Skip to main content
sharethis


ในการประชุมวิชาการ "ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม" ซึ่งจัดโดย โครงการจัดตั้งศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (RCSD) สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนโดย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ระหว่างวันที่ 22-23 ธันวาคม 2551 ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรมดิเอ็มเพรส จ.เชียงใหม่นั้น


 


วานนี้ (22 ธ.ค.) สุรีรัตน์ ตรีมรรคา คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวในหัวข้อ "รัฐกับการจัดการสุขภาพประชาชนบนความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธ์" ในการประชุมวิชาการ "ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม"  ว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่มีึความหลากหลาย เราเคยใช้คำว่า "สยาม" ซึ่งคำๆ นี้มาจากความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม ส่วนคำว่า "ไทย" นั้น เราเพิ่งเปลี่ยนมาใช้ในระยะหลังนี้ และได้ผนวกมากับอุดมการณ์ของความเป็น "คนไทย"


 


"เรามีอุดมการณ์บางอย่างในสังคมไทย มีอุดมการณ์ของความเป็นคนไทย มันก็เลยทำให้มองไม่เห็นคนอื่นที่อยู่ในพื้นที่แห่งนี้มาก่อน"


 


กรรมการหลักประกันสุขภาพกล่าวถึงระบบหลักประกันสุขภาพว่า พื้นฐานความหมายของคำว่าสุขภาพคือความสมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม ซึ่งการจัดการสุขภาพต้องจัดการทั้งสี่เรื่องนี้ไปพร้อมกัน และต้องจัดการทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ทั้งหมดนี้ต้องเชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล


 


"เมื่อดูว่า แล้วรัฐต้องจัดการอะไรบ้าง มันไม่ใช่แค่เรื่องของกระืทรวงสาธารณสุข แต่มันมากกว่านั้น มันอาจรวมถึงกระทรวงพัฒนาสังคมและึความมั่นคงของมนุษย์ ฯลฯ"


 


นอกจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลายกระทรวงแล้ว เรื่องการจัดการสุขภาพยังเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับอุดมการณ์ด้านความหลากหลายทางชาติพันธุ์ด้วย "หากรัฐไม่เข้าใจเรื่องนี้ รัฐก็จะมองว่าประชาชนไทย คือคนที่มีเลข 13 หลักซึ่งยกเว้นเลข 13 หลักที่ขึ้นต้นด้วยเลข 6 และเลข 7 เลขที่ถูกยกเว้นเหล่านี้จะเด้งออกจากระบบคอมพิวเตอร์การให้บริการในระบบสาธารณสุข"


 


สุรีรัตน์กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน รัฐไทยก็มีนโยบายด้านชนกลุ่มน้อย ด้่านความมั่นคงชายแดนและยาเสพติด ด้านระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ด้านวัฒนธรรมไทย และนโยบายอยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งข้อหลังนี้อยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับล่าสุดด้วย


 


"รัฐต้องทำึความเ้ข้าใจเรื่องความหลากหลายทางชาติพันธุ์ก่อน มิเช่นนั้นก็จะมีปัญหาไปถึงเรื่องงบประมาณ ที่จะไม่ได้รับการจัดสรรให้แก่ความหลากหลายทางชาติพันธุ์"


 


"สิ่งที่น่าอับอายที่สุดของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ คือ ไม่มีงบประมาณรายหัวให้แก่กลุ่มคนเหล่านี้ ทั้งที่กฎหมายระบบหลักประกันฯ กำหนดว่า ทุกคนในประเทศไทยต้องได้รับความคุ้มครอง แต่ยังมีึคนอีกจำนวนมาก ที่ตัวเลขก็ยังไม่นิ่งว่าจะจัดสรรงบประมาณให้ได้เท่าไร และสำนักงบประมาณก็ไม่สามารถตั้งงบประมาณให้ได้ถ้่าไม่มีมติ ครม.ออกมา แต่ในขั้นนั้นก็จะถูกถกเถียงโดยกระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน ว่าจะรับประกันได้ไหมว่าึคนเหล่านี้ไม่ใช่คนที่อพยพเข้ามา"


 


มาจนวันนี้ที่เริ่มใ้ช้ระบบหลักประกันสุขภาพมาได้ 6 ปี แต่คนเหล่านี้ก็เข้าไม่ถึงการรักษา แม้ว่าในทางปฏิบัติ โรงพยาบาลต่างๆ ก็รับรักษา แต่นั่นหมายความว่าต้องเบียดงบประมาณออกมา ทำให้ส่งผลกระเทือนต่้อคุณภาพการบริการรักษา และส่งผลถึงความยากลำบากในการเข้าถึงบริการ


 


"กฎหมายหลักประกันสุขภาพเขียนว่า ดูแลคนทุกคน แปลว่าทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย แต่มันมาผิดพลาดเอาตรงที่คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่ากฎหมายนี้ออกภายใต้รัฐธรรมนูญไทย จึงครอบคลุมแค่คนไทย"


 


"บริการสุขภาพมันต้องมีเพื่อพลเมืองทุกคน แต่คนที่จะพิจารณาไม่เคยสนใจความเป็นมนุษย์ ดิฉัันไม่คิดว่ากรรมการหลักประกันสุขภาพจะเอาเรื่องนี้อยู่ การจัดการสุขภาพเป็นปัญหาเพราะคนที่คิดเรื่องนี้ จัดการเรื่องนี้ไม่เคยจะเข้าใจ มันต้องกลับไปทำความเข้าใจอััตลักษณ์ความเป็นคนไทยให้มากขึ้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ก็ต้องนักเลงพอที่จะไปตบโต๊ะรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยเพื่อให้ได้งบประมาณตรงนี้มา"


 


สุรีรัตน์ให้ข้อเสนอในช่วงท้ายว่า การจัดบริการสาธารณสุข จำเป็นต้องทำความเข้าใจเรื่องรากเหง้าของคนไทย เข้าใจและยอมรับความหลากหลายของ "คนไทย" และลดอคติทางชาติพันธุ์ที่สั่งสมมาดั้งเดิมพร้อมกับอุดมการณ์เรื่องชาติ รัฐชาติ ส่วนระบบราขการในกระทรวงวัฒนธรรมนั้น สังคมไทยต้องร่วมกันจับตาและพิสูจน์ว่า กระทรวงวัฒนธรรมจะทำให้สังคมไทยมีความหลากหลายทางชาติพันธุืได้หรือไม่อย่างไร


 


ข่าวจากการประชุม "ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม" ที่เกี่ยวข้อง


ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม: "ศรีศักร วัลลิโภดม" หวั่นชาตินิยมรวมศูนย์พ่นพิษ ไม่เปลี่ยนวิธีคิดก็รอวันเจ๊ง, 23/12/51


ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม: "หมอโกมาตร" ย้ำอคติชาติพันธุ์ในระบบสุขภาพ, 23/12/51


ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม: 6 ปีหลักประกันสุขภาพ "ไม่" ถ้วนหน้า ลอยแพชาว "สยาม" ในดินแดนไทย, 23/12/51


ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม: เสนอไปให้ไกลกว่า "อคติชาติพันธุ์" ไม่ควรมองข้าม "อคติทางชนชั้น", 24/12/51


ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม: สายชล สัตยานุรักษ์อภิปราย "ชาตินิยม วัฒนธรรม และความขัดแย้ง", 25/12/51


ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม: ปาฐกถานำโดย นิธิ เอียวศรีวงศ์, 28/12/2551

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net