รายงานชุด "Power & Health": (2) เมื่อโลกร่ำรวยยา แต่คนจนทั่วหล้าร่ำรวยโรค

ปัญหาที่ต้องตีความ

องค์การอนามัยโลกชี้ว่า มีความจำเป็นที่จะต้องตีความขอบเขตของโรคที่ส่งผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนาและคนจนในประเทศพัฒนาแล้วอย่างผิดปกติไม่ได้สัดส่วน จากรายงานของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจมหภาคและสุขภาพ ( Commission on Macroeconomics & Health : CMH ) องค์การอนามัยโลก ได้จำแนกกลุ่มโรคออกเป็น 3 ประเภท :

ประเภทที่ 1 โรคที่เกิดทั้งในประเทศยากจนและในประเทศร่ำรวย มีประชากรกลุ่มเสี่ยงจำนวนมากในทั้งสองกลุ่มประเทศ ตัวอย่างที่เป็นโรคติดต่อได้แก่ หัด, ไวรัสลงตับชนิดบี, และ Haemophilus influenzae type b (Hib) , และตัวอย่างของโรคไม่ติดต่ออีกมากมาย (เช่น เบาหวาน, โรคหัวใจและหลอดเลือด, และความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากยาสูบ) วัคซีนมากมายสำหรับโรคประเภทที่ ๑ ได้รับการพัฒนาขึ้นใน 20 ปีที่ผ่านมาแต่ไม่สามารถแพร่หลายในประเทศยากจนเป็นเพราะราคาแพงเกินสำหรับคนจน

ประเภทที่ 2 โรคที่เกิดทั้งในประเทศยากจนและในประเทศร่ำรวย แต่มีสัดส่วนสูงในประเทศยากจน โดยมากกว่าร้อยละ 90 อยู่ในประเทศยากจนตัวอย่างเช่น เอชไอวี/เอดส์ และวัณโรค

ประเภทที่ 3 โรคที่ผูกขาดเฉพาะในประเทศยากจน เช่น โรคเหงาหลับ( African sleeping sickness / trypanosomiasis) และ African river blindness / onchocerciasis โรคเหล่านี้มีงานวิจัยน้อยมาก เพราะไม่มีแรงจูงใจในเชิงพาณิชย์ เมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ขึ้น มันมักจะเป็นโชคช่วย หรือโดยบังเอิญ เช่น วงการสัตวแพทย์ที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัทเมอร์ค( Merck ) พบว่า ivermectin มีประสิทธิผลในการควบคุม onchocerciasis ในมนุษย์ได้ด้วย

ถ้าเราเรียกโรคประเภทที่ 2 ว่า โรคที่ถูกทอดทิ้ง (Neglected Disease) ก็ต้องเรียกโรคในประเภทที่ 3 นี้ว่า โรคที่ถูกทอดทิ้งมากๆ (Very Neglected Disease).

องค์การอนามัยโลกชี้ทิศทางว่า มีโรคในประเภทที่ 1 หลายโรคกำลังเปลี่ยนมาอยู่ประเภทที่ 2 คือเดิมเคยแพร่หลายในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่กำลังเริ่มส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในประเทศกำลังพัฒนา เนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรในประเทศกำลังพัฒนา และเนื่องมาจาก วิธีการแก้ไขปัญหาตามแบบอย่างของประเทศที่พัฒนาแล้ว ใช้ไม่ได้กับสถานการณ์ในประเทศกำลังพัฒนา ตัวอย่างเช่น ความตายอันเนื่องมาจากโรคหัวใจลดลงอย่างมากในประเทศที่พัฒนาแล้ว ยกเว้นยุโรปตะวันออกซึ่งยังยากจนโดยเปรียบเทียบ

องค์การอนามัยโลกเชื่อว่า โรคส่วนใหญ่ใน 3 ประเภทข้างต้นส่งผลกระทบรุนแรงต่อประเทศกำลังพัฒนามากกว่าประเทศพัฒนาแล้ว เว้นเสียแต่ว่า จะมีมาตรการป้องกัน วินิจฉัยและรักษาที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนี้ ช่องว่างต่างๆที่แตกต่างกันมากเหลือเกิน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับสุขภาพของแม่และเด็ก และสุขภาพของวัยเจริญพันธุ์ ที่จะต้องพิจารณาเป็นพิเศษสำหรับประเทศกำลังพัฒนา เพราะ เป็นสาเหตุหลักของอัตราป่วยและอัตราตายสำหรับผู้หญิงและเด็ก

องค์การอนามัยโลก ระบุว่า การจะแก้ปัญหาข้างต้น ต้องให้ความสำคัญกับโรคและเงื่อนไขทั้งหมดที่ส่งผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนาในปัจจุบัน ตั้งแต่ประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 3 และติดตามปัญหาอย่างใกล้ชิด

เกณฑ์ที่ควรใช้พิจารณาก็คือ โรคหรือเงื่อนไข ที่มีความสำคัญสูงต่อสาธารณสุขอย่างมีนัยสำคัญในประเทศกำลังพัฒนาที่ การรักษาที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอ หรือไม่มีวิธีรักษา หรือการรักษาที่มีอยู่นั้นไม่เหมาะสมที่จะใช้ในประเทศที่ระบบส่งต่อไม่ดี หรือไม่มีเงินมากพอ นอกจากนี้ การคิดค้นนวัตกรรม ไม่ควรมุ่งเฉพาะเพียงโรคที่เกิดในประเทศพัฒนาแล้วเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น แต่ควรมุ่งแก้ปัญหาสุขภาพของประเทศกำลังพัฒนาอย่างสอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศเหล่านั้นด้วย

 

ตาราง 1 ตัวอย่างของสถานการณ์การแก้ปัญหาโรคในกลุ่มโรคประเภทที่ 1, 2 และ 3

 

 

 

การเข้าถึงได้

 

การยอมรับได้

 

ความแพร่หลาย

 

คุณภาพ

 

แพงเกินหรือไม่

 

ปรับให้เข้ากันได้หรือไม่

 

มีหรือไม่

 

 ถ้ามี คนจนเข้าถึงหรือไม่

 

ปลอดภัยและมีประสิทธิผลหรือไม่

 

ประเภทที่ ๑

 

(มะเร็งปากมดลูก)

 

ในระยะแรกเริ่มของมะเร็งปากมดลูกที่รักษาได้,แต่ ณ ที่นั้น ไม่มีการผ่าตัดหรือการฉายแสง,คนไข้ก็อาจตายได้. อย่างไรก็ตาม,ค่าใช้จ่ายของ Pap screening และการรักษามะเร็งแรกเริ่มรวมทั้งมะเร็งลุกลาม (เช่น การผ่าตัดและการฉายแสง) ก็ยังมีแพงเกินไปในบางประเทศ

 

รูปแบบของทางตะวันตกในการตรวจร่างกายและรักษาผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ แม้แต่การเจริญอย่างผิดปกติของเนื้อเยื่อเพียงเล็กน้อยนั้น ไม่เหมาะสมกับบริบทของประเทศกำลังพัฒนา. โครงการ pap smear มีความซับซ้อนและค่าใช้จ่ายสูง,และล้มเหลวในประเทศที่ระบบสาธารณสุขยังไม่ดี รวมถึงเหตุผลทางวัฒนธรรม เช่น เป็นมลทิน

 

ร้อยละ80 ของมะเร็งปากมดลูกทั้งหมดอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาเป็นสาเหตุการตายสูงสุดในบรรดามะเร็งในผู้หญิง. การตรวจpap smear การรักษาในภาวะแรกเริ่มของมะเร็ง,และการผ่าตัด/ฉายแสงในขั้นลุกลามก็มีอยู่แล้ว,รวมทั้งวัคซีนสำหรับมะเร็งปากมดลูก(Cervarix)ก็อยู่ในขั้นทดลองทางคลินิก แต่ประมาณได้ว่ามีผู้หญิงเพียงร้อยละ5 ในประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับการตรวจปากมดลูกในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ในประเทศพัฒนาแล้วได้รับการตรวจถึงร้อยละ 40-50แล้ว

 

การตรวจpap smear,และการรักษา

 

ในภาวะแรกเริ่มของมะเร็งให้ผล

 

ถึงร้อยละ 90 ในการลดการเกิด

 

มะเร็งปากมดลูกและลดอัตราการตาย

 

ในประเทศพัฒนาแล้ว

 

ประเภทที่ ๒

 

(เอชไอวี / เอดส์)

 

ราคาของลามิวูดีน,สตาวูดีนและเนวิราพีนลดลงจากเดิมมากกว่าUS$ ๑๐,๐๐๐ / ปี เหลือประมาณ US$ ๑๘๒ / ปีทั้งยาต้นตำรับและยาชื่อสามัญ. ส่วนยาสำหรับเด็กและยาต้านสูตรสำรอง ยังคงมีราคาแพงมากเพราะส่วนใหญ่เป็นยาที่ติดสิทธิบัตร ไม่มียาชื่อสามัญ

 

ยังมีความจำเป็นอย่างมากในการพัฒนาการรักษาด้วยยาสูตรผสม (เพราะใช้สะดวก กระจายง่าย และคนไข้ปฏิบัติตามได้ง่าย)และยาสำหรับเด็ก ชุดตรวจวินิจฉัยในปัจจุบัน เครื่องมือติดตามและวิธีตรวจหาเชื้อฉวยโอกาส ยังยากต่อการใช้ในประเทศยากจน

 

การรักษาด้วยยาต้านไวรัสช่วยยืดอายุของผู้ติดเชื้อฯได้ทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา แต่มีเพียงร้อยละ 15 (970,000 จาก 6.5 ล้าน) ของผู้ที่มีความจำเป็นต่อการรักษาด้วยยาต้านฯในประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับยานี้

 

ทุกวันนี้ มีการติดตามทางคลินิกอย่างพอเพียงเพื่อเฝ้าระวังผลข้างเคียงและเชื้อฉวยโอกาส ความปลอดภัยและประสิทธิผลของการรักษาด้วยยาสูตรผสม 3 ชนิดเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกในหญิงที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยาต้านฯสำหรับสุขภาพตนเองยังไม่ได้รับการประเมินเนื่องด้วยข้อจำกัดด้านทรัพยากร ทำให้เป็นที่กังวลอย่างมากในเรื่องความเสี่ยงต่อผู้หญิง ถ้ายังไม่สามารถติดตามเรื่องนี้ได้

 

ประเภทที่ ๓

 

(Human African

 

Trypanosomiasis)

 

หลายบริษัทประกาศตนว่าจะผลิตยาที่มีอยู่ในปัจจุบันที่ใช้รักษา Human African

 

Trypanosomiasis (sleeping sickness)บริจาคให้ตั้งแต่ 2001-2006

 

 Eflornithine เป็นยาตัวเดียวสำหรับโรคนี้ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา และปลอดภัยกว่าอนุพันธ์ของสารหนูที่ชื่อ Melarsoprol สำหรับการรักษา West African Trypanosomiasis.*

 

การค้นหาโรคเป็นเรื่องยากต้องอาศัยทรัพยากรทั้งบุคลากร วิชาการและวัสดุ(ตัวอย่างเลือด,น้ำไขสันหลัง,ฯลฯ) ปัญหานี้ยิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อโรคนี้ส่วนใหญ่เกิดกับคนจน คนในชนบทที่เข้าถึงบริการสาธารณสุขยาก จำเป็นต้องค้นหาชุดวินิจฉัยใหม่ที่ใช้ง่ายและเที่ยงตรง(ที่สามารถตรวจหาระยะที่เป็นได้ด้วย)รวมถึงยาที่ใช้โดยวิธีรับประทานได้

 

ในปัจจุบันไม่มีวัคซีนหรือยาที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อ มียาที่ใช้รักษาโรคนี้แต่ก็เก่าแก่มาก ยากต่อคนจนที่จะใช้ และประสบความสำเร็จไม่เสมอไป โรคนี้กำลังคุกคามคนจำนวน 60 ล้านคน แต่มีการสำรวจเพียง 4 ล้านคนและมีเพียง 40,000 คนที่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษา. ประมาณว่าแต่ละปีมีโรคนี้เกิดขึ้นถึง 300,000 ราย

 

ควรมีความใส่ใจอย่างจริงจังในเรื่องความปลอดภัยของยาที่ใช้รักษา แม้ Pentamidine/ Melarsoprol(ยาตัวเดียวที่มีสำหรับรักษา West African Trypanosomiasis ขั้นลุกลาม) ที่คนไข้ส่วนใหญ่ทนรับได้ ก็ยังทำให้คนไข้เสียชีวิตถึง 1 ต่อ 20 ที่ได้รับยานี้ และผลข้างเคียงทั่วไปคืออาการทางประสาทอย่างรุนแรง

 

ความยากจน VS โรค, การตลาด VS โรค โลกใบนี้ไม่มีคำว่าคุณธรรม

ผลกระทบจากแนวโน้มทางเศรษฐกิจและการเมืองต่อสุขภาพโลกเป็นเรื่องที่ซับซ้อน องค์การอนามัยโลกพยายามออกรายงานหลายฉบับที่แสดงหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกิดจากความเกี่ยวพันระหว่างความจนกับโรคที่สร้างภาระเป็นอย่างมาก และกำลังกลายเป็นศูนย์กลางของประเด็นต่างๆทั้งมวลตามมา

ความจน ภาระโรค (สัดส่วนของค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ไปกับการรักษาโรค) และศักยภาพในงานวิจัย ต่างก็มีส่วนท้าทายและมีส่วนในการเปิดหรือปิดโอกาสสำหรับประเทศต่างๆ  ความจนมีผลต่ออำนาจซื้อ และความสามารถในการจ่ายของคนจนที่ไม่มีทั้งเงินและกำลังซื้อ ในทางกลับกัน ก็มีผลต่อระดับความสนใจของบริษัทที่มุ่งแสวงกำไร 

ความซับซ้อนของปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อความสามารถของคนจนในการได้รับสิทธิประโยชน์จากศักยภาพและผลผลิตของความก้าวหน้าในงานวิจัยด้านสุขภาพที่ถูกมองข้ามไป ราวกับว่า "คุณธรรม" ได้จางหายไปแล้วจากโลกใบนี้

ขณะที่เรามีศักยภาพด้านวิชาการที่จะทำให้เกิดการเข้าถึงยาสำคัญที่ช่วยกู้ชีวิต วัคซีน หรืออื่นๆ ซึ่งแพร่หลายอย่างกว้างขวางในโลกของประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่อีกด้านหนึ่ง คนหลายล้านคนรวมถึงเด็ก ต้องทนทุกข์และตายในประเทศกำลังพัฒนา เพราะปัจจัยสำคัญเหล่านั้นไม่แพร่หลายรวมถึงแพงเกินกว่าที่จะเข้าถึง รัฐบาลทั่วโลกตระหนักดีต่อคลื่นความขัดแย้งทางคุณธรรมนี้ แต่การปฏิบัติก็ยังห่างไกลจากการพูดเป็นอย่างมาก

ยอดจำหน่ายยาทั่วโลกโน้มเอียงไปตามตลาดยาของโลกที่พัฒนาแล้วเป็นอย่างมาก. ตารางที่ 2 ชี้ให้เห็นว่า กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีประชากรคิดเป็นร้อยละ 80 ของโลกนั้น ซื้อยาเพียงร้อยละ 10 ของยอดจำหน่ายยาทั่วแสดงชัดเจนว่า มีความแตกต่างอย่างมากในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์สุขภาพระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเรื่องนี้ควรพิจารณาเป็น 2 มุมมอง คือ ขาดกำลังซื้อที่สำคัญ และขาดแรงจูงใจที่จะผลิตให้

 

ตารางที่ 2 ตลาดยาในแต่ละภูมิภาคของโลก (เป็นราคาที่ออกจากแหล่งผลิต หน่วยเป็นพันล้าน US$)

 

ภูมิภาค

 

2004

 

2005

 

ส่วนแบ่งของยอดจำหน่ายทั่วโลก(%)

 

อเมริกาเหนือ

 

249.0

 

268.8

 

44.4

 

ยุโรป

 

169.2

 

180.4

 

29.8

 

ญี่ปุ่น

 

66.1

 

69.3

 

11.4

 

แปซิฟิก

 

7.1

 

7.7

 

1.3

 

CIS*

 

4.2

 

5.0

 

0.8

 

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

25.3

 

28.8

 

4.6

 

ลาตินอเมริกา

 

24.4

 

26.6

 

4.4

 

คาบสมุทรอินเดีย

 

6.6

 

7.2

 

1.2

 

แอฟริกา

 

6.3

 

6.7

 

1.1

 

ตะวันออกกลาง

 

4.7

 

4.9

 

0.8

 

ตลาดโลกทั้งหมด

 

562.9

 

605.4

 

100.0

 

อุปสงค์ (Demand) หรือ กำลังซื้อ

ปัญหาพื้นฐานก็คือ การขาดกำลังซื้อ หรือ ขาดอุปสงค์ที่มีประสิทธิผลสำหรับผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นในการป้องกันรักษาหรือเยียวยาความเจ็บป่วยที่กระทบต่อคนยากจนในประเทศกำลังพัฒนา  ในด้านหนึ่ง ก็แสดงถึงหลักฐานว่า คนจนในประเทศกำลังพัฒนาไม่ได้รับการรักษาที่จำเป็น ทั้งๆที่ภาระโรคเพิ่มสูงขึ้น ส่วนในอีกด้านหนึ่งโครงสร้างที่เป็นอยู่ ยิ่งทำให้บริษัททุ่มลงทุนคิดค้นผลิตภัณฑ์ให้กลุ่มเป้าหมายที่มีกำลังซื้อมากกว่า คือบรรดาคนในประเทศพัฒนาแล้ว รวมทั้งคนรวยในประเทศยากจน

สำหรับกลุ่มโรคประเภทที่ 1 เช่น เบาหวานและมะเร็ง บริษัทต่างๆมีแรงจูงใจสูงที่จะลงทุนพัฒนาเครื่องมือรักษาวินิจฉัยและป้องกันโรคให้สหรัฐอเมริกา ยุโรป และประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ สำหรับประชาชนที่อาศัยในประเทศกำลังพัฒนา ปัญหาหลักคือ ราคายาและค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการรักษา คนส่วนใหญ่ต้องออกเอง รัฐบาลมักจะไม่มีเงินหรือไม่มีเจตจำนงที่จะช่วยเหลือค่ายาที่จำเป็น ทั้งในบางส่วนหรือทั้งหมด  ดังนั้น บริษัทยาจึงไม่มีแรงจูงใจที่จะลงทุนค้นหาเครื่องมือรักษา วินิจฉัยและป้องกันที่ปรับให้เข้ากับทรัพยากรและเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศกำลังพัฒนาแล้ว

เช่น บริษัทไม่จำเป็นต้องผลิตยาหรือเครื่องมือที่ทนต่อความร้อนสูง เพราะในประเทศพัฒนาแล้วมีอากาศหนาวเย็น หรือมีไฟฟ้าทุกหนทุกแห่งที่ปรับอากาศให้เหมาะสมกับยาหรือเครื่องมือเหล่านั้นได้ ซึ่งผิดกับประเทศกำลังพัฒนาที่ไฟฟ้ายังมีไม่ทั่วถึง ส่วนใหญ่อยู่ในเขตร้อน ทำให้ยาหรือเครื่องมือเหล่านี้ใช้ไม่ได้ในพื้นที่

เมื่อไม่มีแรงขับดันทางการตลาด งานวิจัยสำหรับกลุ่มโรคประเภทที่ 2 ก็ยิ่งไม่เพียงพอ เช่น มาลาเรียและวัณโรค ในบางกรณี และเช่นเดียวกัน งานวิจัยนั้นไม่ได้ปรับให้เข้ากับเงื่อนไขของโรคในประเทศกำลังพัฒนา กรณีนี้ ประเทศพัฒนาแล้วจะไม่มีอุปสงค์ต่อการรักษาและวัคซีน

ตัวอย่างของยาต้านไวรัสเอชไอวี/เอดส์ นั้น จะไม่มีทางแพร่หลายในประเทศกำลังพัฒนาได้เลย ถ้าปราศจากความต้องการของประเทศร่ำรวย เรื่องเช่นนี้จะไม่เกิดกับมาลาเรียและวัณโรค ซึ่งความต้องการของประเทศร่ำรวยมีน้อย ยารักษาจึงมีไม่มากพอ เพราะประเทศร่ำรวยต้องการการป้องกันมากกว่าการรักษา

จุดสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ชนิดหรือสายพันธุ์ของโรคในประเทศกำลังพัฒนามักจะแตกต่างจากประเทศที่พัฒนาแล้ว (เช่น กลุ่มต่างๆของเชื้อเอชไอวีพบได้ทั่วไปในประเทศกำลังพัฒนา และระบบภูมิคุ้มกันที่ตอบโต้ต่อวัคซีนวัณโรคต่างกัน) ดังนั้น การแก้ปัญหาในประเทศกำลังพัฒนาจึงควรมีความแตกต่าง

สำหรับกลุ่มโรคประเภทที่ 3 เช่นไข้เลือดออกและ Leishmaniasis ที่ไม่มีอุปสงค์จากประเทศร่ำรวย จึงไม่มีแรงจูงใจสำหรับคิดค้นนวัตกรรมเลย จะมีบ้างก็เรื่องบังเอิญดังกรณีของ เช่น ยา ivermectin สำหรับโรค river blindness หรือ การรักษาที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น melarsoprol สำหรับ sleeping sickness ก็มีผลข้างเคียงสูงโดยไม่มีการพัฒนาตัวยาให้ดีขึ้นเลยนับแต่คิดค้น

ในที่ที่ไม่มีอำนาจซื้อทั้งในส่วนของรัฐบาลหรือในส่วนของคนไข้ จึงถูกประเมินว่า ตลาดไม่มีคุณค่าพอ ทรัพยากรที่ใช้ในการพัฒนายา วัคซีนและชุดวินิจฉัยที่จำเป็นต่อประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาจึงมีน้อยมาก ทั้งนี้เพราะอุตสาหกรรมยาไม่สามารถทำกำไรจากประเทศเหล่านี้ได้ หรือเป็นเพราะการลงทุน ความเสี่ยง และผลกำไรไม่เป็นที่น่าสนใจต่อภาคเอกชน 

 

อุปทาน (Supply) หรือ การผลิตสินค้าให้ได้ซื้อหากัน

ในอุตสาหกรรมยา กระบวนการพัฒนายาเริ่มต้นจากการสำรวจหาผลการวิจัยที่กระทำโดยสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยของรัฐ ตามระยะค้นหา ด้วยการสังเคราะห์ คัดกรองและทดสอบสารประกอบที่มีอนาคตว่ามีผลในการรักษาหรือไม่ เมื่อได้สารประกอบที่น่าสนใจ จะนำไปสู่ช่วงของการพัฒนาทางเคมีและทางยาต่อไป  นี่รวมถึงการทดสอบพิษต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกายรวมถึงดูการดูดซึมและกระบวนการในร่างกาย. ต่อจากนั้นจะมีการทดสอบในสัตว์ และลงท้ายในมนุษย์ ขั้นนี้เรียกว่า ระยะพัฒนา ถ้าการทดสอบเหล่านี้ประสบความสำเร็จและผลิตภัณฑ์นั้นเข้าเกณฑ์มาตรฐานของหน่วยงานควบคุม คือ ปลอดภัย มีประสิทธิผลและมีคุณภาพดี ก็จะสามารถผลิตจำหน่ายแพร่หลายสู่คนไข้ได้ เรียกว่า ระยะส่งมอบ แม้ภายหลังการส่งมอบแล้ว ก็ยังต้องมีการทดลองเพื่อวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย รวมถึงการขยายประโยชน์ไปสู่ข้อบ่งใช้ใหม่ หรือค้นหาผลข้างเคียงที่พบยากที่อาจปรากฏชัดเจนขึ้นเมื่อมีการใช้ผลิตภัณฑ์นั้นในประชาชนจำนวนมาก

ดังนั้น การค้นพบและพัฒนายาจึงเป็นกิจกรรมที่ซับซ้อน ยาวนานและลงทุนสูง อุตสาหกรรมยาระบุตัวเลขค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อยาใหม่หนึ่งชนิดไว้ที่ 800 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นอย่างต่ำ ตัวเลขนี้รวมค่าใช้จ่ายทั้งที่มีผลสำเร็จและที่ล้มเหลวและค่าใช้จ่ายในการลงทุนทั้งหมด อย่างไรก็ตาม มีคำถามว่า ตัวเลขนี้ได้มาอย่างไร เพราะไม่เคยมีการเปิดเผยข้อมูลดิบ

แท้จริงแล้ว ค่าใช้จ่ายโดยตรงต่อการพัฒนายาตัวหนึ่งอาจต่ำกว่านี้ ขึ้นกับว่าใช้รักษาอะไรใช้ในแหล่งใดและข้อกำหนดเกี่ยวกับการควบคุมเป็นอย่างไร มีหลักฐานว่า ค่าใช้จ่ายในการพัฒนายาต่ำกว่าที่อุตสาหกรรมอ้าง ส่วนหนึ่งขึ้นกับธรรมชาติของโรคที่ใช้ยานั้นและการลงทุนในการค้นพบของมหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยที่มาจากเงินภาษีของประชาชน ค่าใช้จ่ายตามที่อุตสาหกรรมยาอ้างนั้น นอกจากการบวกกำไรมหาศาลแล้วยังรวมค่าการตลาดเป็นสัดส่วนที่เหนือกว่าการลงทุนวิจัยและพัฒนา

ไม่ว่าค่าใช้จ่ายจริงจะเป็นเท่าใด อุตสาหกรรมยาจำเป็นจะต้องคำนึงให้มากว่าจะทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงได้อย่างไรถ้าจะผลิตสิ่งนั้นสำหรับประเทศกำลังพัฒนา ไม่ใช่คิดจะบวกกำไรเท่าไรก็ได้ ถ้าไม่พยายามลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โอกาสที่ประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาจะซื้อยามากินมาใช้ได้ก็จะลดลง ซึ่งนั่นหมายถึง คนตายมากขึ้น เพียงเพราะอุตสาหกรรมยาไม่ยอมลดกำไร

และแม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงสูง ระหว่างปี 1995-2002 อุตสาหกรรมยาเป็นอุตสาหกรรมที่ทำกำไรได้มากที่สุดในสหรัฐฯ ถึงร้อยละ 18 (เมื่อคิดเป็นค่าเฉลี่ยของกำไรสุทธิหลังจากหักภาษีและเป็นร้อยละของรายได้) ในปี 2003 ตกลงมาเป็นที่ 3 รองจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ การขุดเจาะน้ำมันดิบและธนาคารพาณิชย์ แต่ยังคงกำไรไว้ที่ร้อยละ 14 สูงกว่าค่าเฉลี่ยของ 500 บริษัททำกำไรสูงสุดในนิตยสารฟอร์จูน 500 ในปีนั้นถึง 3 เท่า

การประกันให้มียาอย่างเพียงพอจำต้องขึ้นกับปัจจัยอย่างน้อย 2 ประการคือ ปรับปรุงประสิทธิภาพของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และปรับปรุงทิศทางการดำเนินงาน นั่นคือ ต้องมุ่งสู่กรอบสินค้าเพื่อสังคม มิใช่เพียงแต่ผลิตภัณฑ์ที่ทำกำไรงามเท่านั้น ในด้านหนึ่ง มีความท้าทายในการลดค่าใช้จ่ายและลดเวลาของการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อที่จะผลิตสิ่งที่ดีกว่าได้เร็วขึ้นและด้วยค่าใช้จ่ายที่ลดลง ในอีกด้านหนึ่ง มีความจำเป็นต้องสนับสนุนการผลิตหรือจัดหายาอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ที่ตลาดไม่ทำกำไรก็ตาม

Rudolph Virchow กล่าวว่าว่า "นี่เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เมื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ขึ้นสู่จุดสูงสุดอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การละเลยรากทางสังคม ได้ทำลายความมีประสิทธิภาพของเราเอง" เพราะว่า ปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับการแพทย์อื่นๆ จะเป็นตัวตัดสินว่า แท้จริงใครจะได้ใช้ยาหรือไม่  

 

เรียบเรียงจาก

  • Infections and Inequality: The Modern Plagues โดย Paul Farmer, 1999.

  • Pathologies of Power: Health, Human Rights, and the New War on Poor โดย Paul Farmer, 2005.

  • Public Health Innovation and Intellectual Property Right โดย คณะกรรมาธิการนวัตกรรมด้านทรัพย์สินทางปัญญา และการสาธารณสุข ของ องค์การอนามัยโลก, เมษายน 2006

  • 25 ข่าวที่ไม่เป็นข่าว, นิตยสาร a day weekly ฉบับที่ 23, 22-28 ตุลาคม 2547

 

รายงานชุด ‘Power & Health’

 

 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท