. Pinel, Substandard medicines in resource-poor settings: a problem that can
no longer be ignored. Tropical Medicine and International Health, volume 13 no 8 pp 1062-1072 August 2008.

available at:
http://www.msfaccess.org/fileadmin/user_upload/key-publication/Trop_Med_and_Int_Health_vol_13_Substandard%20Meds.pdf

It is also important to recognise that counterfeiting is only one particular form of fraud related to the sales of pharmaceuticals. There are others that may endanger health and that cannot be affectively dealt with through anti-counterfeit measures. See for details:
http://en.wikipedia.org/wiki/Pharma_Fraud

Making sure that people have access to the treatment they need at a price they can afford is of course the most significant action to take. If people had systematic access to affordable, effective medicines of assured quality counterfeiters and others engaging in fraudulent activities would have very little space to operate.

Kind regards,

Ellen 't Hoen


 


 

เอกสารประกอบ

กรณีเคนยา

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net